วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

Pace อันตราย ?

คำฮิตของคนในวงการวิ่งรุ่นใหม่ในปัจจุบัน ที่จะต้องกล่าวถึงเสมอเมื่อคุยกันถึงเรื่องวิ่ง 

แล้วอันตรายตรงไหน ? อันตรายเมื่อถูกนำมาใช้เพียงแค่ต้องการเปรียบเทียบบอกถึงระดับอัตราความเร็วในการวิ่งทุกๆวัน ทำให้อาจหลงประเด็นในการฝึกซ้อมในแต่ละวัน ที่จะมุ่งเน้นแต่การวิ่งให้เร็วขึ้นทุกๆวันตามอัตราของ pace เฉลี่ยในแต่ละครั้ง

pace ในความหมายของผู้ฝึกสอนที่จะต้องนำไปใช้ เป็นอัตราความเร็วเฉลี่ยของการวิ่งที่วัดค่าเป็นนาทีต่อหนึ่งกิโลเมตรหรือต่อหนึ่งไมล์

ที่มาจากระยะของการก้าว ความถี่ของการก้าว ระดับความพยายามในการวิ่ง เพื่อนำมาปรับปรุง วิเคราะห์ประเมินในการใช้ความเร็วที่เหมาะสมกับต้นทุนที่มีอยู่หรือขีดความสามารถของนักวิ่งแต่ละคน สำหรับการฝึกซ้อมและแข่งขันที่มีระยะทางในการวิ่งต่อเนื่องมากกว่าหนึ่งกิโลเมตรขึ้นไป 

การใช้ pace เพื่อบ่งบอกระดับความเร็วในการวิ่งเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะให้เรามองเห็นการพัฒนาที่ดีขึ้นในแต่ละครั้ง แต่ร่างกายของเรามีความสมบูรณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละวันตามปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องและเราก็ไม่สามารถที่จะวิ่งให้ดีขึ้นได้ทุกๆวัน 

เราจำเป็นต้องมีการฝึกซ้อมที่มีความหนักที่ส่งผลในการพัฒนาสลับกับวันที่ต้องฝึกซ้อมเบาลงและมีวันพักเพื่อฟื้นสภาพและปรับปรุง สร้างเสริมชดเชยหลังจากการฝึกซ้อมที่ต่อเนื่อง 3 – 6 วัน แล้วแต่โปรแกรมการฝึกซ้อมที่ได้วางแผนมา 

ดังนั้นการมุ่งหวังที่จะวิ่งให้ pace ดีขึ้นทุกๆวันจึงเป็นสิ่งที่อันตรายสำหรับร่างกายของเรา ที่ไม่เปิดโอกาสให้มีเวลาในการพักเพื่อให้ฟื้นสภาพ 

ในกรณีที่วิ่งในระยะทางที่เท่ากันหรือเพิ่มระยะทางที่มากขึ้นทุกๆวัน ที่ยังเห็นเสมอก็คือการนำ pace ไปประเมินการฝึกซ้อม interval ในระยะทางที่สั้นกว่า 1,000 เมตรหรือหนึ่งกิโลเมตร ซึ่งจะมีการใช้ความเร็วแตกต่าง หลากหลายในแต่ละระยะทาง มีค่าระดับความหนัก ความเข้มข้น ความถี่ ปริมาณของรูปแบบการฝึกซ้อมตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการผล ที่จะได้รับจากการฝึกซ้อมในแต่ละครั้ง 

และไม่เหมือนกับการวิ่งทางไกลต่อเนื่องที่จะมีการควบคุมอัตราความเร็วในแต่ละกิโลเมตร เพื่อฝึกและควบคุมระดับการใช้พลังงาน 
จะทำให้การประเมินผลจากการซ้อมขาดประสิทธิภาพเร็วเกินไปร่างกายก็ช้ำ เบาเกินไปก็ไม่ส่งผลในการพัฒนาและไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

การฝึกวิ่งให้ดีขึ้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องวิ่งให้ pace ดีขึ้นทุกๆวัน ให้สังเกตร่างกายของตนเองด้วยว่า มีสัญญาณเตือนอะไรออกมาบ้าง 
ถ้าไม่พร้อมหรือไม่ปกติก็ควรที่จะพักหรือลดการฝึกซ้อมให้น้อยลงน่าจะดีกว่าที่เราจะฝืนวิ่งต่อไปจนถึงจุดที่ร่างกายรับไม่ไหวจะทำให้เกิดอาการท้อถอย เหนื่อยหน่ายและอาจทำให้มีอาการบาดเจ็บขึ้นได้ ในหนึ่งสัปดาห์หาวันวิ่งช้าๆ วิ่งให้นานขึ้นหรือวิ่งให้ไกลจากเดิมที่เคยวิ่ง วิ่งให้สนุก 
วิ่งให้เกิดสุขจะดีมากๆเลยครับ 
วิ่งช้าให้เป็น วิ่งดีขึ้นแน่นอนครับ

www.facebook.com/sathavornrunningclub
ครูดิน สถาวร จันทร์ผ่องศรี
18 กรกฎาคม 2561
#sathavornrunningclub
#newtonrunningthailand
#garminthailand
#dinsport
#wwwbervingcom
#วิ่งได้ไม่ใช่แค่ได้วิ่ง
#ครูดินชวนวิ่ง
#วิ่งสวยๆ
#บ้านวัดใจกับครูดิน

ที่มา : https://www.facebook.com/SathavornRunningClub/photos/a.278871682131353.77963.278844635467391/2001034626581708/?type=3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น