วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561

ผลงานการวิ่งขอนแก่นนานาชาติมาราธอน 2018

Pace เฉลี่ย คือ 6:30 เกิดจาก วิ่ง 42.2K ด้วยเวลา 4:34 hr
Pace ช่วงแรก คือ 6:22 เกิดจาก วิ่งไป 31.6K ใช้เวลา 3:21 hr
Pace ช่วงท้าย คือ 6:59 เกิดจาก วิ่งอีก 10.6K ใช้เวลา 1:14 hr
เทียบกับที่วิ่งที่เชียงรายมาราธอน ช่วง 30K แรกวิ่งเร็วกว่า แต่ช่วงหลังช้ากว่า

ไทม์ไลน์: หลับตอน 2 ทุ่มกว่า ได้หลับลึกจริงๆ ประมาณ 3-4 ชม. ตื่นตี 1:30 ถึงสนามแข่ง ตี 3 ปล่อยตัว 4:15 น. วิ่งเข้าเส้นชัย 8:50 น. ยืดเหยียด 1/2 ชม. ทานอาหาร ถ่ายรูปที่ระลึก แล้วเดินทางกลับถึง รร. 11:00 น.

รูปแบบการวิ่ง: ตอนปล่อยตัววิ่งช้าๆ ไปพร้อมน้าชาย วิ่งตาม Pacer 5:30  พอวิ่งไปได้ เกือบ 50 นาที หายเจ็บหน้าแข็งก็เริ่มวิ่งไล่ตาม Pacer ขึ้นไปเรื่อยๆ จนเจอ Pacer 4:30 ที่ 23K แล้วจึงวิ่งเกาะ Pacer 4:30 ไปเรื่อยๆ จนถึง 38K ตามไม่ไหวแล้ว วิ่งช้าลงมาก ไม่หมดแรงแต่เร่งไม่ขึ้น ไม่มีอาการบาดเจ็บหรือตะคริว (อาจเป็นเพราะเพิ่งวิ่ง TNT30 มา และถนนที่นี้เป็นคอนกรีต 70%) 





วันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2561

สาเหตุของการบาดเจ็บของนักวิ่ง

สาเหตุของการบาดเจ็บของนักวิ่ง

1. ไม่ประเมินตัวเอง วิ่งหนักเกินขีดสมรรถภาพ ข้อนี้นักวิ่งหน้าใหม่เป็นกันมาก ไม่เคยเจอความเหนื่อย มาถึงสนามวันแรกก็โกยแนบหน้าตั้ง คิดว่าทำได้ง่ายๆ เหมือนตอนเป็นเด็ก
2. เคยบาดเจ็บมาแล้ว และไม่ได้รับการรักษาให้หายขาด ข้อนี้ก็มีเยอะ บางคนเท้าแพลง รักษาด้วยตัวเองจเข้าใจว่าหายดีแล้ว แต่ภายในอาจมีความผิดปกติอยู่
3. ไม่มีการเตรียมร่างกายก่อนและหลังฝึกซ้อมเช่น warm - up และ cool - down อย่างถูกต้อง
4. ใช้รูปแบบการซ้อมที่ไม่ถูกต้อง หนักเกินไป ไม่สอดคล้องกับหลักการฝึกที่มีความเฉพาะเจาะจง
5. ใช้อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะกับการวิ่ง เช่น รองเท้า ชุดที่สวมใส่
6. สภาพของสนามและภูมิอากาศที่ไม่อำนวย
7. เร่งการฝึกซ้อม ใจร้อน เพิ่มระยะทางหรือความเร็วในระยะเวลาสั้นๆ 
8. เลียนแบบนักวิ่งดัง เห็นคนเก่งทำอะไรก็อยากทำตาม มีท่าวิ่งที่ไม่เหมาะกับโครงสร้างและสรีระ
9. ไม่ให้ความสำคัญต่อการพักฟื้น หรือเปิดโอกาสให้ร่างกายมีเวลาสำหรับซ่อมแซมและสร้างเสริมให้กลับมาแข็งแรงมากขึ้น ถ้าดันทุรังต่อไปร่างกายก็จะสึกหรอสะสมเพิ่มขึ้น
10. พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายอ่อนเพลีย 
11. ระบบโภชนาการไม่ดี รับประทานอาหารไม่มีประโยชน์ ดื่มแอลกอฮอล์ เสพของมึนเมา
12. โครงสร้างที่ผิดปกติ อาจต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น ขาโก่ง เข่าบิด ขาสั้น - ยาวไม่เท่ากัน ลักษณะของรูปเท้าที่ต่างกัน
13. อุบัติเหตุ
14. มีภาวะของโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ความดัน
15. สภาพของจิตใจไม่พร้อมหรือฝืนวิ่ง

ครูดิน สถาวร จันทร์ผ่องศรี
16 ธันวาคม 2560
หลังวิ่งแข่งควรทำอะไรบ้าง

1.คูลดาวน์ ด้วยการวิ่งเหยาะๆอย่างผ่อนคลาย ช้าๆ
ยืดเหยียดให้รู้สึกความตึง เมื่อยล้าลดลง กายบริหารเบาๆ
2. ถ้ารู้สึกปวดกล้ามเนื้อ แช่น้ำเย็นภายใน 30 นาทีหลังวิ่ง
3. รับประทานอาหารแค่พออิ่มภายใน 2 ชั่วโมง
เน้นโปรตีนที่ย่อยง่ายและคาร์โบไฮเดรท
หลังจากนั้นทานบ่อยๆมื้อเล็กๆทุก 2 ชม.
4. ช่วงเย็นออกมาวิ่งเหยาะๆคลายกล้ามเนื้อ ยืดเหยียดอีกครั้ง
5. วันรุ่งขึ้น ถ้าช่วงเย็นไม่ได้ออกไปวิ่ง เช้านี้ควรปฏิบัติ
6. พักในวันต่อมาหลังวันแข่งขัน 
สำหรับคนที่ออกมาวิ่งช่วงเย็นแล้ว
7. จัดโปรแกรมเพื่อฟื้นฟูร่างกายให้มีความสมบูรณ์กลับคืน

ครูดิน สถาวร จันทร์ผ่องศรี
17 ธันวาคม 2560

ที่มา : https://www.facebook.com/SathavornRunningClub/photos/a.278871682131353.77963.278844635467391/1754943557857484/?type=3
 https://www.facebook.com/SathavornRunningClub/photos/a.278871682131353.77963.278844635467391/1755370644481442/?type=3

วันจันทร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2561

เคล็ดลับของนักวิ่งระดับงานเวิลด์เมเจอร์ ผู้ทำความเร็วเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่ออกวิ่ง

หลังจากเกิดรันนิ่งบูมเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้มีงานวิ่งเกิดขึ้นทุกอาทิตย์ อาทิตย์ละหลายๆ งาน รวมถึงจำนวนนักวิ่งหน้าใหม่ที่เพิ่มขึ้นตามเรื่อยๆ ผมเองก็เป็นผลผลิตจากรันนิ่งบูมเช่นกันครับ ผ่านงานวิ่งมาพอสมควร วิ่งสั้นบ้างยาวบ้าง แต่ก็ยังวิ่งต่อเนื่องอยู่เรื่อยๆ

ยิ่งช่วงนี้อากาศเมืองไทยเริ่มดีขึ้น หลายคนคงหยิบรองเท้าวิ่งมาปัดฝุ่นกันแล้ว

วิ่งกันมาก็หลายปี เดาว่าน่าจะมีคนรู้สึกคล้ายๆ กันกับผมบ้างว่า วิ่งมาตั้งนาน ทำไมสถิติเรื่องเวลามันยังย่ำอยู่กับที่ และจะวิ่งยังไงให้เข้าเส้นชัยเร็วขึ้น ในเมื่ออยากเก่งขึ้นผมจึงต้องลองปรึกษาผู้มีประสบการณ์ดู
โทล-เรืองยศ มหาวรมากร

พี่โทล-เรืองยศ มหาวรมากร คือชื่อแรกที่ผมนึกถึงเรื่องความเร็วในการวิ่ง ชายร่างเล็กความสูง 160 กว่าๆ ผ่านงานมาราธอนระดับเวิลด์เมเจอร์มาแล้วถึง 3 รายการ โตเกียวมาราธอน เบอร์ลินมาราธอน และล่าสุดคือบอสตันมาราธอน รายการที่ขึ้นชื่อว่าหินที่สุดในการสมัครเข้าไปร่วมวิ่ง ใครที่จะเข้าไปวิ่งได้จะต้องผ่านเกณฑ์การวิ่ง (สุดโหด) ที่รายการกำหนดเอาไว้เท่านั้น ผมได้ยินชื่อพี่โทลครั้งแรก พร้อมคำศัพท์วิ่งที่เรียกว่า sub-3 ครับ ซับทรี คือการวิ่งมาราธอนให้ได้เวลาต่ำกว่า 3 ชั่วโมง แปลว่าถ้าผมอยากวิ่งให้ได้ซับทรี ผมจะต้องวิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 1 กิโลเมตรต่อ 4.5 นาที แค่คิดก็เริ่มเวียนหัวแล้วครับ

ต้องบอกไว้ก่อนว่ามาราธอนไม่มีคำว่าฟลุก กว่าจะได้ซับทรีมันต้องผ่านอะไรมาเยอะมาก โดยเฉพาะการซ้อมที่ว่ากันว่าต้องเปลี่ยนชีวิตกันไปเลย

ผมนัดคุยกับพี่โทลที่สนามกีฬามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา การเจอนักวิ่งเก่งๆ ทำให้ผมรู้สึกประหม่าอย่างบอกไม่ถูก ผมจึงเริ่มต้นด้วยคำถามว่าพี่โทลเริ่มวิ่งมาได้ยังไง เพื่อเป็นการวอร์มและลดอาการประหม่าของตัวเองไปด้วย

พี่โทลเล่าให้ฟังว่า เริ่มวิ่งมาเมื่อ 8 ปีก่อน ก่อนที่การวิ่งจะกลับมาบูมอีกครั้ง เหตุผลที่เริ่มก็ไม่ต่างจากหลายๆ คนเลยครับ พี่โทลเริ่มจากการวิ่งลดความอ้วน ซื้อรองเท้า แล้วก็เสียบหูฟังวิ่งในฟิตเนส วิ่งไปแบบนั้นอยู่ 3 – 4 เดือน เพื่อนก็ชวนไปลงงานวิ่ง วิ่งจบ 10 กิโลเมตรเป็นครั้งแรก และเกิดความประทับใจในงานวิ่งครั้งนั้น

ผมนึกถึงตัวเองตอนเริ่มวิ่งซึ่งคล้ายกันกับเรื่องราวของพี่โทลเป๊ะ

ได้ผลครับ การเชื่อมโยงคนเก่งๆ กับตัวเองได้ ค่อยทำให้ความรู้สึกประหม่าลดน้อยลงไปนิดหนึ่ง

ความต่างมันอยู่ที่…เมื่อวิ่งจบผมตรงเข้าไปหาของกินในงาน

แต่พี่โทลเดินเข้าไปหานักวิ่งที่ได้รับถ้วย เดินดุ่มๆ เข้าไปถามว่าต้องวิ่งด้วยความเร็วเท่าไหร่ถึงจะได้ถ้วยแบบนั้นบ้าง

คำตอบคือ ต้องวิ่ง 10 กิโลเมตรที่ประมาณ 40 นาที ถึงจะได้ถ้วย

เรื่องมันเริ่มจากตรงนี้ล่ะครับ

ตอนนั้นเป้าหมายที่พี่โทลต้องการคือการวิ่งให้เร็วขึ้น ผมลืมบอกไปว่าครั้งแรกที่พี่โทลวิ่ง 10 กิโลเมตรในงานวิ่ง เวลาที่ได้อยู่ที่ 50 นาที ถือว่าเร็วมากแล้วนะครับสำหรับนักวิ่งหน้าใหม่ แต่มันไม่เพียงพอ ถ้าเขาต้องการที่จะชนะคนอื่นๆ ไปพร้อมกับการชนะตัวเอง



วิ่งดีต้องมีโค้ช
พี่โทลโทรหา พี่วิสุทธิ์ วัฒนสิน อดีตนักวิ่งระยะสั้นทีมชาติไทย พร้อมบอกจุดประสงค์กับปลายสายซึ่งไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ว่าเขาต้องการให้ช่วยสอนให้วิ่งเร็วขึ้น หลังจากที่พี่วิสุทธิ์รับข้อตกลงอันสุดแสนจะงงงวยนี้แล้ว พี่โทลก็ต้องขับรถจากพุทธมณฑลไปฝึกวิ่งกับเขาที่ราชพฤกษ์ ขับไปกลับวันละเกือบๆ 50 กิโลเมตร อาทิตย์ละ 4 ครั้ง ฟังดูเหมือนจอมยุทธ์ดั้นด้นไปฝึกวิชากำลังภายในไหมครับ การฝึกสไตล์พี่วิสุทธิ์ก็เหมือนฝึกจอมยุทธ์จริงๆ อย่างที่ว่า

“การมีโค้ชคือเขามองเราออกว่าเราขาดอะไร มีส่วนไหนที่ได้เปรียบ ซ้อมตามตารางมันได้อย่างมากก็ 30% เพราะตารางมันไม่ได้ทำไว้ให้เหมาะกับทุกคน โค้ชจะเห็นข้อดีข้อเสียของเรา แล้วปรับการฝึกของเราได้” พี่โทลเล่า


ปรับท่าวิ่ง
สิ่งแรกสุดเลยคือโดนปรับท่าวิ่งเพื่อให้วิ่งได้ดีขึ้น และป้องกันอาการบาดเจ็บ เราเคยบาดเจ็บที่เอ็นร้อยหวายครั้งเดียวตอนเปลี่ยนท่าวิ่งจากลงส้นเท้าเป็นลงเต็มเท้า เพราะยังไม่คุ้นเคย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพื้นรองเท้าที่ส้นกับหน้าเท้าระดับไม่เท่ากัน พอลงเต็มเท้าในตอนแรก เลยเหมือนเขย่งอยู่ตลอดเวลา ทำให้บาดเจ็บ พอปรับท่าวิ่งจนคุ้นเคย มันก็ทำให้ไม่บาดเจ็บอีกเลย


เพิ่มความแข็งแกร่ง
พี่วิสุทธิ์จับวิ่งรอบหมู่บ้านตั้งแต่ 4 โมงเย็น วิ่งพื้นปูนกลางแดดร้อนๆ แต่เขารู้ว่าสิ่งที่เราขาดไปคือการฝึกความแข็งแรงของร่างกาย 1 ใน 4 วันที่ไปฝึกจะเป็น Strength Training เลย 1 วัน พี่วิสุทธิ์เอาถุงผ้ามาใส่ก้อนหินแล้วให้เราสควอต สควอตเสร็จแล้วไปวิ่งต่อพันเมตร แล้วมานั่งพัก กินน้ำ พักเสร็จก็ทำแบบนี้วนไป 7 ยก ร่วงเลย” พี่โทลเล่าถึงความโหดของโค้ชคนแรกของเขา

ผลของการฝึกความแข็งแกร่งทำให้เวลาของพี่โทลดีขึ้นมาผิดหูผิดตา ในระยะเวลาที่ฝึกซ้อมกับพี่วิสุทธิ์ พี่โทลทำเวลาของ 10 กิโลเมตรได้ลงมาเหลือแค่ 41 นาทีเท่านั้น



สร้างความอดทน
หลังจากนั้นพี่โทลหันไปเล่นไตรกีฬา ทำให้เจอกับโค้ชคนที่ 2 ชาวออสเตรเลียที่เคยเป็นโค้ชให้ทีมไตรกีฬาทีมชาติไทยมาก่อน พี่โทลส่งเวลากับความเร็วที่เคยทำได้ไปให้โค้ชดู ก่อนที่โค้ชจะออกตารางซ้อมมาให้ ช่วงที่เล่นไตรกีฬาทำให้โฟกัสกับการวิ่งน้อยลง แต่สิ่งที่ได้มาคือร่างกายที่มีความอดทนมากขึ้น และพร้อมที่จะลงมาราธอน โดยที่โค้ชเป็นคนช่วยฝึกให้

“มาราธอนแรกคือโตเกียวมาราธอน 2013 ครั้งนั้นไปแบบไม่รู้เรื่องเลย แต่อยากลองสนาม ร่างกายก็กำลังพร้อม วิ่งอย่างระวังเข้าเส้นชัยได้แบบสบายๆ ที่ 3 ชั่วโมง 15 นาที ปีถัดมาก็ไปอีก โตเกียวมาราธอน 2014 ตั้งเป้าให้กับตัวเองว่าจะวิ่งให้ต่ำกว่า 3 ชั่วโมงให้ได้ ซ้อมไปอย่างดี และจบได้ที่เวลา 2 ชั่วโมง 59 นาที ทำตามที่หวังไว้ได้สำเร็จ ทีนี้เราคิดเลยว่าเป้าหมายต่อไปคือต้องทำให้ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง 50 นาทีแล้ว” พี่โทลเล่าด้วยน้ำเสียงตื่นเต้น


ขาดความเร็ว
เล่นไตรกีฬาได้ 3 ปีก็เริ่มรู้สึกอิ่มตัว ถึงแม้จะทำเวลาในมาราธอนได้ดีขึ้น แต่ช่วงหนึ่งพี่โทลก็ยังติดอยู่ที่ความเร็วเท่าเดิม วิ่งเท่าไหร่ก็ไม่เร็วไปกว่านี้ และช่วงเวลานั้นเองก็ได้รู้จักกับ อ.นิวัฒน์ อิ่มอ่อง โค้ชคนที่ 3 ในชีวิต



สร้างความเร็ว
“ตอนนั้นถาม อ.นิวัฒน์ ว่าทำไมเราวิ่งเท่าไหร่ก็ไม่เร็วไปกว่านี้สักที พอเร่งความเร็วขึ้น สักแป๊บก็จะอ้วกแล้ว อ.นิวัฒน์ ชี้ให้เห็นว่า ที่ผ่านมาเรามัวแต่ซ้อมความอึด ความอดทน อย่างเดียว ขาดการซ้อมความเร็ว เขาเลยจับเรามาซ้อมใหม่ ซ้อมความเร็วนี่ยากที่สุดแล้ว ต้องลงคอร์ต ซ้อมเป็นเซ็ต

สมมติเราวิ่ง 400 เมตร 5 รอบ โดยใช้ความเร็วสูงสุด นั่นแปลว่าการวิ่งแต่ละรอบต้องใส่หมดทั้งตัว ไม่มีกั๊กแรงไว้เพราะกลัวรอบที่ 4 – 5 จะวิ่งไม่ไหว ต้องสอนให้ร่างกายและจิตใจมันชินกับการใส่เต็มแรง ค่อยมาพักแล้ววิ่งต่ออีก ระยะทางในการซ้อมความเร็วบางทีรวมแค่ 5 กิโลเมตร แต่ความเพลียมันยิ่งกว่าเราวิ่ง 30 กิโลเมตรมาเสียอีก มันเป็นเรื่องของใจด้วย บางวันเราเห็นตารางกับความเร็วที่ต้องวิ่ง ก็ยังต้องมีนั่งทำใจก่อนเลย” พี่โทลหัวเราะปิดท้ายเมื่อกลับไปมองถึงความโหดที่ผ่านมา


รักษาความเร็ว
เมื่อมีความเร็วแล้ว ก็ต้องยืนระยะความเร็วนั้นไว้ให้ได้ ด้วยการฝึก tempo โดยฝึกวิ่งในความเร็วคงที่ให้ร่างกายชิน หลังจากนั้นค่อยซ้อมตามความเร็วที่จะใช้ในการแข่งขันจริง ก่อนไปแข่งมาราธอน อ.นิวัฒน์ ให้วิ่ง 10 กิโลเมตร 2 รอบในความเร็วที่จะวิ่งมาราธอนจริง เนื่องจากเวลาซ้อมมีไม่ถึง 3 เดือน ถึงตั้งเป้าหมายไว้ที่ 2 ชั่วโมง 50 นาที แต่ อ.นิวัฒน์ ยังคิดว่าน่าจะยังไม่ได้ตามเป้า

“ซ้อมกับแกอยู่ 3 เดือน ความเร็วก็มาให้เห็นผลทันตา ลงมาราธอนโตเกียวมาราธอนครั้งที่ 3 เราก็ยังคิดว่าอยากได้ 2 ชั่วโมง 50 นาที ก็ทำเวลาจริงได้เกือบตามเป้าหมาย อยู่ที่ 2 ชั่วโมง 53 นาที ซึ่งน่าแปลกที่ตรงกับที่ อ. นิวัฒน์ แกคำนวณไว้เป๊ะ”



ความคาดหวัง
หลังจากทำเวลาได้ดีพี่โทลก็มองไปที่เบอร์ลินมาราธอน สนามที่เป็นสถิติโลกมาราธอนอยู่ในปัจจุบัน เวลาที่ใช้ในการซ้อมมีเหลือเฟือ แถมพี่โทลยังทำเวลาได้ดีตั้งแต่การซ้อม แต่เพราะความคาดหวังทำให้พี่โทลไปวิ่งด้วยความเครียด ส่งผลถึงร่างกายในวันวิ่งจริง เมื่อร่างกายไม่พร้อมทำให้แผนการวิ่งไม่ได้เป็นอย่างที่วางไว้ พอหลุดจากแผนตั้งแต่ครึ่งทาง ก็ทำให้ไม่อยากวิ่งต่อแล้ว ทำให้เวลาของเบอร์ลินมาราธอนไม่เป็นไปตามที่คาดหวังเอาไว้

เวลาจากโตเกียวมาราธอนทำให้พี่โทลผ่านเกณฑ์ได้เข้าร่วมบอสตันมาราธอนเมื่อปีที่ผ่านมา แต่บทเรียนเรื่องความคาดหวังจนเครียดจากเบอร์ลิน ทำให้รู้ตัวเองว่ายังไม่พร้อมสำหรับการทำเวลาที่ดี จึงบอก อ.นิวัฒน์ ว่างานนี้ขอไปวิ่งเล่นๆ ไม่ทรมาน ไม่คาดหวัง แทนดีกว่า


ช้าให้เป็น
“อย่าบ้าพลัง”

พี่โทลพูดเตือนขึ้นมา เมื่อคุยกันถึงเรื่องช่วงเวลาของการซ้อม ปกติพี่โทลจะใช้ช่วงเช้าในการซ้อม และจะจ๊อกกิ้งเบาๆ ตอนเย็น

ผมมีความเชื่ออยู่ตลอดว่าวันหนึ่งควรจะวิ่งแค่ครั้งเดียว เพื่อเก็บรักษาร่างกายไว้ซ้อมในวันต่อไป แต่พี่โทลบอกว่าการจ๊อกเบาๆ คือการ recovery แบบหนึ่ง เป็น active recovery ซึ่งช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว แถมยังได้ระยะเพิ่มอีก พี่โทลบอกว่าจ๊อกก็คือจ๊อกจริงๆ ไม่ใช่ให้จ๊อกแล้วไปวิ่งเพซ 4 เพซ 5 แบบนั้นจะส่งผลเสียกับร่างกายมากกว่า



อย่าติดอยู่กับตารางซ้อม
ทำเวลาให้ต่ำลงแค่ไม่ถึง 3 นาที แต่ต้องใช้เวลาเป็นปีๆ กว่าจะได้เวลาตามเป้าหมาย พี่โทลบอกว่าปีหน้าจะกลับมาซ้อมเพื่อทำตามเป้าหมายให้ได้อีกครั้ง ผมเองก็จะเริ่มซ้อมเหมือนกัน

“อย่ายึดติดกับตารางและตัวเลข มันจะเครียดกับการซ้อม ขาดซ้อมไม่ได้ ให้เข้าใจโครงสร้างของการซ้อม ฝึกความอดทน ฝึกความแข็งแกร่ง ฝึกความเร็ว การรักษาความเร็ว และการจำลองความเร็วจริงคืออะไรบ้าง เข้าใจว่าแต่ละอย่างซ้อมไปเพื่ออะไร เมื่อเข้าใจโครงสร้างและรู้ว่าเรายังขาดอะไรก็สามารถซ้อมเองไปได้ตลอดแล้ว และจะเอาไปใช้สอนคนอื่นต่อได้” พี่โทลสอนผมเป็นการปิดท้าย


จิรณรงค์ วงษ์สุนทร

Art Director และนักวาดภาพประกอบ สนใจเรียนรู้เรื่องราวเบื่องหน้าเบื้องหลังของอาหารกับกาแฟ รวบรวมทั้งร้านที่คิดว่าอร่อย และความรู้เรื่องอาหารไว้ที่เพจถนัดหมี และรวมร้านกาแฟที่ชอบไปไว้ใน IG : jiranarong2

ที่มา : https://readthecloud.co/running-3/

วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2561

รายละเอียดงานขอนแก่นนานาชาติมาราธอน 2018

ถ้วยรางวัลพระราชทาน

เสื้อสามารถกับเสื้อแข่ง

Route Map KKIM2018 - Full Marathon 42.195 km.
เส้นทางวิ่งขอนแก่นมาราธอนนานาชาติ ระยะมาราธอน 42.195 กม.
ชมผ่าน Youtube ได้ที่ https://youtu.be/PTH_wJ_DJ8E



แผ่นพับ ขอนแก่นมาราธอนนานาชาติ 2018 (ภาษาไทย)

อัตราค่าสมัครวิ่ง

แบบเหรียญขอนแก่นมาราธอนนานาชาติ 2018 (unofficial)

วันเสาร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2561

การเตรียมใจให้พร้อมสำหรับการวิ่งเทรล

หัวข้อนี้ขอเอาใจนักวิ่งเทรลสักนิดครับ เพราะกลุ่มนี้กำลังโตวันโตคืน

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า นักวิ่งถนนที่ฝีเท้าจัดๆ จะสามารถสลัดรองเท้าวิ่งถนน มาใส่รองเท้าเทรล แล้วจะวิ่งปร๋อได้เหมือนเดิม มันไม่ง่ายเช่นนั้นนะครับ เราจะเห็นกันได้บ่อยๆครับ ว่านักวิ่งเจ้าถนน พอมาเจอเทรล ก็ไปไม่เป็นเหมือนกัน เหมือนกับเด็กหัดเล่นสเก็ตน้ำแข็งเลย

การเตรียมร่างกายให้พร้อม รองรับความตึงเครียดจากการวิ่งเทรล เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด สิ่งนี้จะทำให้คุณเป็นนักวิ่งที่แข็งแกร่ง สามารถฝ่าฟันอุปสรรคบนเส้นทางวิ่งได้หมด ต้องสร้างกล้ามเนื้อขาและกล้ามเนื้อหน้าท้อง เพราะจะช่วยลดการบาดเจ็บได้ แถมยังเพิ่มความแข็งแรง และยืดอายุการเป็นนักวิ่งได้อีกยาวนานด้วย บนเส้นทางวิ่งที่นุ่ม และมีพื้นผิวที่หลากหลายนั้น ไม่ได้เพียงแค่ทำให้เราต้องใช้กล้ามเนื้อมากขึ้น แต่มันจะเป็นตัวบังคับให้เราต้องใช้กล้ามเนื้อที่แตกต่างกันไปในหลากหลายรูปแบบ ทำให้เราได้รับบาดเจ็บน้อยลง ซึ่งต่างกับการวิ่งซ้ำๆบนถนนคอนกรีต

โดยปกตินักวิ่งถนนระดับแนวหน้า มักดูคล้ายๆกัน คือ ขายาว ไขมันน้อย ร่างกายท่อนบนราวกับเด็กห้าขวบ จะต่างกับนักวิ่งเทรลมาก นักวิ่งเทรลจะมีรูปร่างแตกต่างหลากหลายขนาด โดยเฉพาะนักวิ่งระดับอัลตร้า ความแข็งแกร่งมีบทบาทที่สำคัญสำหรับการวิ่งขึ้นเขาขึ้นเนิน ดังนั้นน้ำหนักตัวเบา ก็ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเสมอไป

การวิ่งเทรลไม่ใช่เพียงแค่สร้างร่างกายให้แข็งแรงเท่านั้น แต่จะต้องเตรียมปรับสภาวะจิตใจที่มีความแตกต่างกันออกไป ถ้าคุณเป็นพวกหลงไหลการกำหนดความเร็วแบบแน่นอนในแต่ละกิโลเมตรแล้วละก็ คุณย่อมจะรู้สึกผิดหวังยามที่จะต้องวิ่งไปเจอแอ่งน้ำขวางหน้าอยู่ที่กิโลเมตรที่สอง แต่ถ้าใจคุณยอมรับได้ว่า การวิ่งเทรลย่อมต้องพร้อมที่จะเจออุปสรรคต่างๆ คุณเริ่มจะได้เปรียบไปอีกขึ้นหนึ่งแล้ว แทนที่จะคอยนึกถึงแต่ความยากลำบากของแต่ละก้าว คุณควรจะเปลี่ยนไปมองข้างหน้าทีละ 400 เมตร การมองไปข้างหน้าพร้อมกับการแตะพื้นครั้งแล้วครั้งเล่า สมองของคุณจะใช้เวลาไม่นานที่จะประมวลผลข้อมูลไปล่วงหน้าก่อนที่คุณจะรู้ตัวเสียอีก เพราะสมองจะรับรู้ว่า รากไม้อยู่ไหน หินก้อนนั้นจะเขยื้อนไหมถ้าไปเหยียบเข้า แล้วคุณจะรู้ว่าคุณไม่ได้กังวลใจ หรือเครียดกับการวิ่งเลย แต่กลับทำให้คุณลืมไปเลยว่าร่างกายคุณแทบจะรับไม่ไหวแล้ว ถ้าใจคุณผ่อนคลาย ก็สามารถส่งผ่านไปที่ขาให้สบายตามไปด้วยเช่นกัน
.....สุคีริน ทวีสุข ทีมเวโลเช่

ที่มา : https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10207722822258100&set=gm.468734659980064&type=3

วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2561

มาพิสูจน์ วิ่งมากไป ทำให้เข่าเสื่อม จริงหรือ?

หลายคนที่เป็นนักวิ่ง หรือกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับการวิ่งอยู่ คงต้องเคยได้ยินเรื่อง การ วิ่งมากไปทำให้เข่าเสื่อม มาบ้างล่ะ ทำให้หลายคนอาจจะยังไม่กล้าที่จะเริ่มมาวิ่งออกกำลังกาย วันนี้ Health Mthai มี 3 งานวิจัยดีๆ มาแชร์ ให้ทุกคนได้พิสูจน์กันว่า วิ่งมากไป ทำให้เข่าเสื่อม นั้น จริงหรือไม่!?

งานวิจัยแรกเป็นของ Eliza Chakravarty จากมหาวิทยาลัย Stanford ที่ศึกษากลุ่มนักวิ่ง 45 คน เทียบกับกลุ่มที่ไม่วิ่ง 53 คน เป็นเวลา 18 ปี พบว่าอัตราการเกิดข้อเข่าเสื่อมในกลุ่มนักวิ่งน้อยนั้นกว่ากลุ่มที่ไม่วิ่งถึง 20% (เทียบกับ 32%) อ่านไม่ผิดหรอกค่ะ! กลุ่มนักวิ่งมีอาการข้อเข่าเสื่อมน้อยกว่าด้วยซ้ำ

งานวิจัยที่ 2 เป็นของ David Felson ซึ่งศึกษาข้อมูลในผู้เข้าร่วมวิจัย 1,279 คน พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่าง การวิ่งกับอัตราการเกิดข้อเข่าเสื่อมเช่นกัน

นอกจากนี้ในปี 2013 ที่ผ่านมา มีอีกหนึ่งงานวิจัยที่เพิ่งตีพิมพ์ออกมาโดย Paul Williams ได้ตีพิมพ์งานวิจัย ที่ศึกษากลุ่ม นักวิ่ง 74,752 คน เทียบกับคนที่ออกกำลังกายด้วยการเดิน 14,625 คน พบว่า คนที่วิ่งมากกว่าประมาณ 2 กิโลเมตร ต่อวัน จะมีอัตราการเกิดข้อเข่าเสื่อม รวมถึงโอกาสที่จะต้องเปลี่ยนสะโพก “ลดลง!” อีกทั้งจำนวนผู้ที่มีปัญหาจากกลุ่มนักวิ่งก็ยังน้อยกว่ากลุ่มที่ออกกำลังกาย ด้วยการเดินอีกด้วย โดยผู้วิจัยพบว่าสาเหตุที่สัมพันธ์กับการเกิดข้อเข่าเสื่อมก็คือ การที่มีน้ำหนักตัวมาก ซึ่งในกลุ่มนักวิ่งส่วนใหญ่จะมีสัดส่วนน้ำหนักตัวที่น้อยกว่า จึงไม่ค่อยพบปัญหานี้ ส่วนนักวิ่งที่มีการออกกำลังกายอย่างอื่นร่วมด้วย พบว่ามีอัตราการเกิดข้อเข่าเสื่อมสูงขึ้น



เพราะฉะนั้นในปัจจุบันนี้เราน่าจะสามารถสรุปเรื่องนี้ได้แล้วนะคะว่า “การวิ่งไม่ได้ทำให้ข้อเข่าเสื่อม” แถมยังช่วยป้องกันได้ด้วยซ้ำ ในเมื่อมีงานวิจัยใหญ่ขนาดนี้มารองรับแล้ว ต่อไปเวลามีคนบอกว่า “วิ่งมากๆ ระวังข้อเข่าเสื่อมนะ” นักวิ่งทุกท่านก็ไม่ต้องกังวลแล้วล่ะ

ที่มา : https://www.samitivejhospitals.com/th/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD/

วันศุกร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2561

วันพุธที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2561

6 สนามมาราธอน ระดับ World Majors ที่ชีวิตนี้ต้องไปซักครั้ง

.
ทั้งโลกมีมาราธอนที่ถูกยกย่องเป็น World majors แค่ 6 สนามเท่านั้น | มันเป็น 6 มหาวิหารที่ทั้งโลกยกให้เป็นที่สุดของตำนานมาราธอน | อยู่ใน 6 เมือง ที่เหล่าผู้กล้า 42.195 นับล้าน หมายจะมาเยือนซักครั้งในชีวิต | การได้คว้า 6 เหรียญ Finisher จาก 6 เรซนี้ (ตามภาพ) จึงเป็นเหมือนอีกหนึ่งเป้าหมายชีวิตสำคัญสำหรับหลายๆคน
.
แต่การไปเยือน 6 มาราธอนนี้ในฐานนะนักวิ่ง ไม่ใช่ง่ายๆ 
บางเรซจะสมัครได้ต้องเคยวิ่งได้เวลาต่ำกว่าที่กำหนด 
บางเรซจะต้องจับฉลาก และมี % โดนอยู่แค่ 3-5% เท่านั้น
.
แต่ทุกๆปี ผู้คนหลายล้าน ก็ยังคงตั้งความหวัง เฝ้ารอผลสมัครเข้ารับล๊อตโต้ จาก 6 เมืองมหาวิหาร 42.195K เหล่านี้ เพื่อการได้ก้าวผ่านเส้น Finish Line ที่จุดปลายของวิหารทั้งหกให้ได้ซักครั้งในชีวิต
.
6 Marathon ระดับ World Major มีอะไรกันบ้างตามเรามาเลย...
.
.
.
⭕ #TOKYO MARATHON
Major Marathon เริ่มฤดูกาลกันที่สนามนี้ สนามน้องใหม่ที่เพิ่งเข้าวงการ World Major หลังสุดเมื่อปี 2007 แต่รายการนี้จัดกันมายาวนานตั้งแต่ 1981 และได้ IAAF Gold Label มายาวนานเช่นกัน เป็นสนามที่อยู่ใกล้เมืองไทยที่สุดแล้ว 
.
จัดกันในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เดือนที่หนาวที่สุดในโตเกียว งานนี้อุ่นขึ้นทันตาเห็น เมื่อคนกว่า 40,000 คนจากทั่วโลก (จากจำนวนผู้สมัครเกินกว่า 350,000 คนทุกปี) มารวมตัวกันที่เมืองหลวงแห่งนี้
.
สถิติสนาม หรือ Course Record (CR) ทำไว้โดย Wilson Kipsang อยู่ที่ 2:03:58 (เพิ่งทำได้เมื่อปีที่แล้ว 2017 นี่เอง โดยทำลาย course record เดิมลงไปถึง 2 นาทีกว่า) 
.
ปี 2018 คาดว่าจะเป็นปีที่คนไทยไปวิ่งรายการนี้เยอะถึง 600 คน! 
.
และ แน่นอน ปีหน้านี้ #ThaiRun จะไปร่วมถ่ายทอดสด Live กลับมาจากโตเกียว ให้เพื่อนๆคนไทยได้สนุกไปกับรายาการนี้ด้วยกันแน่นอน (และเราจะแถม #เกียวโตมาราธอน ให้ด้วย เกียวโต วิ่ง 18 กพ | โตเกียว วิ่ง 25 กพ. เราจัดเต็มให้ 2 เรซเลย) #CWX #FeaturedRace 
.
.
.

⭕ #BOSTON MARATHON 
รายการมาราธอนที่เก่าแก่ที่สุดในโลก จัดเป็นครั้งที่ 122 ในปีหน้า มาราธอนที่ประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 100 ปี. มันจึงไม่ใช่มาราธอน แต่มันเป็นประเพณีแห่งศตวรรษที่คนทั้งเมืองเป็นเจ้าภาพต้อนรับนักวิ่งจากทั่วโลก ต่อเนื่องกันมาทุกๆปี ตลอด 4-5 ชั่วอายุคนแแล้ว (ปี 2014 มีคนวิ่ง 32,408 คน)
.
เหรียญยูนิคอร์นแห่งบอสตันมาราธอน จึงเป็นเหมือนตำนานที่สัมผัสได้ เป็นเหรียญที่นักวิ่งทั่วโลกหมายจะครอบครองซักครั้ง.
.
สนามนี้เป็นสนามที่สมัครยากที่สุดในโลก. 
คุณจะต้องมี PB ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ผู้ชายช่วงอายุ 35-39 จะต้องวิ่งได้ต่ำกว่า 3:10 ชม. (ตกใจหนักมาก 😲 3 ชั่วโมง 10 นาที!) ถึงจะมีสิทธิ์สมัคร ส่วนผู้หญิงอายุเดียวกันจะต้องวิ่งเร็วกว่า 3:40 ชม. Boston time qualifying แม้แต่ตอนอายุ 80 ปีไปแล้วก็ยังต้องวิ่งมาราธอน ให้ได้ 4:55 Hrs (Men) งั้นไปตอนอายุ 60 ก็ต้องวิ่งให้ต่ำกว่า 3:55 Hrs นะ
.
และสถิตินี้จะมามั่วเองไม่ได้ จะต้องเป็นผลการวิ่งจาก race ที่ได้รับการยอมรับจาก Boston Marathon เท่านั้น (race ที่บอสตันรับรอง คือ race ที่มีการวัดสนามโดย AIMS และรองรับโดย IAAF) วิ่งเล่นอยู่ในสวนข้างบ้าน สมัครไม่ได้นะครับ
.
แต่นั่นเป็นเพียงเกณฑ์ เพื่อได้สิทธิ์การสมัครนะคร้าบบบบ - คนสมัครหลายแสนคนที่ผานเกณฑ์ขั้นต่ำนี้จะต้องสู้กับนักวิ่งจากทั่วโลกที่จ่อใบสมัครมาเหมือนกัน พูดง่ายๆ ว่าใครที่ยิ่งเวลาต่ำกว่า ยิ่งมีสิทธิ์ได้สูง ใครแค่วิ่งพอผ่านเกณฑ์ก็ยังไม่อยู่ในระยะปลอดภัย (โอ้ มายก็อดดดดด! 😲) 
.
เจฟฟรี่ มูวไต (Goeffry Mutai) ทำ course record ไว้ที่ 2:03:02 ชม. (ในปี 2011) แม้ว่าความเร็วนี้จะเร็วกว่าสถิติโลกในตอนนั้นก็ตาม แต่สนามนี้ไม่สามารถใช้นับเป็นสถิติโลกได้ เพราะสนามผิดระเบียบของ IAAF อยู่ 2 ข้อ คือ สนามโดยรวมเป็นทางลาดลงเขา และ สนามเป็น point 2 point ที่จุด finish อยู่ห่างจากจุดเริ่มเกิน 50% ของระยะทางสนาม
.
บอสตันบอก ขอบคุณครับ ผมไม่เอาก็ได้ ผมจัดแบบนี้มาร้อยกว่าปีละ พี่ IAAF จะว่าไงก็ ตามสบายนะพี่ 😁 อีกเรื่องที่บอสตันมาราธอนไม่ตามใครก็คือ งานนี้ วิ่งกันวันจันทร์ ไม่ใช่วันอาทิตย์ ก็เค้าวิ่งแบบนี้มา 100 ปี ตะเองจะทำไม😁
.
ปีหน้า 2018 พี่อุ้ง Punyanuch Prachayanipon และ พี่นะ Naruphon Prathanthip โได้ตั๋วไปร่วมงานนี้ละ เดี๋ยวเราตามดูพี่อุ้งและพี่นะไปวิ่งกันครับ
.
.
.

⭕ #LONDON MARATHON
วิ่งกันเดือนเมษา เพียง 6 วันหลังจาก Boston Marathon เราไม่รู้เค้าตั้งใจหรือป่าว แต่เป็นแบบนั้นมานานแล้ว คือจำง่ายๆว่า พอบอสตันวิ่งเสร็จ อีก 6 วันก็ London Marathon
.
ลอนดอนมาราธอน น่าจะเป็นรายกายแฟนบ้าคลั่งกับงานที่สุดเท่าที่เราสัมผัสได้ แต่ละปี สองข้างทางวิ่ง จะมีคนยืนแพ็คกันประมาณ 3 ชั้นเพื่อคอยเชียร์คนวิ่ง เรียกว่าคนยืนเชียร์ริมถนนไม่ต่ำกว่า 1,000,000 คน มันจึงเป็นการวิ่งที่สนุกมาก 
.
การสมัครก็บ้าคลั่งพอกัน ปีๆนึงมีคนสมัครเกือบ 400,000 คน ได้วิ่งไม่ถึง 40,000 คน (ปี 2014 มีคนวิ่ง 35,808 คน) อันนี้รวมโควต้าสารพัดแล้ว ถ้าเอาสิทธิ์จากล้อตโต้อย่างเดียวคงน้อยเต็มที
.
แต่ที่สุดของความคลั่งไคล้ที่น่าชื่นชม คือ แต่ละปี London Marathon จะ raise fund เพื่อช่วยการกุศล ได้ยอดเงินสูงที่สุดในบรรดาเมเจอร์ด้วยกัน ปีละประมาณ 79,000,000 เหรียญยูเอส (ประมาณ 2,800 ล้านบาท ต่อปี) สุดยอดดด
.
งานนี้ประวัติศาสตร์ยาวนานไม่แพ้กัน ที่น่า surprise คือ งานนี้เริ่มครั้งแรก 1981 ปีเดียวกับโตเกียวมาราธอนเลย Course Records ในปัจจุบันเป็นของ พี่คิปโชเก้ Eliud Kipchoge - 2:03:05 (ทำไว้เมื่อปี 2016) พี่คิปโชเก้ประกาศคว้าแชมป์ที่นี่มาแล้ว 2 ครั้ง คือ 2015 และ 2016 และประกาศชัดว่า 2018 เค้าจะกลับมาวิ่งที่นี่อีกครั้ง
.
เสน่ห์ของลอนดอนมาราธอนก็คือ #ลอนดอน เอง เมืองหลวงของผู้ดีอังกฤษที่เต็มไปด้วยอาคารสวยงาม ศิลปะยุควิคตอเรีย เป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิ แดดอ่อน ลมเย็นๆ วิ่งผ่านแม่น้ำเทมส์ พระราชวังบัคกิ้งแฮม และ สารพัดสวนสวยของลอนดอน วิ่งเสร็จไปกินอาหารจีนสุดพีคที่โซโห ย่านไชน่าทาวน์กลางเมือง #RunLikeAJourney มากๆ
.
.
.

⭕ #BERLIN MARATHON
สนามสุดพีคของการทำลายสถิติโลก อยู่ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนี สนามนี้มีการทำลายสถิติกโลก WR กันประจำ จนเรียกว่าเป็นสนามเจ้าแห่ง WR ไปแล้ว 
.
WR ในช่วง 14 ปีหลังสุด เกิด WR ถึง 6 ครั้งที่สนามแห่งนี้ 
.
ด้วยความที่สนามเป็นสนามค่อนข้างเรียบ และมีโค้งไม่เยอะมาก การใส่เต็มสปีดก็ทำได้ดีกว่าสนามอื่นๆ 
.
สถิติสนาม Course Records ซึ่งเป็นสถิติเดียวกับสถิติโลกในปัจจุบันทำไว้โดย เดนนิส คิเมตโต้ (Dennis Kipruto Kimetto) ที่เวลา 2:02:57 (ในปี 2014) เสียดายที่ปีนี้ พี่คิปโชเก้แห่ง Breaking2 ที่ตั้งใจมาทำ WR ที่นี่ พลาดไปเพราะอากาศไม่เป็นใจ ฝนดันตกมาในวันแข่งซะงั้น ราวกับฟ้ายังปกป้องสถิติให้อยู่กับ Team Adidas ของเจ้าถิ่นต่อไป อีกปี
.
ปีนี้ ThaiRun เพิ่งจัด Featured race ตามข้อมูลของ Berlin Marathon มาให้เพื่อนได้ดูกันอย่างละเอียด ปีหน้าเอาอีกนะ สนุกดี
.
.
.

⭕ #CHICAGO MARATHON
เรซที่จะวิ่งกันวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ เริ่มจัดมาตั้งแต่ 1905! แต่ว่ามาเร่ิมต่อเนื่องจริงๆเมื่อ 1977 (คุณรู้หรือไม่ มี 8 คน ในโลก ที่วิ่ง Chicago Marathon มาทุกปี ตั้งแต่ปี 1977 จนถึงปัจจุบัน!)
.
จริงๆแล้ว ชิคาโก้ เป็นสนามที่เรียบกว่า Berlin Marathon เสียอีก แต่บังเอิญว่ามันอยู่สูงกว่าน้ำทะเล ถึง 600 ฟุต (สนามเบอร์ลิน เรียบน้อยกว่า แต่อยู่ระดับเหนือกว่าน้ำทะเลแค่ 150 ฟุต) ทำให้อากาศที่ชิคาโก้จะเบาบางกว่าที่เบอร์ลิน ออกซิเจนน้อยกว่า สำหรับนักวิ่ง แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า วิ่งสนามนี้จะเหนื่อยกว่าวิ่งที่ไหนๆ แถมจำนวนโค้งและอุณหภูมิที่สูงกว่าก็เป็นอีกปัจจัย
.
เป็นอีกสนามที่ผู้คนบ้าคลั่งกับการออกมาชมและเชียร์ มีสถิติคนออกมาเชียร์ข้างสนามวิ่งถึง 1,700,000 คน ในปี 2014!!! (โออววว พระเจ้าาาา แค่ยืนบนถนนก็คงไม่พอแล้ว)
.
ที่พีคของปีนี้ คือ เดนนิส คิเมตโต้ ( Dennis Kimetto) เจ้าของ WR ในปัจจุบัน เป็นเจ้าของ Course record ของสนามนี้เสียด้วย ทำ Course Records ได้ที่ 2:03:45 ชม ในปี 2013 เจ้าตัวเก็บตัวเงียบ ไม่วิ่งสนามอื่นเลยช่วงนี้ หวังจะมาเก็บถ้วยงานนี้ เผลอๆ มาสร้าง WR ใหม่ที่นี่ก้เป็นได้ 
.
ปี 2017 เจ้าถิ่น Galen Rupp คว้าแชมป์จากสนามนี้ในคนอเมริกันได้เป็นครั้งแรกในหลายสิบปี
.
.

⭕ #NEW #YORK #CITY MARATHON
สนาม Major สุดท้ายแห่งปี แต่ความสำคัญไม่ท้ายสุด 
สนามนี้คือ มาราธอนที่ใหญ่ที่สุดในโลก!!! 
.
ในปี 2016 รายการนี้มี Finishers ถึง 51,394 (นั่นก็มากว่าคนวิ่งทั้งหมดใน Berlin แล้ว) 
.
คนที่มาวิ่งในปี 2017 มีถึง 98,247 คน!!!! เกือบแสน!!!!  🔥
.
แน่นอน race ใหญ่ขนาดนี้ ความสนุกคึกคักหาเรซอื่นเทียบได้ยาก แต่แน่นอน มันก็มาพร้อมกับความแออัด และความยากของการรักษาความปลอดภัย 
.
สนามนี้ Geoffrey Mutai ทำ Course Records ไว้ที่ 2:05:06 (เมื่อปี 2011)
.
ปี 2017 พี่นะมาวิ่ง และส่งภาพมาให้เราดูกันรัวๆ
.
สนามนี้คือสนามเดียว ที่ยังไม่มี ทีมแอด #ไทยรัน คนไหนเคยไปเหยียบ มันเป็นที่ที่เราอยากโดน. เดี๋ยวไว้ว่างๆ ทำนาเสร็จปีนี้ ถ้าข้าวดีน้ำดี ปีหน้าอาจจะได้ซื้อตั๋วไปโดนซักครั้ง เดี๋ยวเราค่อยๆทยอยหาข้อมูลมาเล่าให้ฟังกันต่อไปนะ 😁
.
.
.
.
ทุกๆปี มีหลายล้านคน ที่ผิดหวังซ้ำแล้วซ้ำอีกจากผลการจับล๊อตโต้
ทำไมพวกเขาเหล่านั้น ไม่ซื้อตั๋วเครื่องบิน แล้วบินไปเลย 
ทำไมไม่ไปวิ่งเอง บนถนนเส้นเดียวกันกับวันจัดงาน
ทำไมมันไม่สามารถเติมเต็มใจของพวกเค้าเหล่านั้นได้
ทำไมต้องเฝ้ารอผลล๊อตโต้ 
ทำไม?
.
#มีแต่คนที่วิ่งเท่านั้นหล่ะ #ที่เข้าใจ 
.
.
.
#ThaiRun, the Thailand's Runnning Media
เพราะความสุขของนักวิ่ง คือเรื่องใหญ่ของเรา
.
ถ้าอ่านบทความนี้ แล้วชอบ อ่านแล้วสนุก
ช่วยให้กำลังใจ กด Like กด Share ให้หน่อยนะครับ ขอบคุณคร้าบบ.
.
.
โพสต์นี้สนับสนุนโดย CW-X

วันจันทร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561

บันทึกการฝึกซ้อมวิ่งมาราธอนปีสอง

ระยะทางวิ่งรวม ปี 2560 วิ่งไปทั้งหมด 2,230.4 กิโลเมตร


DATEJan 2017Feb 2017Mar 2017Apr 2017May 2017Jun 2017
11916
286.5166.5
3512.56.5
41612.58.516
510205
66.56.58
76.51512.51611
86.515
96.51986.5
101012.510
114.21535
122513156.5
133.26.5
1412.51012.53013
154210
16206.56.5
17112.512.57.5
181.57.519
1922.5107.56.5
2018
2112.5106.51616
221.51612
234.812.586.5
2412.5108
254.87.510
266.51512.5106.5
276.5
287.516126.5215
294.312
30276.55
31512.58
TOTAL143.3189227.5212.5186.5185


Jul 2017Aug 2017Sep 2017Oct 2017Nov 2017Dec 2017
86.51106.5
42103
357.520
6.54
6.55168
301316
58
6.56.55.1116.5
58
51986.510
6.56.5
5810345
516166.5
6.5
7.586.58
7.5112730
106.5
86.56.5
106.58161
355
56.582
6.531611
2782.5
4286.55
6.56.510
8355
166.57
6.513
82.5306.55
16115
6.55
164208186172.62101462230.4