วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560

10 เทคนิคการวิ่งเพื่อสุขภาพ

การวิ่งเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นการออกกำลังที่ง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ เพิ่มเติม และยังเป็นกีฬาที่คนส่วนมากเลือกที่จะเป็นกีฬาเริ่มต้น เมื่อต้องการออกกำลังกาย สามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย เพียงแค่เราควรปรับให้เหมาะสมกับตัวเรา เพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย โดยมีเทคนิคง่าย ๆ ดังนี้

1. อบอุ่นร่างกายก่อนวิ่ง
การอบอุ่นร่างกายเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเริ่มจากการวิ่งเหยาะ ๆ และการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพราะจะช่วยให้ร่างกาย เกิดความพร้อม ลดโอกาสในการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นต่าง ๆ

2. ลงเท้าให้ถูกวิธี
สิ่งที่ควรสัมผัสพื้นก่อนคือส้นเท้า ตามด้วยฝ่าเท้า และเมื่อปลายเท้าแตะพื้น ก็จะพอดีกับจังหวะที่ส้นเท้าเปิดขึ้น ปลายเท้าจะคล้ายตะกุยดิน ถีบส่งตัวให้เคลื่อนไปข้างหน้าคล้ายสปริง การลงเท้าที่ถูกวิธีช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุข้อเท้าพลิกได้

3. วิ่งด้วยท่าที่ถูกต้อง
ท่าที่ถูกต้องจะช่วยเพิ่มการทรงตัว ควรให้ร่างกายเป็นธรรมชาติมากที่สุด หลังและศีรษะตรง ตามองตรงไปข้างหน้า ลำตัวไม่โน้มไปด้านหน้าหรือเอนไปด้านหลัง

4. เคลื่อนไหวแขนให้เป็นจังหวะ
เป็นการสร้างจังหวะในการวิ่งเพื่อให้การทรงตัวดียิ่งขึ้น แกว่งแขนในลักษณะเหมือนกับลูกตุ้มนาฬิกาไปตามแนวหน้า-หลัง กำมือหลวม ๆ

5. หายใจด้วยท้อง
สูดหายใจเข้าไปในปอดจนท้องขยาย และบังคับปล่อยลมให้ออกมาด้วยการแขม่วท้อง การหายใจไม่ถูกวิธีอาจจะทำให้เกิดการจุกเสียดขณะวิ่งได้

6. วิ่งด้วยความเร็วที่เหมาะสม
ควรใช้ความเร็วที่พอดีกับร่างกาย เมื่อวิ่งไปแล้ว 4 – 5 นาที ควรมีเหงื่อออก รู้สึกเหนื่อยจนต้องหายใจแรงขึ้น แต่ไม่ถึงกับต้องหายใจทางปากหรือมีอาการหอบ

7. วิ่งสลับเดินยาวบ้างก็ได้
การวิ่งติดต่อกันโดยไม่หยุด เป็นสิ่งที่ไม่ง่ายนักสำหรับผู้ที่ไม่ได้เล่นกีฬาหรือวิ่งเป็นประจำอยู่ก่อน ดังนั้นไม่ควรหักโหมจนเกินไป เราสามารถวิ่งสลับกับการเดินยาว หรือเดินเร็วได้ เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัว

8. เพิ่มระยะเวลา และความเร็ว
การเพิ่มระยะเวลาของการวิ่งให้มากขึ้น และลดระยะเวลาของการเดินให้น้อยลง จนสามารถวิ่งเหยาะได้ติดต่อกันไม่น้อยกว่า10 นาที หากสามารถวิ่งในลักษณะนี้ได้อย่างน้อย 3 วัน ต่อสัปดาห์ ถือได้ว่าเป็นการวิ่งเพื่อสุขภาพ

9. จับสัญญาณอันตราย
สัญญาณอันตราย เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้หรือหน้ามืดเป็นลม รู้สึกคล้ายหายใจไม่ทันหรือหายใจไม่ออก ใจสั่น แน่น หน้าอก หรือลมออกหู อาจเกิดจากร่างกายอ่อนแอ อดนอน หรือเจ็บไข้ รวมไปถึงอาจเกิดจากมีอากาศร้อนจัด ไม่ได้ดื่มน้ำและเกลือแร่พอเพียง หากมีอาการเกิดขึ้นควรชะลอความเร็ว เปลี่ยนเป็นเดิน แล้วจึงค่อย ๆ หยุดนั่งพัก หากยังไม่ดีขึ้นควรรีบปรึกษาแพทย์

10. ผ่อนคลายร่างกายหลังวิ่ง
นอกจากการอบอุ่นร่างกายก่อนการเริ่มวิ่งแล้ว การผ่อนคลายหลังการวิ่งก็สำคัญไม่แพ้กัน หากหยุดวิ่งทันที ร่างกายอาจจะปรับตัวไม่ทัน อาจะทำให้มีอาการหน้ามืดเป็นลม หรือช็อคได้ ดังนั้นควรค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นการเดินเร็ว แล้วจึงหยุกพัก

ที่มา http://www.bergandy.net

วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560

จัดไป 30K ต้อนรับลมหนาวแรก

วันอาทิตย์นี้เป็นโปรแกรมฝึกวิ่งยาว Week 9 เพื่อเตรียมแข่งรายการ TNT30 ตะนาวศรีเทรล ระยะทางตามโปรแกรมคือ 30K คิดเป็นรอบสวนลุมพินี คือ 12 รอบ

ไทม์ไลน์

  • 3:30 น. ตื่นนอน ทำธุระส่วนตัว กินอาหาร ขนมปัง 4 แผ่น โอวัลติน กล้วยหอม 2 ลูก กาแฟดำปิดท้าย
  • 4:00 น. ออกเดินทาง วันนี้พิเศษแฟนไปวิ่งด้วย พอถึงสวนฯ ก็วอร์มอัพด้วยกัน
  • 5:00 น. สตาร์ท
  • 8:05 น. STOP
  • 8:30 น. ยืดเหยียดด้วยท่าหมอเมย์ 3 เซ็ต เสร็จแล้วกลับบ้าน


เวลาที่วิ่งได้
4 รอบแรก 54 นาที
4 รอบที่สอง 1:02 ชม.
4 รอบสุดท้าย 1:03 ชม.

ข้อสังเกตุ

  • วิ่ง 10 รอบแรกสบายๆ 2 รอบสุดท้ายออกอาการอ่อนล้ากล้ามเนื้อต้นขานิสๆ แต่ไม่ลำบาก ไม่มีอาการว่าจะเป็นตะคริวเลย
  • สภาพร่างกายปกติ นิ้วโป้งเท้าซ้ายที่เคยเจ็บก็ไม่มีอาการ
  • หลังจากครบ 12 รอบเช็คสภาพความอึดแล้ว พบว่าต้องลำบากอีกเยอะถ้าต้องวิ่งต่ออีก 5 รอบ เพื่อให้ครบ 42K อันนี้พอเข้าใจได้ว่ามันต้องใช้เวลาฝึกซ้อม

วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2560

มะเร็งกับความเข้าใจ การดูแลร่างกาย อาหาร

1. ทุกๆคนมีเซลมะเร็งอยู่ในร่างกาย เซลมะเร็งเหล่านี้จะไม่ปรากฎด้วยวิธีการตรวจสอบตามมาตรฐาน จนกระทั่งมันขยายตัวเพิ่มขึ้นในระดับพันล้านเซล เมื่อแพทย์บอกว่าไม่มีเซลมะเร็งในร่างกายผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาแล้ว มันหมายถึงว่าระบบไม่สามารถตรวจสอบเซลมะเร็งได้เพราะว่าจำนวนของมันยังไม่มากพอ จนถึงระดับที่สามารถตรวจจับได้เท่านั้น 


2. เซลมะเร็งเกิดขึ้นระหว่าง 6 ถึงมากกว่า 10 ครั้งในช่วงอายุของคนๆหนึ่ง 

3. เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงเพียงพอ เซลมะเร็งจะถูกทำลายและป้องกันไม่ให้เกิดการขยายตัวและกลายเป็นเนื้องอก 

4. เมื่อใครก็ตามเป็นมะเร็ง มันกำลังบอกว่าคนๆนั้นมีความบกพร่องหลายประการเกี่ยวกับโภชนาการ ซึ่งอาจเกิดจากยีน สิ่งแวดล้อม อาหารและปัจจัยอื่นๆในการดำรงชีวิต 

5. เพื่อเอาชนะภาวะบกพร่องหลายประการเกี่ยวกับโภชนาการ การเปลี่ยนแปลงประเภทของอาหารรวมทั้งสารอาหารบางอย่างจะช่วยให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น 

6. การทำคีโมคือการให้สารเคมีที่มีความเป็นพิษกับเซลมะเร็งที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ขณะเดียวกัน มันก็จะทำลายเซลที่ดีที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในไขกระดูก ทำลายระบบทางเดินอาหาร ฯลฯ และเป็นสาเหตุทำให้อวัยวะบางส่วนถูกทำลาย เช่น ตับ ไต หัวใจ ปอด ฯลฯ 

7. การฉายรังสีแม้ว่าจะเป็นการทำลายเซลมะเร็ง แต่ก็ทำให้เกิดอาการไหม้ เป็นแผลเป็น และทำลายเซลที่ดี เนื้อเยื่อ และอวัยวะ 

8. การบำบัดโดยคีโม และการฉายรังสีมักจะช่วยลดขนาดของเนื้องอกได้ในช่วงแรกๆ อย่างไรก็ตามถ้าทำไปนานๆพบว่ามักไม่ส่งผลต่อการทำลายเซลเนื้องอก 

9. เมื่อร่างกายได้รับสารพิษจากการทำคีโมหรือการฉายรังสีมากเกินไป ระบบภูมิคุ้มกันอาจปรับตัวเข้ากันได้หรือไม่ก็อาจถูกทำลายลง ดังนั้นคนๆนั้นจึงอาจตกอยู่ในอันตรายจากการติดเชื้อหลายชนิดและทำให้โรคมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น 

10. การทำคีโมและการฉายรังสีอาจเป็นสาเหตุทำให้เซลมะเร็งกลายพันธุ์ ดื้อยา และยากต่อการทำลาย การผ่าตัดก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เซลมะเร็งกระจายไปทั่วร่างกาย 
  
11. วิธีที่ดีที่สุดในการทำสงครามกับมะเร็ง คือการไม่ให้เซลมะเร็งได้รับอาหารเพื่อนำไปใช้ในการขยายตัว
  
อะไรคืออาหารที่ป้อนให้กับเซลมะเร็ง

a. น้ำตาลคืออาหารของมะเร็ง การตัดน้ำตาลคือการตัดแหล่งอาหารสำคัญที่จ่ายให้กับเซลมะเร็ง สารทดแทนน้ำตาลอย่างเช่น "" นิวตร้าสวีต "" "" อีควล "" "" สปูนฟูล "" ฯลฯ ล้วนทำมาจากสารให้ความหวาน ซึ่งเป็นอันตราย สารทดแทนซึ่งเป็นกลางที่ดีกว่าคือน้ำผึ้งมานูคา (จากนิวซีแลนด์) หรือน้ำอ้อย แต่ในปริมาณน้อยๆเท่านั้น เกลือสำเร็จรูปก็ใช้สารเคมีในการฟอกขาว ควรหันไปเลือกใช้ "" แบรก อมิโน "" หรือเกลือทะเลแทน 

b. นมเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายผลิตเมือก โดยเฉพาะในระบบทางเดินอาหาร เซลมะเร็งจะได้รับอาหารได้ดีในสภาวะที่มีเมือก การใช้นมถั่วเหลืองชนิดไม่หวานแทนนม จะทำให้เซลมะเร็งไม่ได้รับอาหาร 
   
c. เซลมะเร็งเติบโตได้ดี ในภาวะแวดล้อมที่เป็นกรด อาหารจำพวกเนื้อจะสร้างสภาวะกรดขึ้น ดังนั้นจึงควรหันไปรับประทานปลาจะดีที่สุด รองลงไปคือรับประทานไก่แทนเนื้อและหมู ในเนื้ออาจมียาฆ่าเชื้อ ฮอร์โมนที่สร้างการเจริญเติบโตในสัตว์ และเชื้อปรสิตบางประเภทตกค้างอยู่ ซึ่งล้วนเป็นอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่เป็นมะเร็ง 


d. อาหารที่ประกอบด้วยผักสด 80% และน้ำผลไม้ พืชจำพวกหัว เมล็ด ถั่วเปลือกแข็ง และผลไม้จำนวนเล็กน้อย จะช่วยทำให้ร่างกายมีสภาวะเป็นด่าง อาหารอีก 20% อาจได้มาจากการทำอาหารร่วมกับพืชจำพวกถั่ว น้ำผักสดจะให้เอ็นไซม์ซึ่งสามารถดูดซึมได้ง่ายและซึมทราบสู่ระดับเซลภายใน 15 นาที เพื่อบำรุงร่างกายและส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลที่ดี เพื่อให้ได้เอ็นไซม์ในการสร้างเซลที่ดี ให้พยายามดื่มน้ำผักสด ( ผักส่วนใหญ่รวมทั้งถั่วที่มีหน่อหรือต้นอ่อน) และรับประทานผักสดดิบ 2-3 ครั้งต่อวัน เอ็นไซม์จะถูกทำลายได้ง่ายที่อุณหภูมิ 140 องศา F ( ประมาณ 40 องศา C) 
   
e. ให้หลีกเลี่ยงกาแฟ น้ำชา และช๊อกโกแลต ซึ่งมีคาเฟอีนสูง ชาเขียวถือเป็นทางเลือกที่ดีและมีคุณสมบัติในการต้านมะเร็ง น้ำดื่มให้เลือกดื่มน้ำบริสุทธิ์ หรือที่ผ่านการกรอง เพื่อหลีกเลี่ยงท๊อกซินและโลหะหนักในน้ำประปา น้ำกลั่นมักมีสภาพเป็นกรด ให้หลีกเลี่ยง 

12. โปรตีนจากเนื้อจะย่อยยาก และต้องการเอ็นไซม์หลายชนิดมาช่วยในการย่อย เนื้อสัตว์ที่ไม่สามารถย่อยได้ในระบบทางเดินอาหารจะเกิดการบูดเน่าและมีความเป็นพิษมากขึ้น 


13. ผนังของเซลมะเร็งจะมีโปรตีนห่อหุ้มไว้ การงดหรือการรับประทานเนื้อสัตว์น้อยลง จะทำให้มีเอ็นไซม์เหลือมากพอมาใช้โจมตีกำแพงโปรตีนที่ห่อหุ้มเซลมะเร็ง และช่วยให้เซลของร่างกายสามารถกำจัดเซลมะเร็งได้ดีขึ้น 


14. สารอาหารบางอย่างอาจช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ( สาร IP6 [inositol hexaphosphate หรือ phytic acid], สาร Flor-essence, สาร Essiac, สารแอนตี้-อ๊อกซิแดนส์ , วิตามิน , เกลือแร่ , EFAs ฯลฯ) เพื่อช่วยให้เซลของร่างกายสามารถกำจัดเซลมะเร็งได้ดีขึ้น สารอาหารอื่นๆเช่น วิตามินอี เป็นที่ทราบกันดีว่าทำให้เกิดการตายลงของเซล หรือกำหนดระยะเวลาการตายของเซล ซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติของร่างกายในการกำจัดเซลที่ถูกทำลาย ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการ หรือไม่มีประโยชน์ออกไป 

15. มะเร็งเป็นโรคที่สัมพันธ์กับจิตใจ ร่างกาย และจิตวิญญาณ การป้องกันเชิงรุกและการคิดในเชิงบวกจะช่วยให้เราสามารถอยู่รอดจากการทำสงครามกับมะเร็ง.... ความโกรธ การไม่รู้จักให้อภัย และความขมขื่นใจ จะทำให้ร่างกายเกิดความตึงเครียดและมีสภาวะเป็นกรดเพิ่มขึ้น ให้เรียนรู้ที่จะมีความรักและจิตวิญญาณแห่งการให้อภัย เรียนรู้ที่จะผ่อนคลายและมีความสุขกับชีวิต 

 16. เซลมะเร็งไม่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาวะที่มีอ๊อกซิเจนเป็นจำนวนมาก การออกกำลังกายทุกวัน และการหายใจลึกๆจะช่วยให้ร่างกายได้รับอ๊อกซิเจนเพิ่มขึ้นลงไปจนระดับเซล การบำบัดด้วยอ๊อกซิเจนถือเป็นวิธีการอีกอย่างที่ใช้ในการทำลายเซลมะเร็ง

ที่มา : http://www.ladysquare.com/forum_posts.asp?TID=108133

วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2560

นวัตกรรม "ชุดนอนไฮเทค" ช่วยฟื้นฟูร่างกาย ... เพียงแค่ข้ามคืน

นวัตกรรม เป็นสิ่งที่สำคัญที่ช่วยยกระดับสินค้า ให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค และยังช่วยตอบโจทย์เรื่องการตลาดที่สามารถแข่งขันได้ รวมถึง ผู้ผลิตชุดนอนไฮเทค Athlete Recovery Sleepwear ของUnder Armour (อันเดอร์ อาร์เมอร์) ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับนักกีฬาหลังออกกำลังกายมาอย่างหนัก 

“Athlete Recovery Sleepwear” เกิดจากการที่ “ทอม เบรดี้ ควอเตอร์แบ็ก “ แชมป์โลก 4 สมัย จากการออกแบบชุดกีฬา ได้ชวน “เควิน ฮาร์ลีย์” ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรม และผู้บริหาร จาก Under Armour (อันเดอร์ อาร์เมอร์) มาดูสาธิตการรักษาอาการบาดเจ็บบริเวณน่อง จากการแข่งขันกีฬา ในปี 2014 โดยในครั้งนั้น ใช้ผ้าที่ทำจาก “ไบโอเซรามิค” มาพันบริเวณกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งสามารถช่วยได้จริง

หลังจากการแข่งขัน ทำให้ทีมผู้บริหาร “อันเดอร์ อาร์เมอร์” ตระหนักถึงปัญหาและหาทางแก้ไขโดยใช้ความเป็นเจ้านวัตกรรมเสื้อผ้ากีฬาให้เป็นประโยชน์ออกแบบชุดกีฬานี้ ซึ่งเวลาผ่านไปถึง 2 ปี หลังจากนั้น ได้ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ในกลุ่มชุดนอนไฮเทค Athlete Recovery Sleepwear ขึ้น" 
สำหรับชุดนอนไฮเทค ดังกล่าว ถ้าดูจากภายนอกเหมือนชุดนอนทั่วๆไป แต่ Athlete Recovery Sleepwear ผลิตจากนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่า TB 12 เพื่อช่วยยกระดับการนอนขั้นสูงสุด โดยวิธีการทำงานของชุดนอนนี้คือ นำความร้อนที่ออกมาจากร่างกายส่งกลับไปที่เดิมในรูปแบบรังสีฟาร์ อินฟราเรด (Far Infrared) ฟังดูแล้วเหมือนเป็นกลยุทธ์ทางการตลาด แต่ความพิเศษนี้ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์มาแล้ว ว่ารังสีฟาร์ อินฟราเรด มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยให้เลือดหมุนเวียนได้ดี และเป็นที่มาของการฟื้นฟูร่างกาย ภายในระยะเวลาเพียงข้ามคืน ที่ คุณนอนหลับ


“ทั้งนี้ ชุดนอนไฮเทค ดังกล่าว ผลิตด้วยกรรมวิธีอนุภาค “ไบโอเซรามิค” (Biocermaics) ที่ฝังตัวในเนื้อผ้า ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์ “ไบโอเซรามิก” อาจเป็นเรื่องพื้นฐาน แต่มีความสามารถสูงในการปลดล็อกเพื่อฟื้นฟูร่างกาย โดย “ไบโอเซรามิก” ในชุดนอนนี้จะช่วยให้เลือดมีการไหลเวียนดีขึ้น สารพิษจำพวกกรดแล็คติกและอื่นๆ ก็จะถูกขับออกจากร่างกายเร็วขึ้น และลดอาการอักเสบอีกด้วย” “เกลนน์ ซิลเบิร์ต” รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์ระดับนานาชาติจาก Under Armour กล่าว 


“ทอม เบรดี้” เห็นความสำคัญของการนอนหลับ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการฟื้นฟูร่างกายให้คงสมรรถภาพอยู่ในระดับสูงสุด มีความสำคัญต่อโปรแกรมเทรนนิ่งแบบองค์รวม และเขาได้เผยถึง 6วิธีในการช่วยให้นอนหลับสบายและตื่นขึ้นมาพร้อมกับสภาพร่างกายที่ฟื้นคืนสภาพ รู้สึกเจ็บปวดน้อยลงแม้ออกกำลังกายมาอย่างหนัก


ที่มา : https://mgronline.com/smes/detail/9600000107202

วันพุธที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2560

3 อาการที่ไม่ควรออกกำลังกาย ถ้าฝืนร่างกายไปอาจจะมีแต่ผลเสียกับเสีย

อยากเฟิร์มแต่ก็ต้องดูร่างกายตัวเองด้วย ถ้าไม่ดูตัวเองให้ดีผลเสียจะอยู่ที่เรา 3 อาการที่ไม่ควรออกกำลังกาย ถ้าฝืนร่างกายไปอาจจะมีแต่ผลเสียกับเสีย

ถึงแม้ว่าการออกกำลังกายจะเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพและให้ประโยชน์ต่อร่างกายของเราก็ตาม แต่ว่าการออกกำลังกายนั้นก็อาจจะสร้างโทษให้กับร่างกายของเราได้เหมือนกันนะครับ ไม่ว่าจะเป็น กล้ามเนื้อบาดเจ็บ หรือรวมไปถึงข้อต่อของบาดเจ็บได้ถ้าร่างกายของเราไม่พร้อม แต่ยังฝืนออกกำลังต่อไป ซึ่งนี่คือ 3 อาการ ที่เราควรหยุดออกกำลังกายเอาไว้ก่อน เอาไว้ให้พร้อมแล้วค่อยเริ่มใหม่ เพราะว่าถ้าฝืนทำไปร่างกายจะมีแต่เสียกับเสีย



มีอาการเหมือนจะไม่สบาย

ถ้าอุณหภูมิของร่างกายของเราสูง เช่น ถ้ามีอาการไข้ ตัวอุ่นๆ และมีอาการปวดหัว ก็ควรที่จะชะลอการออกกำลังกายไปก่อน เพราะว่าถ้าเราฝืนออกกำลังกายร่างกายก็จะเพิ่มความร้อนเป็นเท่าตัว อาจส่งผลเสียต่อระบบร่างกายจนทำให้อาจเกิดอาการช็อคหรือหมดสติได้

มีอาการท้องเสีย

ถ้าเรามีอาการท้องเสีย หรือถ่ายเกินสามครั้งขึ้นไปในหนึ่งวัน ในวันนั้นควรที่พักการออกกำลังกายออกไปซะ เพราะว่าร่างกายของเราสูญเสียเกลือแร่มากไปจะทำให้มีผลต่อการรับรู้ของร่างกายให้ผิดปรกติ

มีอาการง่วงและอดนอน

ถ้าเรานอนน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ เช่นนอนต่ำกว่า 5 ชั่วโมงนั้นก็ไม่ควรที่จะออกกำลังกายเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าร่างกายจะเพลียและอาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุระหว่างการออกกำลังกายได้

ที่มา : https://men.mthai.com/health-firm/148055.html

วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เรื่องเข้าใจผิดของการออกกำลังกายตอนท้องว่าง

เป็นความเชื่อที่ผิดครับ ✖ กับ
“การออกกำลังกายตอนท้องว่าง...จะช่วยให้เราลดไขมันได้ดีขึ้น” 
เพราะเรายังไม่ได้รับประทานอะไรเลย ไม่มีพลังงาน อีกทั้งร่างกายของคุณจะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อมากกว่า ➖💪 
.

เมื่อคุณเริ่มต้นการออกกำลังกายตอนท้องว่าง น้ำตาลในเลือดจะต่ำลง ➖ ร่างกายจะเก็บ “ไกลโครเจน” และใช้ไขมันมากขึ้น ➕ ที่มากกว่านั้นคือร่างกายจะสลายโปรตีนในร่างกายมาใช้ด้วย 
.
▶ ดังนั้นการเพิ่มพลังงาน จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเบิร์นไขมันในร่างกายของคุณ ให้เกิดการเผาผลาญในระบบให้มีประสิทธิภาพ 
ตามสมการข้างล่างนี้ครับ 👦
.
พลังงานที่ได้รับ ▶ พลังงานที่ใช้
หลักเกณฑ์การลดน้ำหนักง่ายๆ ที่ใช้แล้วได้ผลดีครับ ✔😋
___________________________________________
.
💡 สาระน่ารู้: เพราะร่างกายจะเริ่มดึงไขมันมาใช้หลังออกกำลังกาย 90 นาที หมายความว่าก่อน 90 นาที ร่างกายจะดึงคาร์โบไฮเดรต และโปรตีน มาช่วยเผาผลาญในระบบร่างกายก่อน ________________________________________
#fit4funknowledge
Official Line คลิก line.me/ti/p/%40fit4fun
Website : www.fit4funrelax.com
#fit4funrelax

วันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2560

5 ผักพื้นบ้าน ต้านมะเร็ง ถูกและดีมีในโลก

ผักผลไม้บ้านเรานี่แหละที่วิเศษที่สุด ทั้งราคาไม่แพง รสชาติดี สดอร่อย แล้วยังมีสรรพคุณดีๆ หลายข้อที่ชาวต่างชาติยังต้องอิจฉา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสรรพคุณที่ช่วย “ต้านมะเร็ง” จะมีผักชนิดไหนที่เราไม่ควรมองข้ามกันบ้าง มาจดชื่อเอาไว้เลยค่ะ

ผักพื้นบ้าน ต้านมะเร็ง

ขี้เหล็ก
ผักพื้นบ้านจากทางใต้ ที่เราทานอยู่ในแกงขี้เหล็กนี่แหละ ดอกขี้เหล็กช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ในส่วนของแก่นขี้เหล็กยังช่วยรักษาโรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย

สะเดา
“หวานเป็นลม ขมเป็นยา” คงใช้ได้ดีกับผักสะเดา ที่มีรสชาติค่อนไปทางขมมากกว่าหวานอย่างเห็นได้ชัด สะเดามีประโยชน์ในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านบำรุงร่างกาย ขับเสมหะ ลดไข้ แก้ท้องผูก ขับลม และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอก และมะเร็งได้อีกด้วย

ผักชีลาว
หลายคนชอบเขี่ยผักชีทิ้ง แต่สำหรับผักชีลาวมีสรรพคุณที่ดีต่อร่างกายมากมาย ทั้งแก้ท้องผูก ขับลม แก้อาการวิงเวียนศีรษะ เสริมภูมิต้านทานโรค และยังมีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็งอีกด้วย

ผักติ้ว
“เก็บผักติ้วมาใส่แกงเห็ด” ท่อนหนึ่งของเพลงกล่อมเด็กที่หลายคนอาจเคยได้ยิน เป็นคำยืนยันวาผักติ้วเป็นผักพื้นบ้านที่ชาวบ้านแถบอีสานสามารถหามาทานกันได้ง่ายๆ จริงๆ ผักติ้วมีสารต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ต้านมะเร็งตับ ดังนั้นหากเก็บผักติ้วมาใส่แกงเห็ดกันจริงๆ ก็อย่าลืมทานให้หมดนะคะ

ผักแขยง
ผักแขยง หรือ ผักกะแยง เป็นอีกหนึ่งผักพื้นบ้านที่พบมากในภาคอีสาน มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง จึงมีฤทธิ์ต่อต้านเซลล์มะเร็งได้เช่นกัน คนอีสานมักนำมาประกอบอาหารประเภทลาบ แกง หรือจิ้มน้ำพริก

ใครที่บ้านอยู่ตามชนบท หรือชานเมือง อาจจะหาผักพื้นบ้านเหล่านี้ได้ไม่ยาก แต่ใครที่อยู่บ้านในเมืองมากๆ อย่างเรา แล้วมองหาผักพื้นบ้านเหล่านี้ไม่ได้ ก็ไม่ต้องเสียใจนะคะ สามารถทานผักต่างๆ เช่น กระเทียม ขิง กะหล่ำ เห็ด ขมิ้น พริก มะละกอ เห็ด และผักอื่นๆ ได้ แล้วลดการทานเนื้อแดง เนื้อสัตว์แปรรูปให้น้อยลง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ เท่านี้ก็ลดโอกาสในการโรคมะเร็งได้มากแล้วล่ะค่ะ

ขอขอบคุณ
ข้อมูล :รายการ Midnight Family
ภาพ :iStock

ที่มา : http://www.sanook.com/health/8569/

วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2560

มาหาคำตอบ! แค่ขยับ เท่ากับ ออกกำลังกาย จริงหรอ?

“แค่ขยับก็เท่ากับ ออกกำลังกาย “ เป็นประโยคคุ้นหูที่เรามักได้ยินเสมอๆ แต่คุณรู้ไหมว่า ระดับความเคลื่อนไหวของร่างกายนั้นมันต่างกันอย่างสิ้นเชิง วันนี้เราจะพาคุณมาดูว่า แท้จริงแล้ว แค่ขยับ กับการ ออกกำลังกาย เนี่ย มันต่างกันอย่างไรบ้าง?

ขยับกับออกกำลังกายต่างกันอย่างไร…?

การเคลื่อนไหวร่างกาย (Physical Activity) หมายถึง การเคลื่อนไหวหรือการทำงานของร่างกายโดยใช้กล้ามเนื้อโครงสร้าง และทำให้มีการใช้พลังงานของร่างกายมากกว่าในขณะพัก สามารถแบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้

ระดับเบา คือ ระดับที่มีการเคลื่อนไหวน้อยมาก เช่น การยืน การนั่ง

ระดับปานกลาง คือ การเคลื่อนไหวออกแรงที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ซึ่งมีความหนักและเหนื่อยในระดับเดียวกับการเดินค่อนข้างเร็ว การขี่จักรยาน การเต้นรำ การทำงานบ้าน

ระดับหนัก คือ การเคลื่อนไหวร่างกายที่มีการทำซ้ำและต่อเนื่อง โดยมีการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่และมีระดับชีพจรมากกว่าร้อยละ 70 ของการเต้นชีพจรสูงสุด เช่น การวิ่ง การเดินขึ้นบันได การทำงานหนักในอาชีพชาวไร่-ชาวนา นักกีฬา

โดยทั่วไป การเคลื่อนไหวร่างกายจึงมักหมายถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตในระดับเบาถึงระดับปานกลางเป็นส่วนใหญ่ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม การทำงานบ้าน งานอาชีพ การเดินทาง และงานอดิเรกต่างๆ เช่น ร้องเพลง ท่องเที่ยว ฯลฯ

การออกกำลังกาย หมายถึง การออกกำลังเคลื่อนไหวร่างกายที่มีการวางแผน มีแบบแผน โดยเป็นกิจกรรมที่เป็นการกระทำซ้ำๆ หรือสม่ำเสมอ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มหรือคงไว้ซึ่งสมรรถภาพทางกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อ

มีลักษณะกว้างๆ 4 ลักษณะ 

  1. การออกกำลังกายแบบเต้นแอโรบิก 
  2. การออกกำลังกายต้านน้ำหนักตัว 
  3. การออกกำลังกายเพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 
  4. การออกกำลังกายเพื่อสร้างความยืดหยุ่นหรือความอ่อนตัว

เห็นไหมล่ะว่าจริงๆ แล้ว การขยับ กับการออกกำลังกายนั้น มันใช้พลังงานแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แม้ว่าการขยับเล็กๆ น้อยๆ จะช่วยเผาผลาญพลังงานได้บ้าง แต่ทั้งนี้คุณก็ควรออกกำลังกายควบคู่กันไปด้วย เพราะมันจะช่วยให้ร่างกายฟิตแอนด์เฟิร์มมากยิ่งขึ้นยังไงล่ะ

ที่มา : 
https://health.mthai.com/howto/health-care/18344.html

วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2560

กินผักผลไม้ปลอดภัย 400 กรัม ช่วยลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

เป็นที่ประจักษ์กันดีถึงศักยภาพของผัก ผลไม้ ว่าเป็นอาหารชั้นดี มีคุณค่าทางสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่จากการสำรวจสุขภาพประชาชนพบว่า กลุ่มคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 75% กินผัก ผลไม้น้อยกว่าวันละ 400 กรัม ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ทางองค์การอนามัยโลกให้คำแนะนำว่าสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้

กระทรวงสาธารณสุขในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารของประเทศไทย ได้ร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายร่วมจัดการประชุมวิชาการ เรื่อง “กินผักผลไม้ปลอดภัย 400 กรัม เพื่อสุขภาพ” เพื่อสร้างความตระหนักแก่ประชาชนให้เห็นถึงความสำคัญในการบริโภคผัก ผลไม้อย่างพอเพียง เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนในประเทศ และเกิดข้อเสนอทางนโยบายเพื่อการขับเคลื่อนต่อไป ณ อาคารสาธารณสุขวิศิษฎ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร

พญ.มยุรา กุสุมภ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในปี 2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้เป็น “ปีแห่งการบริโภคผักและผลไม้ปลอดภัย” โดยกระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนการบริโภคผัก ผลไม้ปลอดภัย ในขณะเดียวก็ให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของผักและผลไม้ในท้องตลาด โดยเฉพาะข้อมูลจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค ที่ได้คัดกรองความเสี่ยงโดยการเจาะเลือดกลุ่มเกษตรกร พบว่าเกษตรกรมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยจากการสัมผัสสารเคมีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังตั้งแต่ปี 2555-2559 อยู่ที่ร้อยละ 33 และในปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 37

สำหรับ “ปีแห่งการบริโภคผักและผลไม้ปลอดภัย” มีนโยบายดำเนินงาน 6 เรื่อง ดังนี้ 1.ให้นโยบายให้ทุกโรงพยาบาลซื้อพืชผัก ผลไม้ปลอดภัยจากสารเคมี เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกร 2.การจัดการผักและผักไม้ปลอดภัยตลอดห่วงโซ่ในประเด็นเร่งด่วน การขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อพิจารณาข้อมูลเชิงวิชาการ และประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.National Surveillance Program ให้มีการดำเนินการตามแผนการเฝ้าระวังผักและผลไม้ตลอดห่วงโซ่ ปี 2560 และผลักดัน National Risk Assessment Center โดยมีสำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย (สสอป.) เป็นแกนหลักในการประสานการดำเนินงาน 4.การพัฒนาขีดความสามารถทางห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในผักและผลไม้สด โดยมอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำข้อมูลให้มีความครบถ้วน 5.โครงการวิจัยและพัฒนา : นครปฐม เมืองผักและผลไม้ปลอดภัย โดยมอบหมายให้สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย (สสอป.) ดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล 6.วิธีการลดการตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในผักและผลไม้ที่เหมาะสม

“การแก้ไขปัญหาการตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในผักและผลไม้ของ สธ.ทั้ง 6 ประเด็น เป็นการดำเนินงานแบบบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงาน ทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการควบคุมและลดปริมาณการใช้สารเคมีจากผู้ผลิตต้นทาง กลางน้ำ รวมถึงร่วมกับ สสส. ที่ทำงานด้านความปลอดภัยอาหารและโภชนาการมาอย่างต่อเนื่อง เน้นการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอาหารให้มีประสิทธิภาพ การดำเนินงานแบบบูรณาการ เพื่อให้อาหารมีความปลอดภัยครบวงจร ซึ่งได้ร่วมกันรณรงค์สื่อสารกับประชาชนในการเสนอทางเลือกให้ประชาชนรับประทานผัก ผลไม้อย่างปลอดภัย โดยการล้างผัก 3 วิธี คือ 1.ล้างด้วยน้ำไหล 2.ล้างด้วยผงฟู และ 3.ล้างด้วยน้ำส้มสายชู เพื่อลดปริมาณสารพิษในผักและผลไม้” พญ.มยุรา กล่าว

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า ปัจจุบันคนไทยยังบริโภคผักและผลไม้ต่ำกว่าข้อแนะนำที่องค์การอนามัยโลกกำหนด และการเข้าถึงผัก ผลไม้ที่ปลอดภัยยังมีน้อย จากรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 พบว่าคนส่วนใหญ่ หรือประมาณร้อยละ 74.1 บริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอ ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้กำหนดข้อแนะนำการบริโภคผักและผลไม้ให้ได้อย่างน้อย 400 กรัม/วัน เพราะการบริโภคผักและผลไม้ได้เพียงพอตามที่แนะนำจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ ได้

สสส.ตั้งเป้าให้ประชาชนบริโภคผัก ผลไม้ที่มีความปลอดภัยอย่างเพียงพอ 400 กรัมต่อวัน ตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25.9 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 50 ในปี 2564 สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลในการประกาศเป็นปีแห่งการบริโภคผักและผลไม้ปลอดภัย โดยมีจุดเน้นและยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนที่จะส่งเสริมการเพิ่มอัตราการบริโภคผักและผลไม้อย่างเพียงพอตามข้อแนะนำ 1.พัฒนาและจัดการองค์ความรู้ ถอดบทเรียนปัจจัยความสำเร็จด้านการส่งเสริมการบริโภคผัก ผลไม้ที่ปลอดภัยอย่างเพียงพอ สู่การขยายผลอย่างยั่งยืน 2.หนุนเสริมและพัฒนาภาคีเครือข่ายให้มีศักยภาพการทำงานด้านวิชาการและนวัตกรรม 3.ขับเคลื่อนเชิงนโยบายด้านอาหารสุขภาวะ โดยร่วมกับภาคียุทธศาสตร์เพื่อผลักดันนโยบาย 4.ส่งเสริมให้เกิดการขยายต้นแบบของระบบห่วงโซ่อาหารของพืชผัก ผลไม้ที่ปลอดภัย เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงง่าย 5.ส่งเสริมการปลูกพืชผักของผู้บริโภคในครัวเรือน โรงเรียน และองค์กร และ 6.รณรงค์สร้างค่านิยมของการบริโภคผัก ผลไม้ที่ปลอดภัยอย่างเพียงพอ ควบคู่ไปกับการสร้างค่านิยมของวิถีชีวิตสุขภาวะ

ด้าน รศ.ดร. นิภา โรจน์รุ่งวศินกุล สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยถึงผลศึกษาวิจัยเรื่องผักและผลไม้ที่นิยมบริโภคในคนไทยว่า การบริโภคผักในแต่ละกลุ่มอายุ พบว่าผักที่นิยมบริโภคอันดับแรกเป็นผักประเภทปรุงรสและแต่งกลิ่น เมื่อตัดผักปรุงรสและแต่งกลิ่นออกจากรายการที่บริโภค พบว่าผักที่นิยมบริโภค ได้แก่ ผักกาดขาว/เขียว ถั่วฝักยาว แตงกวา กะหล่ำปลี และฟักทอง อย่างไรก็ตาม พบว่าปริมาณการบริโภคผักและผลไม้ของคนไทยยังมีปริมาณน้อย ไม่เป็นไปตามข้อแนะนำของการบริโภคอาหารที่ดี ซึ่งต้องหาวิธีในการแก้ไขปัญหาต่อไป โดยเฉพาะการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การส่งเสริมการบริโภคผัก ผลไม้ ครอบคลุมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานของผัก ผลไม้อย่างครบวงจร เพื่อให้ประชาชนตระหนักและเห็นความสำคัญในการบริโภคผัก ผลไม้อย่างพอเพียงเพื่อสุขภาพที่ดี

นอกจากนี้ ภายในงานมีกิจกรรมมากมาย อาทิ การตรวจวัดดัชนีมวลกาย การทดสอบความปลอดภัยในผัก ผลไม้ Workshop เทคนิคการปลูกผัก เพาะต้นอ่อน แบบสวนผักคนเมือง ปลูกผัก ผลไม้ ให้บ้านสวย สาธิตและ Workshop การประกอบอาหารจากผัก ผลไม้ จากคุณชลิดา เถาว์ชาลี พิธีกรายการสุขภาพชื่อดัง ชม ชิมเมนูฟิวชั่นผัก ผลไม้ จากการประกวดเมนูฟิวชั่นผัก ผลไม้ 100 กรัม เลือกซื้อผัก ผลไม้ปลอดภัย และอาหารสุขภาพ จากภาคีเครือข่ายอย่างจุใจ ฯลฯ สำหรับผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารได้ที่เว็บไซต์ http://nutritionthailand.org/th

วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560

จากกรณีน้องบุ๊คหัวใจวายในงาน Wacoal Motion Road 100 ช่วงลงเขา


เพจแนะนำ : รายชื่องานวิ่งมาราธอน 42.195K ในประเทศไทย

หลังจากได้มีการเสียชีวิตของนักวิ่งในการวิ่งเทรลที่ผ่านมา ทางกลุ่ม หมอบ้าพลัง (ทีมกีฬา ที่ประกอบด้วย แพทย์ และบุคคลากรทางการแพทย์ ที่เล่นกีฬา)

รู้สึกมีความเป็นห่วง ต่อนักวิ่ง และมีความกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ซ้ำ ทางทีม หมอบ้าพลัง ได้ระดมความคิด ความรู้จาก เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในทีม
และขออนุญาติ ให้คำแนะนำ เพื่อนๆ นักกีฬาดังนี้ครับ
สิ่งที่จะพอลดการเกิด อุบัติการณ์ แบบนี้ได้ 
เราควรแบ่ง Segment ของนักกีฬา ออกเพื่อ ให้นักกีฬาลงการแข่งขันที่เหมาะสมกับตัวเอง และลดความเสี่ยง ต่อการเกิดการเสียชีวิตฉับพลัน

เราสามารถแบ่ง Segment ของนักวิ่ง ออกเป็นคร่าวๆ ได้ ดังนี้

1 กลุ่มความเสี่ยงต่ำ ไม่มีโรคประจำตัว ฝึกซ้อมอย่างเหมาะสม และไม่มีอาการผิดปกติ ในการซ้อม สามารถลงแข่งได้ตามระยะที่ฝึกซ้อม

2 กลุ่มความเสี่ยงปานกลาง 
มี โรคประจำตัว ที่เป็นความเสี่ยง ต่อโรคหัวใจ
เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมันโลหิตสูง
กลุ่มนี้ ควร ลงแข่ง ในงานแข่ง ที่การช่วยเหลือ สามารถเข้าถึงได้ ทุกจุดของการแข่ง และไม่เกิน 10 นาที สามารถ ปั้มหัวใจได้ต่อเนื่องขณะย้ายผู้ป่วย และสามารถลำเลียงผู้ป่วยส่งรพได้รวดเร็ว
ดังนั้นทางที่เป็น เขา Trail ลึกต่างๆ ควรพิจารณาหลีกเลี่ยง
และควรลงแข่ง ตามระยะที่ฝึกซ้อม

3 กลุ่มที่มีความเสี่ยงมาก มีโรคหัวใจเดิม
ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำการลงแข่ง และควรเป็นการแข่งขันที่ ควบคุมการออกแรงได้ตลอดการแข่งขัน ไม่มากเกินไป เช่น fun run วิ่ง 5 โล วิ่งในทางราบ เป็นต้น
และเป็นงานแข่ง ที่รถ พยาบาล สามารเข้าถึงได้ทุกจุด ตลอดเวลา 
และควรลงแข่งในระยะที่ฝึกซ้อม

ในความเป็นจริง การเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น เกิดจากสาเหตุ ที่รุนแรง เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ

ส่วนใหญ่ การปั้มหัวใจ หรือการใช้เครื่อง AED ช่วยกู้ชีวิต ณ ที่เกิดเหตุได้สำเร็จ เป็นจากพยาธิสภาพโรคที่ไม่รุนแรง ถ้า ได้รับการ cpr ทันที และ มีเครื่อง AED มาใช้ภายใน 5 นาที โอกาสสำเร็จ ของการกู้ชีพอยู่ที่ 50 %

แต่บ่อยครั้ง พยาธิสภาพของโรค เกิดแบบรุนแรง การปั้มหัวใจ เป็นได้แค่การยื้อเวลา เท่านั้น ต้องรักษาที่ต้นเหตุของการเกิดหัวใจหยุดเต้น โดยทำการ ปั้มหัวใจอย่างต่อเนื่อง และ ไม่หยุดกลางคัน พร้อม กระตุ้นไฟฟ้า ในกรณีที่หัวใจเต้นพริ้ว แล้วนำส่งรพ ที่มีศูนย์ สวนหัวใจ

นอกจากนี้ การกู้ชีพ ในรายพยาธิสภาพรุนแรง
แม้จะทำในห้องฉุกเฉิน เครื่องมือพร้อม ก็ยังไม่สามารถยื้อชีวิตผป.ได้ครับ
ให้คิดไว้เสมอว่า โอกาสกู้ชีพสำเร็จ โดยไม่นำส่งรพ น้อยมากๆ

หน้าที่ของผู้จัดงาน ต้องเตรียมพร้อม เรื่องของ หน่วย กู้ชีพ เครื่อง AED และ Fact ถึงการเข้าถึง ทุกจุด ของการกู้ชีพ ว่า ทำได้รวดเร็วแค่ไหน ระยะเวลาเท่าไหร่ในแต่ละจุด จุดไหนเข้าถึงไม่ได้ มีไหม ข้อมูลตรงนี้จะเป็นตัวช่วยให้นักกีฬา ทราบ Segment ของการแข่งขัน ว่า เขาควรร่วมการแข่งขันครั้งนี้หรือไม่

การตรวจคัดกรองของนักกีฬา
ในโรคหัวใจ ทำได้บางส่วน
การที่มีเส้นเลือดตีบเรื้อรัง สามารถ คัดกรองได้ แต่ก็ไม่ 100%
การมี ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาแบบผิดปกติ สามารถ คัดกรองได้
แต่กลไกการเกิดหัวใจขาดเลือดฉับพลัน ที่เกิดจากคราบไขมันหลุด ระหว่างออกกำลัง บางครั้งส่วนใหญ่ไม่สามาถคัดกรองได้
ดังนั้น การคัดกรอง เป็นแค่ตัวช่วย ในการหาโรค แต่ไม่ได้เป็นตัวการันตีว่าจะไม่เกิดโรคระหว่างแข่ง 100 %

ดังนั้น สิ่งที่สำคัญสุด ของการลดการเสียชีวิตฉับพลันคือ ตัวนักวิ่งเอง ต้องเข้าใจ ตัวเอง รู้จักตัวเอง และเลือกลงแข่งในการแข่งขันที่เหมาะกับ segment ตัวเองครับ

ผู้จัด ต้องมีความพร้อมของ ทีมกู้ชีพ และคิดถึง เส้นทางการเข้าถึงนักกีฬา ในทุกๆจุด โดยเฉพาะ จุดที่เข้าถึงได้ยาก พร้อม เส้นทางการลำเลียงผู้ป่วย เพื่อไปรพ ได้รวดเร็วที่สุด

สุดท้ายนี้อยากให้นักวิ่งทุกคน คิดถึงจุดเริ่มต้นของการออกกำลัง มาจาก การที่เราอยากมีสุขภาพที่ดี และมีความสนุกกับกีฬา เมื่อไหร่ก็ตามที่การออกกำลังของเราหลุดกรอบไปจากนี้แล้ว เราต้องมีเหตุผลให้ตัวเองว่ากำลังทำอะไรอยู่

ผมเชื่อว่ามีนักวิ่งบางคนที่กำลังเข้าใจผิดว่ายิ่งวิ่งยาวๆยิ่งดี จึงอยากจะย้ำในประเด็นนี้หน่ะครับ #การออกกำลังระยะทางไกลๆไม่ใช่เรื่องล้อเล่น

ไม่ใช่ยิ่งวิ่งยาวยิ่งเท่ห์ ไม่ใช่ยิ่งวิ่งเยอะยิ่งดี

"Too much of a good thing can be bad"

อีกประเด็นคือวงจรของนักกีฬา "ซ้อม-กิน-นอน"

นักกีฬาต้องประเมินด้วยว่าซ้อมถึงไหม กินได้ไหม นอนพักผ่อนดีไหม

ต่อให้ไม่มีโรคประจำตัว ถ้าช่วงก่อนแข่งเรางานหนัก พบว่านอนน้อย หรือซ้อมไม่พอ ซ้อมได้แค่ 10-20โล แล้วลงแข่งมาราธอน โดยหวังจะใช้ใจสู้อย่างเดียว ก็ไม่ควร ซ้อมมายังไงก็แข่งแบบนั้น


ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง กับน้องที่เสียชีวิตด้วยนะครับ

ฝากช่วย Share ให้นักกีฬาทุกท่านได้รับข้อมูลด้วยนะครับ

ทีมหมอบ้าพลัง
http://program.thaipbs.or.th/Fit2gether/episodes/45335

วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560

โปรแกรมการฝึกซ้อม TNT30


Week No.DateMonTueWedThuFriSatSunTotal
79 ตค.- 15 ตค.พัก810พัก6.5พัก2751.5
816 ตค. - 22 กค.พัก6.58พัก6.5พัก1637
923 ตค. - 29 ตค.พัก810พัก6.5พัก3054.5
1030 ตค. - 5 พย.พัก6.58พัก6.5พัก1637
116 พย. - 12 พย.พัก811พัก6.5พัก3459.5
1213 พย. - 19 พย.พัก6.58พัก6.5พัก1637
1320 พย. - 26 พย.พัก811พัก6.5พัก3560.5
1427 พย. - 3 ธค.พัก6.513พัก6.5พัก1945
154 ธค. - 10 ธค.พัก816พัก6.5พัก1040.5
1611 ธค. - 16 ธค.พัก6.55พัก6.5พัก42.19560.195
 ตารางแผนการฝึกซ้อม ตะนาวศรีเทรล TNT30

หลังจากจบการแข่งขัน เชียงรายมาราธอน วันที่ 24 กย. 2560 ที่ผ่านมา มีเวลา Recovery 2 สัปดาห์ ก่อนเข้าสู่โปรแกรมการฝึกซ้อมเพื่อแข่งขันรายการตะนาวศรีเทรล TNT30 ที่ อ.สวนผึ้ง วันที่ 16 ธค. 2560 

จริงๆ ตอนต้นปี วางแผนไว้ว่าจะวิ่ง TNT50 แต่หลังจากวิ่งแข่งขันรายการนาวิกโยธินเสร็จทำเวลาได้ 4:43:10 ชม. ซึ่งไม่ดีพอตามสเปคของ TNT50 (4:30 ชม.) จึงต้องไปวิ่งแข่งขันซ่อมที่เชียงรายมารธอน ปรากฎว่าเวลาการวิ่ง 4:41:07 ชม. ก็ไม่ดีพออีกเช่นเคย

จึงต้องไปวิ่งเทรลแค่ TNT30 ซึ่งมานึกอีกทีก็ดีเหมือนกัน ร่างกายเราคงยังไม่แข็งแกร่งพอกับ TNT50 ขืนวิ่งไปอาจจบแต่ไม่สวย สู้เราเอาชัวส์วิ่ง TNT30 แล้วจบด้วยเวลาดีๆ จะน่าภิรมย์กว่า