วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

กล้วยกับคิปโชเก้

 RUNไปเรื่อยๆ

25 ธันวาคม 2021  · 


วันก่อนเฮียคิปโชเก้โพสรูปถือกล้วยผลไม้คู่กายนักวิ่ง แล้วเฮียเขียนว่า

.

"สำหรับนักวิ่ง ร่างกายของคุณต้องการเติมพลังงานให้เพียงพอเพื่อที่คุณจะไปต่อ

.

"ในฐานะนักกีฬากล้วยมีความสำคัญต่อฉันมาก เพราะมันทำให้ร่างกายของฉันมีพละกำลังมากขึ้น"

.

👉กล้วยเป็นผลไม้ที่มีคาร์โบไฮเดรตให้พลังงานเยอะ มีโพแทสเซียมช่วยเรื่องการควบคุมการเต้นของหัวใจ มีแมกนีเซียมป้องกันการเกิดตะคริว 

#RUNไปเรื่อยๆ #RUN #วิ่ง #ออกกำลังกาย #กล้วย #คิปโชเก้ #kipchoge

ภาพจาก kipchogeeliud

ที่มา: https://www.facebook.com/RUNKeepGoing/posts/2892097707748790

วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในนักวิ่ง

 วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี

24 มกราคม  · 

🩸 ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในนักวิ่ง


.

เราเคยได้ยินเรื่องราวของนักวิ่งที่แข็งแรงและมีสุขภาพดี เสียชีวิตจากอาการหัวใจวายหรือเป็นโรคหลอดเลือดอุดตันในปอด โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้ากันมาแล้ว วันนี้เลยอยากชวนเพื่อนๆมาสำรวจความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (DVT) รวมไปถึงวิธีป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน และวิธีสังเกตอาการตั้งแต่เนิ่นๆกันครับ

.

ก่อนอื่นมาทำความรู้จัก “ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (DVT)” กันก่อนเลย มันก็คือลิ่มเลือดชนิดหนึ่งที่ก่อตัวในหลอดเลือดดำส่วนลึก ซึ่งมักจะอยู่ที่ขาส่วนล่าง ต้นขา หรือกระดูกเชิงกราน โดยสาเหตุมักเกิดจากการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อหลังการบาดเจ็บ หรือความเสียหายต่อหลอดเลือดดำจากการผ่าตัด

.

⛔️ การวิ่งทำให้เลือดอุดตันหรือไม่?

การฝึกซ้อมที่เข้มข้นและยาวนานของนักวิ่งนั้น ทำให้เกิดความเครียดกับระบบต่างๆในร่างกายมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดที่ขาได้

.

ในปี พ.ศ. 2427 แพทย์ชาวเยอรมันชื่อรูดอล์ฟ เวอร์โช ได้กำหนดปัจจัยหลักสามประเภทที่ทำให้เกิดลิ่มเลือด ซึ่งเป็นที่รู้จักและเรียกกันว่า Virchow's Triad ได้แก่

1.) ประสิทธิภาพของการไหลเวียนของเลือด (ภาวะหยุดนิ่งของระบบไหลเวียนโลหิต)

2.) ความสมบูรณ์ของหลอดเลือด (ความเสียหายของหลอดเลือด)

3.) องค์ประกอบของเลือด (ภาวะการแข็งตัวของเลือดมากเกินไป)

.

ภายในสามหมวดหมู่นี้มีปัจจัยที่ทำให้นักวิ่งทางไกลมีความเสี่ยงสูง เช่น ภาวะขาดน้ำ การอักเสบ การใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิดระหว่างการฝึกหรือการแข่งขัน และการนั่งนานๆเวลาเดินทางไปแข่งขัน

.

⛔️ สัญญาณบ่งชี้และอาการ

สัญญาณที่พบบ่อยที่สุดของลิ่มเลือดที่ขา (หรือแขน) คือความเจ็บปวดที่คนส่วนใหญ่เรียกว่าเป็นตะคริว ซึ่งอาจมาพร้อมกับอาการบวมหรือแสบร้อนในบริเวณจุดเกิดเหตุ ผิวหนังอาจเปลี่ยนสี เป็นสีแดงหรือสีน้ำเงิน

.

⛔️ วิธีป้องกัน

แม้ว่าการวิ่งไม่ได้ทำให้เกิดลิ่มเลือด แต่สถานการณ์ต่างๆที่นักวิ่งต้องเผชิญ โดยเฉพาะนักวิ่งทางไกล ก็ทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้น เบื้องต้นให้ขยับร่างกายลุกขึ้นเคลื่อนไหวเรื่อยๆ อย่าอยู่นิ่งเป็นเวลานาน รักษาน้ำหนักตัว และอย่าลืมดื่มน้ำมากๆเนื่องจากภาวะขาดน้ำจะทำให้เลือดข้นขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงของการอุดตัน

.

ลองสังเกตตัวเองด้วยนะครับ ถ้ามีอาการผิดปกติเหล่านี้ อย่านิ่งนอนใจ ให้รีบไปปรึกษาคุณหมอ เพื่อประเมินอาการและรักษาได้ทัน

.

.

เรียบเรียงจาก https://bit.ly/3fRoQzn

.

อ่านบทความ วิ่ง ปั่น ไตรกีฬา และสุขภาพ

ได้ที่ https://www.vrunvride.com

.

ชมรีวิวรองเท้าวิ่ง และ Gatget น่าสนใจ

ได้ที่ bit.ly/YTVRUN

—————————————————

ไปให้ไกล ยิ่งกว่าเดิม

Break your limit

วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี

ที่มา: https://www.facebook.com/wheretorunwhentoride/posts/4724700634313256

วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

เทรนกล้ามเนื้อมัดไหนช่วยพัฒนาการวิ่ง

 Doctor Runner - วิ่งดิหมอ

1 กุมภาพันธ์ เวลา 09:26 น.  · 


คำตอบแบบโอเว่อร์ออล คือ กล้ามเนื้อแทบจะทุกมัด มีส่วนช่วยพัฒนาการวิ่ง ! 💪🏃

หลายครั้งที่แอดพยายามเน้นย้ำ เรื่องความสำคัญของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (core muscles) (อ่านได้จากบทความเดิมนี้ shorturl.at/rEGM4)

ว่าช่วยให้การวิ่งมีประสิทธิภาพ และป้องกันการบาดเจ็บได้อย่างไร 🔥

.

แต่เมื่อได้พบเจอคำถามบ่อยๆ เกี่ยวกับ ปัญหากลุ่มอาการเจ็บ "บริเวณเท้า น่อง เอ็นร้อยหวาย" ... (ซึ่งในทางการแพทย์ จะละเอียดอ่อนกว่านี้ บทความจะขอกล่าวแต่เฉพาะใจความสำคัญ นะคะ)

🏃‍♀️🏃‍♂️🏥🤕

1. การรักษาเบื้องต้น คือการ "พัก ประคบ ทานยาระยะสั้นๆ อาจทำกายภาพบำบัดร่วม" เพื่อระงับอาการปวด เจ็บ อักเสบ ... แต่แน่นอน นี่คือการรักษาระยะสั้น

2. การแก้ไขปัญหาระยะยาว ต้องเจาะไปถึงต้นตอ สาเหตุที่ทำให้เป็น 

นั่นคือ พื้นฐานด้านต่างๆ ของการวิ่ง ที่ต้องปรับให้ดี กันใหม่อีกครั้ง 

อันมีหลายหัวข้อ มิใช่เพียงหนึ่งเรื่อง คือ

- โปรแกรมการซ้อม

- อุปกรณ์

- พื้นผิวที่ใช้ในการวิ่ง

- การรักษามวลกล้าม

- การรักษาความยืดหยุ่น

- ระบบประสาท การทรงตัว

- โภชนาการ

- การพักผ่อน

- ความเครียด

- บุหรี่ สุรา

- และบางรายมีมากกว่าสิ่งเหล่านี้

... ซึ่งจริงๆ ควรพิจารณาร่วมกันทุกส่วน ✅

.

ผลงานวิจัยฉบับหนึ่ง (Dorn et al. 2012) ได้เอ่ยถึง กล้ามเนื้อมัดใด รับบทบาทหนักแค่ไหน ขณะวิ่ง

สอดคล้องสิ่งที่แอดอยากนำเสนอเพื่อนๆ คือ

"กล้ามเนื้อน่อง" ... ใช้งานมากที่สุด 🔥🏃‍♀️🏃‍♂️

งานวิจัย ได้สรุปไว้ว่า หากต้องการเจาะจง ฝึกฝนกล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่ง ! เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการวิ่ง

อันดับแรก นั่นคือ กล้ามน่อง !

อันประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ Soleus และ Gastrocnemius (รวมกันเป็นน่อง)

ไม่แปลกเลยที่ผลการวิจัยจะออกมาเป็นเช่นนี้

เพราะ กล้ามเนื้อน่อง รับภาระบทบาท ในทุกท่วงท่าของการวิ่ง ไม่ว่าจะสายถนน สายเทรล

- การดีดตัว พุ่งทะยาน 

- การล็อคข้อเท้า

- ซัพพอร์ตอุ้งเท้า

- รับน้ำหนักตัว

- เพิ่มระยะก้าว

- สมดุลการใช้พลังงาน

เหล่านี้เป็นหน้าที่ของกล้ามเนื้อน่อง กับการวิ่ง !

แต่อย่าได้เข้าใจผิดกัน กล้ามน่องที่บางคนว่า แข็งๆ เห็นเป็นริ้วๆ นั้น ไม่ได้แปลว่าดี ⛔

หลายครั้งที่ความแข็งของกล้ามน่องนั้น เป็นการตึงตัวที่มากเกิน สะสมเรื่องที่รอวันปะทุออกมา (คือการมีจุดพังผืดสะสมในกล้าม และเส้นเอ็น จะไม่แสดงอาการทันทีทันใด ค่อยๆ สะสม)

ผลการวิจัย กล่าวถึงการพัฒนาศักยภาพ กล้ามเนื้อชุดต่างๆ ว่ามีบทบาทขณะวิ่ง ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน

กล้ามชุดสำคัญในการวิ่ง จะต้องออกแรง คิดเป็นหน่วย ดังนี้

1. Soleus 7 เท่าของน้ำหนักตัว (มากที่สุด)

2. Quadriceps 4.5 เท่า

3. Gluteus medius 3.5 เท่า

4. Gastrocnemius 2 เท่า

5. Gluteus maximus 2 เท่า

6. Hamstrings 2 เท่า

7. Hip flexors 2 เท่า

8. Tibialis anterior 0.4 เท่า

.

จะเห็นได้ว่า บทบาทหนักของกล้ามเนื้อน่อง โดยเฉพาะ soleus จึงสำคัญมาก วิ่งมาก ใช้มาก กล้ามเนื้อนี้ต้องแข็งแรงพอ 

รวมไปถึงกล้ามอื่นๆ ตามสัดส่วนด้วยเช่นกัน (ไม่สามารถละเลยองค์รวมได้นะคะ)

* กล้ามเนื้อที่แข็งแรง มิใช่ดูได้จากรูปลักษณ์ภายนอก * 

- มวล (muscle mass)

- การสร้างแรงต่อขนาด (unit force)

- ความยืดหยุ่น (flexibility)

- การทำงานร่วมกับกล้ามต่างๆ (coordination)

เป็นสิ่งที่ควรมีร่วมกันในกล้ามเนื้อหนึ่งๆ ที่กำลังเทรนนิ่ง

การเทรนนิ่งกล้ามเนื้อน่อง #2 

ค่อยมาต่อสำหรับท่าทางที่เหมาะสม และส่วนตัวแอดก็ถือปฏิบัติอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไว้บทความถัดไป จะมาเล่าเรียงกันค่ะ 🤟

.

ปล. บทความนี้อาจมุ่งเน้นเรื่องจำเพาะส่วน ที่หลายคนมีปัญหา มิใช่เรื่องการเทรนแบบองค์รวมอันประกอบไปด้วยหลายหัวข้อ ซึ่งทุกหัวข้อก็ล้วนมีความสำคัญ ... อย่าเพิ่งสับสนนะคะ

.

ด้วยรัก

#DoctorRunner

#muscleandrunning

#soleus

ที่มา: https://www.facebook.com/doctorrunner2018/posts/484862589677101

วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

หัวใจของนักวิ่งต่างจากหัวใจของคนทั่วไปยังไง?

หัวใจของนักวิ่ง

.


สุขสันต์วันวาเลนไทน์ครับเพื่อนๆ วันนี้มาชวนคุยเรื่องของ “หัวใจ” ในเชิงกายภาพกันครับ ว่าหัวใจของนักวิ่ง แตกต่างจากหัวใจของคนทั่วไปที่ไม่ใช่นักกีฬายังไงบ้าง

.

1) ขนาดหัวใจใหญ่กว่า

หัวใจของนักวิ่งสามารถมีขนาดใหญ่กว่าหัวใจของผู้ที่ไม่ใช่นักกีฬาได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์

.

2) หัวใจห้องบนใหญ่กว่า

หัวใจห้องบน (Atria) ทั้งสองห้องของนักวิ่งจะขยายใหญ่ขึ้น เช่นเดียวกับหัวใจห้องล่าง (Ventricles) ทั้งสองห้อง

.

3) หลอดเลือดหัวใจมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

หลอดเลือดที่ส่งเลือดไปยังกล้ามเนื้อของหัวใจ สามารถขยายตัวได้มากขึ้น เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้มากขึ้นระหว่างการออกกำลังกาย และถึงแม้ว่าจะมีคอเลสเตอรอลสะสมอยู่บ้าง แต่ความสามารถในการขยายนี้ ทำให้ลดความเสี่ยงในการอุดตันของเส้นเลือดได้

.

4) มีเส้นเลือดฝอยที่ใหญ่และกว้างขึ้น

เส้นเลือดฝอยต่างๆที่ทำหน้าที่จ่ายเลือดไปยังกล้ามเนื้อของหัวใจ สามารถมีขนาดใหญ่กว่าปกติได้ 2-3 เท่า

.

5) มีคราบพลัคในหลอดเลือดแดงหนาแน่นกว่า

ในหลอดเลือดแดงจะมีคราบพลัค, ไขมัน, คอเลสเตอรอล และแคลเซียมสะสมอยู่ ซึ่งในนักวิ่งจะมีคราบพลัคที่หนาแน่นและมีความมั่นคงมากกว่าคนทั่วไป จึงมีโอกาสเกิดโรคหัวใจได้น้อยกว่า

.

.

โดยรวมแล้วก็สรุปได้ว่า

วิ่งแล้วมันดีต่อหัวใจจริงๆ ❤️✨

วันนี้ใครยังไม่มีเดทที่ไหน ไปวิ่งกันครับ 🏃‍♀️🏃‍♂️

.

.

เรียบเรียงจาก https://bit.ly/3HIvX9I

.

อ่านบทความ วิ่ง ปั่น ไตรกีฬา และสุขภาพ

ได้ที่ https://www.vrunvride.com

.

ชมรีวิวรองเท้าวิ่ง และ Gatget น่าสนใจ

ได้ที่ bit.ly/YTVRUN

—————————————————

ไปให้ไกล ยิ่งกว่าเดิม

Break your limit

วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี ดูน้อยลง

ที่มา: https://www.facebook.com/wheretorunwhentoride/posts/4799248460191806

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

เริ่มผลิดอกออกผลกับ New PB ระยะ 10k

วิ่งได้อร่อยมั๊กๆ ไม่เหนื่อยไม่ล้า ดีกว่าเมื่อก่อนเยอะจนได้ New PB ระยะ 10k ที่ 52 นาที เคยทำไว้ 54-57 นาที เช้านี้วิ่งในหมู่บ้าน ด้วย ถนนคอนกรีต แต่ดีที่อากาศดี ลมโชยมาเรื่อย ไม่ร้อน

จากการฝึกซ้อมอย่างหนักหลายเดือน ร่างกายแข็งแรงขึ้น หัวใจไม่โหลดเกินไป มันจึงเริ่มผลิดอกออกผล  ทำให้มีกำลังใจในการจะพัฒนาการวิ่งต่อไปในวัย 50



วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

Speed work ของวัย 50+ พร้อมส่งการบ้าน Week 5 ปี 2022

 


ในวันศุกร์ของ week นี้เป็นโปรแกรมการวิ่ง Speed work มันเกิดเหตุการณ์ประหลาดขณะวิ่งเร็วรอบที่ 3 คือหน้ามืดตอนหยุดกินน้ำ พอก้มตัวก็วูบล้มหน้าจูบพื้น แต่ก็ยังรู้สึกตัว ลุกขึ้นไปวิ่งต่อได้จนครบ 10k 

คิดแล้วสภาพที่เป็นคงคล้ายนักมวยโดนหมัดบวกเข้าที่ปลายคาง ร่วงกลางอากาศ สาเหตุที่เป็นน่าจะเกิดจากหยุดวิ่งเร็วเกินไปไม่จ็อกต่อ เป็นบทเรียนว่าวัย 50 การทำ speed work ต้องเป็นระยะ 800 เมตร ไม่ควรวิ่งแค่ 400 เมตร เพราะหัวใจมันโหลดเกิน