วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563

Rhabdomyolysis

 ที่มา : https://www.facebook.com/opo.opp.33/posts/622975544798124

Siam Jimmy Tongprasert

21 มกราคม 2019



👨‍⚕️Rhabdomyolysis

- โรคนี้เคยเรียนตอนเป็น นศพ แต่ก็ไม่เคยเจอคนไข้จริง ๆ ซักที จนเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาไปดูบาส🏀กับลูกที่โรงเรียนนานาชาติเชียงใหม่ (CMIS) พอจบทัวนาเม้นต์ที่แข่ง 3 แมตช์ในหนึ่งวัน ได้มีโอกาสไปช่วยปฐมพยาบาลนักกีฬาคนหนึ่งที่พอแข่งจบก็เป็นตะคริว ที่แปลกคือ เป็นทั้งตัว ค่อย ๆ ย้ายตำแหน่งไปเรื่อย ๆ พอยืดมัดนึงไปซักพักก็ย้ายไปมัดอื่น และน้องเค้าปวดมาก ๆ สุดท้ายเลยขึ้น ambulance🚑 พาไปส่งที่ห้องฉุกเฉิน แล้วต้อง admit เลยให้เพื่อนที่ทำงานโรงพยาบาลนี้ไปสืบดู เลยรู้ว่าเป็น rhabdomyolysis


- เลยสงสัยว่า น้องเค้าเป็นตะคริวหนักจนเป็น rhabdo หรือ เป็น rhabdo แล้วแสดงอาการด้วยการเป็นตะคริว🤔❓


- โรคนี้เกิดจากมีการเสื่อมสลายของกล้ามเนื้อ สาเหตุหนึ่งคือ "การออกกำลังกายอย่างหนัก"⛹️‍♂️💢 เป็นภาวะที่พบได้น้อย แต่อันตราย เนื่องจากสารที่ออกมาจากกล้ามเนื้อ จะเข้ากระแสเลือดและทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้

*ถ้าใครตามตอนที่ตูนบอดี้แสลมวิ่ง🏃‍♂️ ก็จะเห็นว่าเค้ามีการเจาะเลือดเพื่อจะได้เช็คว่ามีภาวะนี้เกิดขึ้นหรือเปล่าระหว่างวิ่ง


- มักจะเจอในคนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายและไปออกกำลังกายอย่างหนัก และนาน รวมถึงการออกกำลังกายที่เป็นแบบ eccentric contraction (การที่กล้ามเนื้อทำงานในขณะที่ยืดยาวออก เช่น ใช้มือถือดัมเบลแล้วค่อย ๆ วางดัมเบลลง)🏋️‍♂️


- ปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่

1. เพศ โดยพบในผู้ชาย👨‍🦰บ่อยกว่าผู้หญิง

2. การออกกำลังกายในที่ที่มีอากาศร้อน☀️และความชื้นสูง

3. ภาวะโปแตสเซียมและโซเดียมในเลือดต่ำ🧪

4. ร่ายกายขาดโปรตีน หรือมีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป (เช่นคนที่ทำ carbo loading)

5. ได้ creatine supplement มากเกินไป

6. การใช้ยาลดไขมันประเภท statin, การใช้ยา steroid การใช้ alcohol การใช้สารเสพติด เป็นต้น💊

7. ออกกำลังกายขณะมีการติดเชื้อไวรัส🦠

8. โรคทางพันธุกรรมบางอย่าง เช่น McArdle's disease🧬


- อาการ ได้แก่ ปวดกล้ามเนื้อ และปัสสาวะออกมาเป็นสีเหมือนโค้กหรือที่เราเรียกว่า myoglobinuria (ดูรูป เอามาจาก internet นะครับ) นอกจากนี้ก็มีอาการเป็นตะคริว (ได้คำตอบล่ะ😀) ล้า ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน


- สิ่งที่อยากฝากสำหรับนักกีฬาทุกท่าน คือ แม้ว่าโรคนี้จะเกิดได้น้อย แต่ไม่ควรประมาท เพราะมีอันตรายถึงชีวิตได้ ถ้ามีอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์ ที่สำคัญคือ 💥ฟังเสียงของร่ายกายเรา💥 ถ้าไม่ไหวอย่าฝืนครับ


เอกสารอ้างอิง

- Kim J, Lee J, Kim S, Ryu HY, Cha KS, Sung DJ. Exercise-induced rhabdomyolysis mechanisms and prevention: A literature review. J Sport Health Sci. 2016;5:324-33.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น