วิ่งๆ ไปแล้วรู้สึกว่ารองเท้าไม่กระชับ วิ่งๆ ไปแล้วเท้าบวม จนวิ่งไม่ถนัด มากำจัดปัญหาโลกแตกด้วยเทคนิคง่ายกับการผูกเชือกรองเท้าให้เป๊ะกันเถอะค่ะ
#ชิวจิต #วิ่ง #ลดหุ่น
ที่มา : https://www.facebook.com/CheewajitMagazine/photos/a.184763764903151.42334.180118655367662/1651177058261807/?type=3
วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2561
วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2561
อาหารวันแข่งมาราธอน | เตรียมตัวอย่างไร ???
คำถามสุดคลาสสิคที่ถามเข้ามามากเป็นอันดับต้นๆใน ไทยรัน วันนี้ อ.ต้น ชลชัย (วิทยาศาสตร์การกีฬา มหิดล) มาช่วยไขข้อข้องใจนี้แล้วจ้า 😊
.
สำคัญมากเพราะจะช่วยฟื้นฟูไกลโคเจนในตับเรา เพราะเวลานอนสมองมีการเอาไปใช้ควรกินอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตเท่าเดิมในตอนเช้า
สำหรับอาหารพวกไฟเบอร์สูงควรลดลงเพื่อลดปัญหาการเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร สำหรับอาหารเช้าขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล พยายามให้ทานตามความเคยชิน เช่น ข้าว วอลเฟิลกับน้ำเชื่อม ขนมปังกับกาแฟ บาร์ให้พลังงาน เป็นต้น อย่าลืมปริมาณของคาร์โบไฮเดรตอย่างน้อยประมาณ 100 กรัม พยายามให้ทานใกล้เคียงกับการซ้อมเวลาแข่งสนามก่อนๆที่เราเตรียมตัวมา
.
⭕ ก่อนเริ่มแข่งขัน
ก่อนเวลาแข่งขันประมาณ 1 ชั่วโมง ที่ส่วนมากเราจะมีใจจดจ่อกับการคอยที่จะวิ่ง ให้แน่ใจว่ามีการจิบน้ำหรือเจลก่อนเริ่มวิ่ง 15 นาที
.
⭕ ขณะแข่งขัน
มีสองสิ่งที่ควรต้องให้ความสำคัญ นั้นก็คือ น้ำและคาร์โบไฮเดรต
ต้องแน่ใจว่าเพียงพอแต่ไม่มากจนเกินความจำเป็น
ซึ่งอาจส่งปัญหาไปที่กระเพาะเราได้
ควรระวังสภาวะที่ร่างกายมีปริมาณเกลือแร่โซเดียมในเลือดต่ำกว่าปกติ (135-145)
.
⭕ น้ำดื่ม
ต้องเข้าใจและดื่มน้ำในปริมาณพอเหมาะที่ร่างกายต้องการ
แก้วน้ำ 150 มิลลิลิตร ให้ดื่มน้ำ 100 มิลลิลิตรป้องกันสภาวะขาดน้ำ
กระเพาะรับได้ 180-210 มิมลิลิตรทุก 15 นาทีขณะวิ่ง
หรือ 720-840 มิลลิลิตรต่อ 1 ชั่วโมง
แต่ต้องฝึกให้เกิดความเคยชิน
.
⭕ คาร์โบโฮเดรต
แนะนำให้เพิ่มคาร์ไฮเดรตทุกชั่วโมง 60 กรัม (ปกติ 30-60 กรัม)
โดยเฉพาะผู้ที่ใช้เวลาวิ่งมาราธอนประมาณ 4-5 ชั่วโมง
คาร์โบไฮเดรตมากช่วยในเรื่องประสิทธิภาพในการวิ่ง
แต่หากมากเกินไป อาจส่งผลถึงปริมาณแก๊สในกระเพาะอาหารได้
ตัวอย่างแหล่งคาร์โบไฮเดรต
กล้วย 24-30 กรัมเจล 21-27 กรัม
บาร์ให้พลังงาน 20-40 กรัมของหวาน 4-5 ชิ้น 16-25 กรัม
หมายเหตุ ซ้อมดื่มทานมาอย่างไรก็ควรให้ใกล้เคียงอย่างนั้น หลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่คุ้นเคย
หลังแข่งขัน ควรพักและเพิ่มอาหารหลังแข่งอย่างรวดเร็ว
.
เรียบเรียงโดย
ปล่อยแก่กับ อ.ต้น ชลชัย
#ThaiRun
The Thailand's running media.
.
สุดสัปดาห์นี้มี #จอมบึงมาราธอน สุดยอดตำนานมาราธอนไทย เตรียมตัวให้ดีนะคร้าบบ
.
อ.ต้น จะไปวิ่งงาน #KyotoMarathon กับ CW-X Thailand พร้อมกับพวกเรา #ThaiRun ด้วย เราจะพูดคุยกับอาจารย์อย่างใกล้ชิด มีอะไรดีๆจะมาถ่ายทอดให้เพื่อนๆฟังกันอีกนะคร้าบบ #KyotoMarathon #CWXKyoto2018 #KyotoMarathon2018
ที่มา : https://www.facebook.com/thaidotrun/photos/a.1694377410849702.1073741828.1658834907737286/2029019550718818/?type=3
.
สำคัญมากเพราะจะช่วยฟื้นฟูไกลโคเจนในตับเรา เพราะเวลานอนสมองมีการเอาไปใช้ควรกินอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตเท่าเดิมในตอนเช้า
สำหรับอาหารพวกไฟเบอร์สูงควรลดลงเพื่อลดปัญหาการเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร สำหรับอาหารเช้าขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล พยายามให้ทานตามความเคยชิน เช่น ข้าว วอลเฟิลกับน้ำเชื่อม ขนมปังกับกาแฟ บาร์ให้พลังงาน เป็นต้น อย่าลืมปริมาณของคาร์โบไฮเดรตอย่างน้อยประมาณ 100 กรัม พยายามให้ทานใกล้เคียงกับการซ้อมเวลาแข่งสนามก่อนๆที่เราเตรียมตัวมา
.
⭕ ก่อนเริ่มแข่งขัน
ก่อนเวลาแข่งขันประมาณ 1 ชั่วโมง ที่ส่วนมากเราจะมีใจจดจ่อกับการคอยที่จะวิ่ง ให้แน่ใจว่ามีการจิบน้ำหรือเจลก่อนเริ่มวิ่ง 15 นาที
.
⭕ ขณะแข่งขัน
มีสองสิ่งที่ควรต้องให้ความสำคัญ นั้นก็คือ น้ำและคาร์โบไฮเดรต
ต้องแน่ใจว่าเพียงพอแต่ไม่มากจนเกินความจำเป็น
ซึ่งอาจส่งปัญหาไปที่กระเพาะเราได้
ควรระวังสภาวะที่ร่างกายมีปริมาณเกลือแร่โซเดียมในเลือดต่ำกว่าปกติ (135-145)
.
⭕ น้ำดื่ม
ต้องเข้าใจและดื่มน้ำในปริมาณพอเหมาะที่ร่างกายต้องการ
แก้วน้ำ 150 มิลลิลิตร ให้ดื่มน้ำ 100 มิลลิลิตรป้องกันสภาวะขาดน้ำ
กระเพาะรับได้ 180-210 มิมลิลิตรทุก 15 นาทีขณะวิ่ง
หรือ 720-840 มิลลิลิตรต่อ 1 ชั่วโมง
แต่ต้องฝึกให้เกิดความเคยชิน
.
⭕ คาร์โบโฮเดรต
แนะนำให้เพิ่มคาร์ไฮเดรตทุกชั่วโมง 60 กรัม (ปกติ 30-60 กรัม)
โดยเฉพาะผู้ที่ใช้เวลาวิ่งมาราธอนประมาณ 4-5 ชั่วโมง
คาร์โบไฮเดรตมากช่วยในเรื่องประสิทธิภาพในการวิ่ง
แต่หากมากเกินไป อาจส่งผลถึงปริมาณแก๊สในกระเพาะอาหารได้
ตัวอย่างแหล่งคาร์โบไฮเดรต
กล้วย 24-30 กรัมเจล 21-27 กรัม
บาร์ให้พลังงาน 20-40 กรัมของหวาน 4-5 ชิ้น 16-25 กรัม
หมายเหตุ ซ้อมดื่มทานมาอย่างไรก็ควรให้ใกล้เคียงอย่างนั้น หลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่คุ้นเคย
หลังแข่งขัน ควรพักและเพิ่มอาหารหลังแข่งอย่างรวดเร็ว
.
เรียบเรียงโดย
ปล่อยแก่กับ อ.ต้น ชลชัย
#ThaiRun
The Thailand's running media.
.
สุดสัปดาห์นี้มี #จอมบึงมาราธอน สุดยอดตำนานมาราธอนไทย เตรียมตัวให้ดีนะคร้าบบ
.
อ.ต้น จะไปวิ่งงาน #KyotoMarathon กับ CW-X Thailand พร้อมกับพวกเรา #ThaiRun ด้วย เราจะพูดคุยกับอาจารย์อย่างใกล้ชิด มีอะไรดีๆจะมาถ่ายทอดให้เพื่อนๆฟังกันอีกนะคร้าบบ #KyotoMarathon #CWXKyoto2018 #KyotoMarathon2018
ที่มา : https://www.facebook.com/thaidotrun/photos/a.1694377410849702.1073741828.1658834907737286/2029019550718818/?type=3
วิธีฝึกเพิ่มความเร็วฝ่าเท้าของนักวิ่ง
นักวิ่งอย่างเราเมื่อเราสร้างพื้นฐานระดับหนึ่งให้กับร่างกาย ระบบแฮร์โรบิค (Aerobic base) และความอึด (Endurance) และวิ่งได้ไกล จุดมุ่งหมายต่อไปก็ที่ทุกคนอยากพัฒนาไปให้ถึงคือ การวิ่งให้เร็วขึ้น
ในการวิ่งให้เร็วขึ้น นั้นหมายถึงเราต้องสับขาให้เร็วขึ้น เพิ่มรอบขาซ้ายขวาๆ ให้เร็วขึ้น…วิธีฝึกเพิ่มรอบขาที่นิยมใช้กันในปัจจุบันได้เเก่
ในการวิ่งให้เร็วขึ้น นั้นหมายถึงเราต้องสับขาให้เร็วขึ้น เพิ่มรอบขาซ้ายขวาๆ ให้เร็วขึ้น…วิธีฝึกเพิ่มรอบขาที่นิยมใช้กันในปัจจุบันได้เเก่
- Fartlek หรือการฝึก Speed Play เป็นการฝึกวิ่งผสมผสาน pace ช้าเเละเร็ว อาจจะวิ่งเร็วเเบบไต่ระดับความเร็ว หรือช้าสลับความเร็วก็ได้ การฝึกจะทำให้เราอยู่ในโซน aerobic และ anaerobic วิธีการฝึกนี้ใช้ครั้งเเรกโดยโค้ชชาวสวีเดน Gosta Holmer ตัวอย่างเช่น….วิ่งเร็ว 1 นาที ช้า 1 นาที, วิ่งเร็ว 2 นาที ช้า 2 นาที, วิ่งเร็ว 3 นาที ช้า 3 นาที, วิ่งเร็ว 2 นาที ช้า 2 นาที และ วิ่งเร็ว 1 นาที ช้า 1 นาที การฝึกวิ่ง Fartlek เป็นการสร้าง Speed Endurance ที่ดี และขณะเดียวกันก็เพิ่มความสามารถให้กับนักวิ่งในการ “เปลี่ยนเกียร์” ปรับเปลี่ยน pace เพิ่มสร้างจังหวะในการเร่งความเร็วและผ่อนความเร็ว การฝึกวิ่ง Fartlek มีประโยชน์มากเวลาวิ่งเป็นกลุ่ม เพราะจะทำให้เราสรา้งจังหวะวิ่งหนี ควบคุมความเร็วเเละทำลายจังหวะคู่เเข่ง
- วิ่งขึ้นเขา หรือภาษาอังกฤษอาจจะเรียกว่า Hills ดีในการฝึกเพื่อเพิ่ม speed-endurance และ strength-endurance เพราะ เวลาวิ่งขึ้นเขาจะมีเเรงต้านทำให้ร่างกายจะได้ฝึกมัดกล้ามเนื้อ (strength-endurance) เเละยิ่งวิ่งให้เร็วเท่าไหร ก็จะให้การฝึกเหมือนๆ กับ Sprinter (speed-endurance) จังหวะสับขาเเกว่งมือไปมาจะเร็วตามเพื่อสู้เเรงต้าน ในการฝึก เริ่มต้นจากการเลือกเขาเนินต่ำๆ องศาไม่มาก ประมาณใช้เวลาสปินซ์ขึ้นยอด 30-40 วินาทีก็ได้ ไม่ควรใช้เวลาเกิน 1 นาที สำหรับใครที่อยู่ขั้น Advance ไปเเล้วก็สามารถเพิ่มระยะได้ ตามระดับความฟิต…เวลาวิ่งขึ้นเขาเราจะเรียกว่า Run off the top สับขาให้เร็วจนถึงยอดเขา ทำซำ้กัน 6-8 รอบ ในการฝึกวิ่งเเต่ละครั้ง
- การลงขาหรือ Stride ฝึกการลงเท้า หรือ landing เท้า เป็น fast running เเต่ไม่ใช้การทำ Sprint เป็นการฝึกรอบขาเช่นกัน…เเต่ทำอย่างไร เราไปดูคลิปของ ครูดินกันดีกว่า
- Short race สุดท้ายเป็นการเลือกลงสนามระยะสั้นๆ เพื่อฝึกเพิ่มความเร็ว อาจจะเป็น 5K ไปถึง 10K เป็นการลงภาคสนามจริง ฝึกวิ่งในระดับความเร็วที่ตั้งไว้ในระยะทางที่รับได้ เป็นการฝึก ความอึดเเละความเร็วในสถานการณ์จริง ในการวิ่งระยะเเรกอาจจะเริ่มต้นด้วยการวิ่งเเบบ tempo เเล้วค่อยๆ ไต่ความเร็วขึ้น อย่าลืมพกพาลูกทีมเเละเพื่อนๆ ไปช่วยเชียร์ด้วยนะครับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: www.stepextra.com
#TeamBeyond #GoTogether
กินหลังวิ่งทันที ป้องกันกระดูกเปราะ!!!
เรื่องการกินอาหารก่อน หรือหลังวิ่งอย่างไรนั้น เป็นคำถามที่มีนักวิ่งมักจะสงสัย และแนะนำกันอย่างมาก เช่น คำแนะนำที่ว่าไม่ให้กินอะไรก่อนวิ่ง เพื่อฝึกให้ร่างกายใช้ไขมันให้ได้ดีขึ้น??? หรือการงดอาหารหลังวิ่ง เพื่อลดน้ำหนัก???... โดยบทความนี้ ผมขอไม่พูดถึงรายละเอียดของ 2 คำแนะนำข้างบนนะครับ เดี๋ยวจะยาวเกินไป
---------------------------------
เรารู้กันอยู่แล้วว่าการกินอาหารที่มีแป้ง และโปรตีนหลังวิ่งภายใน 90 นาที จะช่วยให้กล้ามเนื้อฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ซึ่งในเวลาดังกล่าว กล้ามเนื้อจะสามารถดูดซึมสารอาหารได้มากกว่าปกติถึง 3 เท่า
แต่เมื่อเร็วๆนี้เพิ่งมีงานวิจัยที่เกี่ยวกับการกินอาหารหลังวิ่งเสร็จ กับความแข็งแรงของกระดูกที่น่าสนใจมากๆออกมาครับ เลยขอเอามาเล่าให้ฟังหน่อย
---------------------------------
เป็นงานวิจัยของทีมนักวิจัยชาวอังกฤษ ที่ทำในนักวิ่งแนวหน้า โดยให้นักวิ่งทั้งหมดที่เข้าร่วมงานวิจัย วิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้าจนรู้สึกเหนื่อยมากๆ แล้วให้ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแป้ง และโปรตีน เปรียบเทียบกับเครื่องดื่มหลอก(เป็นน้ำเปล่าแต่งรสเฉยๆ)
พบว่านักวิ่งที่ดื่มเครื่องดื่มหลอกเฉยๆนั้น มีค่าของเลือดที่บ่งบอกว่ากระดูกมีการสลาย มากกว่ากลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแป้ง และโปรตีน... และยังมีค่าของการสร้างกระดูกน้อยกว่าอีกด้วย
นั่นก็แปลว่า กลุ่มที่ไม่ได้เสริมแป้ง และโปรตีนเข้าไปทันทีหลังวิ่งเสร็จ จะมีโอกาสที่การสร้างกระดูกจะไม่สมดุล และทำให้กระดูกมีโอกาสได้รับบาดเจ็บมากกว่ากลุ่มที่เสริมอาหารเข้าไปทันทีได้... อาการบาดเจ็บเหล่านั้นก็เช่น กระดูกหน้าแข้งร้าว(Stress Fracture) เป็นต้น
---------------------------------
โดยสัดส่วนที่ใช้ในการทดลอง และแนะนำกันก็คือ แป้ง 3 ส่วน โปรตีน 1 ส่วน(3:1) หรือ 4:1 ก็ได้... แต่จริงๆแล้วการกินอาหารทั่วไปที่ไม่ใช่เครื่องดื่ม ก็ช่วยเรื่องนี้ได้เหมือนกันนะครับ แต่อาจจะต้องกินเร็วขึ้นนิดนึง เผื่อเวลาย่อยหน่อยครับ
สรุปว่า การกินอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีแป้ง และโปรตีนเป็นส่วนประกอบ หลังวิ่งเสร็จทันที มีโอกาสช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นที่กระดูกจากการวิ่งได้นะครับ... เข้าทางหลายๆท่านเลยใช่มั๊ยครับ
วิ่งสนุก ลุกนั่งสบายนะครับทุกท่าน
Run Hard and Be Nice to People
หมอแป๊ป Learn’n’Run
The Effect of Postexercise Carbohydrate and Protein Ingestion on Bone Metabolism
https://goo.gl/JdHpjH
ที่มา : https://www.facebook.com/LearnandRun/photos/a.285068351673539.1073741828.272454926268215/881613128685722/?type=3
---------------------------------
เรารู้กันอยู่แล้วว่าการกินอาหารที่มีแป้ง และโปรตีนหลังวิ่งภายใน 90 นาที จะช่วยให้กล้ามเนื้อฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ซึ่งในเวลาดังกล่าว กล้ามเนื้อจะสามารถดูดซึมสารอาหารได้มากกว่าปกติถึง 3 เท่า
แต่เมื่อเร็วๆนี้เพิ่งมีงานวิจัยที่เกี่ยวกับการกินอาหารหลังวิ่งเสร็จ กับความแข็งแรงของกระดูกที่น่าสนใจมากๆออกมาครับ เลยขอเอามาเล่าให้ฟังหน่อย
---------------------------------
เป็นงานวิจัยของทีมนักวิจัยชาวอังกฤษ ที่ทำในนักวิ่งแนวหน้า โดยให้นักวิ่งทั้งหมดที่เข้าร่วมงานวิจัย วิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้าจนรู้สึกเหนื่อยมากๆ แล้วให้ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแป้ง และโปรตีน เปรียบเทียบกับเครื่องดื่มหลอก(เป็นน้ำเปล่าแต่งรสเฉยๆ)
พบว่านักวิ่งที่ดื่มเครื่องดื่มหลอกเฉยๆนั้น มีค่าของเลือดที่บ่งบอกว่ากระดูกมีการสลาย มากกว่ากลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแป้ง และโปรตีน... และยังมีค่าของการสร้างกระดูกน้อยกว่าอีกด้วย
นั่นก็แปลว่า กลุ่มที่ไม่ได้เสริมแป้ง และโปรตีนเข้าไปทันทีหลังวิ่งเสร็จ จะมีโอกาสที่การสร้างกระดูกจะไม่สมดุล และทำให้กระดูกมีโอกาสได้รับบาดเจ็บมากกว่ากลุ่มที่เสริมอาหารเข้าไปทันทีได้... อาการบาดเจ็บเหล่านั้นก็เช่น กระดูกหน้าแข้งร้าว(Stress Fracture) เป็นต้น
---------------------------------
โดยสัดส่วนที่ใช้ในการทดลอง และแนะนำกันก็คือ แป้ง 3 ส่วน โปรตีน 1 ส่วน(3:1) หรือ 4:1 ก็ได้... แต่จริงๆแล้วการกินอาหารทั่วไปที่ไม่ใช่เครื่องดื่ม ก็ช่วยเรื่องนี้ได้เหมือนกันนะครับ แต่อาจจะต้องกินเร็วขึ้นนิดนึง เผื่อเวลาย่อยหน่อยครับ
สรุปว่า การกินอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีแป้ง และโปรตีนเป็นส่วนประกอบ หลังวิ่งเสร็จทันที มีโอกาสช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นที่กระดูกจากการวิ่งได้นะครับ... เข้าทางหลายๆท่านเลยใช่มั๊ยครับ
วิ่งสนุก ลุกนั่งสบายนะครับทุกท่าน
Run Hard and Be Nice to People
หมอแป๊ป Learn’n’Run
The Effect of Postexercise Carbohydrate and Protein Ingestion on Bone Metabolism
https://goo.gl/JdHpjH
ที่มา : https://www.facebook.com/LearnandRun/photos/a.285068351673539.1073741828.272454926268215/881613128685722/?type=3
วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2561
วิ่งแล้วเหนื่อย
มีใครวิ่งแล้วไม่เหนื่อยบ้างครับ
เหนื่อยมากเหนื่อยน้อยก็เรียกว่าเหนื่อย
ขึ้นอยู่กับสมรรถภาพของร่างกายและความเร็วที่วิ่ง
ลองทำอย่างนี้ดูซิ
เริ่มวิ่งอย่างช้าๆให้ร่างกายปรับตัวในการทำงาน
ช่วงแรกๆจะรู้สึกเหนื่อย ไม่คล่องตัว มีอะไรอยู่ในสมองมากมาย อย่าคิดเยอะ
ตั้งสมาธิให้จิตจดจ่ออยู่ที่การเคลื่อนไหวในการวิ่ง
เมื่อหายใจคล่องขึ้น เริ่มร้อนขึ้นภายใน เหงื่อซึม
การก้าวขาและการแกว่งแขนง่ายขึ้น ปรับให้
สัมพันธ์กับการหายใจเข้าออก
ค่อยๆเพิ่มจังหวะความเร็ว
ที่รู้สึกได้ว่าลื่นไหลเบาสบายอย่างเป็นธรรมชาติ
จะวิ่งให้สนุกต้องไม่เค้นหรือฝืนความรู้สึกเกินไป
ในระดับความเร็วที่สม่ำเสมอและประเมินมาแล้วว่า
เหมาะกับต้นทุนที่มีอยู่ในระยะทางเป้าหมาย
ไม่พะวงต่อคนรอบข้าง ใครเร็ว ใครช้า ตามสบาย
วิ่งด้วยความรู้สึกของตัวเองที่ไม่บีบเค้น
มีสมาธิไปสู่เป้าหมายที่ตั้งใจไว้อย่างไม่เกินตัว
แค่นี้ก็วิ่งได้สนุก เหนื่อยอย่างมีคุณภาพแล้วครับ
ครูดิน สถาวร จันทร์ผ่องศรี
11 มกราคม 2561
ที่มา : https://www.facebook.com/SathavornRunningClub/photos/a.614330601918791.1073741827.278844635467391/1781468171871689/?type=3
เหนื่อยมากเหนื่อยน้อยก็เรียกว่าเหนื่อย
ขึ้นอยู่กับสมรรถภาพของร่างกายและความเร็วที่วิ่ง
ลองทำอย่างนี้ดูซิ
เริ่มวิ่งอย่างช้าๆให้ร่างกายปรับตัวในการทำงาน
ช่วงแรกๆจะรู้สึกเหนื่อย ไม่คล่องตัว มีอะไรอยู่ในสมองมากมาย อย่าคิดเยอะ
ตั้งสมาธิให้จิตจดจ่ออยู่ที่การเคลื่อนไหวในการวิ่ง
เมื่อหายใจคล่องขึ้น เริ่มร้อนขึ้นภายใน เหงื่อซึม
การก้าวขาและการแกว่งแขนง่ายขึ้น ปรับให้
สัมพันธ์กับการหายใจเข้าออก
ค่อยๆเพิ่มจังหวะความเร็ว
ที่รู้สึกได้ว่าลื่นไหลเบาสบายอย่างเป็นธรรมชาติ
จะวิ่งให้สนุกต้องไม่เค้นหรือฝืนความรู้สึกเกินไป
ในระดับความเร็วที่สม่ำเสมอและประเมินมาแล้วว่า
เหมาะกับต้นทุนที่มีอยู่ในระยะทางเป้าหมาย
ไม่พะวงต่อคนรอบข้าง ใครเร็ว ใครช้า ตามสบาย
วิ่งด้วยความรู้สึกของตัวเองที่ไม่บีบเค้น
มีสมาธิไปสู่เป้าหมายที่ตั้งใจไว้อย่างไม่เกินตัว
แค่นี้ก็วิ่งได้สนุก เหนื่อยอย่างมีคุณภาพแล้วครับ
ครูดิน สถาวร จันทร์ผ่องศรี
11 มกราคม 2561
ที่มา : https://www.facebook.com/SathavornRunningClub/photos/a.614330601918791.1073741827.278844635467391/1781468171871689/?type=3
วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2561
ซ้อมวิ่งยาว 35K สำเร็จแล้ว เพื่อไปแข่งวิ่งงานหัวหินมาราธอน
เป็นวันที่ร้อนอยู่ แต่พอมีลมพัด แต่การซ้อมก็ต้องดำเนินต่อไปตามโปรแกรม ซึ่งผลก็คือสำเร็จ แยกหัวข้อที่จะพูดถึงการซ้อมครั้งนี้เป็น ไทม์ไลน์, เวลาที่ทำได้, สภาพร่างกาย, สเบียง
ไทม์ไลน์
ไทม์ไลน์
- 1:30 น. ตื่น ทำภารกิจ กิน
- 2:30 น. ล้อหมุน
- 3:10 น. ถึงสวนธน, วอล์มอัพ
- 3:35 น. เริ่มวิ่ง
- 7:25 น. วิ่งครบ 35 รอบ
- 8:15 น. ยืดเหยียดเสร็จ
- 8:45 น. เดินทางกลับ
เวลาที่ทำได้
- 10 รอบแรก ทำเวลา 1:03 ชม.
- 10 รอบสอง ทำเวลา 1:05 ชม.
- 10 รอบสาม ทำเวลา 1:10 ชม. รอบละ 7 นาที
- 5 รอบสุดท้าย ทำเวลา 38 นาที
เสบียง
- หลังตื่นนอนกิน ขนมปัง 3 แผ่น กล้วยหอม 1 ลูก โอวัลติน 1 แก้ว กาแฟ 1 ถ้วย
- ก่อนวิ่งกินสปอนเซอร์ 1 ขวด
- ระหว่างวิ่งกินกล้วยหอม 2 ลูก (รอบ 19 กับ รอบ 25) สปอนเซอร์ 1 ขวด (รอบ 33)
- หลังวิ่ง กินอาหารมื้อเช้าปกติ
- ก่อนวิ่งปกติ
- ระหว่างวิ่ง มีน่องกระตุกรอบ 28 กะ เส้นข้อพับเข่าขวารอบ 29,30
- วิ่งเสร็จ ปกติมาก ยอดเยี่ยมกระเทียมดอง
วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2561
เทคนิคสังเกตภาวะอาการขาดน้ำ (Dehydration) อย่างง่าย
ช่วงนี้อากาศร้อนมากๆๆๆๆ ภาวะอาการขาดน้ำหรือ Dehydration เป็นอาการที่พบได้ในนักวิ่งทั่วไปครับ เนื่องจากขณะออกกำลังกายร่างกายเราสูญเสียน้ำมากกว่าปริมาณที่ได้รับ แต่หากขาดน้ำมากๆและไม่ได้รับการทดแทนอย่างเพียงพอก็อาจเกิดอันตรายตามมาได้นะครับ ยิ่งช่วงนี้อากาศร้อนมากๆไม่ควรเสี่ยงนะครับ วันนี้ “วิ่งไหนดี” เลยมีเทคนิคเล็กๆน้อยๆให้เพื่อนๆลองสังเกตอาการตัวเองว่าอยู่ในภาวะ Dehydration ที่อันตรายหรือไม่กันครับ
1. อัตราการเต้นของหัวใจ
อัตราการเต้นของหัวใจย่อมเพิ่มขึ้นเป็นปกติอยู่แล้วในช่วงที่เราออกกำลังกายครับ ลองหมั่นสังเกตอัตราการเต้นของหัวใจของตนเองแล้วจะทราบว่า Heart Rate เราอยู่ที่ระดับประมาณไหนในการออกกำลังกายระดับต่างๆนะครับ ถ้าเกิดพบว่า Heart Rate ของตนเพิ่มขึ้นสูงกว่าอัตราที่ควรจะเป็นประมาณ 15-20 ครั้งต่อนาที อันนี้เริ่มเป็นสัญญาณอันตรายแล้วครับ เพราะอาจจะเป็นไปได้ว่าหัวใจเรากำลังทำงานหนักจากการที่ปริมาณเลือดเราลดลงจากภาวะ Dehydration ครับ
2. อาการเวียนหัว
เวลาเราลุกขึ้นยืนเร็วๆจากท่านั่ง เราจะรู้สึกเวียนหัว อาการแบบนี้เรียกว่าความดันตกในท่ายืน (Postural Hypotension) ครับ เกิดจากเลือดไปเลี้ยงศีรษะไม่พอเมื่อเราเปลี่ยนท่าจากนั่งเป็นยืนครับ หากเพื่อนๆพบว่ามีอาการวิงเวียนศีรษะอาจเป็นไปได้ว่าเกิดภาวะ Dehydration และเลือดกำลังไปเลี้ยงศีรษะไม่พอนะครับ
3. ผิวหนังย้อย
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าภาวการณ์สูญเสียความยืดหยุ่นของผิวหนัง (Decreased Skin Turgor) ครับ คืออาการที่เมื่อดึงผิวหนังแล้วปล่อย แล้วผิวหนังไม่ยอมเด้งกลับมา แต่คงสภาพเป็นจีบๆ หากวิ่งไปเหนื่อยๆ….เพื่อนๆอาจลองดึงผิวที่หลังมือไว้ซัก 2-3วินาที แล้วปล่อยดูครับ ถ้าพบว่าผิวหนังค่อยๆคืนตัวอย่างช้าๆหรือไม่ยอมเด้งกลับ อันนี้เริ่มจะอันตรายแล้วครับ เพราะเป็นสัญญาณว่าเพื่อนๆอาจกำลังเจอภาวะ Dehydration ขั้นรุนแรงล่ะครับ
4. กลิ่นปัสสาวะ
ไม่ใช่แค่สีของปัสสาวะที่เป็นตัวบ่งบอกว่าเพื่อนๆกำลัง Dehydrate นะครับ แต่กลิ่นเป็นเป็นสัญญาณเตือนได้เหมือนกัน หากเพื่อนๆพบว่าปัสสาวะมีกลิ่นแรง ถือได้ว่าเป็นสัญญาณเตือนให้หาน้ำเติมเข้าร่างกายได้แล้วล่ะครับ
เรียบเรียงโดย ทีมงานวิ่งไหนดี
ที่มา
Selene Yeager, How to Tell When You’re Dangerously Dehydrated, Runner’s world, May 9, 2016
ที่มา : https://www.facebook.com/WingNaiDee/photos/pcb.1688369527880207/1688380844545742/?type=3
1. อัตราการเต้นของหัวใจ
อัตราการเต้นของหัวใจย่อมเพิ่มขึ้นเป็นปกติอยู่แล้วในช่วงที่เราออกกำลังกายครับ ลองหมั่นสังเกตอัตราการเต้นของหัวใจของตนเองแล้วจะทราบว่า Heart Rate เราอยู่ที่ระดับประมาณไหนในการออกกำลังกายระดับต่างๆนะครับ ถ้าเกิดพบว่า Heart Rate ของตนเพิ่มขึ้นสูงกว่าอัตราที่ควรจะเป็นประมาณ 15-20 ครั้งต่อนาที อันนี้เริ่มเป็นสัญญาณอันตรายแล้วครับ เพราะอาจจะเป็นไปได้ว่าหัวใจเรากำลังทำงานหนักจากการที่ปริมาณเลือดเราลดลงจากภาวะ Dehydration ครับ
2. อาการเวียนหัว
เวลาเราลุกขึ้นยืนเร็วๆจากท่านั่ง เราจะรู้สึกเวียนหัว อาการแบบนี้เรียกว่าความดันตกในท่ายืน (Postural Hypotension) ครับ เกิดจากเลือดไปเลี้ยงศีรษะไม่พอเมื่อเราเปลี่ยนท่าจากนั่งเป็นยืนครับ หากเพื่อนๆพบว่ามีอาการวิงเวียนศีรษะอาจเป็นไปได้ว่าเกิดภาวะ Dehydration และเลือดกำลังไปเลี้ยงศีรษะไม่พอนะครับ
3. ผิวหนังย้อย
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าภาวการณ์สูญเสียความยืดหยุ่นของผิวหนัง (Decreased Skin Turgor) ครับ คืออาการที่เมื่อดึงผิวหนังแล้วปล่อย แล้วผิวหนังไม่ยอมเด้งกลับมา แต่คงสภาพเป็นจีบๆ หากวิ่งไปเหนื่อยๆ….เพื่อนๆอาจลองดึงผิวที่หลังมือไว้ซัก 2-3วินาที แล้วปล่อยดูครับ ถ้าพบว่าผิวหนังค่อยๆคืนตัวอย่างช้าๆหรือไม่ยอมเด้งกลับ อันนี้เริ่มจะอันตรายแล้วครับ เพราะเป็นสัญญาณว่าเพื่อนๆอาจกำลังเจอภาวะ Dehydration ขั้นรุนแรงล่ะครับ
4. กลิ่นปัสสาวะ
ไม่ใช่แค่สีของปัสสาวะที่เป็นตัวบ่งบอกว่าเพื่อนๆกำลัง Dehydrate นะครับ แต่กลิ่นเป็นเป็นสัญญาณเตือนได้เหมือนกัน หากเพื่อนๆพบว่าปัสสาวะมีกลิ่นแรง ถือได้ว่าเป็นสัญญาณเตือนให้หาน้ำเติมเข้าร่างกายได้แล้วล่ะครับ
เรียบเรียงโดย ทีมงานวิ่งไหนดี
ที่มา
Selene Yeager, How to Tell When You’re Dangerously Dehydrated, Runner’s world, May 9, 2016
ที่มา : https://www.facebook.com/WingNaiDee/photos/pcb.1688369527880207/1688380844545742/?type=3
วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561
5 เทคนิคช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการออกกำลังกาย
รวมเทคนิคที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการออกกำลังกาย ไม่ว่าใครก็ย่อมอยากมีหุ่นสวย สุขภาพดี ดูแข็งแรงกันทั้งนั้น ซึ่งการอดอาหารไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเลย ดังนั้นการออกกำลังกายจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่สามารถช่วยปั้นหุ่นสวยได้ แต่บางคนอาจจะมองว่าการออกกำลังกายเป็นเรื่องยาก การหาเทคนิคที่จะมาช่วยสร้างแรงบันดาลใจเล็กๆ น้อยๆ ในการออกกำลังกาย น่าจะช่วยให้ทุกคนอยากหันมาออกกำลังกายกันมากขึ้นได้
1. ชุดออกกำลังกาย - การเห็นภาพสะท้อนตัวเองแต่งชุดสวยๆ สปอร์ตบราเก๋ๆ ในกระจก น่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนอยากกำลังกายมากขึ้น ควรวางเสื้อยืดตัวโคร่งไว้ก่อน แล้วหันมาใส่ชุดที่พอดีตัว กระชับสัดส่วน นอกจากจะดูดีแล้วยังช่วยให้เห็นพัฒนาการของรูปร่างที่เปลี่ยนไปได้ง่ายขึ้นด้วย
2. อย่าโฟกัสที่ตัวเลข - แทบทุกคนที่ออกกำลังกายมักจะสนใจตัวเลขบนเครื่องชั่งน้ำหนัก แต่จริงๆ แล้วควรหันมาสนใจรูปร่างและความแข็งแรงของร่างกายที่เพิ่มขึ้นมากกว่า การปรับทัศนคติเพียงเล็กน้อย มองที่สุขภาพมากกว่าความผอม จะช่วยให้ออกกำลังกายอย่างมีความสุขมากขึ้น
3. สร้างลิสต์เพลงในมือถือ - เพลงมีส่วนช่วยในการออกกำลังกายได้มากกว่าที่คิด โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบคาดิโอ อย่างเช่น การวิ่ง การปั่นจักรยาน การสร้างลิสต์เพลงจังหวะสนุกๆ ไว้ในสมาร์ทโฟน จะช่วยให้เราเพลิดเพลินกับการออกกำลังกายจนลืมความเหนื่อยล้าไปเลย
4. มองหาต้นแบบหุ่นในฝัน - การมองหาต้นแบบของรูปร่างที่เราอยากได้ อาจจะเป็นศิลปิน นักแสดง หรือนางแบบ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการออกกำลังกาย เป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนที่จะทำให้เราไปสู่เป้าหมายที่สำเร็จได้ เก็บรูปของพวกเขาเหล่านั้นมาเป็นแรงบันดาลใจ และบอกตัวเองว่าพวกเขาทำได้ เราก็ต้องทำได้เหมือนกัน
5. ถ่ายรูปตัวเองเก็บไว้เป็นระยะ - การถ่ายรูปตัวเองเก็บไว้เรื่อยๆ จะช่วยให้เราเห็นพัฒนาการของตัวเอง ช่วงแรกอาจไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่เมื่อออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง รับรองว่าจะต้องเห็นผลแน่นอน และเมื่อเราย้อนกลับมาดูรูปเหล่านี้ มันจะเป็นกำลังใจที่ดีที่จะช่วยทำให้เราออกกำลังกายต่อไปเรื่อยๆ เพื่อให้หุ่นสวยแบบนี้อยู่กับเราไปตลอด
ที่มา : https://www.posttoday.com/life/life/522313
1. ชุดออกกำลังกาย - การเห็นภาพสะท้อนตัวเองแต่งชุดสวยๆ สปอร์ตบราเก๋ๆ ในกระจก น่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนอยากกำลังกายมากขึ้น ควรวางเสื้อยืดตัวโคร่งไว้ก่อน แล้วหันมาใส่ชุดที่พอดีตัว กระชับสัดส่วน นอกจากจะดูดีแล้วยังช่วยให้เห็นพัฒนาการของรูปร่างที่เปลี่ยนไปได้ง่ายขึ้นด้วย
2. อย่าโฟกัสที่ตัวเลข - แทบทุกคนที่ออกกำลังกายมักจะสนใจตัวเลขบนเครื่องชั่งน้ำหนัก แต่จริงๆ แล้วควรหันมาสนใจรูปร่างและความแข็งแรงของร่างกายที่เพิ่มขึ้นมากกว่า การปรับทัศนคติเพียงเล็กน้อย มองที่สุขภาพมากกว่าความผอม จะช่วยให้ออกกำลังกายอย่างมีความสุขมากขึ้น
3. สร้างลิสต์เพลงในมือถือ - เพลงมีส่วนช่วยในการออกกำลังกายได้มากกว่าที่คิด โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบคาดิโอ อย่างเช่น การวิ่ง การปั่นจักรยาน การสร้างลิสต์เพลงจังหวะสนุกๆ ไว้ในสมาร์ทโฟน จะช่วยให้เราเพลิดเพลินกับการออกกำลังกายจนลืมความเหนื่อยล้าไปเลย
4. มองหาต้นแบบหุ่นในฝัน - การมองหาต้นแบบของรูปร่างที่เราอยากได้ อาจจะเป็นศิลปิน นักแสดง หรือนางแบบ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการออกกำลังกาย เป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนที่จะทำให้เราไปสู่เป้าหมายที่สำเร็จได้ เก็บรูปของพวกเขาเหล่านั้นมาเป็นแรงบันดาลใจ และบอกตัวเองว่าพวกเขาทำได้ เราก็ต้องทำได้เหมือนกัน
5. ถ่ายรูปตัวเองเก็บไว้เป็นระยะ - การถ่ายรูปตัวเองเก็บไว้เรื่อยๆ จะช่วยให้เราเห็นพัฒนาการของตัวเอง ช่วงแรกอาจไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่เมื่อออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง รับรองว่าจะต้องเห็นผลแน่นอน และเมื่อเราย้อนกลับมาดูรูปเหล่านี้ มันจะเป็นกำลังใจที่ดีที่จะช่วยทำให้เราออกกำลังกายต่อไปเรื่อยๆ เพื่อให้หุ่นสวยแบบนี้อยู่กับเราไปตลอด
ที่มา : https://www.posttoday.com/life/life/522313
วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2561
3 วิธีออกกำลังกายให้ไม่เจ็บตัว
สิ่งที่ควรระมัดระวังเวลาออกกำลังกาย เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น สุขภาพดีขึ้นทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต แต่บางครั้งก็อาจเกิดเหตุที่ไม่คาดฝัน ทำให้บาดเจ็บ.......ดังนั้นควรพึงระวังในบางเรื่องที่อาจจะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้การออกกำลังกายครั้งนั้นได้รับแต่ประโยชน์โดยแท้จริง
1. ออกกำลังกายให้เหมาะกับร่างกาย - ร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนมีปัญหาเกี่ยวกับเข่า อาจจะหลีกเลี่ยงการวิ่งเพื่อลดการกระแทก หรือถ้าหากอยากวิ่งจริงๆ ควรเปลี่ยนไปเดินหรือจ๊อกกิ้งเบาๆ แทน หรือคนที่เป็นโรคหัวใจอาจจะออกกำลังกายเบาๆ ไม่หักโหม เพราะอาจเกิดอันตรายมากกว่าได้ประโยชน์
2. ระวังเรื่องความร้อน - เวลาเราออกกำลังกาย ร่างกายจะมีอุณหภูมิสูงขี้นอยู่แล้ว ถ้าบวกกับความร้อนของแดดและเครื่องแต่งกายจะยิ่งเพิ่มความร้อนให้ร่างกาย ซึ่งจะอันตรายถ้าอุณหภูมิไปแตะอยู่ที่ 43 องศา ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ทำงานผิดปกติ อาจทำให้หน้ามืดเป็นลมจนบาดเจ็บได้ หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ต้องรีบพาไปยังที่ร่มและมีอากาศถ่ายเท เช็ดตัวด้วยน้ำเย็นเพื่อให้ร่างกายเย็นลง
3. อย่าหักโหมเกิน - หากออกกำลังกายอย่างหนักจนเกินไป กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอาจบาดเจ็บได้ วิธีป้องกันง่ายๆ คือวอร์มกล้ามเนื้อด้วยการยืดเส้นให้กับร่างกายสัก 10 - 15 นาทีก่อนออกกำลังกายเป็นการคลายกล้ามเนื้อ ช่วยให้กระตุ้นหัวใจ และการไหลเวียนของเลือดให้มีประสิทธิภาพระหว่างออกกำลังกายมากขึ้น
ที่มา : https://www.posttoday.com/life/life/522169
1. ออกกำลังกายให้เหมาะกับร่างกาย - ร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนมีปัญหาเกี่ยวกับเข่า อาจจะหลีกเลี่ยงการวิ่งเพื่อลดการกระแทก หรือถ้าหากอยากวิ่งจริงๆ ควรเปลี่ยนไปเดินหรือจ๊อกกิ้งเบาๆ แทน หรือคนที่เป็นโรคหัวใจอาจจะออกกำลังกายเบาๆ ไม่หักโหม เพราะอาจเกิดอันตรายมากกว่าได้ประโยชน์
2. ระวังเรื่องความร้อน - เวลาเราออกกำลังกาย ร่างกายจะมีอุณหภูมิสูงขี้นอยู่แล้ว ถ้าบวกกับความร้อนของแดดและเครื่องแต่งกายจะยิ่งเพิ่มความร้อนให้ร่างกาย ซึ่งจะอันตรายถ้าอุณหภูมิไปแตะอยู่ที่ 43 องศา ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ทำงานผิดปกติ อาจทำให้หน้ามืดเป็นลมจนบาดเจ็บได้ หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ต้องรีบพาไปยังที่ร่มและมีอากาศถ่ายเท เช็ดตัวด้วยน้ำเย็นเพื่อให้ร่างกายเย็นลง
3. อย่าหักโหมเกิน - หากออกกำลังกายอย่างหนักจนเกินไป กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอาจบาดเจ็บได้ วิธีป้องกันง่ายๆ คือวอร์มกล้ามเนื้อด้วยการยืดเส้นให้กับร่างกายสัก 10 - 15 นาทีก่อนออกกำลังกายเป็นการคลายกล้ามเนื้อ ช่วยให้กระตุ้นหัวใจ และการไหลเวียนของเลือดให้มีประสิทธิภาพระหว่างออกกำลังกายมากขึ้น
ที่มา : https://www.posttoday.com/life/life/522169
วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2561
เดินเพื่อสุขภาพกระดูก
โดย ศาสตราจารย์ ดร.นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ เมธีวิจัยอาวุโส สกว. และหัวหน้าหน่วยวิจัยด้านแคลเซียมและกระดูก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Logo การเดินเป็นการลงทุนต่ำแต่มีประโยชน์ต่อร่างกายคุ้มค่า ไม่ว่าจะเป็นเพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ดังนั้นการเดินบนพื้นราบอย่างน้อยวันละ 30-40 เป็นเวลา 4-5 วัน/สัปดาห์ จึงดีต่อผู้สูงอายุที่มีความพร้อมและไม่มีข้อห้ามเรื่องการเดิน
ทั้งนี้ยังมีข้อถกเถียงในเรื่องการเดินเพื่อสุขภาพกระดูก โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าจะป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุได้หรือไม่ในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาผลดีของการเดินต่อความแข็งแรงของกระดูกอย่างละเอียดรอบด้าน แต่ในต่างประเทศมีงานวิจัยหลายเรื่องที่ยืนยันว่า ผู้สูงอายุที่เดินประจำจะมีความหนาแน่นของกระดูกมากกว่าผู้ที่เดินน้อย
"เดินอย่างไรให้สุขภาพกระดูกดี"
การเดินก็เช่นเดียวกับการกำลังกาย นั่นคือ ต้องปฎิบัติอย่างสม่ำเสมอ ผู้สูงอายุจึงควรเดินเป็นประจำจนติดนิสัยชอบเดิน มีงานวิจัยยืนยันว่าการเดินที่จะส่งผลดีต่อความหนาแน่นของกระดูก ต้องทำต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน โดยเดินประมาณ 40 นาที/วัน 4 วัน/สัปดาห์ การเดินควรอยู่บนพื้นราบ ส่วนการเดินขึ้นลงบันไดนั้นร่างกายต้องมีความพร้อม เช่น ไม่มีโรคข้อเข่าเสื่อม หรือโรคหัวใจ
"ทำไหมการเดินจึงดีต่อกระดูก"
ที่จริงไม่แต่เฉพาะการเดินเท่านั้น แต่การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อในขณะออกกำลังกาย เช่น การปั่นจักรยาน การวิ่ง หรือว่ายใน จะสร้างแรงกระทำต่อเนื้อเยื่อและเซลล์ของกระดูก โดยเฉพาะเซลล์กระดูกชนิดออสติโอไซต์ ซึ่งเป็นตัวตรวจรับแรงที่มากระทำต่อกระดูก และส่งสัญญาณให้มีการสร้างกระดูกเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้เมื่อกล้ามเนื้อมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง เซลล์ของกล้ามเนื้อจากสารเคมีที่เรียกว่า ไมโอไคน์ เข้าไปในกระแสเลือด ซึ่งทำให้กระดูกสะสมแคลเซียมได้ดียิ่งขึ้น
ในอนาคตจึงอาจมีการใช้การเดินและการออกกำลังที่มีความแรงเหมาะสมมาช่วยส่งเสริมสุขภาพกระดูกของผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้อีกด้วย
ที่มา : http://www.posttoday.com/life/health/512853
ทั้งนี้ยังมีข้อถกเถียงในเรื่องการเดินเพื่อสุขภาพกระดูก โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าจะป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุได้หรือไม่ในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาผลดีของการเดินต่อความแข็งแรงของกระดูกอย่างละเอียดรอบด้าน แต่ในต่างประเทศมีงานวิจัยหลายเรื่องที่ยืนยันว่า ผู้สูงอายุที่เดินประจำจะมีความหนาแน่นของกระดูกมากกว่าผู้ที่เดินน้อย
"เดินอย่างไรให้สุขภาพกระดูกดี"
การเดินก็เช่นเดียวกับการกำลังกาย นั่นคือ ต้องปฎิบัติอย่างสม่ำเสมอ ผู้สูงอายุจึงควรเดินเป็นประจำจนติดนิสัยชอบเดิน มีงานวิจัยยืนยันว่าการเดินที่จะส่งผลดีต่อความหนาแน่นของกระดูก ต้องทำต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน โดยเดินประมาณ 40 นาที/วัน 4 วัน/สัปดาห์ การเดินควรอยู่บนพื้นราบ ส่วนการเดินขึ้นลงบันไดนั้นร่างกายต้องมีความพร้อม เช่น ไม่มีโรคข้อเข่าเสื่อม หรือโรคหัวใจ
"ทำไหมการเดินจึงดีต่อกระดูก"
ที่จริงไม่แต่เฉพาะการเดินเท่านั้น แต่การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อในขณะออกกำลังกาย เช่น การปั่นจักรยาน การวิ่ง หรือว่ายใน จะสร้างแรงกระทำต่อเนื้อเยื่อและเซลล์ของกระดูก โดยเฉพาะเซลล์กระดูกชนิดออสติโอไซต์ ซึ่งเป็นตัวตรวจรับแรงที่มากระทำต่อกระดูก และส่งสัญญาณให้มีการสร้างกระดูกเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้เมื่อกล้ามเนื้อมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง เซลล์ของกล้ามเนื้อจากสารเคมีที่เรียกว่า ไมโอไคน์ เข้าไปในกระแสเลือด ซึ่งทำให้กระดูกสะสมแคลเซียมได้ดียิ่งขึ้น
ในอนาคตจึงอาจมีการใช้การเดินและการออกกำลังที่มีความแรงเหมาะสมมาช่วยส่งเสริมสุขภาพกระดูกของผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้อีกด้วย
ที่มา : http://www.posttoday.com/life/health/512853
วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2561
อากาศดีมาก จัดไป 34 สวนธนตามโปรแกรมซ้อมวิ่งยาว week 11
สุดสัปดาห์นี้ Week 11 ดินฟ้าอากาศช่างเป็นใจให้ซ้อมวิ่งยาวง่ายขึ้น อากาศเริ่มเย็นลงกับมีลมพัดแรง ตั้งแต่ 2 วันที่แล้วหลังจากฝนตก เริ่มวิ่งตอน ตี 3:40 จบ 7:30 น. ทำเวลาดังนี้
- 10 รอบแรก ใช้เวลา 1 hr 5 min เพซ 6.04
- 10 รอบสอง ใช้เวลา 1 hr 3 min เพซ 5.53
- 10 รอบสาม ใช้เวลา 1 hr 3 min เพซ 5.53
- 4 รอบสุดท้าย ใช้เวลา 29 min เพซ 6.47
1 รอบสวนธน มีระยะทาง 1 กม.กับ 70 เมตร
วิ่งเสร็จกลับเลยไม่ได้ยืดเหยียดเพราะเช้านี้มีงานด่วน
วิ่งเสร็จกลับเลยไม่ได้ยืดเหยียดเพราะเช้านี้มีงานด่วน
สภาพร่างกายเยี่ยมมากไม่มียุบ กล้ามเนื้อน่องกระตุกนิสๆ รอบที่ 31-32 นอกนั้นไม่มีปัญหา สาเหตุที่กระตุกน่าจะเกิดจาก ในรอบที่ 25-27 นักวิ่งเจ้าถิ่นมาวิ่งประกบ พูดคุยสอบถามกัน
วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2561
อยากสุขภาพดีไม่จำเป็นต้องวิ่งเร็ว #Slowjogging
เคยสงสัยไหมว่าทำไมผู้สูงวัยที่วิ่งตามสวนสาธารณะถึงวิ่งได้ไกล และนานกว่าเรา แถมยังฟิตกว่าคนหนุ่มเสียอีก
หากรู้สึกเหมือนกัน แนะนำให้สังเกตท่าวิ่งของพวกแก ที่ไม่ได้วิ่งเร็ว หรือวิ่งด้วยเพซสูงๆ แต่เป็นการวิ่งเหยาะๆ
ในระดับที่ไม่ได้เหนื่อยมาก
https://www.facebook.com/wheretorunwhentoride/videos/1510798569036828/
เรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิ่งสไตล์ #สโลว์จ๊อกกิ้ง (Slow jogging) อย่างคุณหมอ Hiroaki Tanaka
ยืนยันว่าหากเป้าหมายของคุณ คือ #การวิ่งเพื่อสุขภาพ ไม่ได้กะจะลงมาราธอนหรือชิงชัยกับใคร
การวิ่งลักษณะนี้ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ปอดและหัวใจของคุณแข็งแรง แม้วัยละเลยเลข 6
.
อาจารย์ชาวญี่ปุ่นให้เริ่มด้วย การสังเกต #ท่าวิ่ง หากคุณวิ่งลงส้นเท้าส่งเสียงดังตึงตัง
แนะให้เปลี่ยนจากรองเท้าวิ่งที่เสริมส้น หรือมีซัพพอร์ตหนา มาเป็นรองเท้าวิ่งที่มีพื้นรองเท้าบาง
เพราะจะช่วยปรับท่าวิ่งของคุณให้เป็นธรรมชาติมากขึ้น
แทนที่จะวิ่งลงส้นหรือลงด้วยหน้าเท้าก็เปลี่ยนมาวิ่งลงด้วยกลางเท้าแทน
.
จากนั้นให้เริ่มวิ่งด้วยการก้าวขาสั้นๆ ใช้เท้าแตะพื้นเบาๆ ก่อนดีดตัวขึ้น
(อารมณ์จะเหมือนกับว่าคุณกำลังกระโดดลอยไปด้านหน้า) อย่าใช้เท้าไถพื้นหรือเตะพื้นเพื่อส่งแรง
ตั้งหลังให้ตรง ตามองตรงไปด้านหน้า ผ่อนไหล่ทั้งสองข้าง อย่าเกร็ง
เช่นเดียวกับแขนที่ปล่อยให้แกว่งไกวไปตามธรรมชาติ เงยหน้าขึ้นเล็กน้อย
อย่าก้มหน้าวิ่ง ให้จินตนาการว่ากำลังมีลูกแอปเปิ้ลวางอยู่บนหัว
.
อย่างที่บอกว่านอกจากจะไม่ต้องวิ่งเร็วแล้ว ก็ไม่ควรวิ่งให้เหนื่อยจนหอบแฮ่ก
เขาแนะนำว่าให้คุณวิ่งในระดับที่เหนื่อยปานกลางหรือระดับที่คุยกับคนข้างๆ ได้
(ถ้าวัดตามหน่วยวัดความเหนื่อย Borg scale ควรอยู่ที่ระดับ 10-12)
.
#ข้อดี คือ การวิ่งลักษณะนี้สามารถวิ่งได้บ่อย
เพราะไม่ได้ใช้งานร่างกายหนักเหมือนการวิ่งระยะไกลที่ต้องทำเวลา
วิ่งไปได้เรื่อยๆ และวิ่งได้ทุกวัน #แต่จำไว้ว่า ฟอร์มของคุณต้องถูก
ให้เท้าลงพื้นอย่างแผ่วเบา ถ้าวิ่งแล้วเสียงดังถือว่าผิด
.
หากเป็น #ผู้เริ่มต้นควรเริ่มจากการวิ่งจ๊อกเบาๆ นาน 1 นาที สลับเดิน 30 วินาที
เมื่อร่างกายแข็งแรงดีแล้วค่อยเพิ่มระยะเวลาจ๊อกกิ้ง และลดระยะเวลาที่เดิน
ค่อยๆ ฝึกจนสามารถจ๊อกกิ้งได้โดยไม่ต้องหยุดเดิน
.
ไม่อย่างนั้นหากเจ็บตัวขึ้นมาแล้วต้องพักยาว หมดสนุกกันพอดี
.
Admin Patsaya.Ch
#วิ่งไหนกันปั่นไหนดี
Credit video จาก Youtube channel : Slow Jogging
หากรู้สึกเหมือนกัน แนะนำให้สังเกตท่าวิ่งของพวกแก ที่ไม่ได้วิ่งเร็ว หรือวิ่งด้วยเพซสูงๆ แต่เป็นการวิ่งเหยาะๆ
ในระดับที่ไม่ได้เหนื่อยมาก
https://www.facebook.com/wheretorunwhentoride/videos/1510798569036828/
เรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิ่งสไตล์ #สโลว์จ๊อกกิ้ง (Slow jogging) อย่างคุณหมอ Hiroaki Tanaka
ยืนยันว่าหากเป้าหมายของคุณ คือ #การวิ่งเพื่อสุขภาพ ไม่ได้กะจะลงมาราธอนหรือชิงชัยกับใคร
การวิ่งลักษณะนี้ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ปอดและหัวใจของคุณแข็งแรง แม้วัยละเลยเลข 6
.
อาจารย์ชาวญี่ปุ่นให้เริ่มด้วย การสังเกต #ท่าวิ่ง หากคุณวิ่งลงส้นเท้าส่งเสียงดังตึงตัง
แนะให้เปลี่ยนจากรองเท้าวิ่งที่เสริมส้น หรือมีซัพพอร์ตหนา มาเป็นรองเท้าวิ่งที่มีพื้นรองเท้าบาง
เพราะจะช่วยปรับท่าวิ่งของคุณให้เป็นธรรมชาติมากขึ้น
แทนที่จะวิ่งลงส้นหรือลงด้วยหน้าเท้าก็เปลี่ยนมาวิ่งลงด้วยกลางเท้าแทน
.
จากนั้นให้เริ่มวิ่งด้วยการก้าวขาสั้นๆ ใช้เท้าแตะพื้นเบาๆ ก่อนดีดตัวขึ้น
(อารมณ์จะเหมือนกับว่าคุณกำลังกระโดดลอยไปด้านหน้า) อย่าใช้เท้าไถพื้นหรือเตะพื้นเพื่อส่งแรง
ตั้งหลังให้ตรง ตามองตรงไปด้านหน้า ผ่อนไหล่ทั้งสองข้าง อย่าเกร็ง
เช่นเดียวกับแขนที่ปล่อยให้แกว่งไกวไปตามธรรมชาติ เงยหน้าขึ้นเล็กน้อย
อย่าก้มหน้าวิ่ง ให้จินตนาการว่ากำลังมีลูกแอปเปิ้ลวางอยู่บนหัว
.
อย่างที่บอกว่านอกจากจะไม่ต้องวิ่งเร็วแล้ว ก็ไม่ควรวิ่งให้เหนื่อยจนหอบแฮ่ก
เขาแนะนำว่าให้คุณวิ่งในระดับที่เหนื่อยปานกลางหรือระดับที่คุยกับคนข้างๆ ได้
(ถ้าวัดตามหน่วยวัดความเหนื่อย Borg scale ควรอยู่ที่ระดับ 10-12)
.
#ข้อดี คือ การวิ่งลักษณะนี้สามารถวิ่งได้บ่อย
เพราะไม่ได้ใช้งานร่างกายหนักเหมือนการวิ่งระยะไกลที่ต้องทำเวลา
วิ่งไปได้เรื่อยๆ และวิ่งได้ทุกวัน #แต่จำไว้ว่า ฟอร์มของคุณต้องถูก
ให้เท้าลงพื้นอย่างแผ่วเบา ถ้าวิ่งแล้วเสียงดังถือว่าผิด
.
หากเป็น #ผู้เริ่มต้นควรเริ่มจากการวิ่งจ๊อกเบาๆ นาน 1 นาที สลับเดิน 30 วินาที
เมื่อร่างกายแข็งแรงดีแล้วค่อยเพิ่มระยะเวลาจ๊อกกิ้ง และลดระยะเวลาที่เดิน
ค่อยๆ ฝึกจนสามารถจ๊อกกิ้งได้โดยไม่ต้องหยุดเดิน
.
ไม่อย่างนั้นหากเจ็บตัวขึ้นมาแล้วต้องพักยาว หมดสนุกกันพอดี
.
Admin Patsaya.Ch
#วิ่งไหนกันปั่นไหนดี
Credit video จาก Youtube channel : Slow Jogging
วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2561
9 ประสบการณ์ 9 แรงบันดาลใจ ก้าวข้ามขีดจำกัด
“ปีที่แล้วมีประสบการณ์ใหม่ผมจบ IRONMAN
หรือไตรกีฬาระยะไกลไป 4 รายการติดต่อกัน”
ก่อนหน้านี้
คิดว่าทำปีละครั้งถือว่าโหดหินพอแล้ว…
แต่ที่ไหนได้ แค่ปีเดียว
ผมจัดไป 4 งาน ว่ายน้ำ 3.8 Km ปั่นจักรยาน 180 Km
และวิ่ง 42.195 Km ใน 4 สนาม
สวีเดน – เกาหลีใต้ – *ออสเตรเลีย – นิวซีแลนด์
มีอัตราการลงแข่งขันเฉลี่ยอยู่ที่ 3 เดือนต่อครั้ง !
ในรุ่น 45-49 ปี ผมจบได้ไม่อายใคร
เฉลี่ยไม่เกิน 14 ชั่วโมง
แปลกใจตัวเองที่ยิ่งเล่น ก็ยิ่งกดเวลามาราธอนได้ต่ำลงกว่า
4 ชั่วโมง หรือ Sub 4 หลังจากผ่านกิจกรรมหนัก ๆ ทั้งว่ายและปั่นมา
.
พอคิดถึงเรื่องนี้ขึ้นมา ถือเป็นชัยชนะเล็กๆ ส่วนตัว
เพราะเมื่อ 9 ปีก่อน เวลา 3 เดือนเหมือนกัน
แต่ไม่ใช่ไปแข่ง ผมมีนัดพบแพทย์ด้วยโรคประจำตัว
อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
.
คุณอ๋า-กฤตพงศณ์ ชวาลดิฐ
ผู้บริหาร SB อุตสาหกรรม (SB Furniture Group)
บอกเล่า ถึงการเปลี่ยนแปลงตัวเองครั้งใหญ่
ไม่คิดว่าตัวเองจะเป็นสปอร์ตแมนแบบวันนี้ได้เลย
.
.
ตารางนัดหมอ Vs ตารางซ้อม
.
.
ภาพหนึ่งที่อธิบายตัวผมได้ชัดเจน
ถ้าแบ่งเป็น 2 จอ ตัวผมเป็นคนเดิมเมื่อ 9 ปีก่อน
กับคนปัจจุบัน เป็นภาพคู่ขนานกัน
คนแรกต้องไปพบแพทย์ตรวจอาการ
นั่งรอคิวเรียกตรวจ หมดไปแล้วครึ่งวัน
จ่ายออกทั้งเวลาและเงินทอง
เพียงเพื่อให้ได้สุขภาพที่เป็นปกติกลับมา
.
ส่วนอีกคน กลับกันคนละขั้ว
แต่ละวัน หลังเลิกงานมีนัดไปซ้อมกีฬาหนักหน่วง
วันนี้วิ่ง พรุ่งนี้ปั่น วันเสาร์ว่ายน้ำ
เดือนหน้าไปลงมาราธอน
คนแรกสูญเสียเวลา ไปเพื่อแก้ไข
ประสบการณ์อื่นไม่มี นอกจากวนหาที่จอดรถในโรงพยาบาล
.
.
แต่อีกคนเปลี่ยนเป็นวนหาที่จอดรถในสวนสาธารณะ ในสนามกีฬา
ใช้เวลา เพื่อต่อเติมสุขภาพ เติมเต็ม ชีวิต
ตอนนี้ผมตั้งธงส่วนตัวว่า
จะเก็บสนาม IRONMAN ให้ครบ 12 สนาม
เพื่อจะได้สิทธิ์ไปแข่งในงาน World Championship ที่โคน่า รัฐฮาวาย
ปีนี้เหลืออีก 4 งาน ก็จะครบแล้ว (ยิ้ม)
.
.
อะไร คือ การก้าวข้ามขีดจำกัดของเขาคนนี้
.
.
สำหรับผม
คนที่เล่นกีฬาสาย Endurance
อย่างมาราธอน ไตรกีฬา วิ่งอัลตร้าเทรลจะทราบกันดีกว่า
การก้าวข้ามผ่านเกมส์ยากๆ นั้น
ลึกๆ ลงไปแล้ว
เป็นเรื่องการฝึกฝนด้านจิตใจแทบทั้งสิ้น
ร่างกายแข็งแรงแค่ข้างนอกไม่พอ
ต้องแข็งแรงจากข้างในด้วย
เราต้องฝ่าฟัน ต้องจบให้ได้ภายในกี่ชั่วโมง
แต่ระหว่างเกมส์อะไรก็เกิดขึ้นได้
พอเรามีเป้าหมายที่ชัดว่าต้องไปให้ถึง
เราต้องสร้างบาลานซ์ขึ้นมา
บริหารจิตใจและร่างกายให้เกื้อกูลต่อกัน
จุดประสงค์ผมไม่ใช่มาแข่งเพื่อสมรรถนะเป็นที่ 1
แต่เมื่อลงสนามไหนผมต้อง Complete ให้ได้
แข่งจบด้วยความภาคภูมิใจ
ทดสอบจิตใจและร่างกายไปจนสุดขอบ
เพราะฉะนั้น คือ ทุกๆ การก้าวข้ามขีดจำกัด
ผมจะอยู่ในเกมส์ด้วยความสุข มีสมาธิ ไม่คิดจะเลิกล้ม
จนกว่าจะเห็นตัวเองที่เส้นชัย
และได้ฉลองกับเพื่อนๆ ที่รักในสิ่งเดียวกัน
*สนามออสเตรเลีย ยกเลิกการว่ายน้ำเพราะเรดาห์ตรวจพบฉลาม
.
KTC x REV
ติดตามเรื่องราวต่อไปได้ที่ Ktc Real Privileges
สนใจสมัครบัตรฯ: bit.ly/2EBBttX
และพบกับกิจกรรมสุดพิเศษ ได้ที่ FB Page: Sports Revolution
.
#BreakYourLimits
#TheUltimateExperience
#KTCxREV #KTCcard #SportsRevolution
ที่มา : https://www.facebook.com/wheretorunwhentoride/photos/a.746501138799912.1073741830.738217609628265/1509480872501931/?type=3
หรือไตรกีฬาระยะไกลไป 4 รายการติดต่อกัน”
ก่อนหน้านี้
คิดว่าทำปีละครั้งถือว่าโหดหินพอแล้ว…
แต่ที่ไหนได้ แค่ปีเดียว
ผมจัดไป 4 งาน ว่ายน้ำ 3.8 Km ปั่นจักรยาน 180 Km
และวิ่ง 42.195 Km ใน 4 สนาม
สวีเดน – เกาหลีใต้ – *ออสเตรเลีย – นิวซีแลนด์
มีอัตราการลงแข่งขันเฉลี่ยอยู่ที่ 3 เดือนต่อครั้ง !
ในรุ่น 45-49 ปี ผมจบได้ไม่อายใคร
เฉลี่ยไม่เกิน 14 ชั่วโมง
แปลกใจตัวเองที่ยิ่งเล่น ก็ยิ่งกดเวลามาราธอนได้ต่ำลงกว่า
4 ชั่วโมง หรือ Sub 4 หลังจากผ่านกิจกรรมหนัก ๆ ทั้งว่ายและปั่นมา
.
พอคิดถึงเรื่องนี้ขึ้นมา ถือเป็นชัยชนะเล็กๆ ส่วนตัว
เพราะเมื่อ 9 ปีก่อน เวลา 3 เดือนเหมือนกัน
แต่ไม่ใช่ไปแข่ง ผมมีนัดพบแพทย์ด้วยโรคประจำตัว
อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
.
คุณอ๋า-กฤตพงศณ์ ชวาลดิฐ
ผู้บริหาร SB อุตสาหกรรม (SB Furniture Group)
บอกเล่า ถึงการเปลี่ยนแปลงตัวเองครั้งใหญ่
ไม่คิดว่าตัวเองจะเป็นสปอร์ตแมนแบบวันนี้ได้เลย
.
.
ตารางนัดหมอ Vs ตารางซ้อม
.
.
ภาพหนึ่งที่อธิบายตัวผมได้ชัดเจน
ถ้าแบ่งเป็น 2 จอ ตัวผมเป็นคนเดิมเมื่อ 9 ปีก่อน
กับคนปัจจุบัน เป็นภาพคู่ขนานกัน
คนแรกต้องไปพบแพทย์ตรวจอาการ
นั่งรอคิวเรียกตรวจ หมดไปแล้วครึ่งวัน
จ่ายออกทั้งเวลาและเงินทอง
เพียงเพื่อให้ได้สุขภาพที่เป็นปกติกลับมา
.
ส่วนอีกคน กลับกันคนละขั้ว
แต่ละวัน หลังเลิกงานมีนัดไปซ้อมกีฬาหนักหน่วง
วันนี้วิ่ง พรุ่งนี้ปั่น วันเสาร์ว่ายน้ำ
เดือนหน้าไปลงมาราธอน
คนแรกสูญเสียเวลา ไปเพื่อแก้ไข
ประสบการณ์อื่นไม่มี นอกจากวนหาที่จอดรถในโรงพยาบาล
.
.
แต่อีกคนเปลี่ยนเป็นวนหาที่จอดรถในสวนสาธารณะ ในสนามกีฬา
ใช้เวลา เพื่อต่อเติมสุขภาพ เติมเต็ม ชีวิต
ตอนนี้ผมตั้งธงส่วนตัวว่า
จะเก็บสนาม IRONMAN ให้ครบ 12 สนาม
เพื่อจะได้สิทธิ์ไปแข่งในงาน World Championship ที่โคน่า รัฐฮาวาย
ปีนี้เหลืออีก 4 งาน ก็จะครบแล้ว (ยิ้ม)
.
.
อะไร คือ การก้าวข้ามขีดจำกัดของเขาคนนี้
.
.
สำหรับผม
คนที่เล่นกีฬาสาย Endurance
อย่างมาราธอน ไตรกีฬา วิ่งอัลตร้าเทรลจะทราบกันดีกว่า
การก้าวข้ามผ่านเกมส์ยากๆ นั้น
ลึกๆ ลงไปแล้ว
เป็นเรื่องการฝึกฝนด้านจิตใจแทบทั้งสิ้น
ร่างกายแข็งแรงแค่ข้างนอกไม่พอ
ต้องแข็งแรงจากข้างในด้วย
เราต้องฝ่าฟัน ต้องจบให้ได้ภายในกี่ชั่วโมง
แต่ระหว่างเกมส์อะไรก็เกิดขึ้นได้
พอเรามีเป้าหมายที่ชัดว่าต้องไปให้ถึง
เราต้องสร้างบาลานซ์ขึ้นมา
บริหารจิตใจและร่างกายให้เกื้อกูลต่อกัน
จุดประสงค์ผมไม่ใช่มาแข่งเพื่อสมรรถนะเป็นที่ 1
แต่เมื่อลงสนามไหนผมต้อง Complete ให้ได้
แข่งจบด้วยความภาคภูมิใจ
ทดสอบจิตใจและร่างกายไปจนสุดขอบ
เพราะฉะนั้น คือ ทุกๆ การก้าวข้ามขีดจำกัด
ผมจะอยู่ในเกมส์ด้วยความสุข มีสมาธิ ไม่คิดจะเลิกล้ม
จนกว่าจะเห็นตัวเองที่เส้นชัย
และได้ฉลองกับเพื่อนๆ ที่รักในสิ่งเดียวกัน
*สนามออสเตรเลีย ยกเลิกการว่ายน้ำเพราะเรดาห์ตรวจพบฉลาม
.
KTC x REV
ติดตามเรื่องราวต่อไปได้ที่ Ktc Real Privileges
สนใจสมัครบัตรฯ: bit.ly/2EBBttX
และพบกับกิจกรรมสุดพิเศษ ได้ที่ FB Page: Sports Revolution
.
#BreakYourLimits
#TheUltimateExperience
#KTCxREV #KTCcard #SportsRevolution
ที่มา : https://www.facebook.com/wheretorunwhentoride/photos/a.746501138799912.1073741830.738217609628265/1509480872501931/?type=3
วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2561
The Way of The Runner
The Way of The Runner | เส้นทางสู่ #เกียวโต กับ CW-X :::
"ทำไม #ญี่ปุ่น ถึงเป็นมหาอำนาจด้านการวิ่งอันดับ 3 ของโลก รองจากเคนย่าและเอธิโอเปีย ?!"
.
เราสนุกกับหนังสือเล่มนี้มาก เขียนโดย แอดฮารานัน ฟินน์ (Adharanand Finn) (ยังไม่ทันอ่าน แค่เห็นชื่อคนเขียนก็ฟินน์แล้วขอบอก..😊) เป็นคนเขียนเดียวกันกับ "Running with the Kenyans" อันโด่งดัง
.
พี่ฟินน์ยกครอบครัวไปอยู่ #เกียวโต ถึง 6 เดือน เพื่อจะหาคำตอบของคำถามที่ว่า "ทำไม #ญี่ปุ่น ถึงเป็นมหาอำนาจด้านการวิ่งอันดับ 3 ของโลก รองจากเคนย่า และ เอธิโอเปีย ?!"
.
แล้วอังกฤษ และ อเมริกาอยู่ตรงไหนในแผนที่การวิ่งโลก?
.
-- ก่อนอ่านต่อ ลองกดดูคลิปนี้ก่อน พี่ฟินน์ แกให้ลิ้งค์นี้มาดู. บนช่อง Ekiden News --
.
http://youtu.be/5THRBUH0MdY
.
เป็นคลิปแข่งขันวิ่งระยะ Half Marathon ของนักศึกษามหาวิทยาลัย ในรายการวิ่งที่ชื่อ อากิโอะ ฮาล์ฟมาราธอน (Ageo Half Marahon)
วิ่งกันไป เมื่อเช้าของวันที่ 17 พย. 2013
.
อากิโอะ เป็นเมืองเล็กๆอยู่ทางเหนือของโตเกียว เรซนี้มักจะเป็นเรซ "ทดลองวิ่ง" ของนักวิ่งที่ก่อนจะลงวิ่งรายการใหญ่ๆ แม้จะไม่ใหญ่ แต่ระบบการจับเวลาเป๊ะได้มาตรฐานโลก. เป๊ะตามแบบฉบับคนญี่ปุ่น. ในคลิปนี้ นักวิ่งตัวท็อปจากมหาลัยดังก็ไม่ได้ลงร่วมและไม่นับถึงนักวิ่งมืออาชีพที่ไม่ได้มาอีกเพียบ
.
พอคุณดูจบ ถ้าคุณไม่อ้าปากค้าง ให้มาเตะผู้ช่วยแอดได้ 1 ป๊าบ (เพราะน้องการันตี บอกว่าทุกคนจะอ้างปากค้างหลังดูจบ 55)
.
คนชนะเข้าเส้นชัยเช้านั้น ทำเวลาได้เร็วสุด 62:36 นาที! 😳
จัดได้ว่าเร็วมากทีเดียว
แต่นั่นไม่ใช่สาระของคลิปนี้
สาระตามมาหลังจากคนแรกต่างหาก
.
เพราะโดยปกติ ในเรซใหญ่ๆ
เรามักจะเห็นคนที่วิ่งเร็วที่สุด.
เข้าเส้นชัย ไปอาบน้ำ กินข้าว ให้สัมภาษณ์เสร็จ
ก่อนที่คนถัดๆไปจะเข้ามาถึง
แต่ที่นีไม่ใช่!!!!
.
นักวิ่งทยอยเข้าเส้นชัยกันมาอย่างต่อเนื่อง
ทีละคนสองคน ต่อเนื่องมาเรื่อยๆ
บางครั้งก็มาเป็นกลุ่มใหญ่
เข้าเส้นชัยแล้วหันไปโค้งคำนับผู้ชม และ คำนับสนาม
แต่มาเรื่อยๆ
.
ลองนั่งดูสถิติเวลา จะยิ่งช็อค
มีนักวิ่ง 18 คน ที่เข้าเส้นชัยก่อน 63 นาที! (แปลว่าห่างจากที่ 1 ไม่ถึง 30 วิ)
.
แป๊บนะ!!! ช้าก่อน!!!
.
มีถึง 18 คน ในเรซเดียวเหรอ?
และเป็นเด็กนักเรียนมหาลัย! ที่จบฮาล์ฟก่อน 63 นาที! 😳
.
"มีไรน่าตกใจเหรอคะพี่?" น้องบีมอาจถาม
.
น่าตกใจสิ ถ้าลองเทียบสถิติกับอังกฤษและอเมริกา (รวมถึงไทย)
.
ปี 2013 ทั้งปี - คนทั้งสหราชอาณาจักรอังกฤษ ย้ำว่า ทั้งปี! มีคนที่วิ่งฮาล์ฟจบด้วยความเร็วนี้แค่ 1 คนเท่านั้น!!!!
.
และ ปี 2013 ทั้งปี - รวมกันทุกเรซ มีคนอเมริกันเพียง 21 คนเท่านั้น ที่วิ่งฮาล์ฟได้เร็วขนาดนี้!
.
แต่นี่ งานฮาล์ฟเล็กๆของเด็กนักศึกษา!
มีคนจบฮาล์ฟต่ำกว่า 63 นาทีถึง 18 คนในเช้าเดียว! 😳
.
ถ้าคุณยังไม่อ้าปากค้าง! ฟังนี่อีก!
เช้าวันนั้น นักศึกษาคนที่วิ่งเข้ามาเป็นอันดับที่ 100 ในงานนี้
จบฮาล์ฟด้วยเวลา 64:49 นาที!
คนที่ 100??? ... 😳
ช่ายครับ คนที่ 100!
.
ด้วยเวลานี้ เด็กคนที่ 100 จะถูกจัดอันดับเป็นนักวิ่งอันดับ 8 ของนักวิ่งทั้ง UK ในปี 2013 เลย. และถ้าเอาไปเทียบกับหลายๆประเทศในยุโรป น้องคนที่ร้อยคนนี้ น่าจะได้แชมป์ประเทศแบบสบายๆ. 😳
.
นี่คือญี่ปุ่น!
นี่คือความบ้าคลั่ง!
.
กุมภาพันธ์นี้ พวกเรา #ThaiRun จะไปตะลุยเมืองนี้ #เกียวโต ตามรอยพี่ฟินน์ ไปร่วมงานวิ่ง #Kyoto Marathon 2018 กับ CW-X และเหล่าเซเลปอีกหลายคน | CW-X พาไปเยือนถิ่นเกิดของ CW-X ทั้งที งานนี้จัดเต็มแน่นอน!
.
เราจะส่งภาพ ส่งคลิปกลับมาให้แฟนเพจเราดูกันรัวๆเช่นเคย!
.
มีอีกหลายตอนที่สนุกมากในเล่มนี้.
จะทยอยเอามาเล่าให้ฟังนะ. 😊
กด like page หรือ see first ไว้นะ
แล้วร่วมบ้าคลั่งไปกะพวกเรา.
.
ดูมาราธอนให้มันส์. ต้องดูกับไทยรัน.
#ThaiRun 😊
the Thailand's Running media
.
#CWXKyoto2018 - เราจะใช้ hashtag นี้ตลอดทริป search คำนี้เจอเราแน่นอน. 😁
#CWXThailand
ที่มา : https://www.facebook.com/thaidotrun/photos/a.1694377410849702.1073741828.1658834907737286/2024720741148699/?type=3
"ทำไม #ญี่ปุ่น ถึงเป็นมหาอำนาจด้านการวิ่งอันดับ 3 ของโลก รองจากเคนย่าและเอธิโอเปีย ?!"
.
เราสนุกกับหนังสือเล่มนี้มาก เขียนโดย แอดฮารานัน ฟินน์ (Adharanand Finn) (ยังไม่ทันอ่าน แค่เห็นชื่อคนเขียนก็ฟินน์แล้วขอบอก..😊) เป็นคนเขียนเดียวกันกับ "Running with the Kenyans" อันโด่งดัง
.
พี่ฟินน์ยกครอบครัวไปอยู่ #เกียวโต ถึง 6 เดือน เพื่อจะหาคำตอบของคำถามที่ว่า "ทำไม #ญี่ปุ่น ถึงเป็นมหาอำนาจด้านการวิ่งอันดับ 3 ของโลก รองจากเคนย่า และ เอธิโอเปีย ?!"
.
แล้วอังกฤษ และ อเมริกาอยู่ตรงไหนในแผนที่การวิ่งโลก?
.
-- ก่อนอ่านต่อ ลองกดดูคลิปนี้ก่อน พี่ฟินน์ แกให้ลิ้งค์นี้มาดู. บนช่อง Ekiden News --
.
http://youtu.be/5THRBUH0MdY
.
เป็นคลิปแข่งขันวิ่งระยะ Half Marathon ของนักศึกษามหาวิทยาลัย ในรายการวิ่งที่ชื่อ อากิโอะ ฮาล์ฟมาราธอน (Ageo Half Marahon)
วิ่งกันไป เมื่อเช้าของวันที่ 17 พย. 2013
.
อากิโอะ เป็นเมืองเล็กๆอยู่ทางเหนือของโตเกียว เรซนี้มักจะเป็นเรซ "ทดลองวิ่ง" ของนักวิ่งที่ก่อนจะลงวิ่งรายการใหญ่ๆ แม้จะไม่ใหญ่ แต่ระบบการจับเวลาเป๊ะได้มาตรฐานโลก. เป๊ะตามแบบฉบับคนญี่ปุ่น. ในคลิปนี้ นักวิ่งตัวท็อปจากมหาลัยดังก็ไม่ได้ลงร่วมและไม่นับถึงนักวิ่งมืออาชีพที่ไม่ได้มาอีกเพียบ
.
พอคุณดูจบ ถ้าคุณไม่อ้าปากค้าง ให้มาเตะผู้ช่วยแอดได้ 1 ป๊าบ (เพราะน้องการันตี บอกว่าทุกคนจะอ้างปากค้างหลังดูจบ 55)
.
คนชนะเข้าเส้นชัยเช้านั้น ทำเวลาได้เร็วสุด 62:36 นาที! 😳
จัดได้ว่าเร็วมากทีเดียว
แต่นั่นไม่ใช่สาระของคลิปนี้
สาระตามมาหลังจากคนแรกต่างหาก
.
เพราะโดยปกติ ในเรซใหญ่ๆ
เรามักจะเห็นคนที่วิ่งเร็วที่สุด.
เข้าเส้นชัย ไปอาบน้ำ กินข้าว ให้สัมภาษณ์เสร็จ
ก่อนที่คนถัดๆไปจะเข้ามาถึง
แต่ที่นีไม่ใช่!!!!
.
นักวิ่งทยอยเข้าเส้นชัยกันมาอย่างต่อเนื่อง
ทีละคนสองคน ต่อเนื่องมาเรื่อยๆ
บางครั้งก็มาเป็นกลุ่มใหญ่
เข้าเส้นชัยแล้วหันไปโค้งคำนับผู้ชม และ คำนับสนาม
แต่มาเรื่อยๆ
.
ลองนั่งดูสถิติเวลา จะยิ่งช็อค
มีนักวิ่ง 18 คน ที่เข้าเส้นชัยก่อน 63 นาที! (แปลว่าห่างจากที่ 1 ไม่ถึง 30 วิ)
.
แป๊บนะ!!! ช้าก่อน!!!
.
มีถึง 18 คน ในเรซเดียวเหรอ?
และเป็นเด็กนักเรียนมหาลัย! ที่จบฮาล์ฟก่อน 63 นาที! 😳
.
"มีไรน่าตกใจเหรอคะพี่?" น้องบีมอาจถาม
.
น่าตกใจสิ ถ้าลองเทียบสถิติกับอังกฤษและอเมริกา (รวมถึงไทย)
.
ปี 2013 ทั้งปี - คนทั้งสหราชอาณาจักรอังกฤษ ย้ำว่า ทั้งปี! มีคนที่วิ่งฮาล์ฟจบด้วยความเร็วนี้แค่ 1 คนเท่านั้น!!!!
.
และ ปี 2013 ทั้งปี - รวมกันทุกเรซ มีคนอเมริกันเพียง 21 คนเท่านั้น ที่วิ่งฮาล์ฟได้เร็วขนาดนี้!
.
แต่นี่ งานฮาล์ฟเล็กๆของเด็กนักศึกษา!
มีคนจบฮาล์ฟต่ำกว่า 63 นาทีถึง 18 คนในเช้าเดียว! 😳
.
ถ้าคุณยังไม่อ้าปากค้าง! ฟังนี่อีก!
เช้าวันนั้น นักศึกษาคนที่วิ่งเข้ามาเป็นอันดับที่ 100 ในงานนี้
จบฮาล์ฟด้วยเวลา 64:49 นาที!
คนที่ 100??? ... 😳
ช่ายครับ คนที่ 100!
.
ด้วยเวลานี้ เด็กคนที่ 100 จะถูกจัดอันดับเป็นนักวิ่งอันดับ 8 ของนักวิ่งทั้ง UK ในปี 2013 เลย. และถ้าเอาไปเทียบกับหลายๆประเทศในยุโรป น้องคนที่ร้อยคนนี้ น่าจะได้แชมป์ประเทศแบบสบายๆ. 😳
.
นี่คือญี่ปุ่น!
นี่คือความบ้าคลั่ง!
.
กุมภาพันธ์นี้ พวกเรา #ThaiRun จะไปตะลุยเมืองนี้ #เกียวโต ตามรอยพี่ฟินน์ ไปร่วมงานวิ่ง #Kyoto Marathon 2018 กับ CW-X และเหล่าเซเลปอีกหลายคน | CW-X พาไปเยือนถิ่นเกิดของ CW-X ทั้งที งานนี้จัดเต็มแน่นอน!
.
เราจะส่งภาพ ส่งคลิปกลับมาให้แฟนเพจเราดูกันรัวๆเช่นเคย!
.
มีอีกหลายตอนที่สนุกมากในเล่มนี้.
จะทยอยเอามาเล่าให้ฟังนะ. 😊
กด like page หรือ see first ไว้นะ
แล้วร่วมบ้าคลั่งไปกะพวกเรา.
.
ดูมาราธอนให้มันส์. ต้องดูกับไทยรัน.
#ThaiRun 😊
the Thailand's Running media
.
#CWXKyoto2018 - เราจะใช้ hashtag นี้ตลอดทริป search คำนี้เจอเราแน่นอน. 😁
#CWXThailand
ที่มา : https://www.facebook.com/thaidotrun/photos/a.1694377410849702.1073741828.1658834907737286/2024720741148699/?type=3
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)