วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2564
ออกวิ่งแล้วหาวิธีแก้จุดอ่อน พร้อมส่งการบ้าน week 51 ปี 2021
วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2564
ก้อง Blackmonster นักวิ่งความเร็วดั่งสัตว์ประหลาด
RUNไปเรื่อยๆ
28 กุมภาพันธ์ 2020 ·
🏃♂RUNไปเรื่อยๆ : เพื่อนนักวิ่ง EP2
++++++++++++++++++
👉พี่ก้อง Blackmonster นักวิ่งความเร็วดั่งสัตว์ประหลาด ผู้ใช้เวลา 2 ปีในการซ้อมวิ่ง คว้าตั๋ว Boston Qualify ด้วยสถิติการวิ่งมาราธอนเวลา 😱3:13:51 ชม.😱
++++++++++++++++++
👉จากการตะโกนเชียร์ข้ามฝั่งถนน..จนนำพาแอดให้รู้จัก “พี่ก้อง Blackmonster”
.
เวลาผมไปงานวิ่ง แล้วเห็นนักวิ่งแนวหน้าวิ่งกลับตัวมา ผมก็ชอบหันไปมองว่านักวิ่งแนวหน้าคนไหนวิ่งเป็นอย่างไร ฟอร์มวิ่งดีไหม ดูแล้วพี่ๆเค้าเหนื่อยไหม วันนึงเราจะกลับตัวเร็วๆแบบนั้นได้ไหม
.
ในงานเดิน-วิ่งศิริราช ปี 2019 ระยะ 21k แอดได้เห็นพี่ท่านหนึ่งกลับตัวมาด้วยความเร็วที่ดูนิ่ง วิ่งฟอร์มดี ทุกก้าวดูมั่นคงมาก พอเข้าเส้นชัยมาก็มีน้องบอกว่า “เนี่ย พี่คนนี้จะทำ Boston Qualify (BQ)” เราฟังแล้วก็แบบว่า โอ้ว น่าทึ่งมาก ขอให้พี่เค้าทำสำเร็จ ในใจก็เชียร์พี่เค้าตลอดแม้จะไม่รู้จักกันก็ตาม
.
จนวันหนึ่งก่อนไปวิ่ง บางแสน 42 ปี 2019 พี่ที่รู้จักก็เล่าให้ฟังว่าพี่เค้าวางแผนจะทำ BQ ที่บางแสน42 นะ พอวันวิ่งบางแสน 42 ก็เห็นพี่เค้าวิ่งเกาะกลุ่มมากับนักวิ่งขาแรงทั้งหลาย ผมยังตะโกนข้ามฝั่งไปเชียร์ (ทั้งๆที่ไม่เคยคุยกับพี่เค้า แต่รู้จักชื่อครับ) พอเข้าเส้นมาก็ทราบว่าพี่เค้าได้คิงคอง ติด Top 100 วิ่งจบที่เวลา 3:18 ชม. ซึ่งจริงๆก็ผ่านเวลา BQ แล้ว แต่อาจจะต้องเผื่อเวลาให้เร็วกว่านี้อีกสักนิด เพื่อความแน่ใจ
.
จอมบึงมาราธอน สนามที่พี่เค้าตั้งใจว่าจะทำ BQ ให้เวลาเหลือๆก็ได้เดินทางมาถึง งานนี้แอดไปวิ่งระยะฮาฟฯ ก็เห็นพี่ก้องตอนวิ่งกลับตัวระยะฟูลมาราธอนมา ซึ่งตอนที่เห็นพี่ก้องแอดก็คิดว่าวันนี้พี่เค้าต้องทำได้แน่ๆ เพราะสนามจอมบึงราบเรียบกว่าบางแสนเยอะ สถิติน่าจะดีขึ้นแน่นอน
.
พอเข้าเส้นชัยมาแอดก็ไลน์ถามน้องที่รู้จักพี่ก้องว่า พี่ก้องได้ BQ ไหม น้องก็แคปหน้าจอ FB พี่ก้องส่งมาบอกว่าพี่เค้าทำได้สำเร็จแล้ว แอดก็แอบดีใจไปด้วย เพราะรู้ว่าการจะได้ BQ มันแลกมาด้วยหยาดเหงื่อและวินัยมากมายที่ชีวิตมนุษย์คนนึงจะต้องเสียสละ มุ่งมั่นเพื่อให้เป้าหมายนั้นสำเร็จ
++++++
👉พี่ก้อง Blackmonster คือใคร...จากนั่งบนอานจักรยาน สู่การใส่รองเท้าวิ่ง?
พี่ก้อง หรือ นายรัฐศาสตร์ ศรีเมือง อายุเข้าหลัก 4 กลางๆ ผู้มีสถิติการวิ่งในแต่ระยะที่โหดมากคือ
10 k – 43 นาที / 21 k – 1:33:31 ชม. / 42 k – 3:13:51 ชม.
ปัจจุบันเป็นเจ้าของโรงงานแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ พี่ก้องเรียนจบคณะวิศวกรรมศาสตร์ จากม.เชียงใหม่ การเริ่มต้นออกกำลังกายของพี่ก้อง เกิดจากการที่เคยมีน้ำหนักเกือบ 100 กิโลกรัม คือหนักจนคุณแม่พี่ก้องทนไม่ไหวเลยต้องซื้อจักรยานเสือภูเขามาให้ โดยหวังว่าจะเอาไปปั่นออกกำลังกายบ้าง แต่เมื่อได้จักรยานมาก็จอดไว้เฉยๆเสียมากกว่า จนมีวันนึง แม่พี่ก้องแอบมาออกทริปปั่นจักรยานจากกรุงเทพฯ-หัวหิน ย้ำนะครับ ปั่นจากกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร มารู้ข่าวในเช้าวันนั้น ด้วยความเป็นห่วงแม่เลยไปปั่นดักรอขบวน แต่ปั่นไปปั่นมาก็โดนขบวนใหญ่ทิ้งให้ปั่นอยู่คนเดียว พี่ก้องเลยมานั่งคิดว่า คุณแม่อายุ 60 กว่าๆ แต่ทำไมพี่ก้องปั่นสู้ไม่ได้เลย ตั้งแต่มาประมาณ 2 ปีก็มุ่งมั่นปั่นเพื่อลดน้ำหนัก เพื่อสุขภาพ นับมาถึงตอนนี้ก็ 8 ปีแล้วที่ชอบปั่นจักรยาน แถมยังเคยปั่น Audax 300 กิโลเมตรมาแล้วอีกด้วย
.
เมื่อถามพี่ก้องว่าทำไมจึงกระโดดลงอานจักรยานมาวิ่ง พี่ก้องก็เล่าให้ฟังว่า เป็นความบังเอิญที่ครั้งหนึ่งพี่ก้องจะตามหาเสื้อปั่นจักรยานของคณะวิศวะ ม.เชียงใหม่ แล้วได้ไปอยู่ในกลุ่มไลน์กลุ่มนึงซึ่งมีนักวิ่งอยู่เยอะ เมื่อเห็นคนในกลุ่มส่งการบ้านวิ่งกันแล้วเห็นว่าอัตราการเต้นของหัวใจแต่ละคน ทะลุโซน 5 กันหลายท่านพี่ก้องก็เลยอยากจะทะลุไปโซน 5 บ้าง เพื่อปิดจุดอ่อนของตัวเองในการปั่นจักรยานสปริ๊นเร็วๆแข่งกับคนอื่นหลังจากนั้นพี่ก้องเลยตัดสินใจมาลองวิ่งดู
.
เมื่อนักปั่น Audax 300 กม.ได้ลองวิ่งครั้งแรก...พี่ก้องบอกว่าวิ่งได้เพียง 1 กม.เท่านั้นครับ อ่านไม่ผิดครับ คนที่ปั่นจักรยานได้ 300 กม. มาวิ่งครั้งแรกได้เพียง 1 กม. เท่านั้น แต่ด้วยความไม่ยอมแพ้ของพี่ก้อง ก็ฝึกซ้อมวิ่งไปเรื่อยๆ จนผ่านไป 1 เดือน ก็สามารถวิ่ง 10 กม.แรกได้สำเร็จ ด้วย pace 6 ปลายๆ
.
การซ้อมวิ่งในช่วงแรกๆของพี่ก้องก็อาศัยการดูคลิปใน youtube ของครูดิน (สถาวร จันทร์ผ่องศรี) ที่ครูสอนท่าวิ่งเบื้อต้น สอนดริล สอนวิธีการวิ่งต่างๆ (ตัวอย่างคลิปครูดิน https://www.youtube.com/watch?v=g8AjafwAE1o&t=434s) ดูจนพี่ก้องเรียกตัวเองว่า “ศิษย์ กศน.ของครูดิน” เลยล่ะครับ
+++++++++
👉เมื่อวิ่งได้ 7 เดือน การวิ่ง Full Marathon แรกก็เกิดขึ้น
.
ฟูลมาราธอนแรกฟูลที่ใครๆต้องจดจำ ฟูลที่พี่ก้องน่าจะจำได้ดีคือการวิ่งที่ ชัยมงคลมาราธอน ด้วยการซ้อมวิ่งระยะ 30 กม มา 2 ครั้ง และวิ่ง 42.195 กม. 1 ครั้ง ทำให้มั่นใจมากว่าจะวิ่งได้ดี ปรากฏว่าพอวันวิ่งจริง เดินยับตั้งแต่กิโลเมตรที่ 28 จบไปด้วยเวลา 4:55 ชม. เรียกได้ว่าทรมานบันเทิงกับแดดมากๆเลยทีเดียว
.
ทุกวันนี้พี่ก้องวิ่งมาแล้ว 14 ฟูลมาราธอน 5 อัลตร้า ประสบการณ์การวิ่งเจอมาทุกรูปแบบ ตั้งแต่วิ่งมาราธอนเร็วสุดคือ 3:13 ชม. / วิ่งช้าสุดเข้าเส้นชัยคนสุดท้ายด้วยเวลา 7:30 (ลากคนอื่นให้จบ) / DNF ในสนามบางแสน 42
.
ด้วยความที่พี่ก้องไม่ค่อยไปวิ่งล่าถ้วยจึงไม่ได้มีถ้วยรางวัลมาครองมากมาย มีเพียง 6 ถ้วยเท่านั้น ซึ่งงานใหญ่ที่คว้าถ้วยมากก็คือ จอมบึงมาราธอนที่นอกจากจะได้ BQ ก็ยังได้อันดับที่ 4 รุ่นอายุ45-49 ปีมาครองด้วยครับ
.
หลายคนอาจสงสัยว่า พี่ก้องซ้อมวิ่งอย่างไรถึงได้ BQ แล้วอะไรที่จุดประกายให้พี่ก้องมีความคิดและมุ่งมั่นอย่างจริงจังที่จะทำ BQ บอกใบ้สักนิดว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจากรูปภาพภาพนึงใน Facebook แต่เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น ติดตามได้ใน part 2 นะครับ
ที่มา: https://www.facebook.com/RUNKeepGoing/posts/2378824029076163
วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564
วิ่งน่ะให้มันอร่อยเหมือนกินมัง
วันไหนซ้อมวิ่งแล้วรู้สึกสนุก รู้สึกก้าวเท้า ท่าทางวิ่งได้ดังใจก็จะรู้สึกดี ฟิน อร่อย ที่นี้มาทบทวนแยกดูว่าอารมณ์อร่อยของการซ้อมวิ่งเสร็จมีกี่อย่างแบบไหนบ้าง
- ซ้อมวิ่งแบบ Zone 2 pace 8 อันนี้อารมณ์ดีเบิกบาน กระปี้กระเปล่า คุยสนุก ไม่อยากอาหาร
- ซ้อมวิ่งแบบ Tempo pace 6 ขณะวิ่งจะต้องมุ่งมั่น จิตใจต้องมีสมาธิ ควบคุมไม่วิ่งเร็วไปช้าไป วางท่าวิ่งให้นิ่ง หายใจให้ถูกจังหวะตลอด 20 นาที วิ่งเสร็จจะฮึกเหิมมาก พร้อมจะฝึกแบบนี้อีก อยากอาหารมาก
- ซ้อมวิ่งแบบ Speed Work pace 5 เหนื่อยสุดแต่ก็ดีที่สุด จะเห็น New PB อยากซ้อมแบบนี้อีกไหมก็ต้องมี 1 ครั้งใน week โดยเช็คสภาพร่างกายตอนวอร์มอัพ ถ้าสด ถ้าไม่เจ็บ ก็ drill n stride เลยแล้ว Speed work ขณะวิ่งบอกให้หัวใจเต้นแรงๆ กล้าออกตัว แล้วพอผ่านไปหลายๆรอบจนรอบท้ายๆจะก็ฟิน วิ่งเสร็จอย่าให้รู้สึกเข็ด อย่าให้เจ็บ ยืดเหยียด โยคะเยอะๆ ช่วยได้
- วิ่งยาว 18k+ ความอร่อยจะเกิดตอน 5k สุดท้ายคือมันจะจบแล้ว เราวิ่งมาเหลืออีกแค่ 5 รอบ ต้องระบุเพราะปกติวิ่งยาว 18k ถ้าระยะยังอยู่ในพิสัยไม่เกิน 30k จะปกติ แต่ถ้าเกินจะมีจุดอ่อนคือเจ็บเล็บนิ้วกลางเท้าขวา จุดสลักเพชรซ้ายและล่าสุดเข่าขวา สะสมกับอาการล้า คงเพราะไม่ค่อย B2B
- เวทเทรนนิ่ง แล้วรู้สึกตัวเล็กลง เดินเหินคล่องแคล่ว ตัวตรง หน้าอกตั้ง ต้นขา ข้อมือมีพลัง
- ซ้อมวิ่งขึ้นเขา อันนี้ใช้ความอดทนของร่างกายจิตใจเป็นหลัก ที่เขาชอบพูดกันเหนื่อยก็เดิน แต่ต้องจำกัดเวลาต่อรอบ เพื่อไม่ให้การซ้อมง่ายไป
วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2564
วิ่งป่าในเมือง ส่งการบ้าน week 50 ปี 2021ตรงกับ week#9
คิดไว้นานล่ะ...
ว่าจะไปวิ่งในสวนศรีนครเขื่อนขันธ์ week นี้ก็ไปมาแล้ว มันเหมือนวิ่งในป่าเลย วิ่งอยู่คนเดียว ระยะทาง 1 รอบ 2.5k มีช่วง rolling 400 เมตรด้วย สนุกมาก คลายเครียดได้ดี เริ่มวิ่งบ่าย 2 กว่าก็ไม่ร้อน
มีอาการเจ็บใหม่ที่เข่าขวากลางๆ (ไม่ใช่ ITB) มันเริ่มรอบ 19 เป็นๆหายๆ และปวดจุดสลักเพชรข้างซ้ายช่วงปลายเรซ (อาการเรื้อรัง) วิ่งเสร็จสภาพร่างกายปกติไม่เหนื่อย ไม่อ่อนล้า ไม่หิว
วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2564
วางแผนลงแข่ง Tanaosri Along The Border (TAB) 2022 at 10-11 December
เรื่องของเรื่องหลังจากจบ TNT30 ปี 2017 (เทรลแรก) ผมตั้งใจไว้จะวิ่งเทรล TNT อีกครั้งเมื่ออายุ 50 ปี อยาก challenge ว่าจะทำผลงานดีไหม ผลพลอยได้คือการซ้อมที่เข้มข้นอันจะมีผลต่อเป้าหมายการทำ Sub4
จวนได้เวลาทำตาม Challenge เมื่อ 5 ปีที่แล้ว แต่คราวนี้จะลง TAB 70 เลย ณ ปัจจุบัน ผมอายุ 49 ปี 9 เดือน มีเวลาซ้อมอีก 1 ปีนับจากนี้ ต้องเตรียมให้พร้อมที่สุด สิ่งที่ต้องเตรียมคร่าวๆ มีดังนี้
- Race Brief Tanaosri Along The Border (TAB)
- ค่าใช้จ่าย
- อุปกรณ์
- โปรแกรมฝึกซ้อม
ค่าใช้จ่าย ประกอบด้วยค่าสมัคร 3000 บาท ค่าเดินทาง 500 บาท ค่าที่พัก 800 บาท ค่าอาหาร 1000 บาท อื่นๆ 1000 บาท รวมทั้งหมด 6300 บาท
Race Brief Tanaosri Along The Border (TAB) เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเส้นทางวิ่ง อุปสรรคต่างๆ
อุปกรณ์ ได้แก่ เป้น้ำ 2 ลิตร, ไฟฉายคาดหัว, รองเท้า
โปรแกรมการฝึกซ้อม แยกเป็น
- รายสัปดาห์ (week)
- ลงแข่งงานวิ่ง
- จำลองสนามจริงขึ้นเขา ขึ้นบันไดสะพานลอย
วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564
บันทึกการวิ่งเกิน 70 กิโลเมตรครั้งแรกที่ตะนาวศรีเทรล
เขาบอกกันว่าแต่ก่อนมันคือ boss ใหญ่ของเขาตะวันตก
แต่ปีนี้เพิ่มระยะ 110 กิโลเมตรขึ้นมา
ดังนั้นระยะ 73 กิโลเมตรจึงกลายเป็นรอง boss ไป
ตรงนี้มารู้ก่อนจะวิ่งนั่นแหละ !!
ก่อนวิ่งมาดูแผนที่วิ่งของ TAB กันหน่อย
ส่วนความชันสะสมก็แค่นี้ !!!
มาเริ่มวิ่งกันดีกว่า
เวลาวิ่งดีมาก ๆ เริ่มวิ่งกันตอนสามทุ่มในวันเสาร์และไปจบในวันอาทิตย์เวลา 17.30 น.
อุณหภูมิตรงจุดปล่อยตัวก็ 17-19 องศาเซลเซียส !!
(ทุก ๆ 100 เมตรจะเย็นลง 1 องศาเซลเซียส )
ปีนี้โชคดีที่ฝนไม่ตก ทำให้ทางไม่ลื่น
แต่สิ่งที่ได้มาคือ พื้นแห้งจนลื่น
นี่ข่าวดีใช่ไหม
คนวิ่งทั้งหมด 600 กว่าคน !!
ก่อนวิ่งมาดูจุด Cut off กันหน่อย
ซึ่งมีอยู่ 4 จุดคือ
A7 ต้องถึงก่อน 8 โมงเช้า
A8 ต้องถึงก่อนเที่ยง
COT ต้องถึงก่อนบ่ายสามครึ่ง
FINISH ต้องถึงเส้นชัยก่อน 17.30 น.
ความสนุกของการวิ่งเริ่มตั้งแต่ช่วงแรกคือ ไป A1 (12 กิโลเมตร)
วิ่งถนนไปไม่เกิน 2 กิโลเมตรก็ขึ้นเขากันเลย (ใครอยากขึ้นเขาเร็ว ๆ ต้องทำเวลาตรงนี้)
จุดนี้คนที่มาวิ่งเรียกว่า เนินหรือเขารับน้อง
เป็นทางไม่ยาก ขึ้นเรื่อย ๆ ไม่สูง แต่ต้องต่อคิวขึ้น
เพราะว่าทางส่วนใหญ่เป็น single track
ช่วงนี้อากาศเริ่มหนาวขึ้น แต่พอขยับตัวก็ลืมความหนาวไป
ทำให้เดินและวิ่งไปได้เรื่อย ๆ เนินแถวนี้เขาเรียกว่า เนินอนันต์
อีกอย่างที่ทุกคนได้รับคือ ฝุ่นเยอะมาก ๆ !!
เข้า A1 แบบชิว ๆ แวะหาโอวันตินร้อน ๆ กินและเติมน้ำก็ออกไปวิ่งต่อ
ทางคนจัดแนะนำว่า อย่าพักนาน มันหนาว !!
เป้าหมายต่อไปคือ A5 (11 กิโลเมตร)
วิ่งบนถนนไปประมาณ 1 กิโลเมตร จากนั้นก็เข้าป่าขึ้นเขากันไปเลย
ในส่วนนี้เริ่มวิ่งง่าย แยกเป็นกลุ่มของนักวิ่งชัดเจนขึ้น
อากาศก็เริ่มหนาวลงเรื่อย ๆ
ทางวิ่งก็สนุกมาก ๆ ขึ้น ๆ ลง ๆ กันตลอด
หลาย ๆ คนเริ่มทำเวลาได้ ผมก็พอทำเวลาได้บ้าง
แต่สิ่งที่ประหลาดใจมาก ๆ คือ
ที่ A5 คน DNF หรือออกจากการแข่งขันเยอะเลย
(มีรถรอรับเลย แถมมีแจ้งด้วยว่าใครจะ DNF ขึ้นรถเลย)
ทั้งอากาศที่หนาวลงมาก
ทั้งมีอาการบาดเจ็บ
ทั้งกลับตามเพื่อน
ทั้งอุปกรณ์วิ่งตอนกลางคืนไม่ครบ เช่น ลืมเอาถ่ายไฟฉายมา
มาถึงตรงนี้อาการผมยังดี มีตึง ๆ ขานิดหน่อย
เลยแวะนวดเล็กน้อย เติมน้ำ เติมพลังงานแล้วออกวิ่งต่อ
เพราะว่าเป้าหมายต่อไปคือ เขากระโจม อีกประมาณ 13 กิโลเมตร
ตรงนี้อยู่นานกว่า A5 ทำให้รู้สึกหนาวขึ้นมากพอควร
ออกเดินทางไปเขากระโจม A6 ขึ้นแบบไม่รู้จบ (13 กิโลเมตร)
ออกจาก A5 ก็วิ่งลงไปตามถนนประมาณ 2 กิโลเมตร จากนั้นก็ขึ้นเขา
ซึ่งของจริงมันเริ่มตรงนี้นี่เอง
ทางขึ้นเขากระโจม สนุก โหดดีมาก ๆ
เป็นถนนดินลูกรัง ดินแดง ฝุ่นเพียบ
ขึ้นและขึ้นและขึ้นและขึ้น ไปเรื่อย ๆ
ช่วงแรก ๆ พอวิ่งได้ ช่วงหลัง ๆ เดินกระจาย
เส้นทางไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร เพราะว่า focus ไปแต่ที่ถนน
เพราะว่ามืดมาก ต้องเล็งตามไฟฉาย
ตอนนี้ขาเริ่มตึง ๆ กันเป็นแถว รวมผมด้วย แต่ก็พอไปได้
อากาศเริ่มเย็นลงอีกแถมมีลมด้วย
เจอนักวิ่ง 110 กิโลเมตร สวนมาและนอนข้างทางเพียบ
ที่สำคัญวิ่งมาทั้งคืนหลาย ๆ คนมีอาการง่วง
แต่สำหรับ programmer แล้ว เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหา เพราะว่าทำประจำกัน !!
ในช่วงขึ้นเขากระโจม เห็นดาวบนท้องฟ้าสวยมาก ๆ
แต่พี่ ๆ เพื่อน ๆ ที่วิ่งมาด้วยกันบอกว่า
เดี๋ยวเราต้องขึ้นไปถึงดาวตรงนั้นละนะ !!
ดังนั้นก้มหน้าดันขึ้นไปต่อ …
ดันไปเรื่อย ๆ เริ่มเจอนักวิ่งลงมา ก็เลยรีบดันขึ้นไป
พอถึงยอดเขากระโจม ลมแรงมาก รับสติกเกอร์ เติมน้ำ เติมพลังต่อ
แถมมีชาวบ้านมาขายของกินด้วย เลยจัดมาม่าไป 1 ถ้วย
พอกินเสร็จเท่านั้นแหละ งานเข้าเลย
ท้องไส้ปั่นป่วน !!
เลยต้องแวะเข้าห้องน้ำที่ยอดเขากระโจม ทำให้เสียเวลาตรงนี้ไปนานเลย
ถ้าจำไม่ผิดตรงนี้ใช้เวลานานไป
จะเช้าแล้วน่าจะตีห้ากว่าได้ !!
เหลือระยะประมาณอีก 10 กิโลเมตรกว่าจะถึงจุด cut off แรกเวลา 8 โมงเช้า
ดังนั้นรีบดีกว่า !!
วิ่งหนี cut off แบบไม่คิดชีวิต ไปที่ A7 (10 กิโลเมตร)
ความสนุกมันอยู่ตรงนี้ หลังจากถ่ายท้องเรียบร้อย
เติมพลังงาน เปลี่ยนถ่านไฟฉายเรียบร้อย
ก็รีบลงจากเขากระโจม
ดูเวลาแล้วเหลือเวลาไม่เยอะเลย
มองไปบนท้องฟ้า ฟ้าเริ่มสว่างแล้ว
ไปได้สักกิโลเมตร มองเห็นทางได้อย่างชัดเจน
ไม่น่าเชื่อว่าจะขึ้นกันมาได้
เก็บไฟฉาย เก็บของ จากนั้นดูเวลา ได้เวลาต้องวิ่งแล้ว
เพราะว่า เหลือระยะทางอีกไกลเลย
ก็วิ่ง jog และเดินไปเรื่อย ๆ จนไปถึงถนนคอนกรีตเข้าหมู่บ้าน
เป็นทางลงยาว ๆ ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร
ดูเวลาแล้ว ต้องวิ่งเร็ว ๆ กันแล้ว
ก็จัดเลยประมาณ pace 6-7 กันไป
ตอนวิ่งลงก็เจาคนเดินสวนขึ้นมา ให้กำลังใจกันไป
(คิดในใจลงแล้วก็ต้องขึ้นนี่หว่า !! ซวยละ)
พอมาถึง A7 ทางทีมงานบอกว่าเหลือเวลา cut off อีก 30 นาที
ให้รีบเติมพลัง เติมน้ำ แล้วรีบออกไป เพราะว่า sweeper เตรียมตัวแล้ว !!
งานเข้าเลยต้องรีบแล้วเรา ชิวมานานเกินไป
ช่วงนี้ได้รับสายรัดข้อมือ DIE
ใน A7 ไม่มีโอวันติน ข้าวต้มรอคิวนาน เสียเวลามากไป
เลยจัดขนมปังราดนมไป 3 ชุด ตามด้วยน้ำร้อน
จากนั้นเติมน้ำ นวดขาแล้วรีบออกไปเลย
ตอนนี้คิดอย่างเดียวคือ หนี cut off ให้เยอะกว่านี้
ออกเดินทางไป A7 เขาแหลมเฟี้ยวและบ้านกี้ (13 กิโลเมตร)
ตอนที่ออกมาจาก A7 มีเวลาเหลือแค่ 20 นาที
ดังนั้นจึงรีบเดินและ jog ขึ้นเขาประมาณ 4 กิโลเมตร
จากที่ลงมาเร็ว ขึ้นก็เร็วเช่นกัน
ตรงนี้ขาขึ้นใช้เวลาไป 40 นาที
หัวใจเต้นแรงส์มาก ๆ
แต่ต้องทำเวลาให้ดีขึ้น ช่วงนี้แซงแหลก !!
พอเข้าไปในป่า ก็เริ่มเข้าสู่ทางที่ผ่านมาเมื่อคืน
แต่พอเช้าแล้วเห็นทางชัด วิ่งได้ง่ายขึ้นมาก ๆ
ช่วงนี้คือเขาแหลมน้อย หรือทางทีมงานเขาเรียกว่า เขาแหลมเฟี้ยว
ก็ดันไปเรื่อย มีกลุ่มทั้งวิ่งทั้งเดิน ทั้งดันไปด้วยกัน เดินไปบ่นกันไป เมื่อไรจะถึง !!
แต่ก็ไปเรื่อย ๆ จนถึง A8 หรือ บ้านกี้
ตรงนี้ทำเวลาเพิ่มจากเหลือ 20 นาที เป็น 40 นาที
เลยได้พักหายใจหายคอเยอะเลย
ลงมาที่บ้านกี้ มีน้ำอัดลมให้กินด้วย ชอบมาก ๆ พลังเพิ่มเยอะเลย
อาหารไม่ค่อยอร่อย แต่ก็ต้องกิน
ตบด้วยขนมปังราดแยมอีกสัก 2 แผ่น
แถมมีซุ้มนวด เลยจัดไป 2 ขาเลย
นั่งพัก charge batt ของนาฬิกานิดหน่อย
พอร่างกายพร้อม ใจพร้อม
ก็พร้อมแล้วที่จะขึ้นเขาแหลมของจริงแล้ว
ระยะขึ้นเขาแหลมไม่ไกลแต่โครตชัน !!
ปีเขาแหลมสูง ๆ ชัน ลงเขาแบบเรียงคิวยาวเพื่อไป COT ต้องถึงก่อน 15.30 น. (8 กิโลเมตร)
ช่วงนี้เป็นช่วงที่ชันสุด ๆ ของเส้นทางแล้ว
ก็ดันกันไปเรื่อย ๆ ห้ามหยุดนานเพราะว่า จะทำให้ท้อได้
แต่ว่าเคยมาขึ้นเขาแหลมตรงนี้แล้ว
ทำให้จำเส้นทางได้ เลยช่วยให้ไม่ท้อมากนัก
ทางที่เคยขึ้นยาก ก็ไม่ยากแล้ว เพราะคนมาซ้อมกันเยอะ
แต่ที่มันยากคือ ตอนลงมากกว่า
เพราะว่า เริ่มเจอคนที่ลงแข่งระยะ 30 กลุ่มหลัง ๆ
ที่สำคัญคือ ทางลงเพื่อไป COT มันชันมาก ๆ และเป็น single track
พลาดพลั้งไปอาจจะตกเขาได้
ทำให้กลุ่มที่มาด้วยกันยืนรอวนไป
บางช่วงกิโลเมตรโดนไป 32 นาที (จะรอด cut off เวลา 15.30 น. ไหม )
เห็นท่าทีแล้ว อาจจะไม่ทันหรือไม่ก็เฉียดมาก ๆ
ก็เลยหาจังหวะเหมาะและปลอดภัยเพื่อแซง
พอแซงได้เท่านั้นแหละ วิ่งยาว ๆ ไม่คิดชีวิต
เป็นทางลงซะส่วนใหญ่จึงทำเวลาได้ดี
ช่วงนี้ไม่ค่อยยากเท่าไร
กำลังใจดีขึ้นเยอะ
ไปถึง COT ได้รับสายรัดข้อมือ DO แบบไม่ยาก
ปล. ผ่านตรงนี้ไป 100 เมตร จะมีน้ำให้เติม
แต่ว่าช่วงที่ผมผ่าน หมด นะ
ดังนั้นถ้าใครเตรียมน้ำมาไม่พอจาก A7 มีหวังพังแน่ ๆ
แต่ข่าวดีคือ ไปอีกสัก 1-2 กิโลเมตร
พี่ ๆ เจ้าหน้าที่ป่าไม้หรือทหารทำการกรองน้ำไว้ให้เพียบเลย แจ่มมาก ๆ
มาถึงตรงนี้ก็ล้างหน้าล้างตา เพื่อขึ้นเขาลูกสุดท้ายคือ เขาเขียว และเข้าสู่เส้นชัย (7 กิโลเมตร)
เขาเขียวไม่ชันเท่าเขาแหลม แต่ก็ไม่ธรรมดา
เพราะว่าโดนนวดมาตลอด 60 กว่ากิโลเมตรแล้ว !!
ขาก็เริ่มตึง ๆ ต้องหยุดนวดและฉีดสเปร์เรื่อย ๆ
มาถึงตรงเขาเขียวก็เดินขึ้นสลับหยุดพักหายใจเป็นช่วง ๆ
ความรู้สึกไม่กลัว cut off แล้ว
เพราะว่า ทำเวลาเผื่อไว้เยอะ
จากเดิน 20 นาที จนมาถึงตรงนี้มีเวลามากกว่า 1.30 ชั่วโมงแล้ว
ก็เลยไปเรื่อย ๆ ได้ จนถึงทางลงก็วิ่งมาเรื่อย ๆ
จนมาถึงบ่อน้ำร้อน ดงถ่ายรูป
ก็รู้สึกโล่งใจแล้ว เพราะว่าอีกกิโลเมตรเดียวก็ถึงเส้นชัยแล้ว
พอมาถึงตรงนี้ กลับไปมองดูสนามต่าง ๆ ที่ผ่านมา
พบว่าสนามนี้ยากที่สุดในปีนี้เลย
เพราะว่า น่าจะเป็นระยะไกลที่สุดแล้ว
แถมมาเจอสนามที่ขึ้นสุดลงสุด และอากาศที่หนาวมาก ๆ
ก็ทำให้ความยากและความเข้มข้นสูงมาก ๆ
สนุกและมันส์มาก ๆ
บทสรุป
ใช้เวลาไป 19.18 ชั่วโมง
ได้อันดับที่ 138 ของผู้ชาย รวมน่าจะ 160 มั้ง
ไว้ไปแก้มือใหม่ปีหน้า !!
วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564
ผลการซ้อม week 8 พร้อมส่งการบ้าน week 49 ปี 2021
วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2564
วิ่งยาว 31K บน Vo2Max Zone 79% นาฬิกาเสียป่าวเนี่ย ??!!
วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2564
คนไทย "อ้วน" ขึ้น? พบอัตราการเผาผลาญแย่ที่สุดในเอเชียจาก 12 ประเทศ
ปีนี้คุณตรวจสุขภาพประจำปีหรือยัง? ถ้าใครยังไม่ได้ตรวจ คงต้องหาเวลาไปเช็ค "สุขภาพ" สักหน่อยแล้ว เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่สิ่งที่คนวัยทำงานจะมองข้ามได้อีกต่อไป ล่าสุด.. มีผลวิจัยชี้ว่า คนไทยมีอัตราการเผาผลาญแย่ที่สุดในเอเชีย
แล้วอัตราการเผาผลาญที่ไม่ดี ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง? กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนมาหาคำตอบไปพร้อมกัน
1. ผลวิจัยชี้ชัด คนไทยส่วนใหญ่สุขภาพไม่ดี
มีรายงานข้อมูลสุขภาพของผู้ใช้งานการ์มินชาวเอเชียในปี 2564 ระบุว่า คนไทยมีอัตราการเผาผลาญขณะพัก (Resing Calories) เฉลี่ยอยู่อันดับสุดท้าย เมื่อเทียบกับ 12 ประเทศในเอเชีย (จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง ไต้หวัน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย)
อีกทั้งพบว่ามีระดับความเข้มข้นเฉลี่ยในการออกกำลังกาย (Intensity Minute) ต่อสัปดาห์ เป็นอันดับรองสุดท้ายอีกด้วย
คนไทย "อ้วน" ขึ้น? พบอัตราการเผาผลาญแย่ที่สุดในเอเชียจาก 12 ประเทศ
อธิบายเพิ่มเติมก็คือ ยิ่งมีระดับความเข้มข้นเฉลี่ยในการออกกำลังกาย (Intensity Minute) ต่อสัปดาห์มาก ก็จะยิ่งมีความสามารถในการเบิร์นแคลอรีได้มากตามไปด้วย โดยร่างกายจะเบิร์นไขมันทั้งในขณะที่ออกกำลังกาย และช่วงขณะพัก ส่งผลให้ไม่มีการสะสมไขมันส่วนเกิน (ไม่อ้วน)
จึงสามารถสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าระดับความเข้มข้นในการออกกำลังกาย (Intensity Minute) เฉลี่ยต่อสัปดาห์ และแคลอรีขณะพัก (Resting Calories) สามารถบ่งบอกถึง "ระดับการเผาผลาญ" ที่ดีได้ แต่เมื่อย้อนกลับไปดูผลวิจัยที่พบว่าคนไทยมีอัตราเผาผลาญไขมันไม่ดี จึงอนุมานได้ว่าเรากำลังเผชิญกับปัญหาภาวะ "อ้วน"
2. ระบบเผาผลาญคืออะไร? สำคัญกับสุขภาพแค่ไหน?
เรื่องนี้ "หมอผิง" หรือ พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล แพทย์วุฒิบัตรเวชศาสตร์ชะลอวัย (สหรัฐอเมริกา) อธิบายว่า ระบบเผาผลาญ หรือ เมแทบอลิซึมคือ กระบวนการที่ร่างกายเปลี่ยนอาหารที่เรากินเข้าไปให้กลายเป็นพลังงาน เพื่อใช้ดำรงชีวิตและทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน ซึ่งกระบวนการดังกล่าวถือเป็นกุญแจสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี
เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น ร่างกายของคนส่วนใหญ่จะมีมวลกล้ามเนื้อที่ลดลง ผนวกกับฮอร์โมนที่สำคัญต่อร่างกายที่ลดลง อย่างโกรทฮอร์โมน ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้น้อยลง ซึ่งทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น จนเกิดเป็น ภาวะ "อ้วนลงพุง"
อีกทั้งยังทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ อาทิ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ ฯลฯ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมระบบเผาผลาญถึงสำคัญ
3. ระบบเผาผลาญแย่ลง มีวิธีซ่อมให้ดีขึ้นได้ไหม?
หมอผิงตอบชัดเจนว่า เราสามารถกระตุ้นให้ระบบเผาผลาญในร่างกายกลับมาทำงานดีขึ้นได้ โดยสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่
- เพิ่มอัตราการเคลื่อนไหวระหว่างวันให้มากขึ้น
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอต่อวัน
- ดื่มน้ำในปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน
- กำหนดปริมาณอาหารที่เหมาะสม และเลือกอาหารที่มีประโยชน์
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
4. อยากฟื้นฟูระบบเผาผลาญ ออกกำลังกายแบบไหนดี?
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะไปกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญได้โดยตรงแล้ว ยังมีประโยชน์ในแง่ของการสร้างมวลกล้ามเนื้อให้แก่ร่างกายด้วย ยิ่งมีมวลกล้ามเนื้อเยอะ ก็จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญให้ดีขึ้นได้อีกทางหนึ่ง โดยการออกกำลังกายที่ควรทำ ได้แก่
การออกกำลังกายแบบคาดิโอ เช่น วิ่ง ปั่นจักรยาน กระโดดเชือก อย่างน้อย 150 - 300 นาทีต่อสัปดาห์
การออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อ เช่น บอดี้เวท ฟรีเวท โยคะ อย่างน้อย 2 - 3 ครั้งต่อสัปดาห์
5. อาจใช้อุปกรณ์ช่วยติดตามสุขภาพ เพิ่มความแม่นยำ
หากใครไม่มั่นใจว่าจะสามารถลุกขึ้นมาออกกำลังกายได้ทุกวัน ก็อาจจะต้องหาตัวช่วยมาแจ้งเตือน และติดตามสุขภาพ โดยควรเลือกอุปกรณ์ที่มีฟังก์ชันการติดตามสุขภาพที่หลากหลายเมนู เช่น
- การติดตามการเผาผลาญขณะพัก (Resting Calories)
- การวัดระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Pulse Ox Blood Sensor)
- การติดตามการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Function)
- การติดตามระดับความเครียด (Stress Tracking)
- การฝึกความแข็งแรง (Strength Training)
- การวัดอายุของสุขภาพ (Fitness Age)
- การติดตามการนอนหลับ (Sleep Monitoring)
- การติดตามการดื่มน้ำ (Hydration Tracking) เป็นต้น
พิสูจน์อักษร โดย....สุรีย์ ศิลาวงษ์