วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561

บทสัมภาษณ์ อาจารย์กฤตย์ ทองคง

นักวิ่งที่อยู่ในวงการวิ่ง แทบไม่มีใครที่ไม่รู้จักนักวิ่งชายวัย 64 ปีท่านนี้ ท่านเป็นนักวิ่งคนแรกๆของไทยที่เขียนบทความที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการวิ่ง สิ่งที่ท่านเขียนยังใช้ได้ดีเสมอจนปัจจุบัน
.

ท่านเป็นนักวิ่งขาแรงที่ยังครองความเป็นขาแรงมาจนทุกวันนี้ ถึงแม้ว่าปัจจุบันท่านจะลงแข่งน้อยลง และเน้นวิ่งเพื่อออกกำลังกายมากกว่า แต่ก็ยังแรงจนหนุ่มๆสาวๆหลายคนต้องอาย
.
ท่านเป็นคนแรกๆที่นึกอยากสัมภาษณ์ เพราะดวงตาคู่นี้คงจะได้เห็น ได้รับรู้อะไรในวงการวิ่งมาพอมากทีเดียว ประสพการณ์เหล่านี้ หลายครั้งที่มีค่ามากกว่าตำรา และงานวิจัยไหนๆ 
.
หวังว่าผู้อ่านจะได้เรียนรู้จากประสพการณ์ และข้อแนะนำของท่านนะคะ

Q: สิ่งที่เป็น highlighted ของอาชีพนักกีฬาวิ่งคืออะไร
.
ในมุมมองของผม ประการที่โดดเด่นที่สุดของการวิ่ง คือ "การเพ่งพินิจลงไปกับตัวเอง"
.
ไม่ว่าจะเป็นความเร็ว หรือการเกลี่ยกำลังงาน
นึกดูละกัน.......เป็นที่รู้กันว่า วิ่งให้เร็วจะชนะเขานั้น
ไม่ใช่เร็วที่สุด แต่เป็นความเร็วที่สัมพันธ์กับความเป็นตัวของเราต่างหาก
.
การดูคู่ต่อสู้ ก็ไม่เท่ากับการพิจารณาลงไปในตัวเราลึกๆว่าเรามีทรัพยากรแค่ไหน เราควรทำอะไรในปัจจุบันขณะ และยังไม่ควรทำอะไรในขณะนี้
.
การวิ่งที่ดี ต้องโฟกัสอยู่กับตัวเอง ต้องควบคุมกระบวนการความคิดเกี่ยวกับการแข่งขันและการวิ่ง ให้อยู่กับตัวเองให้ได้
.
รวมความได้ว่า จุดที่โดดเด่นที่สุดของกีฬาวิ่งคือ การเพ่งพินิจลงไปในตัวเองไม่ใช่ไปดูที่อื่น ทั้งในการซ้อมหรือแข่งใดๆก็ตาม
.
กล่าวไม่ผิดนักว่า การดูผู้อื่นมากเกินไป จะทำให้เราหลุดออกจากความเป็นตัวของตัวเองโดยง่าย
เมื่อนั้นคือลางของความพ่ายแพ้นั่นเอง
.
Q: ตารางเทรนของอาจารย์เป็นไงบ้างตอนนี้
.
อย่างที่ทราบ ผมเคยเป็นนักวิ่งมือรางวัล(กลุ่มอายุ)มาก่อน ตอนรุ่น 40 เคยชินกับการฝึกตามโปรแกรมต่างๆ มาภายหลังเขียนบทความมากขึ้น
.
ใช้ประสบการณ์ที่ตัวเองเจอมารวมกับความรู้ที่หาอ่านเอาตามวารสารต่างประเทศ เช่น Runners World และ Running Times 
.
ชลอการแข่งขันลงเมื่อเข้ากลุ่มอายุ 50
และยิ่งน้อยลงไปอีกเมื่อเข้ากลุ่ม 60
สาเหตุสิ้นเปลืองค่าสมัครก็เป็นส่วนหนึ่ง
จึงห่างสนามแข่งขันออกไป โดยถ้นตัวออกจากโหมดแข่งขันแล้ว และวิ่งเพื่อสุขภาพแทน
.
แต่หลังวิ่งช้าๆเบาๆ วันละ 3-5 โล ไปพักหนึ่ง
พบว่าตอบโจทย์ตัวเองไม่ได้ วิ่งแล้วหงุดหงิด
.
จึงกลับมาวิ่งโปรแกรมอีกครั้ง กล่าวคือมีวิ่งยาว
มีวิ่งเบา มีวันขึ้นเขา และมีบางวัน Speed works พบว่าพอใจดี
.
ขณะวิ่งก็ถามตัวเองว่า "พอใจนะ? เราฝึกโปรแกรมแล้วก็ไม่ได้ไปแข่งที่ไหน" เราพอใจกับสภาวะนี้
.
แต่เพื่อนๆที่วิ่งด้วยในสนามซ้อมกลับไม่เข้าใจ
พวกเขามีคำตอบสำเร็จรูปว่า คนฝึกโปรแกรม
ต้องหวังชิงชัย ไม่งั้นจะวิ่งทำไม มิใยเราพยายามที่อธิบายว่า เราวิ่งโปรแกรม แต่ไม่ไปแข่งที่ไหนก็ไม่เชื่อกัน
.
ส่วนเพื่อนๆนักวิ่งที่ห่างไกลออกไป เห็นเราห่างหายสนามแข่งก็มีมิติความเข้าใจมิติเดียวราบแบนเหมือนกันหมดทุกรายว่า "เราบาดเจ็บ"
ทั้งๆที่เราพยายามอธิบายว่าเราสมบูรณ์ดีไม่เจ็บก็ตาม แต่ไม่ค่อยเชื่อคำเรา
.
บรรยากาศของนักวิ่งไทยและความเข้าใจมิติเดียวเหมาหมดแบบนี้ เอินอาจไม่เข้าใจ นักวิ่งไทยเป็นกันแบบนี้จริงๆ

Q: เล่าเรื่องนี้ทำไม
.
เล่าเพื่อที่จะบอกว่า เราเบื่อสนามแข่งแต่ไม่เบื่อวิ่งไม่อยากได้ถ้วยแล้ว น้ำท่วมปี 2554 ขนหนังสือวิ่งหนีน้ำรอดพ้น แต่ถ้วยรางวัลจมน้ำหมด
.
เดี๋ยวนี้ไม่ตื่นเต้นกับรางวัลถ้วยแล้ว แต่เล่าให้ใครฟังเปิดเผยเขาไม่เชื่อว่าใครจะเบื่อถ้วยรางวับเป็นไปได้อย่างไร เขามองเราว่าบาดเจ็บ และเป็นองุ่นเปรี้ยว
.
ปีหน้าอายุขึ้นกลุ่ม 65 ผมยังสามารถวิ่ง pace5 ได้เป็นบางโอกาส นับเนื่องเอาเองว่าเราถึงหลักชัยในการวิ่งได้อย่างสวยงาม
.
จึงออกจะแปลกประหลาดในสายตานักวิ่งไทย
ว่าทำไมเราไม่ไปแข่ง ทั้งที่ความเร็วก็พอส่งประกวดได้ มักเข้าใจว่าเราบาดเจ็บลึกๆ
.
Q: โภชนาการทุกวันนี้เป็นอย่างไร มีการดูแลการกินอาหารแบบไหนบ้าง
.
กินตามสบาย ตามความอยากครับ
เป็นคนผอมโดยธรรมชาติ คุณพ่อไม่วิ่งก็ผอม
ผมก่อนมาวิ่งก็ผอม วิ่งแล้วก็เท่าๆเดิม
ปัจจุบันน้ำหนัก 54 ก.ก.สูง 165 ซม 
.
กินไงก็ไม่อ้วน จึงไม่เคร่งครัดเมนู
เป็นคนติดหวาน กาแฟดำก็หวาน
ฝึกมากมา น้ำตาลในเลือดพร่อง
ก็อยากกินโรตีหวานๆ ก็กิน ไม่หลบหนี
กินตามสบายครับ เพราะเราเป็นนักวิ่ง ไม่ควรวิรัติน้ำตาล
.
ตอนผมหยุดวิ่งเพราะ Plantar fasciitis
2 เดือน หยุดวิ่งสนิท น้ำหนักขึ้นมา 4 โล
แต่ไม่สนใจ เรากลับมาวิ่งเมื่อหายดีแล้ว
โฟกัสที่ทำอย่างไรจะวิ่งได้เหมือนเดิม และ
ความบาดเจ็บเก่าจะไม่กลับมา
น้ำหนักก็ลดลงไปเท่าเดิม เมื่อกิโลเมตร
กลับเข้ามาเท่านั้นเอง
.
Q: สิ่งที่อยากส่งต่อให้นักวิ่งหน้าใหม่

คือ...อย่าเร่งรีบพัฒนา 
เพราะคุณทำไม่ได้
และไม่มีใครทำได้ด้วย

แต่วิ่งที่ดี และพอมีความเป็นไปได้คือ
ดำรงเงื่อนไขการฝึก และการพักฟื้นให้สมดุลกัน
สองสิ่งนี้ นักวิ่งมักไม่ใคร่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันมากเท่าที่ควร ทั้งๆที่จริงเป็นสองด้านของเหรียญอันเดียวกันนั่นเอง

ทุกทางลัดมันคือทางตรง 
ทางตรงเป็นเส้นที่สั้นที่สุด คือวิ่ง และจงเพียรที่จะใส่กระบวนการเวลาลงไปให้ทีความสม่ำเสมอเท่านั้นเอง

ส่วนกรรมวิธีเคล็ดลับอะไรต่างๆก็เป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์การกีฬาแล้วที่นี้ เช่นกฎ 10%
จงพยายามอ่านและให้ความเชื่อฟังและทำตาม
อย่างละเว้นไม่ได้

เชื่อตามนี้แล้วเราจะงุนงงว่า อย่างรวดเร็วที่สุดกว่าใครๆที่วิ่งรุ่งเรืองเร็วคือคนที่ฝึกวิ่งอย่างใจเย็น ไม่เร่งร้อน ไม่เสียเวลากับการ Recovery บาดเจ็บ เป็นไปได้อย่างไร
----------------------------
Chada Bowra, Level 3 Personal Training (YMCA)
(QCF) Diploma in (Advanced) Level 3 Personal Training (Gym-Based Exercise) (YMCA)
ENU (QCF) Nutrition for Exercise (YMCA)
Neuromuscular Techniques (Cert.) (NLSSM)
Biomechanical Analysis, Gait Re-education and Exercise Based Rehab Coaching 
www.Befitandeatwell.com
.
กดติดตามบทความโภชนาการและการออกกำลังกายที่หลากหลายได้ที่
Facebook: https://m.facebook.com/Befiteatwell/

หนังสือ Eat Cook Repeat มีขายที่ไลน์ @bananarun

สามารถสั่งซื้อหนังสือวิ่ง The Ready Steady Run ได้ที่ http://www.bananarun.com/-/the-ready-steady-run.html
ร้านkinokuniya 3 สาขา คือ สยามพารากอน , อิเซตัน และ เอ็มควอเทียร์ ศูนย์หนังสือจุฬา สาขาต่างๆทั้ง กทมและตจว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น