วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2563

“รองช้ำ” อาการบาดเจ็บสุดฮิตของนักวิ่ง

หากคุณมีอาการปวดและกดเจ็บบริเวณส้นเท้า หรือลุกเดิน 2-3 ก้าวแรกหลังตื่นนอนตอนเช้า ฯลฯ อาการดังกล่าวเข้าข่ายการเป็น “โรครองช้ำ” แล้วละ ซึ่งแน่นอนว่าอาการเจ็บส้นเท้า ไม่มีนักวิ่งคนไหนอยากให้เกิดขึ้น เพราะคุณต้องใช้เวลาในการรักษาตัวสักระยะ ถึงจะหายจากอาการเจ็บปวด
.
โรครองช้ำ หรือโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะว่าผู้หญิงมีไขมันที่ส้นเท้าบางกว่า และมีเอ็น กล้ามเนื้อน่อง และฝ่าเท้าไม่แข็งแรงเท่าผู้ชาย และ “นักวิ่ง” จะเจ็บรองช้ำมากกว่าคนปกติทั่วไป เพราะว่าใช้เท้า และส้นเท้านานกว่าคนปกติ
.
ถ้าคุณพบว่า มีอาการปวดและกดเจ็บบริเวณส้นเท้า จากการวิ่ง ออกกำลังกาย หรือเดิน รวมไปถึงเมื่อลุกเดิน 2-3 ก้าวแรกหลังตื่นนอนตอนเช้า และนั่งนาน ๆ จะเจ็บส้นเท้า ใช่แล้วละ นี่คืออาการของโรครองช้ำ
.
“ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดรองช้ำ คือ การใช้งานฝ่าเท้ามากเกินไป เช่น การฝึกวิ่งที่หักโหม วิ่งในระยะทางที่ไกลเกินไป การสวมรองเท้าที่ไม่มีพื้นบุรองส้นเท้า หรือบางเกินไป หรือสวมรองเท้าไม่เหมาะกับรูปเท้า คนที่มีน้ำหนักตัวมาก คนที่มีลักษณะเท้าแบน อุ้งเท้าสูง รวมถึงผู้ที่ป่วยเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือข้อสันหลังอักเสบ” นายแพทย์สมพงษ์ ตันจริยภรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ ให้ข้อมูล
.
เมื่อเกิดอาการบาดเจ็บแล้ว นักวิ่งสามารถดูแลด้วยตนเองได้ในเบื้องต้น ด้วยการยืดพังผืดฝ่าเท้าสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น ในกรณีที่พังผืดตึงมาก ๆ ควรแช่เท้าในน้ำอุ่นก่อนทำการยืดประมาณ 15-20 นาที จะช่วยลดอาการเจ็บขณะยืดเหยียด
.
นอกจากนี้นักวิ่งควรเลือกรองเท้าที่เหมาะสมกับรูปเท้าของตัวเอง เพื่อไม่ให้เกิดแรงกดทับบริเวณที่อักเสบ และควรออกกำลังกายแบบอื่น เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ที่ไม่มีการกระแทกบริเวณส้นเท้า ถ้านักวิ่งยังไม่หายและมีการเจ็บเรื้อรัง ก็ควรไปพบแพทย์ นักกายภาพบำบัด ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
.
อาการบาดเจ็บที่นักวิ่งเจอกันบ่อย ๆ ควรรักษา และฟื้นฟูอย่างถูกวิธี และไม่ควรฝืนร่างกายตัวเอง เพราะคุณจะยิ่งเจ็บมากกว่าเดิม อาการบาดเจ็บหายช้า และกลับมาวิ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพช้าอีกด้วย
.
ติดตามความน่ารักของสาว ๆ ทีม Powdurance ได้ที่ Powdurance Angel Team จ้า
.
#powdurance #dutchmill #เครื่องดื่มเกลือแร่และenergygel

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น