วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เจลพลังงาน energy gel

ในการออกกำลังกาย เราควรแยกอาการให้ออก ระหว่าง อาการหมดแรง กับ อาการเสียเหงื่อ


อาการหมดแรง คือ อาการที่มีน้ำตาลในเลือดน้อยเกินไป จึงมีเรี่ยวแรงไม่พอ

อาการเสียเหงื่อ คือ อาการที่ร่างกายขาดน้ำ เช่น กระหายน้ำมาก มึนหัว ปัสสาวะเหลือง (แต่ยังไม่ค่อยขาดเกลือแร่; ถ้าขาดทั้งน้ำทั้งเกลือแร่เยอะๆ น่าจะท้องเสียนะครับ)

ในระหว่างวิ่ง โดยเฉพาะการวิ่งระยะไกล ร่างกายต้องถูกเติมพลังงานก่อนที่พลังงานจะหมด แต่ถ้าจะให้หม่ำคาร์บปกติก็คงไม่เหมาะ เจลพลังงานจึงถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์นักกีฬาที่ต้องออกกำลังกายในระยะเวลานานๆ เช่น วิ่ง จักรยาน

เจลพลังงานที่วางขายโดยทั่วไป จะมีองค์ประกอบหลักคือคาร์บที่มีค่าGIสูง (เช่น maltose) ผสมกับเกลือแร่ (เช่น โซเดียม โปแตสเซียม แมกนีเซียม) เพื่อให้กระบวนการสันดาปในระดับเซลล์ดีขึ้น ทำให้ใช้เลือดน้อยลง หัวใจก็จะทำงานเบาลง heart rateก็จะลงตาม ผลคือเหนื่อยน้อยลง


ปัญหาคือ
1. ระหว่างวิ่ง ไม่ควรโหลดคาร์บที่มีค่าGIสูง แต่เจลพลังงานส่วนใหญ่ใช้น้ำตาลmaltoseเป็นส่วนประกอบหลัก ทำไงดี? แถมส่วนใหญ่เจลพลังงานจะค่อนข้างเข้มข้นและเหนียวคอ
2. การผสมเกลือแร่ลงไปในเจลพลังงาน เป็นปริมาณที่เหมาะสมหรือไม่ โดยเฉพาะถ้านักวิ่งท่านนั้นๆ ไม่ได้ต้องการเกลือแร่มากๆ (เกลือแร่เยอะไป ก็มีปัญหากับไต)

การแก้ปัญหาที่ง่าย คือ การดื่มน้ำตามทุกครั้งที่ทานเจลพลังงาน (คล้ายกับการดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่)

อีกทางเลือกนึง คือ การบริโภคเจลพลังงานที่ใช้คาร์บที่มีค่าGIปานกลาง ได้แก่พวกที่ผสมน้ำผึ้ง ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ยี่ห้อในท้องตลาด

ด้วยความที่เจลพลังงานโดยทั่วไปมีความหนืด ลองฝึกกินตอนซ้อมจะดีกว่าไปกินตอนลงแข่ง บางคนไม่เคยกินอาจถึงกับอาเจียน

ควรกินเจลทุกๆ 30-45 นาที หรือ ตามที่ระบุไว้บนซอง เพื่อให้ได้พลังงานสูงสุดและมีความเสถียร ไม่ขาดตอน

หมายเหตุ: สำหรับนักวิ่งelite ระดับโปร จะมีการทดสอบเหงื่อ (sweat test) เพื่อดูอัตราการสูญเสียเหงื่อ และ เอาเหงื่อมาวิเคราะห์ว่าเราเสียเกลือแร่หรือ electeolyte อะไรไปบ้าง เพื่อจะได้โหลด electrolyte, คาร์บ และ น้ำ ในปริมาณและเวลาที่เหมาะสม

โจ#บียอนด์

#TeamBeyond   #GoTogether

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น