วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ถอดรหัส การฝึกวิ่งของชาว “เคนย่า”

หากพูดถึงชนชาติที่สามารถวิ่งได้รวดเร็วระดับโลกแล้ว จะไม่พูดถึงชาวเคนย่าคงจะไม่ได้ เพราะว่านักวิ่งระดับโลกหลาย ๆ คนก็เป็นชาวเคนย่าด้วยกันทั้งนั้น เพื่อน ๆ สงสัยกันบ้างไหมครับว่าทำไมชาวเคนย่าถึงสามารถวิ่งได้เร็วนัก อาจเป็นเพราะชาวเคนย่านั้นมีข้อเท้าและน่องที่เล็กกว่าปกติ หรือเพราะมีค่า Body Mass Index ต่ำกว่าชาติอื่น และนอกจากนี้สิ่งที่ทำให้พวกเขาสามารถวิ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงอาจเป็นเพราะชาวเคนย่าชนชาติที่มีอัตราการใช้ Oxygen (VO2 max : Maximum Rate of Oxygen Consumption) ในระดับที่สูงสุด ซึ่งหมายความว่าพวกเขาสามารถรีดประสิทธิภาพของออกซิเจนออกมาได้อย่างดีเยี่ยมนั่นเองครับ
.

และนอกจากนี้วิถีชีวิตของพวกเขาเองก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะวิถีชีวิตของพวกเขาอยู่บนเส้นทางแห่งความอดทน พวกเขาใช้การเดิน และการวิ่งเป็นตัวขับเคลื่อนวิถีชีวิตในทุก ๆ วันโดยไม่ใช้รถยนต์ หรือ จักรยาน ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ เรียกได้ทำทุกอย่างด้วยเท้าเปล่าทั้งหมดครับ เรื่องสภาพจิตใจและความอดทนนี่ไม่ต้องห่วงพวกเขาเลยล่ะ
.
แต่ถึงอย่างนั้นนอกจากความอดทนกับสภาพจิตใจที่แข็งแกร่งแล้ว พวกเขาฝึกซ้อมการวิ่งอย่างไรบ้างล่ะ ถึงได้ผลิตนักวิ่งชั้นดีออกมาได้ขนาดนี้?
.
เรื่องนี้มีคำตอบครับ ... Scott Douglas นักเขียนชื่อดังที่ชอบเขียนเกี่ยวกับการวิ่งเป็นชีวิตจิตใจ ยอมลงทุนเดินทางไปถึงเมือง Iten ณ ประเทศเคนย่า เพื่อทำการศึกษาบันทึกวิถีชีวิตและการฝึกซ้อมของนักวิ่งชาวเคนย่าถึงที่เลยครับ เขาต้องใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นเพื่อซึมซับวัฒนธรรมต่าง ๆ ของชาวเคนย่า และเขียนมันออกมาในหนังสือที่มีชื่อว่า The Little Red Book of Running หนังสือที่เป็นกุญแจสู่เส้นทางลมกรดของชาวเคนย่า
.
วิ่งและออกตัวอย่างธรรมชาติ

Scott Douglas พูดถึงสิ่งที่เขาสามารถเรียนรู้มาจากชาวเคนย่ายามฝึกซ้อมนั่นก็คือ แทนที่พวกเขาจะมัวพะวงกับนาฬิกา พวกเขากลับใช้วิธีให้ร่างกายควบคุม Pace ด้วยความรู้สึกในการวิ่งแทน (effort) ซึ่งสิ่งนี้ดันไปตรงกับสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิ่งหลาย ๆ คนแนะนำเลยครับ เพราะนักวิ่งหลายคนมักจะไปกังวลกับตัวเลขในนาฬิกามากจนเกินไป ยิ่งตัวเลขเป๊ะก็จะสามารถวิ่งได้ตามแผนในระยะทางไกล แต่จริง ๆ แล้วความเร็วไม่ใช่คำตอบของทุกอย่างเสมอไปครับ สิ่งที่เป็นกุญแจให้เราไปสู่เส้นทางจริง ๆ แล้วคือแรงที่ใช้ต่างหากครับ เมื่อเราวิ่งเราไม่ได้อยู่บนพื้นราบเรียบเสมอไป เราอาจจะต้องเจอกับการขึ้นลงเนิน หรือแม้แต่ทางโค้ง หากเรามัวแต่มองที่ตัวเลขในนาฬิกา และเร่งเพื่อรักษา Pace ไว้สุดท้ายการวิ่งก็จะออกมาแย่ครับ Douglas ยังบอกอีกว่าการออกตัวนั้นค่อนข้างสำคัญเลยเพราะว่าชาวเคนย่ามักจะออกตัวแบบที่ Pace ที่ต่ำมาก ๆ และค่อย ๆ เพิ่ม Pace ตัวเองขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นการ Sprint ในที่สุด
.
ทำการซ้อมให้หลากหลายไม่ซ้ำซาก

Scott Douglas เล่าว่าช่วงที่เขาเรียนรู้อยู่ที่ Iten การวิ่งของเขาค่อนข้างหลากหลายเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่เคยได้วิ่งแบบเดิมเลย ถึงแม้ว่าระยะทางที่เขาวิ่งจะเป็นระยะทางเท่าเดิมก็ตาม การวิ่งที่นี่ค่อนข้างหลากหลายมีทั้งวิ่งเส้นทางปกติพื้นแข็ง หรือบางครั้งก็ได้วิ่ง Trail หรือบางครั้งก็ได้วิ่งเร็วไปจนถึงการวิ่งซ้อมแบบเบา ๆ ก็มีครับ
.
เตรียมตัวให้เหมือน Sprinter

นักวิ่งชาวเคนย่าจะให้ความสำคัญมาก ๆ กับการเตรียมร่างกายให้พร้อม โดยพวกเขาใช้การฝึกแบบ Calistenics ที่เป็นการบริหารร่างกายที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนากล้ามเนื้อ และเสริมความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อทุกส่วน ซึ่งเคยมีบางตำราชี้ว่าการฝึกแบบนี้นั้นดีกว่าการฝึกแบบ Weight Training ซะอีก ด้วยการที่สามารถขยับร่างกายได้มากกว่า รวมไปถึงเป็นการฝึกการทรงตัวไปในตัวด้วยครับ และนอกจากนี้ชาวเคนย่ายังใช้วิธี Dynamic Stretching ในการวอร์มร่างกายแทนที่การวอร์มแบบเดิม ๆ ครับ วอร์มแบบเดิม ๆ ในที่นี้หมายถึงการยืดเส้นยืดสายแบบทั่วไปครับ
.
พวกเขาใช้รองเท้าแบบ Minimalist

ธรรมชาติของชาวเคนย่าจะมีเท้าที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว เพราะอย่างที่บอกไปในช่วงต้นที่พวกเขามักจะใช้เท้าเปล่าในการดำรงชีวิตประจำวันของพวกเขา เพราะอย่างนั้นไม่แปลกเลยที่เท้าของพวกเขาจะมีความแข็งแกร่งเป็นพิเศษ โดย Scott Douglas เชื่อว่าการที่พวกเขาใช้เท้าเปล่าในการดำรงชีวิตรวมไปถึงใช้รองเท้าวิ่งแบบ Minimalist ที่มีพื้นแบบบาง จะทำให้ข้อและเท้าของพวกเขามีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
.
#วิ่งไหนดี
#WingNaiDee

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น