วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

5 เทคนิค ช่วยพัฒนาการวิ่ง

พูดถึงการวิ่งอย่างไรให้ออกมาดีนั้นหลาย ๆ คนก็คงจะมองไปถึงเทคนิคทางกายภาพกันเป็นส่วนใหญ่ใช่ไหมครับ จริง ๆ แล้วเทคนิคทางกายภาพนั้นก็ค่อนข้างสำคัญเลยล่ะครับ แต่สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เราไม่ควรมองข้ามนั่นก็คือ แรงใจกับความมีวินัยของเราเองครับทั้งสองอย่างนี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลให้การวิ่งของเราออกมาได้ดีที่สุด และวันนี้แอดจะขอนำเสนอไอเดียจาก Dane Rauschenberg นักวิ่งชื่อดังที่ทำสถิติวิ่งมาราธอนทุกอาทิตย์เป็นเวลา 1 ปี ( 52 มาราธอน ใน 52 สัปดาห์!!) ในปี 2006 ทั้งยังเคยวิ่ง Solo ระยะทางกว่า 325 km มาแล้ว จากประสบการณ์กว่า 20 ปี ในการวิ่ง Rauschenberg เขาคนนี้จะมาแนะนำเทคนิคดี ๆ ที่เพื่อน ๆ สามารถนำไปใช้ได้ในการวิ่งครับ
.
1.วางแผนจัดการชีวิต และทำให้ได้
ไม่มีเวลาวิ่งเลย แค่ทำงานมาก็หมดวันแล้ว เป็นอีกหนึ่งเหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้เราไม่ได้วิ่งสักที แน่นอนครับว่าในหนึ่งวันเราจะมีช่วงเวลาที่ไม่ได้วิ่ง (Non-Race) มากกว่าช่วงที่วิ่งหรือออกกำลังกาย (Race) โดยหลักการสำคัญของการจัดการชีวิตของเรานั่นก็คือ เราต้องจัดการช่วงเวลาที่ไม่ได้วิ่งให้ได้ก่อนครับ หรือพูดง่าย ๆ คือเราต้องทำการวิ่งให้เป็นกิจวัตรประจำที่เราต้องทำไม่ต่างจากการเรียน หรือการงานครับ นึกเอาไว้ว่าคนเรามีเวลา 24 ชั่วโมงเหมือนกัน ถ้าเราจัดการเวลาได้ดีใช้มันอย่างคุ้มค่า การวิ่งของเราจะดีขึ้นอย่างแน่นอนครับ
.
2.แข่งกับตัวเอง
การที่เรามองความสามารถของคนอื่นเพื่อศึกษาเป็นสิ่งที่ดีครับ แต่หากว่าคุณกำลังมองคนอื่นที่วิ่งได้ดีทั้งระยะ Half/Full Marathon แล้วมาคิดว่าทำไมเรายังทำได้แค่ Fun Run เองนะ หรือ บางคนชอบเอาเวลาซ้อมของตัวเองที่คิดว่าทำได้ดีขึ้นจากเดิมไปเทียบกับคนอื่นที่ทำได้ดีกว่า การคิดแบบนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรนะครับ พานจะทำให้หมดกำลังใจวิ่งกันไปซะเปล่า ๆ ให้เพื่อน ๆ ลองคิดว่า ต่อให้คุณจะทำเวลาได้ดีแค่ไหน เร็วแค่ไหน แต่สุดท้ายแล้วก็จะมีคนที่เร็วกว่าคุณอยู่ดีครับ ไม่มีประโยชน์อะไรที่เราจะต้องเอาตัวเองไปเปรียบเทียบแข่งขันกับคนอื่น สิ่งที่ควรทำก็คือ การแข่งกับตัวเองครับ เมื่อวานเราทำได้ดี วันนี้ต้องดีกว่า

3ไม่จมอยู่กับความผิดพลาด
การจดจำสิ่งที่ผิดพลาดในอดีตเพื่อนำมาปรับปรุงในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ดีครับ แต่หากเราคิดถึงมันมากจนเกินไปจะทำให้เราเกิดการพะวงกับการวิ่งได้ มีนักวิ่งจำนวนไม่น้อยที่ต้องเจอกับประสบการณ์แย่ ๆ ในการวิ่งมา นักวิ่งมืออาชีพเองก็เช่นกันครับ แต่พวกเขาก็สามารถทำ new record ได้ในการวิ่งคราวถัดมาจากการวิ่งแย่ๆ ที่ผ่านมา
.
4.พักผ่อน
แน่นอนสิ่งที่สำคัญที่จะมองข้ามไม่ได้เลยนั่นก็คือการพักผ่อนครับ ร่างกายของเราไม่ใช่หุ่นยนต์ ถึงเป็นหุ่นก็ต้องมีเวลาพักผ่อนด้วยกันทั้งนั้น Rauschenberg เล่าว่าเขาเป็น Coach มานาน และสิ่งที่ทำให้เขารู้สึกขัดใจมากที่สุดในชีวิตการเป็น Coach นั่นก็คือ ลูกศิษย์ของเขาซ้อมวิ่งใน Rest Day ซึ่งที่จริงแล้วมันควรเป็นวันพักผ่อนของนักวิ่งเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การแข่งขัน เพราะการพักผ่อนนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากถ้าหากคุณไม่พักผ่อนร่างกายของคุณจะไม่มีเวลาที่จะซ่อมแซมร่างกาย รวมไปถึงการพัฒนากล้ามเนื้อให้แข็งแกร่งด้วย จากข้างต้นที่แอดเล่าว่า Rauschenberg เคยวิ่งมาราธอนทุกอาทิตย์ในปี 2006 ณ ตอนนั้นเป็นช่วงเวลาที่เขาสามารถทำเวลาได้แย่ที่สุดในชีวิตการวิ่งของเขาเลยล่ะครับ
.
5.สู้ไม่ท้อแม้เหน็ดเหนื่อย
เพื่อน ๆ หลายคนเริ่มที่จะท้อถอดใจจากการวิ่งเพราะว่ารู้สึกอึดอัดเหนื่อยล้ากับความยากลำบากจนที่สุดก็หยุดวิ่งไป Rauschenberg แนะนำว่าตัวนักวิ่งเองต้องรู้จักแยกแยะอาการบาดเจ็บกับอาการเหนื่อยล้าให้ออกซะก่อน เมื่อแยกแยะได้แล้ว เราต้องทำการเรียนรู้ที่จะอดทนต่อความเหนื่อย ความหิว ความกระหายน้ำ นักวิ่งบางคนต้องพก Energy Gel ติดตัวไปด้วยตอนวิ่งทั้ง ๆ ที่พวกเขาวิ่งแค่ 30 นาที โดยความจริงแล้วพวกเขาแทบไม่ต้องใช้มันด้วยซ้ำ เพราะร่างกายคนเราสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยอาหารเหล่านั้นเลย แต่กลับเป็นตัวเราเองต่างหากที่กลัวกับความหิว ความเหนื่อยจนเกินไป สิ่งที่เราควรทำคือ สนุกไปกับมันครับ สนุกกับการวิ่ง อย่ามัวแต่ที่จะกลัวความเหนื่อย
.
#วิ่งไหนดี
#WingNaiDee

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น