วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2562

เกิดมาวิ่ง ตอน ๒ พระญี่ปุ่น วิ่งซุปเปอร์อัลตร้า กับการบรรลุธรรม

ไม่เพียงแต่การวิ่งจะทำให้มนุษย์อยู่รอดมาได้ การวิ่งยังถูกใช้เป็นหนทางบำเพ็ญตนเพื่อการบรรลุถึงความจริงและอิสระภาพ
“If You Commit to Nothing, You'll Be Distracted By Everything”
_หากคุณไม่มุ่งมั่นทำอะไรเลย ทุกสิ่งรอบกายจะทำให้คุณไขว้เขว_
พระนิกายเทนไดในประเทศญี่ปุ่นใช้การวิ่งเพื่อเป็นการบำเพ็ญเพียรฝึกเจริญสติเพื่อการบรรลุธรรม 

และการฝึกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั้น เรียกว่า “ไคโฮเกียว” (วิ่งวนรอบภูเขา) เป็นการตั้งปณิธานที่จะวิ่งเจ็ดปีเพื่อที่จะไปให้ถึงเป้าหมายแห่งการหลุดพ้นโดยผ่านการวิ่งในระยะซุปเปอร์อัลตร้า
๑๐๐๐วัน เกือบ ๓๗๐๐๐ กิโลเมตร พระที่ฝึกไคโฮเกียวนั้น จะวิ่งเทรลในบริเวณภูเขาใกล้วัด และสิ่งที่จะสามารถนำติดตัวไปนั้น มีเพียงเทียนไข หนังสือบทสวด และถุงใส่อาหารมังสวิรัติ 
ลองมาดู “ตาราง” การฝึกในแต่ละปีของพระที่จะทำ ไคโฮเกียว
ปี ๑ _ ๔๐กม ต่อวัน เป็นเวลา ๑๐๐ วัน
ปี ๒ _ ๔๐กม ต่อวัน เป็นเวลา ๑๐๐ วัน
ปี ๓ _ ๔๐กม ต่อวัน เป็นเวลา ๑๐๐ วัน
ปี ๓ _ ๔๐กม ต่อวัน เป็นเวลา ๒๐๐ วัน
ปี ๕ _ ๔๐กม ต่อวัน เป็นเวลา ๒๐๐ วัน และอีก ๙วัน บำเพ็ญเพียรสันโดษโดยไม่กินอาหาร น้ำ และไม่นอน
ปี ๖ _ ๖๐กม ต่อวัน เป็นเวลา ๒๐๐ วัน
ปี ๗ _ ๘๔กม ต่อวัน เป็นเวลา ๑๐๐ วัน และอีก ๔๐กม ต่อวัน เป็นเวลา ๑๐๐ วัน
นับตั้งแต่มีการบันทึกมาตั้งแต่ คศ. ๑๘๘๕ มีพระที่ทำไคโฮเกียวจนครบเพียง ๔๖ รูปเท่านั้น ใครที่ทำสำเร็จจะได้รับการนับถือราวเป็นดั่งพุทธที่ยังมีชีวิตอยู่
“It is through this endurance, we undoubtedly achieve greater self-awareness, happiness, and peace.”
_ด้วยการฝึกความอดทนนี้เอง ที่เราจะได้รับรู้ถึงตัวตนอย่างลึกซึ้ง ความสุข และสันติ_
นักวิ่งโดยมาก “ฝึก” เพื่อที่จะวิ่ง มาราธอน แต่ไคโฮเกียวมีหลักการที่ตรงกันข้าม
สำหรับไคโฮเกียว มาราธอนนั้นเองคือการฝึก เพื่อให้พระที่ปฏิบัติได้พัฒนาตัวเองจนถึงขั้นบรรลุธรรม 
“The constant movement for 1,000 days gives you lots of time to think about this, to reflect on your life. It is a type of meditation through movement. It is a time to meditate on life, on how you should live.”
"การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างต่อเนื่องกว่าหนึ่งพันวันนั้น ให้เวลาเรามากมายเพื่อจะได้คิดและระลึกถึงทุกอย่างในชีวิต เป็นการทำสมาธิอย่างหนึ่งผ่านการเคลื่อนไหว เป็นเวลาที่สำหรับการใคร่ครวญเกี่ยวกับชีวิต และแนวทางของการใช้ชีวิต"
Genshin Fujinami พระเกนชิน ฟูจินามิ ผู้ซึ่งสำเร็จการบำเพ็ญไคโฮเกียว ให้สัมภาษณ์กับนักวิ่ง/นักเขียนจากอังกฤษผู้เขียนหนังสือ วิถีนักวิ่ง ซึ่งได้ไปฝึกวิ่งกับทีมและชมรมวิ่งที่ญี่ปุ่น
การฝึกที่ต้องใช้ความมุ่งมั่นทั้งร่างกายและจิตใจอย่างหนักหน่วงต่อเนื่องเป็นเวลานานนี้ เป็นหนทางที่จะทำให้ร่างกาย และ “อัตตา” ของผู้ฝึกไคโฮเกียว ได้รับรู้ถึงประสบการณ์ที่สำคัญและเข้าถึงความว่างเปล่าของร่างกาย ตัวตน และธรรมชาติ 
ในบทความหน้า ทีละก้าว:เกิดมาวิ่ง จะพาคุณไปยังประเทศเม็กซิโก เพื่อพบกับชนเผ่าตาราอูมารา ชนเผ่านักวิ่ง
เจ้าของดีไซน์รองเท้า ลูน่า ที่นักวิ่งอัลตร้าชอบใช้
ภาพ เครดิต 
_Ryojun Shionuma
_ M YORKE

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น