วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

Lactate Threshold (LT1, LT2) ที่สุดความงง แห่งวงการวิ่ง (Update 2020)

 


นักวิ่ง สมัครเล่น

18 กุมภาพันธ์ เวลา 14:51 น.  · 

💥💥 Lactate Threshold (LT1, LT2) ที่สุดความงง แห่งวงการวิ่ง (Update 2020) 💥💥

..

วันนี้อยากชวนคุยถึงหนึ่งในสิ่งที่อธิบายยากและเข้าใจกันไปคนละทางมากที่สุดของวงการคาร์ดิโอ แต่ถ้ารู้แล้วโคตรมีประโยชน์ คือเรื่องนี้อย่าว่าแต่คนทั่วไปเลย ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญก็ยังคงถกเถียงกันอยู่ยังนิยามไปคนละทางอยู่เลย 55+ 

..

#เรื่องนั้นคือ จุด Threshold ทั้งหลายตอนทำคาร์ดิโอนั่นเองจ้า (ปาดเหงื่อสามหยดก่อนเขียนต่อ 💦) ขอออกตัวก่อนเลยว่าผมไม่ใช่ expert ด้านนี้นะ ถ้ามีอะไรตกหล่นตรงไหน จะดีใจมากถ้ามีผู้เชี่ยวชาญมาท้วงหรือแชร์ไอเดียกัน เพราะผมจะได้เรียนรู้ไปด้วย ไม่ต้องเกรงใจเลย อะ..พร้อมแล้วมาเริ่มกัน

..

..

ถ้าบังเอิญคุณยืมไฟฉายย่อส่วนของโดเรม่อนมา ย่อขนาดตัวคุณให้เล็กที่สุด แล้วออกวิ่งจากตำแหน่ง 0 เซนติเมตรบนแนวของไม้บรรทัดยาว 1 เมตร

เมื่อวิ่งแบบเพิ่มความเร็วไปเรื่อยๆ มันจะมีบางจุดบนไม้บรรทัดที่พิเศษกว่าปกติครับ #มันเป็นจุดที่เมื่อเราวิ่งผ่าน ภายในร่างกายของเราจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างขึ้น.. จุดเหล่านั้น เราเรียกว่า #marker 🎯🎯

..

..

เคยได้ยินคำว่า Lactate Threshold (LT), Ventilatory Threshold (VT), Anaerobic Threshold (AT) หรือแม้กระทั่ง #VO2Max ผ่านหูกันมาบ้างใช่มั้ยครับ?.. จริงๆแล้วพวกมันก็คือ marker บนไม้บรรทัดอันนี้ทั้งหมดเลยล่ะ

..

..

และสำหรับโพสนี้ เราจะมาคุยกันถึง marker ตัวที่ดังที่สุด ที่เรียกว่า Lactate Threshold (LT) กันก่อนครับ เรามาดูว่าที่จุดนี้มันเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นบ้าง ทำไมเราถึงได้ยินอยู่บ่อยๆ #มันสำคัญกับการซ้อมของเรายังไง?

แต่ก่อนที่จะพูดถึง LT คุณจะต้องรู้จักกับ กรดแลคติค(Lactic Acid) และ แลคเตท(Lactate) กันก่อน..

..

..

###############################

💥💥💥 Lactic Acid และ Lactate คืออะไร 💥💥💥

ร่างกายของเราใช้พลังงานหลักจากวัตถุดิบสองอย่างด้วยกัน 

คือ #ไขมัน และ #ไกลโคเจน (น้ำตาลที่ร่างกายเก็บไว้)

ไขมันใช้มากตอนออกแรงเบาๆต่อเนื่องนานๆ เพราะขั้นตอนการนำไขมันมาแปลงเป็นพลังงานมันช้า แต่แปลงแล้วได้ก้อนพลังงานเยอะไกลโคเจนใช้มากตอนออกแรงหนักๆสั้นๆ เพราะนำมาแปลงเป็นพลังงานได้เร็ว แต่ได้ก้อนพลังงานไม่กี่อัน

..

ทีนี้กรดแลคติค (Lactic Acid) ล่ะคืออะไร?

มันคือสิ่งที่หลงเหลือจากขั้นตอนการแปลงไกลโคเจนเป็นพลังงานครับ เป็นของเหลือที่เธอไม่แคร์ 😭😭

..

เจ้ากรดแลคติคที่เกิดขึ้น เนื่องจากมันมีสภาพเป็นกรด คุณสมบัติของกรดคือป๋าครับ มันชอบแจกของ มันจะพยายามแจกไฮโดรเจนของตัวเองออกไปให้ชาวบ้าน 55+ #เมื่อมันเปย์สำเร็จ ตัวมันเองจะเปลี่ยนสภาพเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า #แลคเตท (Lactate) ซึ่งหลายๆบทความจะเรียกปนกัน ทั้งแลคเตทและกรดแลคติค ให้เข้าใจว่ามันหมายถึงสิ่งเดียวกันนั่นแหละ (ความเป็นป๋ายังอยู่ในสายเลือด แม้จะไม่มีตังค์แจกแล้ว อัยย้ะ)

..

ในอดีตเมื่อสัก 30 ปีที่แล้ว เราเคยเชื่อกันว่าแลคเตทที่ได้จากกระบวนการข้างต้น #เป็นผู้ร้ายเลยล่ะครับ 😈😈 เราเคยเชื่อว่าเมื่อแลคเตทเข้าเส้นเลือดไปจะเป็นต้นเหตุที่ #ทำให้กล้ามเนื้อเกิดความล้าจนวิ่งต่อไม่ไหว.. หรือเมื่อมันค้างในกล้ามเนื้อ 1-2 วันจะทำให้ปวดจนทะเลาะกับบันได หรือที่เรียกว่าดอม (DOMS - ที่แม้จะเป็นป๋าเหมือนกัน) 

แต่ในปัจจุบันพิสูจน์แล้วนะครับว่าไม่เป็นความจริง [ref#1] ในช่วงหลังมานี้ งานวิจัยใหม่ๆบ่งชี้ว่าสิ่งที่ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งล้า น่าจะมีสาเหตุจาก metabolites อื่นๆ เช่น H+ , inorganic phosphate เสียมากกว่า [ref#2]

(เรื่องนี้แตกประเด็นได้อีกยาวและแม้ทุกวันนี้นักวิจัยก็ยังเถียงกันอยู่ เดี๋ยวไว้แยกคุยกันรอบหน้านะ)

..

..

###############################

❤❤❤ จริงๆแล้ว Lactate เป็นสิ่งที่ร่างกายชอบ ❤❤❤

ความจริงแล้วร่างกายออกจะชอบ แลคเตท ด้วยซ้ำไปครับ ร่างกายชอบที่จะเอามันกลับไปใช้เป็นแหล่งพลังงานหลักในการสร้างกลูโคสเลยล่ะ

ดังนั้นคำถามที่ถูกต้องควรเป็นฝึกอย่างไรถึงจะเพิ่มความสามารถในการนำ Lactate กลับไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่เราจะป้องกันยังไงให้ Lactate เกิดน้อยที่สุดนะเอ้อ!

..

..

💥💥💥 การนำ Lactate กลับไปใช้ใหม่ 💥💥💥

Lactate มันรีไซเคิลได้ครับ เราใช้ไกลโคเจน -> แลคเตทถูกสร้าง -> ร่างกายเอาแลคเตทหมุนไปสร้างกลูโคสใหม่ เหมือนขวดน้ำพลาสติกเลยครับ เราซื้อน้ำมากิน เอาขวดไปคืน เค้าเอาขวดไปรีไซเคิลมาเป็นขวดใหม่ได้ ถ้าคุณกินน้ำแต่พอดี คุณก็จะมีขวดใช้ไปเรื่อยๆ ไม่มีวันหมด

แต่ถ้าจู่ๆคุณซัดตราชฎาไปสองถุง จนหิวน้ำโคตร กระดกไปทีเดียว 100 ขวดติด ชิบเป๋งแล้ว โรงงานผลิตขวดใหม่ไม่ทัน 55+

#ปัญหามันเลยอยู่ตรงนี้ครับ..

ถ้าคุณเจาะเลือดตัวเองเพื่อดูค่าแลคเตทก่อนหน้าจุดนี้ มันแทบจะเป็นค่าคงที่มาตลอดไม่ว่าคุณจะออกกำลังกายนานขนาดไหน คือจะวิ่งมา 5 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ค่าแลคเตทในเลือดก็จะเท่าๆเดิม เพราะร่างกายสร้างและนำกลับไปใช้ได้ในเรทที่พอๆกัน แต่หลังจากที่เลยจุดนี้ไป เมื่อคุณเจาะเลือดดูใหม่เป็นระยะๆ ค่าแลคเตทในเลือดของคุณจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เรื่อยๆ เรื่อยๆ..

จนในที่สุดจะสูงถึงค่าหนึ่งที่ร่างกายรับไม่ไหว มันก็จะบังคับให้คุณลดความหนักลงโดยอัตโนมัติโดยการหอบแดร่กและก้าวขาไม่ออก จนทำให้ต้องหยุดวิ่งเพื่อพัก recovery ในที่สุด (แต่ไม่ได้ก้าวขาไม่ออกเพราะแลคเตทนะ แลคเตทเป็น indicator เฉยๆ)

..

..

⭕ จุดแรก ที่ร่างกายเริ่มนำแลคเตทกลับไปใช้ไม่ทันที่สร้างมา เราเรียกว่า Lactate Threshold 1

⭕ จุดที่สอง ที่ร่างกายของคุณถึงจุดที่ไม่ไหวและบังคับให้ลดความหนักลงโดยอัตโนมัติอย่างรวดเร็ว (ในระดับไม่กี่นาที) เราเรียกว่า Lactate Threshold 2 นั่นเอง

ป้าดดดด.. กว่าจะถึงที่มาของ LT1 และ LT2 😂😂

..

..

###############################

💥💥💥 เรารู้ LT1 และ LT2 แล้วได้อะไร? 💥💥💥

ทีนี้เมื่อเรารู้แล้วว่าที่จุด marker LT1 และ LT2 มีอะไรในร่างกายเกิดขึ้น เราสามารถนำเอาความรู้นั้นมาประยุกต์กับการซ้อมได้ยังไงบ้าง?

⭕ ง่ายๆเลยครับ ถ้าจุด LT1 เป็นจุดที่เราเริ่มคงความหนักไม่ไหว คุณก็ออกกำลังกายที่ความหนักแค่เกือบแตะจุดนี้ก็พอสิ คุณก็จะสามารถทำไปได้เรื่อยๆตราบนานเท่านาน (จุดนี้มีชื่อด้วยนะ ภาษาอังกฤษเรียกว่า maximal metabolic steady state หรือ MMSS เป็นค่าที่ใช้กันเยอะในปัจจุบัน ถ้าสนใจลองหาอ่านเพิ่มเติมดูนะครับ)

⭕ ถ้าเราสามารถเทรนให้เลื่อนจุด LT ไปทางขวาของไม้บรรทัดได้ เราก็จะสามารถวิ่งได้เร็วขึ้นโดย performance ไม่ตก เพซเราก็จะดีขึ้น

..

..

อ่านดูเหมือนจะสุดยอดใช่มั้ยล่ะ วิ่งมาราธอนติดกันได้ 3-4 ชั่วโมงแน่ๆถ้ารู้ marker LT ของตัวเอง.. แต่ความเป็นจริงมันไม่ง่ายอย่างนั้นน่ะสิ

..

..

นั่นเป็นเพราะว่า การหาจุด LT มันยากมาก แทบจะไม่มีนักกีฬาคนไหนได้ทำการทดสอบ LT เลย เพราะการหา LT ต้องเจาะเลือดตรวจครับ!

นั่นหมายความว่าเราต้องวิ่งไปด้วยและถูกเจาะเลือดไปด้วยเป็นระยะๆ

เอ่อ.. ใครมันจะไปทำฟระ! 55+

..

..

นั่นแหละครับ เพราะมันหายาก ปัจจุบันเราจึงใช้ค่าอื่นๆที่มีแนวโน้มของกราฟคล้ายๆกันมาแทน อย่างเช่น VT หรือ Ventilatory Threshold ที่เค้ามีให้เทส วิ่งบนสายพานแบบมีท่อครอบปากอย่างกะโงกุนไปดาวนาแม็ก นั่นก็เป็นวิธีนึง แล้ว VT มันคืออะไร วัดยังไง ใช้ยังไง จะช่วยทำให้เราวิ่งได้ดีขึ้นยังไงบ้าง เอาไว้ต่อโพสหน้าละกันนะ วันนี้พอก่อน เกินโควตา 8 บรรทัดมาไกลแล้ว 55+

..

..

---------------------------------------------------

Orig. Post Credit | 📑 Playground / Runner's World

Orig. 📸:. Oxford brookes

---------------------------------------------------

#งานวิจัยอ่านเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่สนใจ

########### อ้างอิง ###########

Ref#1 https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/7473229/

Ref#2 https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11821531/

-----------------------------------------------

#นักวิ่งสมัครเล่น #BeginnerRunning's

ที่มา: https://www.facebook.com/runnerbkk/posts/896324770910792

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น