WARM UP กับ COOL DOWN เรื่องสำคัญที่หลายคนยังเข้าใจผิด 🤔
.
Static Stretching และ Dynamic Stretching คือหลักการยืดกล้ามเนื้อ (Stretching) ที่ถูกแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบที่แตกต่างกันครับ โดยทั้งสองจะถูกนำไปใช้ในช่วง Warm-up และ Cool-down โดยอย่างที่บอกว่าทั้งสองจะมีจุดประสงค์ที่ต่างกันออกไปครับ เดี๋ยวเรามาดูกันว่าทั้งสองต่างกันอย่างไรบ้าง 👉
.
Static Stretching ✨
คือการยืดในแบบที่เราคุ้นชินกันในปัจจุบันนั่นเองครับ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือการยืดแขนยืดขาแล้วค้างไว้สัก 20-30 วินาที ที่เราชอบทำกันในช่วง Warm-up นั่นแหละครับ แต่เพื่อน ๆ รู้ไหมครับว่าการที่เราใช้วิธียืดแบบ Static Stretching ในช่วง Warm-up นั้นคือการใช้ที่ผิดนะครับ ทำไมถึงผิด? เพราะว่าคุณสมบัติของการยืดแบบ Static Stretching จริง ๆ แล้วหน้าที่ของมันคือการผ่อนคลายกล้ามเนื้อให้คลายตัวออกนั่นเองครับ มันเหมาะที่จะหยิบมาใช้ในช่วง Cool-down มากกว่าครับ ช่วง Warm-up ไม่ควรใช้ Static Stretching นะครับเพราะว่าจากผลการศึกษานั้นชี้ว่าการใช้ Static Stretching ในช่วงวอร์มนั้นจะทำให้ส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพในการวิ่งของเรานั่นเองครับ
🏃♀️ Cool-down = การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดการตึงหลังจากใช้งานมาอย่างหนัก และทำให้กล้ามเนื้อกลับมามีความยืดหยุ่นอีกครั้ง ทำเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ
.
Dynamic Stretching ✨
คือการยืดที่เราจะไม่อยู่กับที่มีการเคลื่อนที่ไปมา เช่น การดีดขาขึ้นมาแตะก้นของเราสลับไปมา หรือ การยกขาช่วงล่างเข่าขึ้นมากอด หรือจะเป็นการวิ่งเขย่งก้าวสลับขา เป็นต้นครับ โดยการ Stretching แบบ Dynamic Stretching จะช่วยในการวอร์มเตรียมความพร้อมให้กล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ ที่เราทำการยืด ซึ่งแน่นอนว่าการยืดแบบ Dynamic Stretching เหมาะกับการ Warm-up ก่อนวิ่งนั่นเองครับ ซึ่งคนเรามักจะใช้ผิดไปใช้แบบ Static Stretching นั่นเอง
🏃♀️Warm-up = ช่วงที่เราต้องวอร์มกล้ามเนื้อเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การออกกำลังกาย หรือ การวิ่ง
.
เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเพื่อน ๆ คนไหนที่ทำผิดสลับกันอยู่ก็ลองปรับเปลี่ยนดูนะครับ นอกจากจะช่วยพัฒนาการวิ่งของเราอย่างถูกวิธีแล้วยังป้องกันอาการบาดเจ็บได้อีกด้วยนะ 😊
#Wingnaidee #วิ่งไหนดี
https://www.facebook.com/235394239844417/posts/2281914278525726/?app=fbl
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น