
.
ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลง มาคุยเรื่องความร้อนของร่างกายในการวิ่ง ซึ่งความร้อนในร่างกายเรา ปกติอยู่ที่ ประมาณ 37C ซึ่ง เกิดจากการผลิตสารพลังงาน ATP ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน จึงเป็นปกติว่า เมื่อเราพยามยามใช้พลังงานมากขึ้น จากการวิ่ง หรือออกกำลังกายอื่นๆ ร่างกายก็จะมีความร้อนสูงขึ้น โดย มีการคำนวนว่า การใช้พลังงานของเรานั้น มีประสิทธิภาพแค่ 25% อีก 75% เสียไปกับการกลายเป็นความร้อน ซึ่งร่างกายเราทำงานได้ดีเมื่ออุณหภูมิภายในร่างกายอยู่ที่แถวๆ 37C นี่ละ

- การไหลเวียนเลือดเพิ่มขึ้น ช่วยนำความร้อน จากกล้ามเนื้อ ออกมาที่ผิวหนัง
- การระเหยของเหงื่อ การที่เรามีเหงื่อจริงๆ ช่วยระบายความร้อนจาก ร่างกายได้น้อยมาก สิ่งที่จะช่วยระบายความร้อนจริงๆคือกลไกที่เหงื่อ ระเหยออกไป แล้วดูดความร้อนจากในร่างกายเราออกไปด้วย
เพราะฉะนั้น สิ่งที่สำคัญต่อการวิ่ง ของเรามีสองประเด็น คือ
1. อุณหภูมิของอากาศ
2. ความชื้น
--------------------
บ้านเรา เจอ 37C กันบ่อยๆ แถมอากาศชื้นมาก อีกต่างหาก คิดว่าเป็นหนึ่งในปัญหาที่ทำให้นักวิ่งบ้านเรา ทั้งในระดับวิ่งเล่น ยัน นักแข่ง ฝึกยังไงก็ มีกำแพงอุณหภูมิตรงนี้ ที่ทำให้รู้สึกทนต่อความหนักในการฝึกได้น้อยลง และ ย่อมส่งผลให้ วิ่งได้ช้าลง
ส่วนตัวแอดเคยไปพักที่ เชียงคานแล้ววิ่งตอนเช้าๆ อุณหภูมิ แบบก่อนวิ่ง หนาวน่าจะ10C ต้นๆ วันนั้นรู้เลยว่าวิ่งแล้ว “ปลิว” ง่ายไปหมด เพซดีมาก ( แต่วิ่งเสร็จ พอหยุดเท่านั้นละ หนาวมากกก)

ที่มาข้อมูล : เพจ Runningningclub
.
👉 อย่าลืมติดตาม กดติดดาวตั้งค่าเห็นโพสต์ก่อน นะคะ เพื่อไม่พลาดข้อมูลข่าวสาร #เผ่านักวิ่ง #longyoungrun #4NatureRun
กลุ่มพูดคุย "YoungRun"
https://www.facebook.com/groups/392343794827887/
ช่องทางสั่งซื้อสินค้า
https://www.digivshop.com/