‘10 กม.+ และ 1,500 แคลอรี+’ คือ ตัวเลข ที่มีการคำนวณถึงระยะในการวิ่ง และพลังงาน ที่อาจถูกใช้สูงสุดในแต่ละเกมของนักเตะในพรีเมียร์ลีก ซึ่งถือว่า เป็นตัวเลขที่สูงมาก สมกับที่เป็นลีกฟุตบอลอันเลื่องชื่อในเรื่องของความอึด
โดยทั้งหมด เป็นเพราะแท็คติก หรือรูปเกมที่เน้นความเร็ว และความดุเดือด ในการเข้าปะทะ ยิ่งช่วงปลายซีซั่น บางทีมแข่งถี่กว่าทีมอื่น เพราะมีศึกฟุตบอลถ้วย ทั้งใน ทั้งนอกลีก เช่น เอฟเอ คัพ, ยูโรป้า ลีก หรือ ยูฟ่า แชมป์เปี้ยนส์ ลีก
‘ขุมพลัง’ เลยเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งก็มาจากการกิน-ดื่ม ที่เน้นเรื่องแรง (ต้องตุนไว้ราว 2,000 แคลอรี+ ในวันแข่ง) และพวกเขาจะมีวิธีกิน-ดื่มแบบเป็นระบบ ตามข้อมูลของ ‘เท็ด มอนสัน’ โภชนากรด้านสมรรถภาพชื่อดังอีกคนในอังกฤษ
โดยอาจแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด แต่ภาพรวมถือว่า ไม่ต่างกัน สำหรับเรื่องโภชนาการของนักเตะพรีเมียร์ลีก
และนี่คือ สิ่ง ‘เท็ด มอนสัน’ ไล่เรียงให้ดู ถึง ‘สูตรการกิน-ดื่ม’ ใน ‘แมตช์เดย์’ ของพวกเขา ที่คุณก็เอาไปปรับใช้ได้
ก่อนแข่ง-เน้นที่คาร์โบไฮเดรต
-หลังจากตื่นนอน ต้องเติมน้ำเข้าสู่ร่างกาย 500 - 1,000 มล.
-มือเช้าเน้นคาร์โบไฮเดรต เพราะแหล่งพลังสำหรับการวอร์ม
*โดยอาจเป็นซีเรียลชามโต + นม + ขนมปัง + แยม + น้ำส้ม
*หรือกินคาร์โบไฮเดรตแท่ง สำหรับคนที่ไม่อยากหนักท้อง
-จิบเครื่องดื่มที่จะทำให้ร่างกายกักเก็บพลังงาน และน้ำได้ดี
-กินอาหารอีกรอบก่อนแข่ง 2-3 ชั่วโมง เน้นที่คาร์โบไฮเดรต
x
ช่วงวอร์ม-จิบเครื่องดื่ม/กินเจล
*นักเตะจะไปถึงก่อนแข่ง 90 นาที และมีเวลาวอร์ม 45 นาที
-ช่วงวอร์มอัพจะต้องจิบสปอร์ตดริ๊งค์ตลอด และจิบแบบพอดี
-ก่อนแข่งจะต้องกินเจลพลังงานที่ให้คาเฟอีน 75-150 กรัม
*บวกกับคาร์โบไฮเดรตราว 22 กรัม เพื่อที่จะกักตุนพลังงาน
พักครึ่ง-เติมคาร์โบไฮเดรตอีก
-เติมคาร์โบไฮเดรตที่หายด้วยเจลพลังงานหรือสปอร์ตดริ๊งค์
*เพื่อช่วยรักษาระดับน้ำ และเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย
-ห้าม : ดื่มสปอร์ตดริ๊งค์จนหมดขวด + กินคาร์โบไฮเดรตแท่ง
*เพราะใช้เวลาย่อย หรือย่อยนาน และอาจทำให้เป็นตะคริว
หลังแข่ง-ฟื้นฟูด้วยโปรตีนเชค
-เร่งกู้คืนคาร์โบไฮเดรตให้กับร่างกาย ด้วยโปรตีนเชค
*เพราะเมตาบอลิซึ่มจะทำงานดี หลังจบเกมภายใน 30 นาที
-โปรตีนเชค ต้องมีคาร์โบไฮเดรต / โปรตีน 20 - 23 กรัม
-เสริมด้วยโปรตีน และสารอาหารอื่นจากผัก, ผลไม้, ธัญพืช
*เพื่อเติมพลังให้กล้ามเนื้อ ด้วยแหล่งพลังงานคือ ไกลโคเจน
*รวมถึงเรื่องแร่ธาตุ และวิตามิน ในร่างกายที่สูญเสียไปด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก mirror.co.uk, scienceinsport.com, bbc.com, joe.co.uk, telegraph.co.uk
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น