วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

แมกนีเซียมสำคัญกับนักวิ่ง ?

แมกนีเซียม เป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะในโครงสร้างกระดูกมีธาตุแมกนีเซียม และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ต่างๆ กล้ามเนื้อ สมองและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่างๆ 

แมกนีเซียม เป็นโคแฟกเตอร์ (Co-factor) ที่สำคัญของเอ็นไซม์ในร่างกายไม่น้อยกว่า 300 ชนิด เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีนต่างๆ ในร่างกาย และเป็นเกลือแร่ที่มีโอกาสขาดได้ง่ายรองจากแคลเซียม หากร่างกายได้รับไม่เพียงพอจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากขึ้น แมกนีเซียมยังทำหน้าที่ในการส่งผ่านกระแสประสาท จึงช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวกับสมองได้ เช่น ซึมเศร้า ไมเกรน เครียด เป็นต้น 
ขณะออกกำลังกาย ร่างกายเราจะมี Catecholamine ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียด หลั่งออกมา ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว และเมื่อคลายตัวก็ต้องใช้แมกนีเซียมช่วยสลับกันไป อีกทั้งมีการสูญเสียแมกนีเซียมไปกับหยาดเหงื่อ ซึ่งหากขาดแมกนีเซียมมาก อาจพบอาการตะคริวได้
อาหารที่มีแมกนีเซียมสูง
บางทีก็ไม่จำเป็นต้องไปซื้ออาหารเสริมก็ได้หากเราทานอาหารที่มีแมกนีเซียมสูงเหล่านี้
– เมล็ดฟักทอง มีแมกนีเซียม 532 กรัม ต่อ 100 กรัม
– อัลมอนต์ มีแมกนีเซียม 300 กรัม ต่อ 100 กรัม
– ถั่วบราซิล (ถั่วอมาริลโล) มีแมกนีเซียม 225 กรัม ต่อ 100 กรัม
– งา มีแมกนีเซียม 200 กรัม ต่อ 100 กรัม
– ถั่วลิสง มีแมกนีเซียม 183 กรัม ต่อ 100 กรัม
– วอลนัท มีแมกนีเซียม 158 กรัม ต่อ 100 กรัม
– ข้าวสวย มีแมกนีเซียม 110 กรัม ต่อ 100 กรัม
– ขนมปังไม่ขัดสี มีแมกนีเซียม 85 กรัม ต่อ 100 กรัม
– ผักโขม มีแมกนีเซียม 80 กรัม ต่อ 100 กรัม
– บล็อคโคลี่ มีแมกนีเซียม 30 กรัม ต่อ 100 กรัม
– กล้วย มีแมกนีเซียม 29 กรัม ต่อ 100 กรัม
– มันฝรั่งอบ มีแมกนีเซียม 25 กรัม ต่อ 100 กรัม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น