นี่คือวลีที่ ฮารูกิ มูราคามิ
นักเขียนชาวญี่ปุ่น
ที่คนไทยรู้จักมากที่สุด
เตรียมไว้เพื่อสลักบนป้ายหลุมศพ
°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°
ใช่ค่ะ...เขาเป็นนักวิ่งมาราธอนด้วย
ไม่ใช่ไก่กา
เขาเคยทำสถิติดีที่สุดไว้ที่สามชั่วโมงต้นๆ เลยด้วยซ้ำ แม้จะเริ่มวิ่งในวัยกลางคนแล้ว
การเดินในมาราธอนมันน่าอับอายขนาดนั้นเลยเหรอ? อาจมีคนถามแบบนี้
จากประสบการณ์ 10 ปีในวงการวิ่งของเรา ขอตอบว่า...ไม่ค่ะ ไม่น่าอับอายแม้แต่น้อย
มีแผนฝึกมาราธอนบางแผน เช่นของ เจฟ กัลโลเวย์ กำหนดให้วิ่งสลับเดินด้วยซ้ำ
แต่ที่คนๆ นึงถึงขนาดอยากประกาศบนป้ายหลุมศพว่าเขาไม่เคยเดิน
นั่นเพราะเบื้องหลังคำว่า “ไม่เดิน”
°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°
มันคือการประกาศให้โลกรู้ว่า
“ฉันไม่เคยวิ่งมาราธอน
โดยไม่ซ้อม” ต่างหาก
°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°°
ทุกครั้งเมื่อเข้าฤดูกาลมาราธอน มูราคามิจะซ้อมด้วยไมเลจอย่างต่ำ 60 กิโลเมตรต่อสัปดาห์
และเพิ่มไปจนถึง 90 กิโลเมตรในช่วงพีค
...ใครทำได้แบบนี้ ก็สมควรที่จะภาคภูมิใจมิใช่หรือ
มาราธอนในเวลา 5 ชั่วโมง เป็นเป้าหมายที่กำลังดี ที่จะพิสูจน์ตัวเองว่า
“อย่างน้อย...ฉันก็ไม่เดิน”
เพราะข้อเท็จจริง 2 ข้อดังนี้
1) มันจะมีความเร็วอยู่ค่านึง ซึ่งถ้าเคลื่อนที่เร็วกว่าค่านี้ วิ่งจะเหนื่อยน้อยกว่าเดิน
แต่ถ้าเคลื่อนที่ช้ากว่าค่านี้ เดินจะเหนื่อยน้อยกว่าวิ่ง
โดยเฉลี่ยแล้วค่านั้นคือ 2.3 เมตรต่อวินาที หรือประมาณเพซ 7:14 นาที/กม.
2) สมองคนเราจะเลือกทำสิ่งที่ประหยัดพลังงานที่สุด ในเงื่อนไขที่กำหนดให้
ดังนั้น ถ้ากำหนดว่าต้องเคลื่อนที่เร็วกว่า 7:14 นาที/กม. แน่นอนว่าทุกคนต้อง “วิ่ง”
สรุปคือ ถ้าใครจบมาราธอนด้วย SUB 5
แน่ใจได้เลยว่า เขาไม่ได้เดินยาวๆ แน่นอน
...มาพิสูจน์ตัวเองกันมั้ย
#GarminBlueRun2019
#Sub1
#Sub5
#KeepRunning
#วิ่งลูกเดียวไม่มีเดิน
#ซับไฟว์ให้เด็กมันดู
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น