วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บทสัมภาษณ์ของหนึ่งในโค้ชที่เทรน Paula Radcliffe และ Kipchoge

 Be fit & Eat well

4 กุมภาพันธ์ 2019 · 


ไปเจอบทสัมภาษณ์ของหนึ่งในโค้ชที่เทรน Paula Radcliffe และ Kipchoge เมื่อตอนที่เค้าวิ่งมาราธอนเองครั้งแรก (ใช่ค่ะโค้ชวิ่งมาราธอนไม่จำเป็นที่จะต้องเคยวิ่งมาราธอนเอง)

.

Andrew Jones, Ph.D., เป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัย Exeter ที่ประเทศอังกฤษ เป็นผู้ชำนาญในวิชาสรีรศาสตร์ทางด้านการวิ่ง ที่ชั้นนำคนหนึ่งของโลก เป็นผู้ให้คำปรึกษาและทดสอบการวิ่งของ Paula Radcliffe ซึ่งถ้าใครไม่รู้จักก็ขอบอกเล่าง่ายๆว่า เป็นผู้ทำลายสถิติและยังครองสถิติโลกในการวิ่งมาราธอนของผู้หญิงอยู่ที่เวลา 2:15:25 ที่ลอนดอนในปี 2003

.

ซึ่ง Jones เราได้ทำการอธิบายศาสตร์ เรื่องหลังความสำเร็จนี้ไว้ในบทความ “The Physiology of the World Record Holder for the Women’s Marathon,” ในปี 2006 ซึ่งเป็นบทความที่ถ้าใครไปหาอ่านดู จะรู้ว่าลึกซึ้งและละเอียดมากในด้านวิทยาศาสตร์การวิ่ง ซึ่งตอนหลัง Nike ก็มาติดต่อ Jones เพื่อช่วยในการทดสอบและเลือกนักวิ่งสามคนสำหรับ Breaking2 project

.

ในด้านประวัติส่วนตัว Jones เป็นนักวิ่งมาก่อนและถนัดในการวิ่งระยะสั้น และในตอนหลังก็เริ่มมาสนใจในทางวิทยาศาสตร์การวิ่ง และครองแชมป์การวิ่งฮาล์ฟมาราธอนที่เวลา 1:06:55 ในปี 1987 และเข้าศึกษาต่อที่ American College of Sports Medicine, British Association of Sport andExercise Sciences, และ the European College of Sport Science รวมทั้งเป็นหนึ่งใน บรรณาธิการของวารสาร European Journal of Sport Science ในปัจจุบันนี้เค้าก็เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของโลกในด้านมาราธอน

.

เมื่อตอนต้นเดือนมกราคมปีนี้ Jones วิ่งมาราธอน Tiberias Sea of Galilee Marathon จบที่เวลา 3:34 ซึ่งไม่เลวนักสำหรับมาราธอนแรกของเขา เค้าได้ให้สัมภาษณ์กับ Runners World เกี่ยวกับวิธีการเทรนนักกีฬา และให้ความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาที่น่าสนใจทีเดียว เลยแปลมาให้อ่านค่ะ

.

Q: ทำไมถึงเริ่มหันมาวิ่งมาราธอนเอง

.

A: จริงๆแล้วก็สนใจเรื่องการวิ่งมาราธอนวันนานพอสมควร เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เคยทำ จริงๆแล้วเคยอยากวิ่งที่อัมสเตอร์ดัมในปี 2017 และปารีสในปี 2018 แต่ก็บาดเจ็บเสียก่อน ถึงน่าเสียดายเพราะตอนนั้นผอมและฟิตกว่าตอนนี้ คราวนี้จึงตั้งใจโฟกัสที่จะให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงที่สุดตลอดช่วงเวลาการเทรน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เทรนหนักเท่าสองปีที่แล้วก็ตาม เอาสุขภาพนำ

.

Q: เทรนอย่างไร

.

A: ความจริงวิ่งวันเว้นวัน วิ่งอยู่แบบนิ่งในวันอังคาร ประมาณ 8-11 กิโลเมตร และก็วิ่ง 9-14 กิโลเมตร ต่อด้วย speed intervals 20 x 1 นาที วันพฤหัส วันเสาร์ก็วิ่งประมาณ 5 กิโลเมตร แบบสบายๆ (easy run) เมื่อวันอาทิตย์ก็วิ่ง long run ประมาณ 20 กิโลเมตร ระยะทางเป็นหลัก การวิ่งเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างเดียวที่ทำ ไม่มีการปั่นจักรยานหรืออะไรใดใดเพราะไม่สนุก ในวันที่ไม่วิ่งก็ออกกำลังกายด้วยการยกเวท

.

Q: รู้สึกอย่างไรกับการแข่งขันคราวนี้ที่เพิ่งจบไป

.

A: รู้สึกว่ายากมาก! เพราะมีติดสอนก่อนวันแข่ง จึงไม่ได้โหลดและมีไกลโคเจนที่เพียงพอ ไม่ได้มีการโหลดน้ำอย่างเพียงพอด้วย เตรียมการแข่งว่าจะวิ่งเพซที่จบมาราธอน3:20 นั่นคือในกรณีที่ดีที่สุด และไม่น่าเกิน 3:40 สนามแข่งจริงๆปรากฏว่าวิ่งได้ที่เพซจบได้ 3:27 จนถึงกิโลที่ 32 ซึ่งก็เริ่มที่จะเหนื่อยมาก แต่ก็สามารถประคองไปได้จนจบ

.

Q: คราวต่อไปถ้าวิ่งมาราธอนอีกจะแก้ไขอย่างไร

.

A: การวิ่งมาราธอนเป็นการวิ่งที่แตกต่างไปจากการวิ่งระยะสั้น เพราะเมื่อเกิดอะไรผิดพลาด แล้วเรายังเหลืออีกหลายสิบกิโลข้างหน้า โภชนาการ การดื่มน้ำให้เพียงพอ อากาศ การจัดการกับความเร็วให้นิ่ง ความอดทน ความเข้มแข็งทางจิตใจสามารถมีผลได้เสมอ สนามที่แข่งนี้ไม่ได้มีเครื่องดื่มกีฬาให้ในช่วงครึ่งแรก ซึ่งก็ไม่ค่อยดีนัก เพราะสภาวะอากาศค่อนข้างร้อนด้วย คราวนี้เข้าใจว่าตัวเองไม่ได้วิ่งยาวมากเท่าที่ควร เนื่องจากภาระหน้าที่การงาน คราวหน้าก็จะพยายามวิ่งยาวให้มากขึ้น และฝึกดื่มน้ำขณะวิ่งยาวด้วย

.

Q: ในระยะหลังนี้มีการเถียงกันเรื่องการใช้พลังงานจากไขมันกับการใช้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต คุณมีความคิดเห็นว่าอย่างไร แตกต่างกันหรือไม่ถ้าเราวิ่งจบที่ 5 ชั่วโมงหรือ 2 ชั่วโมง การโหลดจะต้องแตกต่างกันหรือไม่

.

A: คาร์โบไฮเดรทสำคัญมากในการวิ่งทุกระยะ รวมถึงมาราธอนด้วย เนื่องจากว่าเราใช้ออกซิเจนน้อยกว่าในการสันดาปพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตเมื่อเปรียบเทียบจากพลังงานไขมัน สำหรับตัวเองจะไม่แข่งโดยอยู่ภายใต้การไดเอ็ดแบบไขมันสูง อย่างไรก็ดีการใช้ไขมันและคาร์โบไฮเดรตอย่างมีประสิทธิภาพนั้นสำคัญมากสำหรับนักวิ่งแบบอัลตร้ามาราธอน หรือนักกีฬาที่แข่งหลายวันติดกัน หรือนักวิ่งมาราธอนที่ช้า

.

นักวิ่งสามารถใช้ประโยชน์จากการเทรนวิ่งแบบไม่มีคาร์โบไฮเดรตหรือวิ่งแบบท้องว่างได้ เช่น วิ่งในตอนเช้าก่อนอาหารเช้า แต่ไม่แนะนำให้จำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตก่อนหรือระหว่างวิ่งมาราธอน

.

Q: นักวิ่งอย่าง Paula Radcliffe และ Eliud Kipchoge ต่างจากนักวิ่งอีก 99% ในโลกนี้อย่างไร

.

A: นักวิ่งสองคนนี้มีกรรมพันธุ์ที่ดีและได้ประโยชน์จากการที่มีระดับค่า VO2 max ที่สูงมาก มี running economy, lactate threshold, และขนาดของรูปร่างที่ได้เปรียบ วิ่งสองคนนี้รู้ว่าเมื่อไหร่และอย่างไรที่จะเทรนหนักและเมื่อไหร่ที่จะหยุดพัก หรือถอย

.

นักวิ่งสองคนนี้ยังมีความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าในตัวเอง (unshakeable belief) และไม่เคยจำกัดตัวเองเลยในเรื่องเป้าหมายที่จะไปให้ถึง ทั้งสองคนนี้มาถึงจุดที่เรียกว่าถ้าเค้าอดทนและใจเย็นกับตัวเอง เทรนอย่างสม่ำเสมอ และมีพัฒนาการในทุกปี และเริ่มที่จะมองเป้าในระยะยาวในการเทรนมากขึ้น

.

Q: นักวิ่งรุ่นใหม่สามารถวิ่งอย่างไรให้เร็ว

.

A: เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าในอนาคตจะมีนักวิ่งหน้าใหม่คนไหน และนักวิ่งรุ่นใหม่ก็จะมีไอดอลใหม่ขึ้นมาให้ตามไล่ล่า แต่ในขณะนี้นักวิ่งมาราธอนที่เร็วได้ จะเกี่ยวข้องอยู่กับเทคโนโลยีรุ่นใหม่ที่พัฒนา เช่น สนามวิ่งมาราธอนในเมืองใหญ่จะไม่ค่อยเหมาะกับการเทรนวิ่งแบบเร็ว ไม่เหมือนกับสนามวิ่งแบบค่อนข้างพื้นบ้าน อย่างเช่น ในเอธิโอเปีย

.

Q: เมื่อไหร่เราจึงจะมีนักวิ่งมาราธอนต่ำกว่า 2 ชั่วโมง

.

A: เร็วกว่าที่เราคิด ไม่น่าจะเกิน 5-10 ปี หรือเร็วกว่านั้นด้วยซ้ำ เราน่าจะมีนักวิ่งที่มีพรสวรรค์แบบ Kipchoge มาให้เรารู้จักกัน

.

โค้ชเอิน แปลมาจาก Runners World, Friday 25th January 2019

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น