สปริงข้อเท้า ผมเองก็ได้ยินคำนี้มานานแล้ว ไม่คิดว่าคนเราจะมีสปริงที่ข้อเท้ากันจริงๆ ที่ผ่านมาคิดว่าเป็นคำเปรียบเทียบกันเฉยๆ
โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นในขณะที่เราวิ่ง เมื่อเท้าสัมผัสพื้นก็จะไปทำการยืดเอ็นร้อยหวาย(ลูกศรสีเขียวรูปซ้ายห่างออกจากกัน เส้นเอ็นถูกยืดออก กล้ามเนื้อยาวคงที่) เมื่อเราเคลื่อนตัวผ่านไป แรงกดลดลงเอ็นร้อยหวายก็จะปล่อยพลังงานกลับคืนมา เอ็นก็หดสั้นอีกครั้ง(ลูกศรสีเขียวรูปขวา ชิดเข้าหากัน เส้นเอ็นหดสั้นเข้า กล้ามเนื้อก็ยังมีความยาวคงที่)
จริงๆ กลไกพวกนี้มันเกิดขึ้นตามธรรมชาติอยู่แล้วครับ เราไม่ต้องไปรู้มันก็ได้ คนส่วนมากที่มีทักษะดี เวลาวิ่งก็เกิดวงจรพวกนี้เอง แต่คนที่ทักษะตามธรรมชาติไม่ค่อยมีอาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้ จนเป็นที่มาของอาการเมื่อยน่องมากขณะวิ่ง สามารถทดลองทำตามไปได้ด้วยเลย โดย
ปกติแล้วเวลาเรายืนแล้วเขย่งปลายเท้า กล้ามเนื้อน่องจะหดตัว ทำให้ปลายเท้ากดลง(ลูกศรสีแดงรูปขวาชิดเข้าหากัน กล้ามเนื้อหดสั้นเข้า ส่วนเอ็นจะคงความยาวคงที่สลับกับแบบแรก) ดังนั้นช่วงนี้น่องเราจะมีขนาดเล็กลง และเมื่อเขย่งจนสุดก็จะรู้สึกรับรู้อาการเกร็งที่กล้ามเนื้อได้ พอเราผ่อนลดส้นเท้าลง กล้ามเนื้อก็จะยืด(ลูกศรสีแดงรูปซ้ายห่างออกจากกัน กล้ามเนื้อยาวออก เส้นเอ็นความยาวคงที่)
นักวิ่งที่ไม่มีทักษะจึงมักจะทำในแบบหลังคือพยายามกดปลายเท้าลงส่งแรงในจังหวะปลายเท้าจะพ้นพื้นทำให้เกร็งและเมื่อยน่องมาก
โดยวิธีแก้ไขการออกแรงผิดส่วนไปเน้นการออกแรงจากกล้ามเนื้อ และพัฒนาทักษะการใช้เส้นเอ็นได้แก่
การฝึกดริลล์ต่างๆ อย่างเช่น low knee ,butt kick (แทงเข่ายกส้นเท้าเป็นเลข 4)เราจะออกแรงจากกล้ามเนื้องอสะโพกยกเข่าขึ้น ไม่ใช่เกิดจากการเขย่งส้นเท้าขึ้นมา หรือในขณะวิ่งที่บางตำรามักจะแนะนำให้ยกเท้า/แทงเข่าขึ้นมาเร็วๆหลังจากวางเท้า(ตัดวงจรการพยายามเหยียดน่องออกไป) พยายามฝึกกระโดดเชือกโดยไม่เกร็งน่องให้ได้ก่อน หรืออาจจะทดลองวิ่งถอยหลังดูก็ได้ครับ(เป็นท่าที่คนส่วนมากจะใช้สปริงจากธรรมชาติได้)
บทความต่อๆไป ก็ค่อยมาดูกันว่า ถ้าอยากให้ข้อเท้าเรามีความคล่องตัว(mobility) และมีสปริงที่ส่งแรงได้ดี จะต้องฝึกอย่างไร
โค้ชเป้ง
*เนื้อหาส่วนหนึ่งของหนังสือ #runningdrills #เจาะลึกเรื่องวิ่ง ที่ผมเขียนและตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน หรือจะดูเป็นวีดีโอสอนได้ในคอร์สเรียน #runbetter ใครสนใจดูได้ในคอมเมนท์นะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น