วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2562

โรคซึมเศร้า เอผ่านมันมาแล้ว...ด้วยการวิ่ง

โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นกับผู้คนเป็นจำนวนมากในสังคมทุกวันนี้ ไม่ใช่ว่าโรคนี้เพิ่งจะมีหรือเพิ่งจะเกิดขึ้นนะครับ แต่เป็นเราเองต่างหากครับที่เพิ่งตระหนักถึงความน่ากลัวของมัน โดยวิธีการรักษาของแพทย์นั้นก็มีต่างวิธีออกไปแต่หนึ่งในวิธีที่ช่วยบรรเทา หรือช่วยรักษาโรคนี้ได้ก็คือการ"ออกกำลังกาย"ครับ
.

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักเบื้องต้นกับโรคซึมเศร้ากันสักหน่อยครับ
จากข้อมูลทางการแพทย์แล้วชี้ว่ามีหลายสาเหตุเหมือนกันที่ทำให้คนเราเป็นโรคซึมเศร้าได้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสารเคมีในสมองของมนุษย์ที่ผิดเพี้ยนไปจากปกติ โดยมี 3 สารหลัก ๆ ดังนี้ครับ ซีโรโทนิน (Serotonin) , โดปามีน (Dopamine) , (Norepinephrine) โดยทั้งสามสารนี้เกิดการแปรปรวนลดต่ำลงกว่าปกติมาก ๆ หรือบางคนที่เป็นโรคนี้จากพันธุกรรมก็มีครับ โดยอาการของคนที่เป็นโรคซึมเศร้านั้นมักจะชอบคิดว่าตัวเองไม่มีค่า ตัวเองเป็นตัวถ่วงให้กับคนรอบข้าง หรือมองโลกในแง่ลบ นอนไม่หลับหรือบางทีก็หลับมากเกินไป เบื่ออาหาร แล้วที่น่ากลัวเลยคือคิดถึงเรื่องการจากลาหรือตายครับ (ที่เรามักเห็นข่าวการฆ่าตัวตายอยู่บ่อย ๆ)
.
แล้วทำไมการออกกำลังกายถึงเป็นวิธีช่วยรักษาโรคซึมเศร้า ? 
อย่างที่เราทราบกันดีว่าการออกกำลังกายนั้นจะทำให้ร่างกายหลั่งสาร เอนดอร์ฟิน (Endorphins) ออกมาครับ ซึ่งสาร เอนดอร์ฟิน (Endorphins) เป็นสารแห่งความสุขช่วยปรับอารมณ์ของเราให้ดีขึ้น บรรเทาความทุกข์ และช่วยให้นอนหลับสบายอีกด้วยครับ โดยมีงานวิจัยชี้ว่านอกจากการกินยาแล้ว การออกกำลังกายก็เป็นอีกหนึ่งยาที่สามารถช่วยรักษาอาการโรคซึมเศร้าได้ครับ เพราะนอกจากการออกกำลังกายจะหลั่งสาร เอนดอร์ฟิน (Endorphins) ออกมาแล้ว การออกกำลังกายยังช่วยปรับสมดุลของสารเคมีในสมองของเราที่ผิดเพี้ยน ลดความเศร้าความกังวลของผู้ป่วยได้ รวมไปถึงช่วยให้มีสมาธิมากขึ้นกินอิ่มนอนหลับ มีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น โดยควรใช้เวลาออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อย 10 วันติดต่อกันครับ
.
ควรออกกำลังกายอย่างไรบ้าง
เราสามารถที่จะออกกำลังกายแบบไหนก็ได้ครับ เอาที่เราชอบแล้วรู้สึกสนุกกับมันถ้าหากมีกิจกรรมที่ชื่นชอบทำควบคู่ไปด้วยก็จะดีมากครับ จะว่ายน้ำ, ปั่นจักรยาน, โยคะ, เล่นเวท, ก็เป็นทางเลือกที่ดีครับ หรือจะเป็นการวิ่ง ที่คุณเอ สาวสวยผู้เคยเป็นโรคซึมเศร้าเลือกที่จะใช้การออกกำลังกายนี้ทำให้อาการดีขึ้นมากเลยทีเดียวครับ และที่สำคัญต้องไม่หักโหมนะ 
.
*การออกกำลังกายไม่สามารถช่วยรักษาอาการโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรงได้นะครับ
อย่างไรที่สุดแล้วถ้าหากตัวเราเองหรือคนรอบข้างเกิดเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีอาการที่ใกล้เคียง คนที่จะสามารถรับมือกับโรคนี้ได้ดีที่สุดก็คือคุณหมอนะครับ เราไม่ควรที่จะรับมือกับโรคนี้เพียงลำพังเพราะบางคำพูดที่เราคิดว่ามันคือการให้กำลังใจหรือเติมไฟให้ผู้ป่วยแล้วบางทีสำหรับผู้ป่วยมันอาจจะเป็นการทำร้ายเขาก็ได้ครับ แอดแนะนำว่าการไปพบแพทย์จะเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ
.
สำหรับเพื่อน ๆ ที่ยังหาแรงบันดาลใจในการออกมาวิ่ง หรือคิดว่าตัวเองกำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอยู่สามารถที่จะเข้าไปรับชมบทสัมภาษณ์จาก คุณเอ ปทุมมาศ ผู้ที่เคยป่วยเป็น โรคซึมเศร้า ได้ที่นี่เลยครับ
👉 EP.2 : สาวผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และการวิ่งก็เข้ามาเปลี่ยนชีวิตเธอ
https://youtu.be/3M8R_nsWh_o
.
✨ และสามารถรับชมแรงบันดาลใจดี ๆ “วิ่งเปลี่ยนชีวิต” ตอนอื่น ๆ ได้เลยจ้า
👉 EP.1 : จากเด็กอ้วน 100 กว่าโล สู้นักวิ่งฮาล์ฟมาราธอน เพซ 4
https://youtu.be/q4JECBrYGNU
👉 EP.2 : สาวผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และการวิ่งก็เข้ามาเปลี่ยนชีวิตเธอ
https://youtu.be/3M8R_nsWh_o
👉 EP.3 : ขโมยเวลาแล้วออกมาวิ่ง..เพื่อตัวเอง
https://youtu.be/T2SvTl8W0AQ
👉 EP.4 : ลืมคำว่าอ้วน แล้วก้าวออกมาวิ่ง
https://youtu.be/Bt-LsAKS6LY
👉 EP.5 : วิ่งด้วยใจพิชิตมะเร็ง
https://youtu.be/9tikxuPak_s
.

✨อย่าลืมกด #Like กด #Share กด #Subscribe ช่อง #YouTube ของ #วิ่งไหนดี เป็นกำลังใจให้แอดมินกันด้วยนะจ้าาา ❤️
.
#วิ่งไหนดี
#WingNaiDee

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น