วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

วิชาเคมีกับนักวิ่ง

 Sukirin Taweesukห้องเรียนวิ่งมาราธอน

19 กรกฎาคม 2019  · 

+++ วิชาเคมีกับนักวิ่ง +++


- หัวใจของการวิ่งต้องการ 3 สิ่ง คือ พลังงาน ออกซิเจน และ น้ำ

- ร่างกายใช้ กลูโคส และกักเก็บสะสมในรูปแบบของ ไกลโคเจน

- ร่างกายต้องการ ออกซิเจน ไปสลาย กลูโคส เพื่อนำมาใช้งาน

- Aerobic respiration การสลายสารอาหารแบบใช้ออกซิเจน มีประสิทธิภาพมากกว่า การสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน Anaerobic respiration

- การออกกำลังกายแบบ Aerobic เช่น วิ่ง จักรยาน ซึ่งต้องการการหายใจเข้าเยอะๆ

- การออกกำลังกายแบบ Anaerobic เช่น วิ่งระยะสั้น ยกน้ำหนัก ซึ่งต้องหายใจสั้นและเร็ว

- ออกซิเจนสลายกลูโคส จะได้ น้ำ และ คาร์บอนไดออกไซด์

- การวิ่ง จึงจำเป็นต้องผ่านการฝึก เพื่อให้ร่างกายเพิ่มปริมาณ ออกซิเจน เท่าที่ต้องการ และเพิ่มประสิทธิภาพของ เซลล์ ในการนำมาใช้

- จังหวะหมดแรง วิ่งต่อไม่ไหว เป็นสัญญาณว่า ร่างกายเผาผลาญ พลังงาน ไปเกือบหมด นำไปสู่ ความล้า เพราะร่างกายนำพา ออกซิเจน ได้น้อยลง การสลาย กลูโคส ลดประสิทธิภาพลงเกือบครึ่งหนึ่ง จึงเกิด กรดแลคติก ทำให้รู้สึกปวดตึงกล้ามเนื้อ

- กรดแลคติก เยอะขึ้น สมอง ก็จะสั่งการไปยัง กล้ามเนื้อขา ว่าไม่ไหวแล้ว ส่งสัญญาณเตือนว่า ให้วิ่งช้าลง และหายใจเอา ออกซิเจน เข้าไปเยอะๆ

- ขณะวิ่ง เรามีโอกาสใช้ ไกลโคเจน ที่สะสมไว้จนหมด หรือที่เรียกว่า ชนกำแพง มักจะเกิดที่ระยะประมาณ กิโลเมตรที่ 30

- อาการชนกำแพง เป็นช่วงที่ร่างกาย สลาย กรดไขมัน เพื่อหาพลังงานมาใช้เพิ่ม

- การฝึกวิ่งหนัก จึงทำให้นักกีฬา ผ่านจุดวิกฤตินี้ได้อย่างสบายๆ

- พอร่างกายเริ่มสลาย กรดไขมัน มาใช้เป็นพลังงาน จึงทำให้เกิด คีโตน Ketones ตัวเร่งกระบวนการลดค่า กรด-ด่าง ทำให้เกิดอาการขาดน้ำ ยิ่งเพิ่มความล้าเข้าไปอีก

- น้ำ ทำให้ร่างกายเย็นลง พลังงาน โมเลกุล ของน้ำ กลายเป็นแก้ส มาจากความร้อนของร่างกาย ขณะเหงื่อออก เหงื่อจะระเหยออกไป ทำให้ร่างกายเย็นลง

- เหงื่อ เป็นตัวกำจัด เกลือ ออกจากร่างกาย บางคนจึงขาดเกลือเมื่อวิ่งไปได้สักระยะหนึ่ง

- จึงมีเครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับนักกีฬา ซึ่งประกอบไปด้วย โซเดียมคลอไรด์ แคลเซียมคลอไรด์ โปแตสเซียมฟอสเฟต และ อิเลคโตรไลท์

- การดื่มน้ำ ถ้าเกินความจำเป็น คือ ดื่มมากกว่าการเสียเหงื่อ จะทำให้เกิดอาการ Hyponatremia หรือ ภาวะ โซเดียม ในเลือดต่ำ ซึ่งทำให้เกิดภาวะสมองบวมได้

- ยังไม่มีใครระบุได้ว่าควร ดื่มน้ำ มากน้อยแค่ไหน ดีที่สุด คือ ต้องรู้ว่าตัวเอง ควรดื่มแค่ไหน โดยดูสภาพอากาศว่า ร้อน เย็น แค่ไหน ร่างกายเสียเหงื่อมากน้อยแค่ไหน

- นักวิ่งระยะไกล เท่านั้นที่จะค้นพบ ความสุขเบิกบานใจ หลังเข้าเส้นชัย

- ความสุขเบิกบานใจ หลังวิ่ง มีความสัมพันธ์กับระบบ Endocannabinoid ซึ่งเป็นระบบที่ควบคุมการทำงาน และรักษาสมดุลของร่างกาย

- Endocannabinoid มีโครงสร้างเหมือนสารกระตุ้นใน กัญชา เรียกว่า THC นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบสารคล้ายกับ THC ค่อนข้างสูงใน เลือด ของนักวิ่งระยะไกล หลังวิ่งจบ เรียกว่า Anandamide สารนี้เป็นตัวกระตุ้นการสร้าง โมเลกุลโปรด ให้กับสมองเพิ่มขึ้น หรือที่เรียกว่า Dopamine ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข.....Sukirin Taweesuk

สุคีริน ทวีสุข

ทีมเวโลเช่

ที่มา : https://www.facebook.com/photo/?fbid=10219070244936575&set=gm.1218970394956483

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น