เพื่อนๆ หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องจริงที่เอามาแซวเล่นกันว่า วันที่คนเราวิ่งกันมากที่สุด ไม่ใช่วันหยุด เทศกาลพิเศษ หรือวันที่จะไปวิ่งกับคนพิเศษที่ไหนหรอก...แต่มันคือ “วันพรุ่งนี้” !!! เพราะเรามักจะเลื่อนวันวิ่งของเรา “วันนี้” ออกไป...และบอกกับตัวเองเสมอว่า “พรุ่งนี้” ล่ะ จะวิ่งแล้ววว แน่นอนๆ ๆ :)
.
….แต่พอพรุ่งนี้มาถึงก็เลื่อนออกไปอีก จนบางคนแซวกันว่าโรคที่นักวิ่งเป็นกันมากๆ ๆ ไม่ใช่อาการบาดเจ็บอะไรหรอก...แต่เป็น” โรคเลื่อน” เพราะไม่ว่าจะตั้งใจแค่ไหนว่าจะวิ่งให้ได้ในวันนี้ เราก็มักมีเหตุให้ “เลื่อน” ออกไปได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเหตุจำเป็น เหตุสุดวิสัย หรือแม้กระทั่งเหตุที่ว่าขี้เกียจเองก็ตาม 555 หลายคนจึงมักจะมีคำถามเสมอว่า...จะจัดการกับปัญหาการผัดวันประกันพรุ่งในการวิ่งได้อย่างไรนี้น้า??
.
ว่าแต่….ทำไมเราคนเราถึงชอบผัดวันประกันพรุ่ง??
วันก่อนแอดได้ไปอ่านบทความชื่อ 5 Research-Based Strategies for Overcoming Procrastination แปลเป็นไทยว่า “5 แนวทางจากการวิจัยในการเอาชนะการผัดวันประกันพรุ่ง” เขียนโดย Chris Bailey ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพิ่มผลิตภาพ เลยคิดว่าเรื่องนี้เป็นประโยชน์และน่าจะปรับเอามาใช้กับเพื่อนๆ นักวิ่งได้ เลยเอามาแชร์ให้เพื่อนๆ โดยปรับเนื้อหาให้เกี่ยวกับการวิ่งดู
.
ในบทความนั้น เค้าบอกว่าจริงๆ แล้ว...สมองเรานั้นถูกโปรแกรมให้ตอบสนองกับสิ่งใหม่ๆ สิ่งเพลิดเพลินต่างๆ และภัยคุกคามที่เข้ามา จึงเป็นเรื่องยากที่เราจะโฟกัสกับเรื่องการออกกำลังกายได้ตลอดเวลา และไม่น่าแปลกใจที่เราจะโดนขัดขวางด้วยการกินเลี้ยงกับเพื่อนๆ การติด social media การดูหนังกับแฟน หรือ การนอนต่ออีกนิด (จนตื่นไปวิ่งไม่ทัน)
.
Tim Pychyl ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาแห่ง Carleton University ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสาเหตุการผัดวันประกันพรุ่งของคนเรา ค้นพบว่าสิ่งที่เรามักจะเลื่อนออกไปก่อนมักจะมีลักษณะเข้าข่าย 7 อย่างต่อไปนี้ ได้แก่
1.เป็นเรื่องน่าเบื่อ
2.เป็นเรื่องน่ารำคาญกวนใจ
3.เป็นเรื่องยาก
4.เป็นเรื่องกำกวมไม่ชัดเจน
5.เป็นเรื่องไม่เป็นระเบียบ ไม่มีโครงสร้างให้จัดการชัดเจน
6.เป็นเรื่องไม่สนุก ไม่มีผลประโยชน์ตอบแทนอะไร
7.เป็นเรื่องที่ส่วนตัวรู้สึกว่าไม่มีความสำคัญ
.
เพื่อนๆ หลายคนที่เป็น “โรคเลื่อน” น่าจะรู้สึกว่าการออกไปวิ่งของเรามีลักษณะเข้าข่ายลักษณะเหล่านี้ไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะรู้สึกว่าทำไม่การวิ่งมันน่าเบื่อจัง ทำไมจะวิ่งให้ได้ตามเป้ามันเหนื่อยยากลำบากขนาดนี้ ไม่รู้ว่าจะวางแผนอย่างไรถึงจะวิ่งได้ตามเป้าหมาย ต้องพัฒนาส่วนไหน หรือแม้แต่รู้สึกว่าการวิ่งมันไม่ได้มีความหมายอะไรเป็นพิเศษ จะวิ่งไปทำไม เพื่อนๆ ไม่ต้องแปลกใจ เพราะเรามีสิทธิ์ที่จะ “วิ่งวันพรุ่งนี้” แน่นอน
.
เทคนิคแก้ “โรคเลื่อน” เหล่านี้ ถือว่าเป็นแนวทางให้เพื่อนๆ ลองเอาไปใช้ปรับเข้ากับตัวเอง ใครใช้เทคนิคไหนแล้วดีไม่ดีอย่างไร ยังไงมาบอกกันด้วยน้าาา
ว่าแล้ว...ลองคลิกดูรูปแต่ละเทคนิคกันเลย
.
#วิ่งไหนดี
#WingNaiDee
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น