แบบฉบับ " Ed Eyestone " อดีตนักวิ่งทีมชาติสหรัฐอเมริกา และ คอลัมนิสต์ประจำ Runner’s World
1. ยิ่งระยะทางแข่งขันไกลๆ ระยะทางที่จะซ้อมก็ต้องไกลตามไปด้วย
2. ต้องตัดสินใจว่าจะเข้าแข่งขันเพื่อสามารถจบการแข่งขันได้ หรือแข่งขันเอาถ้วยรางวัลหรือเพื่อให้ได้ระยะเวลาที่ดีขึ้นครับ จะเห็นจากตารางว่าระยะทางซ้อมระหว่างนักวิ่งทั่วไปกับนักวิ่งแข่งขันต่างกันมาก
3. ถ้าในระหว่างอาทิตย์ระยะทางที่วิ่งนั้นเป็นการวิ่งที่หนักกว่าการวิ่งออกกำลังกายปกติ (Aerobic Running) เช่น Workout หรือ การวิ่งด้วยความเร็วต่อเนื่อง (Tempo Run) การวิ่งพวกนี้ทำให้ร่างกายเราต้องใช้เวลาในการพักฟื้นนานขึ้น อาจจะลดระยะวิ่งรวมต่ออาทิตย์ลงได้
4. การวิ่งเกินกว่าระยะที่ตนเองจะเข้าแข่งขันจะยิ่งทำให้ประสิทธิภาพการวิ่งในระยะนั้นลดลง หลักการง่ายๆคือ นักวิ่งจะวิ่งได้ดีในระยะที่ตนเองฝึกฝนอยู่ คนที่วิ่งระยะทางยาวๆบ่อยๆ ก็จะถนัดการวิ่งระยะยาวๆมากกว่า คนที่ฝึกวิ่งด้วยความเร็วในระยะทางสั้นๆ
5. สำหรับใครที่ต้องการวิ่งระยะทางยาวๆ ค่อยๆเพิ่มระยะวิ่งของตนเองไปเรื่อยๆครับ อย่าก้าวกระโดด ให้ร่างกายได้ปรับตัวและป้องกันอาการบาดเจ็บ โดยทั่วไปอาจจะลองปรับโดยเพิ่มระยะวิ่งตนเองครั้งละ 1 กิโลเมตรครับ สมมติอาทิตย์หนึ่งวิ่ง 4 ครั้ง ก็จะได้ระยะทางทั้งอาทิตย์เพิ่ม 4 กิโลเมตร จากนั้นวิ่งด้วยระยะนี้ซัก 2 อาทิตย์ก่อนปรับอีกครั้งครับ
6. จำไว้เสมอว่า นักวิ่งสุขภาพดีชนะนักวิ่งบาดเจ็บเสมอครับ คงไม่สนุกแน่ถ้าจะฝืนวิ่งระยะทางไกลๆแต่ต้องบาดเจ็บก่อนเข้าแข่งขัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น