วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2561

เดินเพื่อสุขภาพกระดูก

โดย ศาสตราจารย์ ดร.นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ เมธีวิจัยอาวุโส สกว. และหัวหน้าหน่วยวิจัยด้านแคลเซียมและกระดูก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Logo การเดินเป็นการลงทุนต่ำแต่มีประโยชน์ต่อร่างกายคุ้มค่า ไม่ว่าจะเป็นเพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ดังนั้นการเดินบนพื้นราบอย่างน้อยวันละ 30-40 เป็นเวลา 4-5 วัน/สัปดาห์ จึงดีต่อผู้สูงอายุที่มีความพร้อมและไม่มีข้อห้ามเรื่องการเดิน

ทั้งนี้ยังมีข้อถกเถียงในเรื่องการเดินเพื่อสุขภาพกระดูก โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าจะป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุได้หรือไม่ในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาผลดีของการเดินต่อความแข็งแรงของกระดูกอย่างละเอียดรอบด้าน แต่ในต่างประเทศมีงานวิจัยหลายเรื่องที่ยืนยันว่า ผู้สูงอายุที่เดินประจำจะมีความหนาแน่นของกระดูกมากกว่าผู้ที่เดินน้อย

"เดินอย่างไรให้สุขภาพกระดูกดี"

การเดินก็เช่นเดียวกับการกำลังกาย นั่นคือ ต้องปฎิบัติอย่างสม่ำเสมอ ผู้สูงอายุจึงควรเดินเป็นประจำจนติดนิสัยชอบเดิน มีงานวิจัยยืนยันว่าการเดินที่จะส่งผลดีต่อความหนาแน่นของกระดูก ต้องทำต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน โดยเดินประมาณ 40 นาที/วัน 4 วัน/สัปดาห์ การเดินควรอยู่บนพื้นราบ ส่วนการเดินขึ้นลงบันไดนั้นร่างกายต้องมีความพร้อม เช่น ไม่มีโรคข้อเข่าเสื่อม หรือโรคหัวใจ

"ทำไหมการเดินจึงดีต่อกระดูก"

ที่จริงไม่แต่เฉพาะการเดินเท่านั้น แต่การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อในขณะออกกำลังกาย เช่น การปั่นจักรยาน การวิ่ง หรือว่ายใน จะสร้างแรงกระทำต่อเนื้อเยื่อและเซลล์ของกระดูก โดยเฉพาะเซลล์กระดูกชนิดออสติโอไซต์ ซึ่งเป็นตัวตรวจรับแรงที่มากระทำต่อกระดูก และส่งสัญญาณให้มีการสร้างกระดูกเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้เมื่อกล้ามเนื้อมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง เซลล์ของกล้ามเนื้อจากสารเคมีที่เรียกว่า ไมโอไคน์ เข้าไปในกระแสเลือด ซึ่งทำให้กระดูกสะสมแคลเซียมได้ดียิ่งขึ้น

ในอนาคตจึงอาจมีการใช้การเดินและการออกกำลังที่มีความแรงเหมาะสมมาช่วยส่งเสริมสุขภาพกระดูกของผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้อีกด้วย

ที่มา : http://www.posttoday.com/life/health/512853

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น