วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2563

การเปลี่ยนรองเท้า ที่ดร็อปแตกต่างกัน ส่งผลต่อการวิ่ง

 Longyoung Run

15 ตุลาคม เวลา 10:29 น.  · 

ที่มา : https://www.facebook.com/longyoungrun/photos/a.372894949875946/976230559542379/



การเปลี่ยนรองเท้า ที่ดร็อปแตกต่างกัน ส่งผลต่อการวิ่ง

.

แอด ถึงกับเจ็บตัวเลยทีเดียว วิ่งทุกวันด้วยรองเท้าวิ่งแบบ Cushioned (หนานุ่ม) คุณสมบัติในการดูดซับแรงกระแทก ดันอยากเปลี่ยนรองเท้าใหม่เป็นแบบ racing (บางกรอบ) ถึงกับปวดระบมเลยทีเดียว

ถึงตอนนี้รองเท้าวิ่งจะถูกพัฒนาออกแบบทั้งคุณภาพและความสวยงามไปไกลแล้ว และรองเท้าวิ่งแต่รุ่นแต่ละคู่ต่างก็มีจุดเด่นและข้อดีที่แตกต่างกันออกไปค่ะ เพราะฉะนั้นเราจะเข้าไปซื้อรองเท้าวิ่งมั่ว ๆ ไม่ได้นะ ควรเลือกให้เหมาะกับการวิ่งของตัวเองและการใช้งานด้วย ทางที่ดีควรหาข้อมูลหรือสอบถามพนักงานร้านรองเท้าวิ่งโดยเฉพาะก่อนซื้อ จะได้ไม่เสียเที่ยวค่ะ !

รองเท้าแต่ละรุ่นจะมีความสูงที่แตกต่างกันระหว่าง ด้านหน้า และส้นของรองเท้า ง่ายๆ ก็คือ มีความลาด ลาดมากก็ drop มาก

------------------------------------

👟👟 ภาพซ้ายมือ คือ zero drop = 0 เปรียบเสมือนการยืน เดิน ด้วยเท้าเปล่า บนพื้นราบ

จะมีลักษณะการกระจายตัวของแรงไปทั่วๆ ส่วนประกอบของเท้า น่อง และหน้าแข้ง กล้ามเนื้อได้ออกแรงเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับการเดินเท้าเปล่า

.

👟👟 ภาพขวามือ คือ มี drop สูงขึ้นมา (ซึ่งรองเท้าวิ่งในท้องตลาด จะมีดร็อปหลากหลายระดับ เช่น 5, 8, 10, 12, มิลลิเมตร) การสวมรองเท้าที่มีส้นเท้าสูงขึ้นเปรียบเสมือนการยืนบนทางลาดที่หันหน้าลงเนิน

รองเท้า drop สูง ประเภทนี้จะมีลักษณะการกระจายแรงที่แตกต่างออกไป กล่าวคือ น้ำหนักจะกดลงที่ส้นเท้ามากกว่า มีแนวโน้มของการวิ่งลงส้นเท้ามากกว่า การกระจายของน้ำหนักไปยัง forefoot (หน้าเท้า) ลดลง กล้ามเนื้อน่อง หน้าแข้ง มีแนวแรงที่เปลี่ยนไป (หน้าแข้งออกแรงน้อย น่องตึงตัว)

------------------------------------

👩 พี่หมอทราย เพจวิ่งดิหมอ แนะนำว่า

- การเปลี่ยนแปลงของดร็อป ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง การทำงานของกล้ามเนื้อ แรงตกกระทบต่ออวัยวะ เมื่อเท้าสัมผัสพื้น นั่นเอง

☝ พอนึกออกแล้วไหมคะ ว่าทำไม การเปลี่ยนคู่ของรองเท้า ที่อาจมีดร็อปที่แตกต่าง ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหว หรือออกแรงของกล้ามเนื้อที่เปลี่ยนไป ทำให้ระยะแรกๆ ของการเปลี่ยนผ่าน อาจเกิดอาการปวด ตึง ตามจุดที่ไม่เคยเป็นมาก่อนได้

☝ การลดโอกาสการเกิดอาการปวดจุดต่างๆ เมื่อเปลี่ยนรองเท้า สามารถทำได้โดย การซ้อมกับรองเท้าดรอปต่างๆกันไป สลับสับเปลี่ยน ร่วมกับมีการฝึกเวทกล้ามเนื้อในจุดที่คิดว่าอาจมีการอ่อนแอได้

------------------------------------

อ่านมาถึงตรงนี้ บางคนบอกว่า ทำไมไม่ทำ drop 0 ให้หมดเรื่องหมดราวไปเลยล่ะ เหมือนการเดินปกติดี

จากการศึกษา พบว่ารูปการลงน้ำหนักของนักวิ่ง (ทั้งหน้าใหม่ หน้าเก่า) 85% มีแนวโน้ม ลงน้ำหนักที่ส้นเท้าก่อน เรียกว่า Rear foot striker

อีก 15% จึงเป็นแบบลงฝ่าเท้า เรียกว่า Mid foot striker (แบบที่ elite runner ทั้งหลายเป็น)

จึงเป็นปัจจัยของการคิดค้นการทำให้รองเท้ามี Drop เท่านั้นเท่านี้ เพื่อปรับให้เหมาะสมกับรูปแบบการวิ่ง

ซึ่งแต่ละคนมีท่าวิ่งและรูปเท้าที่ต่างกันอีก ยุ่งแฮะ

-----------------------------------

ดังนั้น การจะเลือกรองเท้า Drop เท่าไหร่ ผู้วิ่งควรมีเบสิค ทราบว่าฟอร์มการลงเท้าของตนเองเป็นแบบใด

พี่หมอทรายยังเสริมอีกว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการ ไม่ใช่มีเพียงแต่รองเท้าวิ่งที่เปลี่ยนไปเท่านั้น

การฝึกฝนของผู้วิ่ง ควรใส่ใจกับการฝึกกล้ามเนื้อทุกส่วนอย่างสมดุลด้วยค่า

-----------------------------------

ที่มาข้อมูล : พี่หมอทราย วิ่งดิหมอ "Drop (ดร็อป)" นั้นสำคัญไฉน?

https://www.facebook.com/vingdimor/posts/485437265600646...

.

👉 . .

กลุ่มพูดคุย "YoungRun"

https://www.facebook.com/groups/392343794827887/

ช่องทางสั่งซื้อสินค้า

https://www.digivshop.com/

อย่าลืมติดตาม กดติดดาวตั้งค่าเห็นก่อนนะคะ เพื่อไม่พลาดข้อมูลข่าวสาร #เผ่านักวิ่ง #ซ้อมครบจบทุกสนาม #วิ่งรอบขอบสยาม #LongYoungRun

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น