วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560
จากกรณีน้องบุ๊คหัวใจวายในงาน Wacoal Motion Road 100 ช่วงลงเขา
เพจแนะนำ : รายชื่องานวิ่งมาราธอน 42.195K ในประเทศไทย
หลังจากได้มีการเสียชีวิตของนักวิ่งในการวิ่งเทรลที่ผ่านมา ทางกลุ่ม หมอบ้าพลัง (ทีมกีฬา ที่ประกอบด้วย แพทย์ และบุคคลากรทางการแพทย์ ที่เล่นกีฬา)
รู้สึกมีความเป็นห่วง ต่อนักวิ่ง และมีความกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ซ้ำ ทางทีม หมอบ้าพลัง ได้ระดมความคิด ความรู้จาก เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในทีม
และขออนุญาติ ให้คำแนะนำ เพื่อนๆ นักกีฬาดังนี้ครับ
สิ่งที่จะพอลดการเกิด อุบัติการณ์ แบบนี้ได้
เราควรแบ่ง Segment ของนักกีฬา ออกเพื่อ ให้นักกีฬาลงการแข่งขันที่เหมาะสมกับตัวเอง และลดความเสี่ยง ต่อการเกิดการเสียชีวิตฉับพลัน
เราสามารถแบ่ง Segment ของนักวิ่ง ออกเป็นคร่าวๆ ได้ ดังนี้
1 กลุ่มความเสี่ยงต่ำ ไม่มีโรคประจำตัว ฝึกซ้อมอย่างเหมาะสม และไม่มีอาการผิดปกติ ในการซ้อม สามารถลงแข่งได้ตามระยะที่ฝึกซ้อม
2 กลุ่มความเสี่ยงปานกลาง
มี โรคประจำตัว ที่เป็นความเสี่ยง ต่อโรคหัวใจ
เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมันโลหิตสูง
กลุ่มนี้ ควร ลงแข่ง ในงานแข่ง ที่การช่วยเหลือ สามารถเข้าถึงได้ ทุกจุดของการแข่ง และไม่เกิน 10 นาที สามารถ ปั้มหัวใจได้ต่อเนื่องขณะย้ายผู้ป่วย และสามารถลำเลียงผู้ป่วยส่งรพได้รวดเร็ว
ดังนั้นทางที่เป็น เขา Trail ลึกต่างๆ ควรพิจารณาหลีกเลี่ยง
และควรลงแข่ง ตามระยะที่ฝึกซ้อม
3 กลุ่มที่มีความเสี่ยงมาก มีโรคหัวใจเดิม
ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำการลงแข่ง และควรเป็นการแข่งขันที่ ควบคุมการออกแรงได้ตลอดการแข่งขัน ไม่มากเกินไป เช่น fun run วิ่ง 5 โล วิ่งในทางราบ เป็นต้น
และเป็นงานแข่ง ที่รถ พยาบาล สามารเข้าถึงได้ทุกจุด ตลอดเวลา
และควรลงแข่งในระยะที่ฝึกซ้อม
ในความเป็นจริง การเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น เกิดจากสาเหตุ ที่รุนแรง เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ
ส่วนใหญ่ การปั้มหัวใจ หรือการใช้เครื่อง AED ช่วยกู้ชีวิต ณ ที่เกิดเหตุได้สำเร็จ เป็นจากพยาธิสภาพโรคที่ไม่รุนแรง ถ้า ได้รับการ cpr ทันที และ มีเครื่อง AED มาใช้ภายใน 5 นาที โอกาสสำเร็จ ของการกู้ชีพอยู่ที่ 50 %
แต่บ่อยครั้ง พยาธิสภาพของโรค เกิดแบบรุนแรง การปั้มหัวใจ เป็นได้แค่การยื้อเวลา เท่านั้น ต้องรักษาที่ต้นเหตุของการเกิดหัวใจหยุดเต้น โดยทำการ ปั้มหัวใจอย่างต่อเนื่อง และ ไม่หยุดกลางคัน พร้อม กระตุ้นไฟฟ้า ในกรณีที่หัวใจเต้นพริ้ว แล้วนำส่งรพ ที่มีศูนย์ สวนหัวใจ
นอกจากนี้ การกู้ชีพ ในรายพยาธิสภาพรุนแรง
แม้จะทำในห้องฉุกเฉิน เครื่องมือพร้อม ก็ยังไม่สามารถยื้อชีวิตผป.ได้ครับ
ให้คิดไว้เสมอว่า โอกาสกู้ชีพสำเร็จ โดยไม่นำส่งรพ น้อยมากๆ
หน้าที่ของผู้จัดงาน ต้องเตรียมพร้อม เรื่องของ หน่วย กู้ชีพ เครื่อง AED และ Fact ถึงการเข้าถึง ทุกจุด ของการกู้ชีพ ว่า ทำได้รวดเร็วแค่ไหน ระยะเวลาเท่าไหร่ในแต่ละจุด จุดไหนเข้าถึงไม่ได้ มีไหม ข้อมูลตรงนี้จะเป็นตัวช่วยให้นักกีฬา ทราบ Segment ของการแข่งขัน ว่า เขาควรร่วมการแข่งขันครั้งนี้หรือไม่
การตรวจคัดกรองของนักกีฬา
ในโรคหัวใจ ทำได้บางส่วน
การที่มีเส้นเลือดตีบเรื้อรัง สามารถ คัดกรองได้ แต่ก็ไม่ 100%
การมี ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาแบบผิดปกติ สามารถ คัดกรองได้
แต่กลไกการเกิดหัวใจขาดเลือดฉับพลัน ที่เกิดจากคราบไขมันหลุด ระหว่างออกกำลัง บางครั้งส่วนใหญ่ไม่สามาถคัดกรองได้
ดังนั้น การคัดกรอง เป็นแค่ตัวช่วย ในการหาโรค แต่ไม่ได้เป็นตัวการันตีว่าจะไม่เกิดโรคระหว่างแข่ง 100 %
ดังนั้น สิ่งที่สำคัญสุด ของการลดการเสียชีวิตฉับพลันคือ ตัวนักวิ่งเอง ต้องเข้าใจ ตัวเอง รู้จักตัวเอง และเลือกลงแข่งในการแข่งขันที่เหมาะกับ segment ตัวเองครับ
ผู้จัด ต้องมีความพร้อมของ ทีมกู้ชีพ และคิดถึง เส้นทางการเข้าถึงนักกีฬา ในทุกๆจุด โดยเฉพาะ จุดที่เข้าถึงได้ยาก พร้อม เส้นทางการลำเลียงผู้ป่วย เพื่อไปรพ ได้รวดเร็วที่สุด
สุดท้ายนี้อยากให้นักวิ่งทุกคน คิดถึงจุดเริ่มต้นของการออกกำลัง มาจาก การที่เราอยากมีสุขภาพที่ดี และมีความสนุกกับกีฬา เมื่อไหร่ก็ตามที่การออกกำลังของเราหลุดกรอบไปจากนี้แล้ว เราต้องมีเหตุผลให้ตัวเองว่ากำลังทำอะไรอยู่
ผมเชื่อว่ามีนักวิ่งบางคนที่กำลังเข้าใจผิดว่ายิ่งวิ่งยาวๆยิ่งดี จึงอยากจะย้ำในประเด็นนี้หน่ะครับ #การออกกำลังระยะทางไกลๆไม่ใช่เรื่องล้อเล่น
ไม่ใช่ยิ่งวิ่งยาวยิ่งเท่ห์ ไม่ใช่ยิ่งวิ่งเยอะยิ่งดี
"Too much of a good thing can be bad"
อีกประเด็นคือวงจรของนักกีฬา "ซ้อม-กิน-นอน"
นักกีฬาต้องประเมินด้วยว่าซ้อมถึงไหม กินได้ไหม นอนพักผ่อนดีไหม
ต่อให้ไม่มีโรคประจำตัว ถ้าช่วงก่อนแข่งเรางานหนัก พบว่านอนน้อย หรือซ้อมไม่พอ ซ้อมได้แค่ 10-20โล แล้วลงแข่งมาราธอน โดยหวังจะใช้ใจสู้อย่างเดียว ก็ไม่ควร ซ้อมมายังไงก็แข่งแบบนั้น
ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง กับน้องที่เสียชีวิตด้วยนะครับ
ฝากช่วย Share ให้นักกีฬาทุกท่านได้รับข้อมูลด้วยนะครับ
ทีมหมอบ้าพลัง
http://program.thaipbs.or.th/Fit2gether/episodes/45335
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น