เข่าของเรา เป็นอวัยวะที่ต้องรับแรงกระแทกจากการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ เราจึงต้องดูแล เข่า ให้แข็งแรง วันนี้เพจเจอหมีให้ออกกำลังกายขอแนะนำการดูแลหัวเข่าที่ทุกคนก็สามารถนำไปปรับใช้ได้ค่ะ
1. การวอร์มอัพก่อนออกกำลังกาย เพื่ออบอุ่นร่างกายและทำให้กล้ามเนื้อ-เส้นเอ็นของเราพร้อมเคลื่อนไหว การวอร์มอัพเข่าสามารถใช้ท่าวอร์มอัพแบบเคลื่อนไหว เช่น ท่าเตะก้นตัวเอง ท่าแทงเข่าขึ้น ท่าวิ่งซอยเท้าอยู่กับที่ และที่สำคัญ ไม่ควรหมุนเข่า! เพราะลักษณะข้อต่อของหัวเข่าเป็นแบบบานพับ (เหมือนบานประตู) ไม่ได้ออกแบบมาให้หมุนไปรอบ ๆ ค่ะ
2. การฝึกกล้ามเนื้อที่ช่วยซัพพอร์ตข้อต่อหัวเข่าเพื่อสร้างความแข็งแรง เช่น กล้ามเนื้อหน้าขา หลังขา กล้ามเนื้อก้น กล้ามเนื้อขาหนีบ กล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะช่วยเสริมความมั่นคง ลดการเสียดสีและการกระแทกของหัวเข่าค่ะ ชุดท่าฝึกแนะนำ คือ
Squat - Alternate leg lunges - Glute bridge - Sumo squat ทุกท่า ทำ 3 เซ็ต เซ็ตละ 15 ครั้งค่ะ
3. การควบคุมน้ำหนักตัว หากเป็นผู้ที่มีน้ำหนักตัวเยอะ การลดน้ำหนักตัวมีส่วนช่วยให้ข้อต่อเข่ารับภาระน้อยลง ในกรณีที่มีน้ำหนักตัวมาก เราขอแนะนำให้เลือกออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่ำ เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน จะลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บที่ข้อต่อได้ค่ะ
อีกข้อสำคัญ! แอดกี้ขอเสริม อิอิ นอกจากวิธีด้านบน
ตอนนี้ทางแบรนด์เค้าก็มีผลิตภัณฑ์ดี ๆ ที่จะช่วยดูแลหัวเข่าของเราค่ะ คือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร BRAND’S ActivMove ที่มีอันดีเนเจอร์คอลลาเจนไทพ์ทู ไฮโดรไลซ์คอลลาเจนไทพ์ทู และวิตามินซีสูง ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจน และความแข็งแรงของกระดูกและข้อ
ถ้าใครสนใจ ไปลงทะเบียนรับผลิตภัณฑ์มาทดลองได้ที่ http://bit.ly/2ASmdIy เฉพาะ 3,000 คนแรก ที่ไปลงทะเบียนนะคะ
ออกกำลังกายแล้ว อย่าลืมดูแลเข่าและข้อของเราด้วยนะ ❤️
ที่มา : https://www.facebook.com/exercisebear/photos/a.354345754725163.1073741827.322940647865674/920879604738439/?type=3
ss-เขียนเอง
▼
วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
เตรียมตัวฝึกซ้อมเพื่อเข้าแข่งวิ่งหัวหินมาราธอน 13 พค. 2018
Week No. | Date | Mon | Tue | Wed | Thu | Fri | Sat | Sun | Total |
4 | 12 -18 กพ. | พัก | 6.5 | 8 | พัก | 6.5 | พัก | 19 | 40 |
5 | 19 - 25 กพ. | พัก | 8 | 8 | พัก | 6.5 | พัก | 24 | 46.5 |
6 | 26 กพ. - 4 มีค. | พัก | 8 | 8 | พัก | 6.5 | พัก | 13 | 35.5 |
7 | 5 - 11 มึค. | พัก | 8 | 10 | พัก | 6.5 | พัก | 27 | 51.5 |
8 | 12 - 18 มีค. | พัก | 6.5 | 8 | พัก | 6.5 | พัก | 16 | 37 |
9 | 19 - 25 มีค. | พัก | 8 | 10 | พัก | 6.5 | พัก | 30 | 54.5 |
10 | 26 มีค. - 1 เม.ย. | พัก | 6.5 | 8 | พัก | 6.5 | พัก | 16 | 37 |
11 | 2 - 8 เม.ย. | พัก | 8 | 11 | พัก | 6.5 | พัก | 34 | 59.5 |
12 | 9 - 15 เม.ย. | พัก | 6.5 | 8 | พัก | 6.5 | พัก | 16 | 37 |
13 | 16 - 22 เม.ย. | พัก | 8 | 11 | พัก | 6.5 | พัก | 35 | 60.5 |
14 | 23 - 29 เม.ย. | พัก | 6.5 | 13 | พัก | 6.5 | พัก | 19 | 45 |
15 | 30 เม.ย. - 6 พค. | พัก | 8 | 16 | พัก | 6.5 | พัก | 10 | 40.5 |
16 | 7 พค. - 13 พค. | พัก | 6.5 | 5 | พัก | 6.5 | พัก | 42.195 | 60.195 |
จัดโปรแกรมฝึกซ้อมตามตารางข้างบน
งานนี้จะฝึกซ้อมโดยวิ่ง Zone 2 ตลอดโปรแกรมเพราะจากประสบการณ์ที่แข่งมา 5 สนามพบว่าจริงๆ เราวิ่งแข่งใช้แรง Zone 2 ถึง Zone 3 เท่านั้น การฝืนซ้อมวิ่งให้เร็วขึ้นน่าจะยังไม่เหมาะสม คงต้องรออีก 1-2 ปี ให้ร่างกายแกร่งขึ้นและมีความอึดคงที่แล้ว
ที่ซ้อมมา 1 week พบว่าพอเกิน 8k ขึ้นร่างกายอยากวิ่งให้เร็วให้เหนื่อย แต่เราก็พยายามวิ่งให้ช้าวิ่ง จัดท่าวิ่งให้ดี และวิ่งยกขาสูงๆ
วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
10 ข้ออ้างและทางแก้จากประสบการณ์จริง...มาวิ่งกันเถอะ
::: เราเรียนรู้อะไรจากพี่นะได้บ้าง 😉:::
"วันที่ถึงจุดเปลี่ยน ผมไม่เสียชีวิต
เงื่อนไขทุกอย่างจะหายไปหมด
เพราะทุกคนกลัวตาย
กลัวสูญเสียวันพรุ่งนี้ไป"
.
เมื่อเร็วๆ นี้พี่นะได้ขึ้นเวที #TEDxDonModDang
เพื่อบอกเล่าประสบการณ์
ชวนไปรับชม-รับฟัง ลีลา น้ำเสียงความจริงใจ
ได้ที่คลิปนี้ --> http://bit.ly/2CfpulE ซึ่งดีมากๆ
.
ออกตัวไว้ก่อน สำหรับแอด
พี่นะเป็นเพียงคนธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ
สมมุติ เราตั้งเป้าว่าจะวิ่งเดือนละ 100km
แล้วทำได้ ทำได้ต่อเนื่อง
ก็ย่อมเกิดความดีใจ
ดีใจในความธรรมดาที่พิเศษ
อย่างน้อยไม่พูดเท็จกับตัวของเรา
.
28 ธันวาคม พ.ศ.2560 | 5 โมงเย็น
แอดได้รับเชิญไปร่วมวิ่งในโอกาสที่พี่ชายวัย 45-46 ท่านนี้
จะวิ่งครบ 10,000 Km ใน 1 ปี
.
⛔⛔===================⛔⛔
กรณีนี้เป็นความสุข ความสามารถ
ความมุ่งมั่นเฉพาะตัว
ไม่แนะนำให้ทำตาม
ในเชิงระยะสะสมแต่อย่างใด
เราออกแบบเป้าหมาย
ที่พอเหมาะพอดีกับตัวเองได้เอง
⛔⛔===================⛔⛔
.
.
แต่ในเชิงความคิดอ่าน ประสบการณ์แล้ว
ถือว่า น่าสนใจยิ่ง บนเวทีเมื่อเร็วๆ นี้
พี่นะ ได้เล่าถึง #การลบข้ออ้าง10ข้อ
ที่ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเมื่อเรานึกถึงการวิ่ง
.
สำหรับแอดนี่คือ สมุดการบ้านของนักเรียนหัวกะทิจอมขยัน ที่น่าลอกอย่างยิ่ง
เพราะแอดเองก็เป็นเด็กหลังห้อง
มาก็สาย จอมขี้เกียจ ชอบเทเป็นนิจ
.
มีวิธีดังต่อไปนี้ย่อให้สั้นมากๆ แล้วนะ
ตามประสาเด็กชอบพกโพยเข้าห้องสอบอย่างแอด 55+ (ล้อเล่น) 😜😜
#ถ้า
1.➡️ไม่มีเวลา 🔸 ผมมีเวลากินข้าว ผมก็มีเวลาวิ่งได้
.
2.➡️วิ่งแล้วเหนื่อย 🔸 แปลว่ามาถูกทางแล้ว ร่างกายเราไม่โง่ เดี๋ยวเค้าจะปรับตัวได้หายใจทัน
.
3.➡️ไม่รู้จะไปวิ่งที่ไหน 🔸 มีพื้นที่ 5 เมตร ถ้าวิ่งไป-มา 2000 ครั้งก็เท่ากับ 10Km
.
(ระหว่างต่อเครื่องฯที่สนามบิน มีเวลา 3 ชม. พี่นะออกมาวิ่งหน้าสนามบิน 10กิโล โคตรเท่)
.
4.➡️กลัวเข่าพัง เท้าพัง 🔸 ที่เจ็บเพราะเราไม่เคยใช้พวกเขาทำงาน ร่างกายมนุษย์มหัศจรรย์ พัฒนาได้ *พี่ตูนเคยเจ็บในช่วง500กิโลแรก แต่สุดท้ายก็อัดเพซ4ที่แม่สายในกิโลสองพันกว่า ตย.ที่คลาสสิค แอดเติมให้
.
5.➡️ไม่ออกกำลังกายก็แข็งแรงดี 🔸ความเสื่อมของร่างกาย โรคร้ายรออยู่ ระบบเผาผลาญแย่ลงเบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ รอคุณอยู่
.
6.➡️รองเท้าวิ่งแพงสิ้นเปลือง 🔸 คู่แรก คือ รองเท้าที่คุณมี อยู่ที่ตัวเรา ตัวเราอยู่บนรองเท้า
.
7.➡️ฝนตกพรุ่งนี้ค่อยว่ากัน 🔸แปลกใจไหมครับตอนเด็กๆ เราอยากวิ่งตากฝน แต่ตอนนี้กลับอ้างได้
.
8.➡️วิ่งคนเดียวแล้วเบื่อ 🔸 วิ่งแล้วลองเขียนแชร์ซิ คุณจะเจอเพื่อนที่ชอบเหมือนกัน
.
9. ➡️อายุมากแล้ววิ่งไม่ไหว 🔸สนามวิ่งมีคนอายุ 60 วิ่งกันอยู่ บางคนวิ่งเร็ว ติดถ้วย การวิ่งเป็น Life Time Sport เริ่มตอนไหนก็ได้
.
10.➡️ไม่ได้อ้วนสักหน่อย 🔸 ย้อนกลับไปข้อ 5 ระบบเผาผลาญเสื่อมลงแน่ๆ เมื่ออายุคุณมากขึ้น ไม่อ้วนแต่ไม่แข็งแรง จะดีไหมอยู่ในร่างแบบนี้
⛳#Hilight
- (จง) เชื่อในพลังของการบอกเล่าและแบ่งปันสิ่งดีๆ ถ้าทำสิ่งนี้แล้วเห็นผล กำลังใจมา ให้ลองแนะนำคนรอบข้าง อย่างน้อยเป็นการบอกว่าฉันต้องไปต่อ
.
.
- ฉันพอจะเป็นตัวอย่างคนอื่นได้แล้ว ฉันต้องไม่ถอยหลังอีก
.
.
-เราอาจจะช่วยให้ใครสักคนรอบข้างมีความสุขในชีวิตมากขึ้นเพราะคำแนะนำที่ดีและการเป็นแบบอย่างของเราก็ได้ 🤘🐿❤️
#ThaiRun
#Breaking9999Km
Naruphon Prathanthip
ที่มา : https://www.facebook.com/thaidotrun/photos/a.1694377410849702.1073741828.1658834907737286/2017251391895634/?type=3
"วันที่ถึงจุดเปลี่ยน ผมไม่เสียชีวิต
เงื่อนไขทุกอย่างจะหายไปหมด
เพราะทุกคนกลัวตาย
กลัวสูญเสียวันพรุ่งนี้ไป"
.
เมื่อเร็วๆ นี้พี่นะได้ขึ้นเวที #TEDxDonModDang
เพื่อบอกเล่าประสบการณ์
ชวนไปรับชม-รับฟัง ลีลา น้ำเสียงความจริงใจ
ได้ที่คลิปนี้ --> http://bit.ly/2CfpulE ซึ่งดีมากๆ
.
ออกตัวไว้ก่อน สำหรับแอด
พี่นะเป็นเพียงคนธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ
สมมุติ เราตั้งเป้าว่าจะวิ่งเดือนละ 100km
แล้วทำได้ ทำได้ต่อเนื่อง
ก็ย่อมเกิดความดีใจ
ดีใจในความธรรมดาที่พิเศษ
อย่างน้อยไม่พูดเท็จกับตัวของเรา
.
28 ธันวาคม พ.ศ.2560 | 5 โมงเย็น
แอดได้รับเชิญไปร่วมวิ่งในโอกาสที่พี่ชายวัย 45-46 ท่านนี้
จะวิ่งครบ 10,000 Km ใน 1 ปี
.
⛔⛔===================⛔⛔
กรณีนี้เป็นความสุข ความสามารถ
ความมุ่งมั่นเฉพาะตัว
ไม่แนะนำให้ทำตาม
ในเชิงระยะสะสมแต่อย่างใด
เราออกแบบเป้าหมาย
ที่พอเหมาะพอดีกับตัวเองได้เอง
⛔⛔===================⛔⛔
.
.
แต่ในเชิงความคิดอ่าน ประสบการณ์แล้ว
ถือว่า น่าสนใจยิ่ง บนเวทีเมื่อเร็วๆ นี้
พี่นะ ได้เล่าถึง #การลบข้ออ้าง10ข้อ
ที่ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเมื่อเรานึกถึงการวิ่ง
.
สำหรับแอดนี่คือ สมุดการบ้านของนักเรียนหัวกะทิจอมขยัน ที่น่าลอกอย่างยิ่ง
เพราะแอดเองก็เป็นเด็กหลังห้อง
มาก็สาย จอมขี้เกียจ ชอบเทเป็นนิจ
.
มีวิธีดังต่อไปนี้ย่อให้สั้นมากๆ แล้วนะ
ตามประสาเด็กชอบพกโพยเข้าห้องสอบอย่างแอด 55+ (ล้อเล่น) 😜😜
#ถ้า
1.➡️ไม่มีเวลา 🔸 ผมมีเวลากินข้าว ผมก็มีเวลาวิ่งได้
.
2.➡️วิ่งแล้วเหนื่อย 🔸 แปลว่ามาถูกทางแล้ว ร่างกายเราไม่โง่ เดี๋ยวเค้าจะปรับตัวได้หายใจทัน
.
3.➡️ไม่รู้จะไปวิ่งที่ไหน 🔸 มีพื้นที่ 5 เมตร ถ้าวิ่งไป-มา 2000 ครั้งก็เท่ากับ 10Km
.
(ระหว่างต่อเครื่องฯที่สนามบิน มีเวลา 3 ชม. พี่นะออกมาวิ่งหน้าสนามบิน 10กิโล โคตรเท่)
.
4.➡️กลัวเข่าพัง เท้าพัง 🔸 ที่เจ็บเพราะเราไม่เคยใช้พวกเขาทำงาน ร่างกายมนุษย์มหัศจรรย์ พัฒนาได้ *พี่ตูนเคยเจ็บในช่วง500กิโลแรก แต่สุดท้ายก็อัดเพซ4ที่แม่สายในกิโลสองพันกว่า ตย.ที่คลาสสิค แอดเติมให้
.
5.➡️ไม่ออกกำลังกายก็แข็งแรงดี 🔸ความเสื่อมของร่างกาย โรคร้ายรออยู่ ระบบเผาผลาญแย่ลงเบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ รอคุณอยู่
.
6.➡️รองเท้าวิ่งแพงสิ้นเปลือง 🔸 คู่แรก คือ รองเท้าที่คุณมี อยู่ที่ตัวเรา ตัวเราอยู่บนรองเท้า
.
7.➡️ฝนตกพรุ่งนี้ค่อยว่ากัน 🔸แปลกใจไหมครับตอนเด็กๆ เราอยากวิ่งตากฝน แต่ตอนนี้กลับอ้างได้
.
8.➡️วิ่งคนเดียวแล้วเบื่อ 🔸 วิ่งแล้วลองเขียนแชร์ซิ คุณจะเจอเพื่อนที่ชอบเหมือนกัน
.
9. ➡️อายุมากแล้ววิ่งไม่ไหว 🔸สนามวิ่งมีคนอายุ 60 วิ่งกันอยู่ บางคนวิ่งเร็ว ติดถ้วย การวิ่งเป็น Life Time Sport เริ่มตอนไหนก็ได้
.
10.➡️ไม่ได้อ้วนสักหน่อย 🔸 ย้อนกลับไปข้อ 5 ระบบเผาผลาญเสื่อมลงแน่ๆ เมื่ออายุคุณมากขึ้น ไม่อ้วนแต่ไม่แข็งแรง จะดีไหมอยู่ในร่างแบบนี้
⛳#Hilight
- (จง) เชื่อในพลังของการบอกเล่าและแบ่งปันสิ่งดีๆ ถ้าทำสิ่งนี้แล้วเห็นผล กำลังใจมา ให้ลองแนะนำคนรอบข้าง อย่างน้อยเป็นการบอกว่าฉันต้องไปต่อ
.
.
- ฉันพอจะเป็นตัวอย่างคนอื่นได้แล้ว ฉันต้องไม่ถอยหลังอีก
.
.
-เราอาจจะช่วยให้ใครสักคนรอบข้างมีความสุขในชีวิตมากขึ้นเพราะคำแนะนำที่ดีและการเป็นแบบอย่างของเราก็ได้ 🤘🐿❤️
#ThaiRun
#Breaking9999Km
Naruphon Prathanthip
ที่มา : https://www.facebook.com/thaidotrun/photos/a.1694377410849702.1073741828.1658834907737286/2017251391895634/?type=3
วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
สันหน้าแข้งอักเสบ(SHIN SPLINTS) – สาเหตุและการรักษา
สันหน้าแข้งอักเสบอธิบายถึงอาการเจ็บหน้าแข้งทั่ว ๆ ไปที่เกิดขึ้นบริเวณขาส่วนล่างตลอดแนวกระดูกหน้าแข้ง (tibia) อาการเจ็บจากสันหน้าแข้งอักเสบมักเกิดขึ้นที่ส่วนหน้าของสันหน้าแข้ง (anterior shin splints) หรืออาจมีอาการเจ็บที่ด้านหลังข้างในของขาส่วนล่าง (posterior medial shin splint)
สันหน้าแข้งอักเสบมักเกิดขึ้นหลังจากมีการบาดเจ็บสะสม ซึ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ ต่อกล้ามเนื้อ soleus ที่ตำแหน่งเกาะกับกระดูกหน้าแข้ง
การบาดเจ็บซ้ำ ๆ สามารถทำให้เกิดการระคายเคืองของกล้ามเนื้อ posterior tibialis และการอักเสบของเยื่อหุ้มกระดูก (periosteum) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หุ้มกระดูก tibia สันหน้าแข้งอักเสบมักเป็นผลมาจากการใช้งานเนื้อเยื่อเหล่านี้หนักเกินไปจากการทำกิจกรรมหนักหน่วงซ้ำ ๆ โดยไม่มีเวลาพักระหว่างกิจกรรมที่นานเพียงพอ
อะไรเป็นสาเหตุของสันหน้าแข้งอักเสบ ?
นักกีฬาส่วนใหญ่ที่มีอาการสันหน้าแข้งอักเสบมักอธิบายประวัติการออกกำลังกายที่มีการเพิ่มความหนักหรือระยะเวลาของกิจกรรมโดยไม่มีระยะเวลาพักที่เหมาะสมระหว่างการออกกำลังกาย
มีหลายปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดสันหน้าแข้งอักเสบได้ สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดคือการบาดเจ็บซ้ำ ๆ ไม่ว่าจะต่อกล้ามเนื้อหรือกระดูกของขาส่วนล่างการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ (exertional compartment syndrome) มักสัมพันธ์กับการฝึกหนักเกินไปหรือการวิ่งบนพื้นแข็งมากเกินไป การใช้งานซ้ำ ๆ ทำให้กล้ามเนื้อบวม และมีแรงดันต่อเนื้อเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ (fascia) ของขาส่วนล่าง ทำให้เกิดแรงกดและอาการเจ็บ
การบาดเจ็บของกระดูกขาส่วนล่างสามารถทำให้เกิดกระดูกหักล้า (stress fracture) ได้ การมีแรงกระทำต่อเนื่องต่อกระดูกขาอาจทำให้เกิดรอยแตกเล็ก ๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และกระดูก tibia และ fibula (กระดูกของขาส่วนล่าง) เกิดการหักได้ การพักเป็นสิ่งจำเป็นต่อการซ่อมแซมรอยแตกดังกล่าว แต่หากไม่มีระยะพักฟื้นเพียงพอ รอยแตกเหล่านี้จะขยายใหญ่ขึ้น และอาจหักได้ ผลคืออาการเจ็บปวดฉับพลันและการพักฟื้นระยะยาว
นักวิ่งมือใหม่มีความเสี่ยงต่ออาการสันหน้าแข้งอักเสบและกระดูกหักล้ามากกว่า เนื่องจากพวกเขายังไม่คุ้นชินกับการวิ่งที่มีแรงกระทำสูงต่อกล้ามเนื้อและข้อขาส่วนล่างและเท้า การวิ่งบนพื้นแข็ง (โดยเฉพาะหากสวมใส่รองเท้าที่เก่าขาดแล้ว) จะเพิ่มแรงกระทำต่อกล้ามเนื้อ ข้อ และกระดูก และเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของอาการสันหน้าแข้งอักเสบ การคว่ำเท้า (pronation) มากเกินไป หรือปัญหาทางด้านชีวกลศาสตร์ (biomechanics) อื่น ๆ ก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดสันหน้าแข้งอักเสบได้เช่นกัน
สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของสันหน้าแข้งอักเสบ
อาการของสันหน้าแข้งอักเสบ
การรักษาสันหน้าแข้งอักเสบ
การพักเป็นการรักษาที่ดีที่สุดหากสันหน้าแข้งอักเสบ สำหรับการบรรเทาอาการอย่างรวดเร็ว ให้ใช้หลักการ R.I.C.E เพื่อควบคุมอาการปวดและการอักเสบ การกลับไปทำกิจกรรมต้องเริ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยกิจกรรมที่ไม่ลงน้ำหนัก (ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ) เป็นการออกกำลังกายจนกว่าจะไม่มีอาการเจ็บปวดอีก
การกลับไปทำกิจกรรมต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป มิฉะนั้นคุณจะมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บซ้ำ เปลี่ยนกิจวัตรของคุณ ลดเวลาการออกกำลังกายและความหนัก เพื่อที่คุณจะได้ไม่รู้สึกไม่สบายระหว่างและหลังการออกกำลังกายอีก หากอาการเจ็บหน้าแข้งของคุณยังเป็นอยู่หลังจากสามสัปดาห์ คุณควรจะไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่เหมาะสม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: www.honestdocs.co
#TeamBeyond #GoTogether
ที่มา : http://www.teambeyondsport.com/shin-splints-cureandcourse/
สันหน้าแข้งอักเสบมักเกิดขึ้นหลังจากมีการบาดเจ็บสะสม ซึ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ ต่อกล้ามเนื้อ soleus ที่ตำแหน่งเกาะกับกระดูกหน้าแข้ง
การบาดเจ็บซ้ำ ๆ สามารถทำให้เกิดการระคายเคืองของกล้ามเนื้อ posterior tibialis และการอักเสบของเยื่อหุ้มกระดูก (periosteum) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หุ้มกระดูก tibia สันหน้าแข้งอักเสบมักเป็นผลมาจากการใช้งานเนื้อเยื่อเหล่านี้หนักเกินไปจากการทำกิจกรรมหนักหน่วงซ้ำ ๆ โดยไม่มีเวลาพักระหว่างกิจกรรมที่นานเพียงพอ
อะไรเป็นสาเหตุของสันหน้าแข้งอักเสบ ?
นักกีฬาส่วนใหญ่ที่มีอาการสันหน้าแข้งอักเสบมักอธิบายประวัติการออกกำลังกายที่มีการเพิ่มความหนักหรือระยะเวลาของกิจกรรมโดยไม่มีระยะเวลาพักที่เหมาะสมระหว่างการออกกำลังกาย
มีหลายปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดสันหน้าแข้งอักเสบได้ สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดคือการบาดเจ็บซ้ำ ๆ ไม่ว่าจะต่อกล้ามเนื้อหรือกระดูกของขาส่วนล่างการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ (exertional compartment syndrome) มักสัมพันธ์กับการฝึกหนักเกินไปหรือการวิ่งบนพื้นแข็งมากเกินไป การใช้งานซ้ำ ๆ ทำให้กล้ามเนื้อบวม และมีแรงดันต่อเนื้อเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ (fascia) ของขาส่วนล่าง ทำให้เกิดแรงกดและอาการเจ็บ
การบาดเจ็บของกระดูกขาส่วนล่างสามารถทำให้เกิดกระดูกหักล้า (stress fracture) ได้ การมีแรงกระทำต่อเนื่องต่อกระดูกขาอาจทำให้เกิดรอยแตกเล็ก ๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และกระดูก tibia และ fibula (กระดูกของขาส่วนล่าง) เกิดการหักได้ การพักเป็นสิ่งจำเป็นต่อการซ่อมแซมรอยแตกดังกล่าว แต่หากไม่มีระยะพักฟื้นเพียงพอ รอยแตกเหล่านี้จะขยายใหญ่ขึ้น และอาจหักได้ ผลคืออาการเจ็บปวดฉับพลันและการพักฟื้นระยะยาว
นักวิ่งมือใหม่มีความเสี่ยงต่ออาการสันหน้าแข้งอักเสบและกระดูกหักล้ามากกว่า เนื่องจากพวกเขายังไม่คุ้นชินกับการวิ่งที่มีแรงกระทำสูงต่อกล้ามเนื้อและข้อขาส่วนล่างและเท้า การวิ่งบนพื้นแข็ง (โดยเฉพาะหากสวมใส่รองเท้าที่เก่าขาดแล้ว) จะเพิ่มแรงกระทำต่อกล้ามเนื้อ ข้อ และกระดูก และเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของอาการสันหน้าแข้งอักเสบ การคว่ำเท้า (pronation) มากเกินไป หรือปัญหาทางด้านชีวกลศาสตร์ (biomechanics) อื่น ๆ ก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดสันหน้าแข้งอักเสบได้เช่นกัน
สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของสันหน้าแข้งอักเสบ
- การยืดกล้ามเนื้อที่ไม่เหมาะสม
- การไม่อุ่นเครื่องก่อน
- ฝึกหนักเกินไป
- เพิ่มระยะวิ่งเร็วเกินไป
- วิ่งหรือกระโดดบนพื้นแข็ง
- กล้ามเนื้อขาส่วนหน้าและส่วนหลังไม่สมดุล
- รองเท้าเก่าเกินไปที่ประคับประคองเท้าได้ไม่เพียงพอ
- การวิ่งบนพื้นเอียง
- ปัญหาทางชีวกลศาสตร์อื่น ๆ
อาการของสันหน้าแข้งอักเสบ
- อาการเจ็บทางด้านใน (medial หรือ inside) ของขาส่วนล่าง
- อาการเจ็บมักแย่ลงเมื่อวิ่ง หรือออกกำลังกายที่ต้องลงน้ำหนัก
- อาการเจ็บเพิ่มขึ้นหลังวิ่งบนพื้นแข็ง
- อาการเจ็บปวดจะยังคงอยู่แม้ว่าจะหยุดทำกิจกรรมไปแล้ว
- อาการเจ็บเพิ่มขึ้นตามกิจกรรมที่ทำ
- อาการเจ็บเพิ่มขึ้นเมื่อวิ่ง กระโดด ปีนเขา หรือวิ่งลงจากเขา
- กล้ามเนื้อน่องอาจตึงและไม่ยืดหยุ่น
การรักษาสันหน้าแข้งอักเสบ
การพักเป็นการรักษาที่ดีที่สุดหากสันหน้าแข้งอักเสบ สำหรับการบรรเทาอาการอย่างรวดเร็ว ให้ใช้หลักการ R.I.C.E เพื่อควบคุมอาการปวดและการอักเสบ การกลับไปทำกิจกรรมต้องเริ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยกิจกรรมที่ไม่ลงน้ำหนัก (ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ) เป็นการออกกำลังกายจนกว่าจะไม่มีอาการเจ็บปวดอีก
- การเสริมสร้างความแข็งแรงและการยืดกล้ามเนื้อจะช่วยได้ การทำกายภาพบำบัดสำหรับการบาดเจ็บของข้อเท้าก็สามารถใช้กับการบำบัดอาการสันหน้าแข้งอักเสบได้เช่นกัน
- พันผ้ารอบหน้าแข้งเพื่อลดแรงกระทำ
- สวมรองเท้าที่เหมาะสม
- เปลี่ยนรองเท้าเมื่อจำเป็น
การกลับไปทำกิจกรรมต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป มิฉะนั้นคุณจะมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บซ้ำ เปลี่ยนกิจวัตรของคุณ ลดเวลาการออกกำลังกายและความหนัก เพื่อที่คุณจะได้ไม่รู้สึกไม่สบายระหว่างและหลังการออกกำลังกายอีก หากอาการเจ็บหน้าแข้งของคุณยังเป็นอยู่หลังจากสามสัปดาห์ คุณควรจะไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่เหมาะสม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: www.honestdocs.co
#TeamBeyond #GoTogether
ที่มา : http://www.teambeyondsport.com/shin-splints-cureandcourse/
วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
6 คมคิด จาก 6 ชีวิตที่ร่วมก้าว
ทันทีที่เท้าของ "พี่ตูน" และทีมงาน "ก้าวคนละก้าว" แตะเส้นชัยที่เหนือสุดแดนสยาม พวกเขาก้าวร่วมกันมาแล้วเป็นระยะทางกว่า 2,200 กิโลเมตร
ว่ากันว่าพวกเขาเหล่านี้คือคนกลุ่มแรกที่วิ่งจากเบตงถึงแม่สาย และไม่ได้ทำเพื่อตัวเองเลยแม้แต่น้อย
ความงดงามของเหตุการณ์อันชวนตื้นตันนี้ไม่ได้อยู่ที่ระยะทางและยอดเงินบริจาคเฉียด 1,200 ล้านบาท หากแต่อยู่ที่ "พี่ตูน" กำลังส่งต่อแนวคิดเรื่องการเสียสละให้กับคนทั้งประเทศ
นักวิ่งหลาย ๆ คนที่ร่วมขบวนนี้พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์นี้เปลี่ยนชีวิตพวกเขาไปตลอดกาล
จะจริงแท้แค่ไหน ลองมาฟังจากพวกเขากันเลยดีกว่า
เกยูร เลาหสุขไพศาล (เพ้นท์)
Nike Run Club Coach , Trainer
"เรารู้สึกเป็นเกียรติมากเลยนะที่มีโอกาสได้ร่วมวิ่งในวันแรกที่เบตง ยะลา ถ้าให้บรรยายถึงบรรยากาศตลอดทางวิ่ง บอกตรง ๆ ไม่อยากกลับเลย อยากยืนอยู่ตรงนั้น อยากช่วยเท่าที่จะช่วยได้ อยากให้พี่เค้าไปถึงจุดหมายโดยปลอดภัยที่สุด"
"หลาย ๆ คนอาจจะเห็นในไลฟ์อยู่แล้วว่า พี่ตูนเจอผู้สูงอายุที่ไหนก็จะหยุดตลอด อันนี้เราประทับใจมากและจำมาตลอด แถวประจวบฯ มั้ง วิ่งผ่านไปเรื่อยๆ อยู่ดี ๆ พี่ตูนก็หยุดแล้ววิ่งเลี้ยวเข้าบ้านๆ หนึ่ง ที่มียายคนนึงยื่นหน้าออกมาจากหน้าต่างบ้าน คือยายเค้ามาไม่ทันพี่ตูนมาไง แต่พี่ตูนจะตาดีมากๆ กับพวกคนสูงอายุมาก คือไม่มีใครเห็น แต่แกเห็นก่อนเลย"
"จากที่แต่ก่อนเราตั้งหน้าตั้งตาวิ่ง สนใจแต่ความเร็วตัวเอง ตอนนี้มีโอกาสได้มาวิ่งเพื่อร่วมช่วยบริจาค ได้ช่วยดูแลทีมที่วิ่งไปด้วยกัน ได้เห็นกำลังใจจากเสียงเชียร์ข้างทาง จากทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่เค้ามายืนรอ พี่ตูนสอนให้เราอ่อนน้อมมากกับคนทุกเพศ ทุกวัย เราเห็นพี่เขาก้มไหว้ต่ำมากๆ เป็นภาพติดตา และเราได้ทำตามมาตลอด จนทุกวันนี้ วันพักกลับมาอยู่กรุงเทพฯ เราก็ไหว้ ขอบคุณมากค่ะ ขอบคุณมากๆ นะคะ จนคำนี้ติดปากมาแล้ว"
"และหวังว่าการวิ่งของพี่ตูนในครั้งนี้จะช่วยส่งต่อแรงบันดาลใจให้ใครหลายคนได้ลุกขึ้นมาออกกำลังกายกันค่ะ"
พฤทธิ์ เลิศสุกิตติพงศา (พีท)
Event Manager - Co-working space (www.punspace.com)
"จริงๆ อยากช่วยโครงการมานานแล้ว เพราะเคยเห็นตั้งแต่ตอนพี่ตูนไปวิ่งที่บางสะพาน พี่ว่ามันเป็นโอกาสที่ดีในการทำบุญ อีกอย่างคือก็ตรงกับความต้องการของเราเองด้วยครับ"
"มันก็อาจจะไม่ใช่การค้นพบอะไรนะแต่พี่รู้สึกประทับใจว่าคนคนนึงเค้าสามารถสร้างปรากฏการณ์ทางสังคมเป็นวงกว้างได้มากขนาดนี้ พี่ตูนทำให้คนหันมาดูแลตัวเองมากขึ้น มีคนสนใจการวิ่งมากขึ้น ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่ดีมากๆ เลยครับ"
"พี่ได้ร่วมวิ่งกับพี่ตูนมาสองครั้ง ตลอดทางมีเรื่องราวดีๆ ตลอดทาง แต่ที่ประทับใจมากที่สุดก็คงเป็นตอนที่วิ่งผ่านเบตง วิ่งช่วงสามจังหวัดภาคใต้ คือเราก็รู้กันอยู่แล้วเรื่องความไม่สงบในจังหวัดชายแดน แต่ตอนที่ทีมวิ่งในพื้นที่ มันทำให้คนแถวนั้นเค้าออกมาร่วมด้วยช่วยกันบริจาค เค้าออกมาจากบ้านกัน มารอพี่ตูน มารอขบวนวิ่ง เจ้าหน้าที่และชาวบ้านได้ออกมาอยู่นอกบ้านกันมากขึ้น แถมยังช่วยบริจาคให้ด้วย ซึ่งประทับใจมากๆ ครับ"
ไชยา รื่นภาคบุตร
Personal trainer
"พี่เองรู้สึกดีใจมากที่ได้มีส่วนร่วมในการวิ่งครั้งยิ่งใหญ่นี้ของพี่ตูนและโครงการก้าวคนละก้าว ถือเป็นโอกาสที่ดีมากมากเลยครับ"
"ปกติเราก็ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพตัวเอง ก็แค่ทำให้ตัวเองสุขภาพดีเฉยๆ แต่โครงการนี้ทำให้พี่เห็นว่าตัวเราเองก็มีค่านะ เราตั้งใจที่จะทำความดีได้ มันไม่ได้ยากเลย ความถนัดของเราในเรื่องออกกำลังกายเป็นส่วนช่วยในการช่วยเหลือคนอื่นได้"
"มีเหตุการณ์นึงที่วิ่งตอนไปภาคใต้ประทับใจมาก คือมันจะมีอยู่ช่วงนึงที่ทีมต้องวิ่งผ่านทางที่ไม่มีบ้านคน ข้างทางเป็นเหมือนป่าต้นยาง แล้วมีครอบครัวนึงเค้าวิ่งออกมาจากป่าข้างทาง เสื้อผ้าเลอะยาง คือดูแล้วมอมแมมเลยแหละ แล้วเค้ายื่นเหรียญมาให้พี่ตูน คือตอนนั้นมันมีหลายอารมณ์มากๆ ทั้งเศร้าทั้งซึ้ง พี่น้ำตาไหลเลย คือเรารู้สึกประทับใจที่ขนาดเค้าไม่ได้มีมาก เค้ายังอยากที่จะช่วยเหลือเรา เป็นอะไรที่ตราตรึงใจมากจริงๆ ครับ"
พ.ญ.สรัลรัสษ์ คงถนอมรักษ์ (หมอวี)
นักกีฬาเพาะกายและฟิตเนสทีมชาติไทย รุ่น model physique
"เราดีใจมากที่เราได้มีโอกาสช่วยเหลือโครงการก้าวคนละก้าวเพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ เราได้มีโอกาสทำตารางโภชนาการให้กับการวิ่งครั้งนี้ รู้สึกว่าเราได้เอาสิ่งที่เราชอบมาช่วยเปลี่ยนแปลงสังคมและนำมาเป็นแรงบันดาลใจได้ สิ่งที่เราทำก็เหนื่อยอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีคนอื่นที่เหนื่อยมากกว่า คงจะดีถ้าเราเอาสิ่งที่ชอบ มาสร้างแรงขับเคลื่อนในสังคมได้ ชอบความคิดที่อยากจะช่วย อยากจะเปลี่ยนแปลง นำมาปรับใช้กับตัวเองโดยใช้ความชอบเป็นพื้นฐาน"
"ปกติแล้ว ตัวหมอวีเองจะเวทเพื่อการแข่งขันเพียงอย่างเดียว ไม่เคยนึกถึงเรื่องการวิ่งเลย แต่พี่ตูนได้เปิดมุมมองว่า การวิ่งนั้นไม่ได้น่าเบื่อ พอได้เข้าร่วมโครงการก็ทำให้ได้รู้ว่า หมอวีกับพี่ตูนมีแนวความคิดที่คล้ายกัน คือ การมีความฝันแล้วทำตาม"
ดุษฎี รอยัล (เบส) #nrcbkk
อาชีพ กราฟฟิกดีไซเนอร์
"ไม่ต้องคิดอะไรเลยค่ะ! พอได้ยินข่าวว่าจะมีวิ่งกับขบวนพี่ตูนก็ตัดสินใจมาเลย เพราะอยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือทีมก้าวในครั้งนี้ มันคือประวัติศาสตร์ของพลังน้ำใจที่ผู้ชายตัวเล็ก ๆ ทำให้มันเกิดขึ้นจริงด้วยการลงมือทำ"
"เป็นความอิ่มเอมอย่างบอกไม่ถูก เป็นการวิ่งที่มีความสุขมาก เพราะได้ค้นพบว่าคนไทยยังมีน้ำใจและเห็นด้วยกับโครงการก้าวคนละก้าวอย่างมาก การวิ่งผ่านในแต่ละก้าวนั้นไม่ง่ายเลย การวิ่งเพื่อตัวเองคือวิ่งเร็วเท่าไหร่ก็ได้เหนื่อยก็พัก แต่การวิ่งเพื่อคนอื่นทุกคนที่ยืนรอ เราจะไม่สามารถวิ่งเร็วเกินเพื่อรับเงินบริจาค หรือไม่ควรวิ่งช้าเกินไปเพราะทุกคนที่รอให้กำลังใจก็จะรอนาน มันทำให้รู้เลยว่าทีมงานก้าวทำงานหนักแค่ไหน คนที่วิ่งไปรับบริจาคไปไม่ง่ายเลย พูดได้ว่าเหนื่อยเป็น 3 เท่ากว่าการวิ่งธรรมดาอีก"
"การที่ทุกคนมายืนรอตั้งแต่บ่าย 4-5 โมงจนถึงสามทุ่มพร้อมส่งเสียงเชียร์ให้กับพวกเราว่า “สู้ ๆ นะ, ขอบคุณมาก, ทุกคนสุดยอด” ทั้ง ๆ ที่พี่ตูนวิ่งผ่านไปแล้วและพวกเราไม่ใช่ดารา แต่ทุกคนที่ยืนรอยังคงยืนส่งเสียงเชียร์ ร้องเพลงแสงสุดท้าย ตลอดสองข้างทางมีแต่การส่งเสียงเชียร์ ทำให้เข้าใจเลยว่าทำไมพี่ตูนถึงอดใจที่จะหยุดพบเจอแฟน ๆ ของเขาไม่ได้เพราะมันห้ามใจไม่ไหวจริง ๆ เพราะรู้สึกอยากขอบคุณทุกคนที่มายืนรอบริจาคและให้กำลังใจจริง ๆ"
"มันเป็นปรากฏการณ์ที่เราไม่รู้ว่ามันจะเกิดขึ้นอีกเมื่อไหร่ แต่มันเกิดขึ้นได้เพราะพี่ตูน ทุกคนถ่ายรูปพวกเรายื่นเงินให้กับพวกเราเพื่อส่งต่อให้กับทีมงานก้าว บางคนเป็นกระปุกที่หนักมาก ทุกคนตั้งใจมาต้อนรับและบริจาคจริง ๆ"
ส.อ.สุพิศ จันทรัตน์ (เอียด)
กองร้อยฝึกรบพิเศษที่ 4 ค่ายฝึกการรบพิเศษสิชล จ.นครศรีธรรมราช
และอดีตนักวิ่งทีมชาติไทย
"ผมเป็นทหารอยู่ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ถูกมอบหมายให้ดูแลความปลอดภัยให้พี่ตูนในช่วงแรก แต่พอวิ่งจบวันนั้น ได้เข้าไปคุยกับพี่ตูน เขาเอาเสื้อให้ผม แล้วก็เล่าที่มาที่ไปของโครงการนี้ให้ฟังแบบตัวต่อตัว มันเหมือนกับที่เราได้ยินในสื่อ แต่พอได้สัมผัสกับตัวเองจริง ๆ มันก็เกิดความศรัทธา ผมเลยวิ่งกับเขาต่อ ตั้งใจว่าจะพาไปให้ถึงแม่สายให้ได้"
"ตอนแรกที่ได้ยินว่าเขาจะวิ่งจากเบตงไปแม่สาย ผมคิดเลยว่าเขาไม่น่าจะทำได้ อย่างดีที่สุดก็คงไม่เกินภาคใต้นี่แหละ แต่พอได้เข้ามาร่วมจริง ๆ ผมมั่นใจว่าไปถึงแน่ ด้วยกำลังใจจากทุกคน พ่อแม่พี่ตูน ทีมงาน มีหมอคอยเช็กตลอดมีกำหนดระยะพักชัดเจน แต่กว่าจะได้ร้อยกิโลก็ถูกกระชากไปหลายครั้งเหมือนกัน ผ่านจุดในเมืองที่คนเยอะ ๆ มันเลี่ยงไม่ได้หรอก ผมเล็บหลุดไป 2 นิ้วแล้ว เพราะผมจะคอยกันอยู่ด้านซ้ายของพี่ตูน ผ่านช่วงคนเยอะ ๆ จะก้มตัวต่ำคอยกันไม่ให้ใครเข้ามากระชาก กันไม่ให้คนเหยียบเท้าพี่ตูน พอผ่านจุดที่คนเยอะ ๆ มา พี่ตูนจะดึงผมเข้ามากอดคอแล้วพูดว่า "ขอบคุณนะพี่เอียด" ดูในไลฟ์ก็จะเห็นครับ เขาพูดอยู่ตลอดว่า ไม่เป็นไร ใครเข้ามากระชากหรือเหยียบเท้าเขาไม่เคยโกรธ "เพราะคนพวกนี้มายืนรอ 4-5 ชั่วโมง เขาอาจจะมีโอกาสเจอผมแค่ครั้งเดียวในชีวิต ไม่เป็นไรครับ" เขาพูดแบบนี้ตลอด ผมไม่เคยเห็นเขาไม่พอใจเลย"
"สิ่งที่ประทับใจก็คือ พี่ตูนจะให้ความสำคัญกับเด็ก คนแก่ คนป่วย มาก ๆ ถ้ามีชาวบ้านตะโกนบอกว่ามีคนป่วยติดเตียงนอนรออยู่ในบ้าน ถึงจะวิ่งเลยไปไกลแค่ไหนแล้วเขาก็จะวิ่งย้อนกลับมา เข้าไปหา ยกมือไหว้ ให้กำลังใจ มันเป็นสิ่งที่อธิบายได้ยาก แต่ผมซึ้งมากนะ ภาพแบบนี้มันเป็นกำลังใจให้พวกผมวิ่งต่อได้ เพราะเรารู้อยู่ตลอดว่าเราทำไปเพื่ออะไร"
"มันเป็นสิ่งที่จะไม่เกิดขึ้นซ้ำอีกแน่นอน หาไม่ได้อีกแล้วนะเหตุการณ์แบบนี้ ที่คนจะวิ่งแบบนี้ ส่งพลังบวกกันแบบนี้ ไม่ว่าจะต่อหน้ากล้องหรือลับหลังกล้อง เขาพูดเหมือนกัน คือ เขาไม่ใช่ฮีโร่ เพราะเขาวิ่งแค่ 55 วัน ส่วนหมอกับพยาบาลวิ่งกันมาทั้งชีวิต ประโยคนี้เขาพูดบ่อย มันตอกย้ำว่าที่เราทำกันอยู่ทุกวันนี้มันไม่ใช่เพื่อตัวเราเลย เรากำลังทำเพื่อคนทุกคน เหนื่อยบ้าง เจ็บบ้าง แต่ไม่เคยท้อ เพราะเรารู้ว่ามีคนจำนวนมากรออยู่ หมอสั่งให้พัก 2 วัน แต่ผมขอพักแค่วันเดียวพอ ผมอยากไปดูแลพี่ตูน ผมเจ็บได้ ไม่เป็นไร แต่พี่ตูนต้องได้ไปต่อ ขอให้เขาไม่เจ็บ"
ทั้งหมดนี้คือคำบอกเล่าจากนักวิ่งและทีมงานที่ได้สัมผัสกับพลังใจอันยิ่งใหญ่ของผู้ชายที่ชื่อ "อาทิวราห์ คงมาลัย" หรือที่เราเคยเรียกเขาว่า "ตูน บอดี้สแลม" แต่นับจากนี้ต่อไป เขาจะเป็นที่รู้จักในฐานะผู้จุดประกาย เป็นแรงผลักดันให้เราทุกคนส่งต่อสิ่งดี ๆ เพื่อสังคม และเรียนรู้ที่จะเก็บเกี่ยวความสุขจากการเป็นผู้เสียสละ
ที่มา : http://www.healthyliving.in.th/content/180159/6%20%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%20%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%206%20%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7?utm_source=fb&utm_medium=boostpost&utm_campaign=hlcontent&utm_content=6run_2
วันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
เริ่มเจ็บเข่า...ทำไงดี?
เริ่มเจ็บเข่า...ทำไงดี? วิธีรักษาเยียวยาอาการเจ็บเข่าแบบง่ายๆ :)
เพื่อนๆคนไหนเริ่มมีอาการเจ็บเข่าจากการวิ่งไหมครับ....อาการเจ็บเข่านับเป็นอาการที่นักวิ่งหลายๆคนกลัวกัน เพราะนอกจากหลายๆครั้งจะหายช้าแล้ว การปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องยังจะไปเพิ่มอาการบาดเจ็บได้อีก วันนี้แอดมินมีเทคนิคง่ายๆให้เพื่อนๆที่เริ่มมีอาการบาดเจ็บเอาไปลองใช้ดูกันครับ 🏃🏻♂️💨
🔹อันดับแรก...ต้องปรับทัศนคติก่อนครับ หลายๆคนแม้มีอาการบาดเจ็บแต่ยังฝืน บางคนหลอกตัวเองว่าเราไม่ได้เจ็บอะไรและยังซ้อมเหมือนปกติ แบบนี้อันตรายนะครับ เราต้องยอมรับตัวเองถึงอาการบาดเจ็บ และเตือนตัวเองว่านี่คือเวลาที่ต้องฟื้นฟู (Recovery Phase) ดังนั้นพยายามหาวิธีรักษาตัวเองให้กลับมาเป็นปกติให้เร็วที่สุด ดีกว่าฝืนซ้อมทั้งที่มีอาการบาดเจ็บนะครับ
🔹ต่อมา...อาการบาดเจ็บที่เข่าส่วนใหญ่มักเกี่ยวกับกล้ามเนื้อมีอาการตึงโดยรอบบริเวณข้อเข่า วิธีที่ได้ผลวิธีหนึ่งในการลดการตึงของกล้ามเนื้อคือการใช้ Foam Roller ช่วยโดยคลึงบริเวณต้นขา เพื่อช่วยลดอาการตึงบริเวณเส้นเอ็นข้างเข่า (iliotibial band) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของอาการปวดเข่าด้านนอกที่พบบ่อยในหมู่นักวิ่งล่ะครับ
🔹อีกแนวทางที่แนะนำคือการใช้ Cross Training ช่วยในการปรับตัวหลัง Recovery Phase เพราะนอกจากจะป้องกันอาการบาดเจ็บไม่ให้เกิดซ้ำ ยังช่วยเพิ่มความฟิตเพื่อเตรียมตัวกลับมาซ้อมเป็นปกติอีกด้วยล่ะครับ โดย Cross Training ที่แนะนำสำหรับผู้ที่หายจากอาการบาดเจ็บเข่าคือ จักรยาน Eliptical หรือ จะเป็นการว่ายน้ำ หรือ Rowing ก็ได้ครับ
นอกจากวิธีแนวกายภาพบำบัดต่างๆแล้ว....ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหลายตัวที่ช่วยเยียวยาอาการเจ็บข้อได้ อย่างล่าสุด BRAND’S ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ BRAND’S ActivMove ที่มีคอลลาเจนไทพ์ทูถึง 2 ชนิด คือ อันดีเนเจอร์คอลลาเจนไทพ์ทู และไฮโดรไลซ์คอลลาเจนไทพ์ทู มีวิตามินซีสูง ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจนและเนื้อเยื่อของเอ็นกระดูกอ่อน ซึ่งช่วยบรรเทาอาการปวดเข่า ปวดข้อ เสริมสร้างเนื้อเยื่อของเอ็นกระดูกอ่อน เพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและข้อ เหมาะสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะวัยทำงานที่มีโอกาสปวดข้อปวดเข่ามากขึ้น
ที่มา :
https://www.facebook.com/WingNaiDee/photos/a.623528221031015.1073741828.235394239844417/1670908649626295/?type=3
วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ยานวดร้อน vs ยานวดเย็น ต่างกันอย่างไร ?
เพื่อน ๆ เคยสงสัยไหมว่า ?
ยานวดบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อที่มีทั้งสองแบบให้เลือกทั้ง "แบบร้อน และ แบบเย็น " นั้น แตกต่างกันอย่างไร ? ควรเลือกแบบไหน? ใช้แบบร้อนหรือแบบเย็นอันไหนจะดีกว่ากัน ?
.
วันนี้พวกเราชาว FIT4FUN จึงจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับยาวนวดทั้งร้อนและเย็นมาบอกกันครับ
>>แบบร้อน<<
เหมาะกับอาการปวดแบบไม่กระทันหัน ซึ่งอาจเกิดจากการปวดเรื้อรัง ปวดตึงกล้ามเนื้อ เนื่องจากยานวดสูตรร้อน จะทำให้หลอดเลือดขยายตัว จึงทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น และช่วยลดการวดตึงของกล้ามเนื้อ
>>แบบเย็น<<
เหมาะกับการบาดเจ็บแบบเฉียบพลัน มีการปวดบวม อักเสบ ควรเลือกใช้ยาบรรเทาอาการปวด แบบสูตรเย็น เพราะความเย็นจะทำให้เส้นเลือดหดตัว ทำให้เลือกออกน้อยลง และช่วยลดกการปวดบวมได้
.
ยาบรรเทาอาการปวดเมื่อยปวดอักเสบกล้ามเนื้อควรใช้ภายใต้การดูแลของเภสัชกร หรือแพทย์เท่านั้นนะครับ หากอาการปวดอักเสบไม่บรรเทาลงเลยภายใน 2 สัปดาห์หลังการใช้ยา ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน
ที่มา : https://www.facebook.com/fit4funrelax/photos/a.653073964779689.1073741827.652667931486959/1563693593717717/?type=3
ยานวดบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อที่มีทั้งสองแบบให้เลือกทั้ง "แบบร้อน และ แบบเย็น " นั้น แตกต่างกันอย่างไร ? ควรเลือกแบบไหน? ใช้แบบร้อนหรือแบบเย็นอันไหนจะดีกว่ากัน ?
.
วันนี้พวกเราชาว FIT4FUN จึงจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับยาวนวดทั้งร้อนและเย็นมาบอกกันครับ
>>แบบร้อน<<
เหมาะกับอาการปวดแบบไม่กระทันหัน ซึ่งอาจเกิดจากการปวดเรื้อรัง ปวดตึงกล้ามเนื้อ เนื่องจากยานวดสูตรร้อน จะทำให้หลอดเลือดขยายตัว จึงทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น และช่วยลดการวดตึงของกล้ามเนื้อ
>>แบบเย็น<<
เหมาะกับการบาดเจ็บแบบเฉียบพลัน มีการปวดบวม อักเสบ ควรเลือกใช้ยาบรรเทาอาการปวด แบบสูตรเย็น เพราะความเย็นจะทำให้เส้นเลือดหดตัว ทำให้เลือกออกน้อยลง และช่วยลดกการปวดบวมได้
.
ยาบรรเทาอาการปวดเมื่อยปวดอักเสบกล้ามเนื้อควรใช้ภายใต้การดูแลของเภสัชกร หรือแพทย์เท่านั้นนะครับ หากอาการปวดอักเสบไม่บรรเทาลงเลยภายใน 2 สัปดาห์หลังการใช้ยา ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน
ที่มา : https://www.facebook.com/fit4funrelax/photos/a.653073964779689.1073741827.652667931486959/1563693593717717/?type=3
วันพุธที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
วิ่งแล้วร่างกายได้อะไร
ก่อนเริ่มต้นขยับตัวและผูกเชือกรองเท้า
หลายคนยังสงสัยว่า 🏃♀️👟
#วิ่งแล้วร่างกายได้อะไร
มีตำรา งานวิจัยด้านสุขภาพมากมายที่บอกถึงประโยชน์ของการวิ่ง (จากโพสต์ยอดนิยมของ #ThaiRun )🤗 ผู้เริ่มต้นแนะนำ #ข้อ4 #ข้อ7 อะคร้าบบ
♦️1) วิ่งครั้งละ 20- 30 นาทีขึ้นไป ร่างกายจะหลั่งสารเอนโดฟินน์หรือว่าสารแห่งความสุข ที่ทำให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า มีผลทำให้ไม่เป็นโรคซึมเศร้า คลายความวิตกกังวลสารพัด
.
.
♦️2) สถาบัน Neurology (USA) ชี้ว่าคนที่วิ่งเป็นประจำจะลดความเสี่ยงเป็นโรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ได้ดีกว่าคนที่ไม่วิ่งถึง 2 เท่า
.
.
♦️3) การวิ่งช่วยลดน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพ วิ่ง 45 นาทีที่มีความเหนื่อยระดับกลาง อัตราการเต้นของหัวใจที่ 140ครั้งต่อนาที จะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานต่อไปอีก 14 ชั่วโมงหลังจากวิ่งจบ (ช่วยเจริญอาหาร)-สถาบัน Human Performance Laboratory (USA)
.
.
♦️4) หลายงานวิจัยพบว่า วิ่งสลับเดินต่อเนื่องให้ได้ 5-7 กิโลเมตรจำนวน 4 ครั้งต่อสัปดาห์ ควบคุมอาหารไปด้วยจะช่วยลดน้ำหนักได้ผลจริงใน 6 สัปดาห์
.
.
♦️5) วิ่งช้าๆครั้งละ 1 ชม.สัปดาห์ละ 4 ครั้ง มีผลวิจัยของมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดว่า ช่วยสร้างเสริมความแข็งแรงของกระดูกข้อต่อ (Joint) ลดปัญหาข้อกระดูกเสื่อมเมื่อย่างเข้าสู่วัยชราได้
.
.
♦️6) การวิ่งช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจวาย โดยการวิ่งมีผลให้เลือดลมภายในสูบฉีดมีค่าการไหลเวียนของอ๊อกซิเจนที่ดี
.
.
♦️7) สถาบัน The American Journal of Physiology แนะนำให้วิ่ง 45 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 4 เดือน ชี้ว่าเป็นวิธีช่วยเพิ่มเส้นใยกล้ามเนื้อใหม่ๆ ได้ถึง 20 % เผาผลาญไขมันในร่างกายให้คุณมีรูปร่างกระชับ ลีนจนเห็นการเปลี่ยนแปลง
.
.
♦️8) คอเลสเตอรอล สามารถถูกควบคุมได้ด้วยการออกกำลังกายในลักษณะคาร์ดิโอ ด้วยการวิ่ง มีผลสรุปจากเมโยคลีนิคในมินนิโซต้าว่า การวิ่งต่อเนื่อง 2 เดือนช่วยเพิ่มระดับไขมันดี HDL ได้ถึง 5% ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายระหว่างไขมันดีกับไขมันเลวสมดุลย์กัน ลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้โดยไม่ต้องทานยา
.
.
♦️9) ในเรื่องสุขภาวะทางเพศ The Archives of Sexual Behavior เคยทดลองว่า 71% ของชายหนุ่มอเมริกันที่มีปัญหาเรื่องไม่มีความสุขบนเตียง ชีวิตของพวกเขาดีขึ้นเมื่อได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมาวิ่งสะสมสัปดาห์ละ 25-30 กิโลเมตรต่อสัปดาห์ (เฉลี่ยครั้งละ 5 กิโลเมตร)
.
.
♦️10) มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดทำการทดลองเรื่องความกระฉับกระเฉงในหมู่ผู้สูงอายุเปรียบเทียบกับหนูบนสะพาน พบความสอดคล้องกันว่า การวิ่งสะสมต่อเนื่องมากกว่า 7 ปีขึ้นไป จะให้ค่าความเสื่อมสภาพของอวัยวะภายในน้อยกว่าคนที่ไม่วิ่งเลย
.
.
.
💟 โพสต์ครั้งแรก | September 2017 ©bui_montri
.
✍️หากชื่นชอบบทความนี้มีประโยชน์ | กดไลค์ | กดแชร์ | กดติดตาม| คอมเม้นต์และเมนชั่น ถึงคนสนิทคนรัก ให้มาเริ่มเดิน เริ่มวิ่งกันน้าคร้าบบบ 📝
.
#สุขภาพดีเป็นต้นทุนชีวิตในทุกๆเรื่อง
.
ด้วยความปรารถนาดีจากพวกเรา
#ThaiRun ฮับความสุขนักวิ่ง
ที่มา : https://www.facebook.com/thaidotrun/photos/a.1694377410849702.1073741828.1658834907737286/2013029012317872/?type=3
หลายคนยังสงสัยว่า 🏃♀️👟
#วิ่งแล้วร่างกายได้อะไร
มีตำรา งานวิจัยด้านสุขภาพมากมายที่บอกถึงประโยชน์ของการวิ่ง (จากโพสต์ยอดนิยมของ #ThaiRun )🤗 ผู้เริ่มต้นแนะนำ #ข้อ4 #ข้อ7 อะคร้าบบ
♦️1) วิ่งครั้งละ 20- 30 นาทีขึ้นไป ร่างกายจะหลั่งสารเอนโดฟินน์หรือว่าสารแห่งความสุข ที่ทำให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า มีผลทำให้ไม่เป็นโรคซึมเศร้า คลายความวิตกกังวลสารพัด
.
.
♦️2) สถาบัน Neurology (USA) ชี้ว่าคนที่วิ่งเป็นประจำจะลดความเสี่ยงเป็นโรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ได้ดีกว่าคนที่ไม่วิ่งถึง 2 เท่า
.
.
♦️3) การวิ่งช่วยลดน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพ วิ่ง 45 นาทีที่มีความเหนื่อยระดับกลาง อัตราการเต้นของหัวใจที่ 140ครั้งต่อนาที จะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานต่อไปอีก 14 ชั่วโมงหลังจากวิ่งจบ (ช่วยเจริญอาหาร)-สถาบัน Human Performance Laboratory (USA)
.
.
♦️4) หลายงานวิจัยพบว่า วิ่งสลับเดินต่อเนื่องให้ได้ 5-7 กิโลเมตรจำนวน 4 ครั้งต่อสัปดาห์ ควบคุมอาหารไปด้วยจะช่วยลดน้ำหนักได้ผลจริงใน 6 สัปดาห์
.
.
♦️5) วิ่งช้าๆครั้งละ 1 ชม.สัปดาห์ละ 4 ครั้ง มีผลวิจัยของมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดว่า ช่วยสร้างเสริมความแข็งแรงของกระดูกข้อต่อ (Joint) ลดปัญหาข้อกระดูกเสื่อมเมื่อย่างเข้าสู่วัยชราได้
.
.
♦️6) การวิ่งช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจวาย โดยการวิ่งมีผลให้เลือดลมภายในสูบฉีดมีค่าการไหลเวียนของอ๊อกซิเจนที่ดี
.
.
♦️7) สถาบัน The American Journal of Physiology แนะนำให้วิ่ง 45 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 4 เดือน ชี้ว่าเป็นวิธีช่วยเพิ่มเส้นใยกล้ามเนื้อใหม่ๆ ได้ถึง 20 % เผาผลาญไขมันในร่างกายให้คุณมีรูปร่างกระชับ ลีนจนเห็นการเปลี่ยนแปลง
.
.
♦️8) คอเลสเตอรอล สามารถถูกควบคุมได้ด้วยการออกกำลังกายในลักษณะคาร์ดิโอ ด้วยการวิ่ง มีผลสรุปจากเมโยคลีนิคในมินนิโซต้าว่า การวิ่งต่อเนื่อง 2 เดือนช่วยเพิ่มระดับไขมันดี HDL ได้ถึง 5% ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายระหว่างไขมันดีกับไขมันเลวสมดุลย์กัน ลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้โดยไม่ต้องทานยา
.
.
♦️9) ในเรื่องสุขภาวะทางเพศ The Archives of Sexual Behavior เคยทดลองว่า 71% ของชายหนุ่มอเมริกันที่มีปัญหาเรื่องไม่มีความสุขบนเตียง ชีวิตของพวกเขาดีขึ้นเมื่อได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมาวิ่งสะสมสัปดาห์ละ 25-30 กิโลเมตรต่อสัปดาห์ (เฉลี่ยครั้งละ 5 กิโลเมตร)
.
.
♦️10) มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดทำการทดลองเรื่องความกระฉับกระเฉงในหมู่ผู้สูงอายุเปรียบเทียบกับหนูบนสะพาน พบความสอดคล้องกันว่า การวิ่งสะสมต่อเนื่องมากกว่า 7 ปีขึ้นไป จะให้ค่าความเสื่อมสภาพของอวัยวะภายในน้อยกว่าคนที่ไม่วิ่งเลย
.
.
.
💟 โพสต์ครั้งแรก | September 2017 ©bui_montri
.
✍️หากชื่นชอบบทความนี้มีประโยชน์ | กดไลค์ | กดแชร์ | กดติดตาม| คอมเม้นต์และเมนชั่น ถึงคนสนิทคนรัก ให้มาเริ่มเดิน เริ่มวิ่งกันน้าคร้าบบบ 📝
.
#สุขภาพดีเป็นต้นทุนชีวิตในทุกๆเรื่อง
.
ด้วยความปรารถนาดีจากพวกเรา
#ThaiRun ฮับความสุขนักวิ่ง
ที่มา : https://www.facebook.com/thaidotrun/photos/a.1694377410849702.1073741828.1658834907737286/2013029012317872/?type=3
วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
แนะนำให้ลองวิ่ง Trail running
https://www.facebook.com/ptname/videos/1146372102121111/
#วิ่งเทรล หรือ วิ่งวิบาก นักวิ่งที่วิ่งstreetหลายๆรายการ อาจมีอาการเบื่อการวิ่ง ผมแนะนำให้ลองวิ่ง Trail running ดูครับ แต่การวิ่งวิบากนั้น เส้นทางวิ่งอาจมีอุปสรรคข้างหน้า การเปลี่ยนทิศทางวิ่งอย่างรวดเร็วจึงสำคัญมากครับ ดังนั้นผมจึงแนะนำให้เพิ่มกล้ามเนื้อกระตุกเร็ว ทั่วร่างกาย TRX°จึงเป็นคำตอบให้กับทุกกีฬา
วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ทุกคนมีพลังพิเศษอยู่ในตัว
ทุกคนมีพลังพิเศษอยู่ในตัว
“วิ่งด้วยจังหวะที่ถนัดของตัวเอง
ไม่รีบเร่งหรือเพิ่มความเร็วมากกว่าปกติที่เคยซ้อม
ปรับจังหวะการวิ่งให้การก้าวเท้า การแกว่งแขน
และจังหวะการหายใจสอดคล้องกันอย่างเบาสบาย
ไม่รีบเร่งหรือเพิ่มความเร็วมากกว่าปกติที่เคยซ้อม
ปรับจังหวะการวิ่งให้การก้าวเท้า การแกว่งแขน
และจังหวะการหายใจสอดคล้องกันอย่างเบาสบาย
ไม่รีบไล่ล่า ไม่คิดทำลายเวลา ไม่แข่งขันกับใคร
โดยปราศจากการคำนวณต้นทุนของตัวเองที่มีอยู่จริง
ทุกความเหนื่อยเมื่อยล้าที่เกิดขึ้นต้องนำมาคิด วิเคราะห์
เพื่อปรับร่างกายให้รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
โดยปราศจากการคำนวณต้นทุนของตัวเองที่มีอยู่จริง
ทุกความเหนื่อยเมื่อยล้าที่เกิดขึ้นต้องนำมาคิด วิเคราะห์
เพื่อปรับร่างกายให้รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
ปรับเปลี่ยนจังหวะการหายใจและจังหวะการก้าวเท้า
ที่ลดความเหนื่อยหอบลง ปรับการวางเท้า ช่วงก้าว
ความถี่ ระยะการก้าวเพื่อลดความเมื่อยล้า
สั้นหรือยาว ถี่แค่ไหน ถามตัวเองว่าอย่างไหนดีพอ
ปล่อยการเคลื่อนไหวของร่างกายให้ลื่นไหล
ไปข้างหน้าตามธรรมชาติของตัวเองให้มากที่สุด
ที่ลดความเหนื่อยหอบลง ปรับการวางเท้า ช่วงก้าว
ความถี่ ระยะการก้าวเพื่อลดความเมื่อยล้า
สั้นหรือยาว ถี่แค่ไหน ถามตัวเองว่าอย่างไหนดีพอ
ปล่อยการเคลื่อนไหวของร่างกายให้ลื่นไหล
ไปข้างหน้าตามธรรมชาติของตัวเองให้มากที่สุด
สร้างจินตภาพขึ้นมาให้สมองรับรู้ถึงความสดชื่น
ของพลังที่ผุดขึ้นในตัวอย่างไม่มีวันหมด
เคลื่อนที่ให้เหมือนกับใบไม้แห้งๆ
ที่ลอยอยู่ในสายลมพริ้วไปข้างหน้าอย่างลื่นไหล
จิตใต้สำนึกรับรู้ถึงคนที่เรารัก
ยืนรอชื่นชมเราอยู่ที่เส้นชัยอย่างมีความสุข”
ของพลังที่ผุดขึ้นในตัวอย่างไม่มีวันหมด
เคลื่อนที่ให้เหมือนกับใบไม้แห้งๆ
ที่ลอยอยู่ในสายลมพริ้วไปข้างหน้าอย่างลื่นไหล
จิตใต้สำนึกรับรู้ถึงคนที่เรารัก
ยืนรอชื่นชมเราอยู่ที่เส้นชัยอย่างมีความสุข”
ครูดิน สถาวร จันทร์ผ่องศรี
20 ธันวาคม 2560
20 ธันวาคม 2560
วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
25 เรื่องที่นักวิ่งต้องรู้ไว้แล้วจะไปได้ไกล
25 เรื่องนี้ | ไม่เคยเก่า ไม่ว่าจะปีไหน 😁😉 :::
#FinishStrong2018
🔸1.เจาะจงซ้อมในสปีดที่จะใช้วิ่งจริงในวันแข่ง
เพื่อให้ร่างกายได้ฝึกความทนทานและการตอบสนองต่อความเหนื่อยนั้นได้หากตั้งเป้า 10Km ที่ 60 นาที จะเป็นไรไปละ ถ้าเราซ้อมด้วยสปีดนี้บ่อยๆเข้าเมื่อร่างกายปรับตัวได้ เวลา 58 ,57 นาทีเป็นไปได้ในความมุ่งมั่นที่ถูกทาง แต่ทั้งนี้ถ้าจำลองการวิ่งด้วยความเข้มข้นลักษณะนี้ ก็ต้องคำนึงถึงการพักฟื้น Recovery หากอีก 3 วันลงสนามก็พักและผ่อนได้แล้ว
🔸2. กฎ 10% เพื่อการพัฒนา
ที่เห็นภาพชัด คือ การค่อยๆ เพิ่มระยะทางสะสมต่อสัปดาห์ไปทีละ 10% ทดไว้ถ้า 1 วีค
วิ่งได้ 30km ให้เพิ่มขึ้นในสัปดาห์ถัดมาอีก 3Km ก็เพียงพอ แม้จะเห็นว่าเพิ่มน้อยจัง ! ฉันวิ่งได้มากกว่านี้ตั้งเยอะ แต่ “Too Much Too Soon” ยิ่งเพิ่มมากไป ยิ่งเพิ่มเร็วไป นั่นแปลว่า Injury จะบาดเจ็บและเสียหาย
🔸3. 2 ชั่วโมงไม่จุก
ถ้าคิดจะวิ่งให้รับประทานอาหารก่อนล่วงหน้า 2 ชม. สายอาหารจำพวกแป้ง-คาร์โบไฮเดรต ต้องใช้เวลาย่อย แต่หากใส่ไขมันและโปรตีนลงไปด้วย โน่นเลยต้องมี 3 ชั่วโมงก่อนวิ่ง
เพราะจะย่อยช้ากว่า ร่างกายไม่ชอบถูกสั่งให้รีบย่อย รีบใช้พลังงาน ขณะเคลื่อนไหวต้องออกแรงหนักๆ หอบๆ ไปด้วย ... จึงฟ้องเราด้วยอาการจุก เสียด แน่นท้อง หรืออาเจียน
🔸4.วอร์มอัพ-คูลดาวน์ 10 นาที
ปลุกร่างกายให้ตื่นด้วยการสร้างความอบอุ่นอย่างนุ่มนวล กระตุ้นการเต้นของหัวใจให้เหงื่อซึมๆ 10 นาที
เมื่อวิ่งเสร็จส่งร่างกายเข้าสู่หมวดปรกติ ผ่อนแรง ยืดเหยียด พับเพียบ จัดเก็บกล้ามเนื้อให้คลายสบายตัว ทั้งร่างกายและหัวใจอีก 10 นาที เท่านี้วงจรจะสมบูรณ์ คิดไว้ นี่คือ งานบริการที่ร่างกายต้องการจริงๆ
🔸5.เมื่อเจ็บพักเถอะ 2 วัน
แม้เป็นเรื่องที่ยาก คิดว่าเสียระยะซะนั้น เพื่อนเค้าไปไหนต่อไหนแล้ว แต่ความเข้าใจ #เรื่องเจ็บหยุดรอได้ พักพื้น เป็นความเข้าใจข้อต้นๆ ของนักกีฬาและการพัฒนา เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย ถ้าพบการเจ็บที่มีพิรุธส่อเค้าร้าวลึก อย่าแค่ถามเพื่อน หรือโซเซียลฯ ไปพบคุณหมอผู้เชี่ยวชาญดีที่สุด
🔸6.อาหารไม่คุ้น อย่าลุ้น อย่าลอง
หลายคนเคยพัง เพราะเพียงเมนูจานเล็กๆ อาหารเป็นปัจจัยสำคัญของนักกีฬาอย่าลองอะไรใหม่ก่อนวันแข่ง ได้โปรด…
เราไม่ได้ทำรายการครัวคุณต๋อย แนะนำอาหารที่ร่างกายคุณคุ้นเคยต่อการย่อย การใช้งานนั่นดีที่สุดละ
🔸7.หยุด ฟังเสียงร่างกาย
อ้างอิงกันมานาน จำนวนพักหลังแข่งคำนวนจากจำนวนไมล์ที่ใช้ไป เช่น 10Km หรือ 6.25 ไมล์ให้พักนาน 6 วัน
วิ่งมาราธอน 26.2 ไมล์ให้พัก 26 วัน ! แน่นอนว่าในกาลเวลาต่อมามีคนค้านว่าแต่ละคนวิ่งที่ความเร็วไม่เท่ากัน เหนื่อยสาหัส ไม่เท่ากัน จำนวนวันพักไม่น่าจะเท่ากัน เรื่องนี้ฟังขึ้น แต่ที่น่าฟังที่สุด คือ “#ฟังเสียงร่างกาย” เขาจะค่อยๆ บอกว่าพักแค่ไหนถึงจะดี ยิ่งอยู่กับเขานานๆ คุณจะยิ่งเข้าใจ อ้างอิงจาก Tale of the Ancient Marathoner-Jack Foster
🔸8.แรงลม มีผลต่อแรงวิ่ง
ในสนามต่างประเทศแรงลม เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทางผู้จัดและนักวิ่งให้ความสนใจมาก เพราะเจอลมปะทะย่อมทำให้วิ่งช้าลง ใช้แรงส่งมากกว่าปรกติ มีลมฉุด มีลมส่ง ดังนั้นการบริหารแรงกับลมที่เจอเป็นเรื่องที่น่าสนใจ หากจะเอาดีด้านนี้
🔸9. Talk Test
อีกหนึ่งวิธีที่จะวัดความสนุก ความแข็งแรงหรือพัฒนาของการวิ่ง คือ วิ่งไปด้วยคุยไปด้วยได้ที่เพซความเร็วพอเหมาะ หากเริ่มวิ่งใหม่ๆ นักวิ่งจะคิดว่า เหนื่อยแล้วจะมาชวนคุยไรตอนนี้ฟะ ! แต่พอวิ่งไปสัก 2-3 เดือน การหายใจจะปรับได้ดีขึ้น
.
คุยได้ตอบได้เป็นประโยค นั่นแปลว่า คุณแข็งแรงขึ้นละ ส่วนการวิ่งเร็วที่คุยได้เป็นคำๆ เท่านั้นนั่นก็กำลังเข้าสู่ความเร็วที่ใช้ในการวิ่ง interval
🔸10. ก่อนมาราธอนต้องมี 32Km สักครั้ง !
การซ้อมยาว คือ หัวใจความสำเร็จห้องหนึ่งของมาราธอน
ก่อนไปจบ 42.195 ร่างกายควรได้รับและปรับตัวที่ระยะ 32Km
ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ถามคนที่วิ่งมาราธอนเวลาดีๆ ซิ พวกเขาไปถึงระยะ 25,32,35 km กันเป็นเรื่องปรกติ #มาราธอนไม่มีทางลัด พูดเลย
🔸11. โหลดคาร์ปพอเหมาะพอดี
ศัพท์คำนี้ฮิตสุดๆ “#โหลดคาร์ป” อัดแป้งกันเข้าไปก่อนแข่ง แต่อีกด้านคือ เมื่อมีน้ำหนักสะสมเพิ่มขึ้นแบบทันทีทันใด แล้วต้องแบกน้ำหนักนี้ไปวิ่งไกลด้วย ไม่น่าสนุกเลย อีกอย่างตอนซ้อมเราไม่ได้อยู่ในน้ำหนักนี้สักหน่อยดังนั้นโหลดแต่พอดีๆ เพิ่มขึ้นอีกเพียง 15-20% จากมื้อปรกติก็เพียงพอแล้ว อ้างบ่อยเดี๋ยวเคยตัวไม่รู้ด้วยนะ
🔸12. 7 ปีวิ่งดี หวังผลได้
อดทนวิ่งให้ถึง 7 ปี แล้วจะพบความเปลี่ยนแปลงที่น่าอัศจรรย์ใจ พิสูจน์มาแล้วว่าโคตรจริง !
🔸13. เห็นรถที่วิ่งสวน
หากจำเป็นต้องวิ่งบนถนนร่วมกับรถทุกๆ ชนิด ความปลอดภัยเรื่องหลักเราต้องเห็นรถที่สวนมา อย่าวิ่งโดยที่ไม่รู้ว่ามีรถตามด้านหลังหรือไม่ อันตราย ทางที่ดีควรมีไฟ แถบสะท้อนแสง มีสัญลักษณ์กระพริบให้เห็นแต่ไกล บนเสื้อผ้า
🔸14. เข้าใจทางเนินแต่เนิ่นๆ
ทางวิ่งทุกๆ สนามไม่ได้ราบเรียบ ก่อนบ่น จงทำตัวให้แข็งแรงและเข้าใจ บริหารแรงขึ้น-ลงเนิน เดินได้ไม่เสียฟอร์มสักนิด ทางลงเนินเป็นโอกาสที่จะทดสอบกฏแรงโน้มถ่วง ทำความเร็ว แต่การจะวิ่งปร๋อลงเนินเท่ๆ ตัวปลิว ต้องทำตัวเองให้แข็งแรงและเอาอยู่ ! กับแรงส่งมหาศาลนั้นเสียก่อนละ ซ้อมซิซ้อมจะรออะไร
🔸15. นอนให้พอ
ใช้ร่างกายนานขึ้น หนักขึ้น ก็ต้องให้เขาพักนานขึ้น หลับลึกขึ้น
กลไกการซ่อมแซมร่างกายปรกติ ตอกบัตรทำงานในเวลา 4 ทุ่มครึ่งถึงตี 4
โดยประมาณ อย่าพลาดช่วงเวลาดีๆ นี้ละ ยิ่งวิ่งยาว การนอนนี้เวรี่สำคัญ !
🔸16. เติมพลังงานทดแทนให้ทันท่วงที
30-60 นาที คือ เวลาที่ดีที่สุดที่นักวิ่งควรจะเติมโปรตีน-คาร์บโบไฮเดรต หลังจากที่เราเบิร์นไปกับมาราธอน แล้วจากนั้นค่อยไปเซลฟี่ก็ได้ อย่าปล่อยให้เขาหิว เครื่องช็อต น็อคไป กู้คืนลำบาก ร่างกายมีประท้วงได้นะ
🔸17. ผสมผสานเวทเทรนนิ่ง
อย่าวิ่งอย่างเดียว ไม่เหลียวแล Cross Training หรือสร้างเสริมกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ บ้าง เช่น แกนกลางลำตัว (Core body)
เชื่อเถอะ รถที่ไปได้เร็ว พื้นฐานมาจากศูนย์ล่างที่ดี บอดี้มั่นคง นักวิ่งอย่างเราๆ ก็เช่นกัน วิ่งเร็วแล้วเกิดสะบัด อันนี้ก็พัง
🔸18. อัตราความเร็วเสมอต้น เสมอปลาย
การวิ่งมาราธอน วิ่งไกล การเกลี่ยอัตราความเร็วที่เท่าๆ กัน ตั้งแต่ตอนเริ่มไปจนถึงตอนจบ ถือว่า ยอดเยี่ยมในสาขาหนึ่ง
เช่น กม.1-10 เราวิ่งที่เพซ 6.30 แล้วตอนจบกม. 35 ไป 42 เรายังวิ่งที่เพซ 6.25-6.20 ได้ ถือว่า คุณมีสมาธิ บริหารแรงและพลังงานได้ A+ และจะเรียนรู้อะไรอีกมากมายเลยจากการเผด็จศึกด้วยการบริหารพลังงานเป็น
🔸19. พิจารณารองเท้าใหม่ทุกๆ 600 – 800Km
พื้นรองเท้าวิ่งมีการสึก มีระยะการใช้งาน จดบันทึก หรือทำ Log ไว้บนแอพฯ Strava ได้ ว่าแต่ละคู่ใช้ไปกี่กม.แล้ว หากจะวิ่งมาราธอนกับรองเท้าคู่ไหน ก็นำไปซ้อมยาวด้วย รองเท้าใหม่เอี่ยมอ่อง
ไม่ควรนำมาใส่นักวิ่งมาราธอนเด็ดขาด “เพราะเรายังไม่รู้จักกันดีพอ….”
🔸20. วิ่งหนัก-แล้ว-สลับเบา
แม้ปัจจุบันจะเห็นการวิ่งแบบ back2back หรือวิ่งหนัก 2 วันติดต่อกัน เช่น 30/30 (กิโล) แต่นั่นจะเกิดขึ้นเฉพาะกับนักวิ่งที่หวังผลเฉพาะทาง มีต้นทุนร่างกาย ปูพื้นฐานมาแล้ว และมีเป้าหมายที่เข้มข้น นักวิ่งธรรมดาอย่างพวกเรา ถ้าวันนี้วิ่งนี้มาก พรุ่งนี้ก็น้อยได้ เบาได้ หรือพักเลย ย้ำเรื่องฟังเสียงร่างกายกันอีกสักรอบ
🔸21. เสื้อผ้าที่เหมาะสม
เมื่อออกวิ่งได้สักระยะร่างกายจะอุ่นเองขึ้น +2,+3 องศาเซลเซียส มีเหงื่อ ดังนั้นการเลือกเสื้อผ้าเพื่อจะสวมใส่เราควรพิจารณาเป็นครั้งๆ เป็นสนามๆ คำนึงถึงสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศประกอบกันไป รวมถึงระยะเวลาที่ต้องสวมใส่ ใส่เท่ไป แต่อยากถอดทิ้งกลางทาง อันนี้พบบ่อยๆ
🔸22. Interval pace
การวิ่งช้า-สลับเร็ว เป็นชุดๆ สำหรับบางคน คือ ยาขม แต่บางคนบอก คือ ขนมหวาน นักวิ่งทำสิ่งนี้เพื่อต้องการสร้างความทนทานของกล้ามเนื้อชุดต่างๆ และหัวใจที่รับเอาอ๊อกซิเจนไปใช้ ถ้าอยากเร็วขึ้น ก็จำเป็นต้องฝึกฐานนี้ซ้ำๆ
🔸23. Tempo pace
การวิ่งที่แช่ความเร็วไว้เท่าเดิมต่อเนื่องอาจจะ 20 นาที หรือ 4-5Km มีเพซที่นิ่ง เป็นการฝึกที่ช่วยเพิ่มสมรรถนะ การรักษาความเร็วให้เกิดความมั่นคง นักวิ่งจะมาถึงขั้นตอนนี้ได้ ต้องแข็งแรงระดับหนึ่งแล้ว เช่น วิ่งเพซ 4.30 ที่ 15 นาที ต้องจินตนาการความเหนื่อยระดับนี้ได้ แล้วไปสนุกกับมัน
🔸24.Long Run pace
การวิ่งยาว วิ่งนาน หรือวิ่งไกล คุณต้องวิ่งด้วยเพซได้สบาย เพซไม่ขยับปรับเปลี่ยนหรือแขว่งไป-มานัก และสามารถอยู่กับความตรึงล้าของกล้ามเนื้อได้โดยไม่ฝืน บริหารพลังงานได้ดี จบระยะได้ตามเป้าหมาย ข้อนี้ทำไปเพื่อสร้าง Endurance ที่ถือว่าเป็นยอดปรารถนาของชาวมาราธอนและอัลตร้า
🔸25. Finish Strong
ข้อนี้ใน Runner’ World ต้นทางของบทความเรื่องนี้บอกไว้ทำนองว่า “ทางยิ่งไกล ยิ่งต้องไปช้า” ความหมาย คือ การไปอย่างมีสมาธิและแข็งแรงนั่นเอง ไม่หุนหันพลันแล่น แต่นี่ไม่ได้บอกให้ไปเดิน หนี Cut Off จนจบเรซ ไม่ใช่ !
.
ทางที่ถูกที่ควร คือ “จบได้อย่างแข็งแรง” ถึงเป็นช้าง แต่ก็เคี้ยวไปทีละคำ สามารถเปิดก็อกพลังงานทั้งหมดได้สมบูรณ์
.
รู้จังหวะผลักดันตัวเอง รู้เกมส์ตัวเอง รู้ลิมิตและค่อยๆ ไต่ลิมิตนั้นจนไปถึงเส้นชัย 42.195 หรือ Beyond ไปไกลกว่านั้น
อ่านมาถึงข้อนี้ได้ เชื่อว่าคุณรักวิ่งจริงๆ
คุณรักในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว
ที่เหลือ คือ สร้างเขาให้เติบโตและดีงาม
เคียงข้างสองเท้าเล็กๆ ของคุณนั่นเอง ขอบคุณครับ
เรียบเรียงใหม่จาก | The 25 Golden Rules of Running
https://goo.gl/SXfAZh
หากชื่นชอบขอบคุณที่ Like Page | Share | Comment | หรือ Save ไว้อ่านกันน้าา
Original Post © Bui Montri
Via | #ThaiRun
ที่มา : https://www.facebook.com/thaidotrun/photos/a.1694377410849702.1073741828.1658834907737286/2018283881792385/?type=3
#FinishStrong2018
🔸1.เจาะจงซ้อมในสปีดที่จะใช้วิ่งจริงในวันแข่ง
เพื่อให้ร่างกายได้ฝึกความทนทานและการตอบสนองต่อความเหนื่อยนั้นได้หากตั้งเป้า 10Km ที่ 60 นาที จะเป็นไรไปละ ถ้าเราซ้อมด้วยสปีดนี้บ่อยๆเข้าเมื่อร่างกายปรับตัวได้ เวลา 58 ,57 นาทีเป็นไปได้ในความมุ่งมั่นที่ถูกทาง แต่ทั้งนี้ถ้าจำลองการวิ่งด้วยความเข้มข้นลักษณะนี้ ก็ต้องคำนึงถึงการพักฟื้น Recovery หากอีก 3 วันลงสนามก็พักและผ่อนได้แล้ว
🔸2. กฎ 10% เพื่อการพัฒนา
ที่เห็นภาพชัด คือ การค่อยๆ เพิ่มระยะทางสะสมต่อสัปดาห์ไปทีละ 10% ทดไว้ถ้า 1 วีค
วิ่งได้ 30km ให้เพิ่มขึ้นในสัปดาห์ถัดมาอีก 3Km ก็เพียงพอ แม้จะเห็นว่าเพิ่มน้อยจัง ! ฉันวิ่งได้มากกว่านี้ตั้งเยอะ แต่ “Too Much Too Soon” ยิ่งเพิ่มมากไป ยิ่งเพิ่มเร็วไป นั่นแปลว่า Injury จะบาดเจ็บและเสียหาย
🔸3. 2 ชั่วโมงไม่จุก
ถ้าคิดจะวิ่งให้รับประทานอาหารก่อนล่วงหน้า 2 ชม. สายอาหารจำพวกแป้ง-คาร์โบไฮเดรต ต้องใช้เวลาย่อย แต่หากใส่ไขมันและโปรตีนลงไปด้วย โน่นเลยต้องมี 3 ชั่วโมงก่อนวิ่ง
เพราะจะย่อยช้ากว่า ร่างกายไม่ชอบถูกสั่งให้รีบย่อย รีบใช้พลังงาน ขณะเคลื่อนไหวต้องออกแรงหนักๆ หอบๆ ไปด้วย ... จึงฟ้องเราด้วยอาการจุก เสียด แน่นท้อง หรืออาเจียน
🔸4.วอร์มอัพ-คูลดาวน์ 10 นาที
ปลุกร่างกายให้ตื่นด้วยการสร้างความอบอุ่นอย่างนุ่มนวล กระตุ้นการเต้นของหัวใจให้เหงื่อซึมๆ 10 นาที
เมื่อวิ่งเสร็จส่งร่างกายเข้าสู่หมวดปรกติ ผ่อนแรง ยืดเหยียด พับเพียบ จัดเก็บกล้ามเนื้อให้คลายสบายตัว ทั้งร่างกายและหัวใจอีก 10 นาที เท่านี้วงจรจะสมบูรณ์ คิดไว้ นี่คือ งานบริการที่ร่างกายต้องการจริงๆ
🔸5.เมื่อเจ็บพักเถอะ 2 วัน
แม้เป็นเรื่องที่ยาก คิดว่าเสียระยะซะนั้น เพื่อนเค้าไปไหนต่อไหนแล้ว แต่ความเข้าใจ #เรื่องเจ็บหยุดรอได้ พักพื้น เป็นความเข้าใจข้อต้นๆ ของนักกีฬาและการพัฒนา เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย ถ้าพบการเจ็บที่มีพิรุธส่อเค้าร้าวลึก อย่าแค่ถามเพื่อน หรือโซเซียลฯ ไปพบคุณหมอผู้เชี่ยวชาญดีที่สุด
🔸6.อาหารไม่คุ้น อย่าลุ้น อย่าลอง
หลายคนเคยพัง เพราะเพียงเมนูจานเล็กๆ อาหารเป็นปัจจัยสำคัญของนักกีฬาอย่าลองอะไรใหม่ก่อนวันแข่ง ได้โปรด…
เราไม่ได้ทำรายการครัวคุณต๋อย แนะนำอาหารที่ร่างกายคุณคุ้นเคยต่อการย่อย การใช้งานนั่นดีที่สุดละ
🔸7.หยุด ฟังเสียงร่างกาย
อ้างอิงกันมานาน จำนวนพักหลังแข่งคำนวนจากจำนวนไมล์ที่ใช้ไป เช่น 10Km หรือ 6.25 ไมล์ให้พักนาน 6 วัน
วิ่งมาราธอน 26.2 ไมล์ให้พัก 26 วัน ! แน่นอนว่าในกาลเวลาต่อมามีคนค้านว่าแต่ละคนวิ่งที่ความเร็วไม่เท่ากัน เหนื่อยสาหัส ไม่เท่ากัน จำนวนวันพักไม่น่าจะเท่ากัน เรื่องนี้ฟังขึ้น แต่ที่น่าฟังที่สุด คือ “#ฟังเสียงร่างกาย” เขาจะค่อยๆ บอกว่าพักแค่ไหนถึงจะดี ยิ่งอยู่กับเขานานๆ คุณจะยิ่งเข้าใจ อ้างอิงจาก Tale of the Ancient Marathoner-Jack Foster
🔸8.แรงลม มีผลต่อแรงวิ่ง
ในสนามต่างประเทศแรงลม เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทางผู้จัดและนักวิ่งให้ความสนใจมาก เพราะเจอลมปะทะย่อมทำให้วิ่งช้าลง ใช้แรงส่งมากกว่าปรกติ มีลมฉุด มีลมส่ง ดังนั้นการบริหารแรงกับลมที่เจอเป็นเรื่องที่น่าสนใจ หากจะเอาดีด้านนี้
🔸9. Talk Test
อีกหนึ่งวิธีที่จะวัดความสนุก ความแข็งแรงหรือพัฒนาของการวิ่ง คือ วิ่งไปด้วยคุยไปด้วยได้ที่เพซความเร็วพอเหมาะ หากเริ่มวิ่งใหม่ๆ นักวิ่งจะคิดว่า เหนื่อยแล้วจะมาชวนคุยไรตอนนี้ฟะ ! แต่พอวิ่งไปสัก 2-3 เดือน การหายใจจะปรับได้ดีขึ้น
.
คุยได้ตอบได้เป็นประโยค นั่นแปลว่า คุณแข็งแรงขึ้นละ ส่วนการวิ่งเร็วที่คุยได้เป็นคำๆ เท่านั้นนั่นก็กำลังเข้าสู่ความเร็วที่ใช้ในการวิ่ง interval
🔸10. ก่อนมาราธอนต้องมี 32Km สักครั้ง !
การซ้อมยาว คือ หัวใจความสำเร็จห้องหนึ่งของมาราธอน
ก่อนไปจบ 42.195 ร่างกายควรได้รับและปรับตัวที่ระยะ 32Km
ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ถามคนที่วิ่งมาราธอนเวลาดีๆ ซิ พวกเขาไปถึงระยะ 25,32,35 km กันเป็นเรื่องปรกติ #มาราธอนไม่มีทางลัด พูดเลย
🔸11. โหลดคาร์ปพอเหมาะพอดี
ศัพท์คำนี้ฮิตสุดๆ “#โหลดคาร์ป” อัดแป้งกันเข้าไปก่อนแข่ง แต่อีกด้านคือ เมื่อมีน้ำหนักสะสมเพิ่มขึ้นแบบทันทีทันใด แล้วต้องแบกน้ำหนักนี้ไปวิ่งไกลด้วย ไม่น่าสนุกเลย อีกอย่างตอนซ้อมเราไม่ได้อยู่ในน้ำหนักนี้สักหน่อยดังนั้นโหลดแต่พอดีๆ เพิ่มขึ้นอีกเพียง 15-20% จากมื้อปรกติก็เพียงพอแล้ว อ้างบ่อยเดี๋ยวเคยตัวไม่รู้ด้วยนะ
🔸12. 7 ปีวิ่งดี หวังผลได้
อดทนวิ่งให้ถึง 7 ปี แล้วจะพบความเปลี่ยนแปลงที่น่าอัศจรรย์ใจ พิสูจน์มาแล้วว่าโคตรจริง !
🔸13. เห็นรถที่วิ่งสวน
หากจำเป็นต้องวิ่งบนถนนร่วมกับรถทุกๆ ชนิด ความปลอดภัยเรื่องหลักเราต้องเห็นรถที่สวนมา อย่าวิ่งโดยที่ไม่รู้ว่ามีรถตามด้านหลังหรือไม่ อันตราย ทางที่ดีควรมีไฟ แถบสะท้อนแสง มีสัญลักษณ์กระพริบให้เห็นแต่ไกล บนเสื้อผ้า
🔸14. เข้าใจทางเนินแต่เนิ่นๆ
ทางวิ่งทุกๆ สนามไม่ได้ราบเรียบ ก่อนบ่น จงทำตัวให้แข็งแรงและเข้าใจ บริหารแรงขึ้น-ลงเนิน เดินได้ไม่เสียฟอร์มสักนิด ทางลงเนินเป็นโอกาสที่จะทดสอบกฏแรงโน้มถ่วง ทำความเร็ว แต่การจะวิ่งปร๋อลงเนินเท่ๆ ตัวปลิว ต้องทำตัวเองให้แข็งแรงและเอาอยู่ ! กับแรงส่งมหาศาลนั้นเสียก่อนละ ซ้อมซิซ้อมจะรออะไร
🔸15. นอนให้พอ
ใช้ร่างกายนานขึ้น หนักขึ้น ก็ต้องให้เขาพักนานขึ้น หลับลึกขึ้น
กลไกการซ่อมแซมร่างกายปรกติ ตอกบัตรทำงานในเวลา 4 ทุ่มครึ่งถึงตี 4
โดยประมาณ อย่าพลาดช่วงเวลาดีๆ นี้ละ ยิ่งวิ่งยาว การนอนนี้เวรี่สำคัญ !
🔸16. เติมพลังงานทดแทนให้ทันท่วงที
30-60 นาที คือ เวลาที่ดีที่สุดที่นักวิ่งควรจะเติมโปรตีน-คาร์บโบไฮเดรต หลังจากที่เราเบิร์นไปกับมาราธอน แล้วจากนั้นค่อยไปเซลฟี่ก็ได้ อย่าปล่อยให้เขาหิว เครื่องช็อต น็อคไป กู้คืนลำบาก ร่างกายมีประท้วงได้นะ
🔸17. ผสมผสานเวทเทรนนิ่ง
อย่าวิ่งอย่างเดียว ไม่เหลียวแล Cross Training หรือสร้างเสริมกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ บ้าง เช่น แกนกลางลำตัว (Core body)
เชื่อเถอะ รถที่ไปได้เร็ว พื้นฐานมาจากศูนย์ล่างที่ดี บอดี้มั่นคง นักวิ่งอย่างเราๆ ก็เช่นกัน วิ่งเร็วแล้วเกิดสะบัด อันนี้ก็พัง
🔸18. อัตราความเร็วเสมอต้น เสมอปลาย
การวิ่งมาราธอน วิ่งไกล การเกลี่ยอัตราความเร็วที่เท่าๆ กัน ตั้งแต่ตอนเริ่มไปจนถึงตอนจบ ถือว่า ยอดเยี่ยมในสาขาหนึ่ง
เช่น กม.1-10 เราวิ่งที่เพซ 6.30 แล้วตอนจบกม. 35 ไป 42 เรายังวิ่งที่เพซ 6.25-6.20 ได้ ถือว่า คุณมีสมาธิ บริหารแรงและพลังงานได้ A+ และจะเรียนรู้อะไรอีกมากมายเลยจากการเผด็จศึกด้วยการบริหารพลังงานเป็น
🔸19. พิจารณารองเท้าใหม่ทุกๆ 600 – 800Km
พื้นรองเท้าวิ่งมีการสึก มีระยะการใช้งาน จดบันทึก หรือทำ Log ไว้บนแอพฯ Strava ได้ ว่าแต่ละคู่ใช้ไปกี่กม.แล้ว หากจะวิ่งมาราธอนกับรองเท้าคู่ไหน ก็นำไปซ้อมยาวด้วย รองเท้าใหม่เอี่ยมอ่อง
ไม่ควรนำมาใส่นักวิ่งมาราธอนเด็ดขาด “เพราะเรายังไม่รู้จักกันดีพอ….”
🔸20. วิ่งหนัก-แล้ว-สลับเบา
แม้ปัจจุบันจะเห็นการวิ่งแบบ back2back หรือวิ่งหนัก 2 วันติดต่อกัน เช่น 30/30 (กิโล) แต่นั่นจะเกิดขึ้นเฉพาะกับนักวิ่งที่หวังผลเฉพาะทาง มีต้นทุนร่างกาย ปูพื้นฐานมาแล้ว และมีเป้าหมายที่เข้มข้น นักวิ่งธรรมดาอย่างพวกเรา ถ้าวันนี้วิ่งนี้มาก พรุ่งนี้ก็น้อยได้ เบาได้ หรือพักเลย ย้ำเรื่องฟังเสียงร่างกายกันอีกสักรอบ
🔸21. เสื้อผ้าที่เหมาะสม
เมื่อออกวิ่งได้สักระยะร่างกายจะอุ่นเองขึ้น +2,+3 องศาเซลเซียส มีเหงื่อ ดังนั้นการเลือกเสื้อผ้าเพื่อจะสวมใส่เราควรพิจารณาเป็นครั้งๆ เป็นสนามๆ คำนึงถึงสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศประกอบกันไป รวมถึงระยะเวลาที่ต้องสวมใส่ ใส่เท่ไป แต่อยากถอดทิ้งกลางทาง อันนี้พบบ่อยๆ
🔸22. Interval pace
การวิ่งช้า-สลับเร็ว เป็นชุดๆ สำหรับบางคน คือ ยาขม แต่บางคนบอก คือ ขนมหวาน นักวิ่งทำสิ่งนี้เพื่อต้องการสร้างความทนทานของกล้ามเนื้อชุดต่างๆ และหัวใจที่รับเอาอ๊อกซิเจนไปใช้ ถ้าอยากเร็วขึ้น ก็จำเป็นต้องฝึกฐานนี้ซ้ำๆ
🔸23. Tempo pace
การวิ่งที่แช่ความเร็วไว้เท่าเดิมต่อเนื่องอาจจะ 20 นาที หรือ 4-5Km มีเพซที่นิ่ง เป็นการฝึกที่ช่วยเพิ่มสมรรถนะ การรักษาความเร็วให้เกิดความมั่นคง นักวิ่งจะมาถึงขั้นตอนนี้ได้ ต้องแข็งแรงระดับหนึ่งแล้ว เช่น วิ่งเพซ 4.30 ที่ 15 นาที ต้องจินตนาการความเหนื่อยระดับนี้ได้ แล้วไปสนุกกับมัน
🔸24.Long Run pace
การวิ่งยาว วิ่งนาน หรือวิ่งไกล คุณต้องวิ่งด้วยเพซได้สบาย เพซไม่ขยับปรับเปลี่ยนหรือแขว่งไป-มานัก และสามารถอยู่กับความตรึงล้าของกล้ามเนื้อได้โดยไม่ฝืน บริหารพลังงานได้ดี จบระยะได้ตามเป้าหมาย ข้อนี้ทำไปเพื่อสร้าง Endurance ที่ถือว่าเป็นยอดปรารถนาของชาวมาราธอนและอัลตร้า
🔸25. Finish Strong
ข้อนี้ใน Runner’ World ต้นทางของบทความเรื่องนี้บอกไว้ทำนองว่า “ทางยิ่งไกล ยิ่งต้องไปช้า” ความหมาย คือ การไปอย่างมีสมาธิและแข็งแรงนั่นเอง ไม่หุนหันพลันแล่น แต่นี่ไม่ได้บอกให้ไปเดิน หนี Cut Off จนจบเรซ ไม่ใช่ !
.
ทางที่ถูกที่ควร คือ “จบได้อย่างแข็งแรง” ถึงเป็นช้าง แต่ก็เคี้ยวไปทีละคำ สามารถเปิดก็อกพลังงานทั้งหมดได้สมบูรณ์
.
รู้จังหวะผลักดันตัวเอง รู้เกมส์ตัวเอง รู้ลิมิตและค่อยๆ ไต่ลิมิตนั้นจนไปถึงเส้นชัย 42.195 หรือ Beyond ไปไกลกว่านั้น
อ่านมาถึงข้อนี้ได้ เชื่อว่าคุณรักวิ่งจริงๆ
คุณรักในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว
ที่เหลือ คือ สร้างเขาให้เติบโตและดีงาม
เคียงข้างสองเท้าเล็กๆ ของคุณนั่นเอง ขอบคุณครับ
เรียบเรียงใหม่จาก | The 25 Golden Rules of Running
https://goo.gl/SXfAZh
หากชื่นชอบขอบคุณที่ Like Page | Share | Comment | หรือ Save ไว้อ่านกันน้าา
Original Post © Bui Montri
Via | #ThaiRun
ที่มา : https://www.facebook.com/thaidotrun/photos/a.1694377410849702.1073741828.1658834907737286/2018283881792385/?type=3
การวิ่งมาราธอน ทำร้ายเข่าคุณจริงหรือไม่?
"สวัสดีครับ ผม ดร. รีด เฟอร์เบอร์ (Dr. Reed Ferber) ผมจบปริญญาเอกทางด้าน ชีวกลศาสตร์ (Biomechanics) ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Physics ของการเคลื่อนไหวของมนุษย์
.
จริงๆแล้ว การวิ่งมาราธอน ช่วยปกป้องเข่าคุณมากกว่า ซะอีก
.
มีการศึกษายาวนาน ซึ่งหมายถึงการเก็บข้อมูลของนักวิ่งมาราธอนต่อเนื่องหลายๆปี หลังจากเฝ้าดูเค้า 20-30 ปี นักวิทยาศาสตร์พบว่ามันช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้มาก แปลว่า ผลจากการวิ่งมาราธอนทำให้คนจะมีอายุยืนขึ้น มีโรคน้อยลง เช่น โรคที่เกียวกับหัวใจ หรือ โรคเบาหวาน อัตราของโรคพวกนี้ลดลงไป
.
ไม่แค่นั้น พวกเค้าพบว่า มันปกป้องข้อเข่าของนักวิ่ง จากอาการ Osteoarthritis ด้วย (เอิ่มมม อันนี้ แอดก็อ่านไม่ออกค่าา) ซึ่งหมายถึงว่าอาการปวดข้อ อันเนื่องจากการเสื่อมของกระดูกและเนื้อเยื่อ
.
ดังนั้นการวิ่ง มันส่งผลดีมากๆต่างหากหล่ะ มันช่วยคุณห่างไกลจากโรค มันไม่ทำร้ายข้อต่อต่างๆของคุณ มันไม่ทำรายข้อขา ข้อเข่า หรือ ข้อสะโพก
.
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณเคยมีปัญหากับข้อเหล่านั้นด้วยสาเหตุอื่นใด การวิ่งอาจจะมีผลทำให้คุณบาดเจ็บที่จุดเดิมได้
.
สำหรับคนที่มีอาการ Arthritis (หรือโรคปวดข้อ) ซึ่งเป็นอาการที่มักทำให้เจ็บข้อต่อ เช่น เจ็บเข่า อาการนี้อาจเกิดเพราะว่ากระดูกที่อยู่ใกล้ก้นเสื่อม อาจจะเป็นเพราะเอ็นหรือเยื่อที่คั่นกระดูกอยู่มันเสื่อม ซึ่งแน่นอนว่า เราไม่อยากเพิ่มแรงกดระหว่างกระดูกเพราะมันจะทำให้ยิ่งปวด แต่ไม่ได้แปลว่าคุณจะวิ่งไม่ได้ จริงๆ การทำให้กล้ามเนื้อคุณแข็งแรงขึ้น ต่างหาก ที่จะช่วยลดแรงกระแทกระหว่างกระดูก และจะส่งผลให้อาการปวดลดลง
.
การวิ่งที่สม่ำเสมอ ลดความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือดและหัวใจ
การวิ่งโดยปกติ จะทำให้สุขภาพของคุณดีขึ้นโดยรวม
.
แต่สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ อย่าวิ่งเร็วเกินไป อย่าหักโหมเกินไป และอย่าบ่อยเกินไป ซึ่งนั่นหล่ะที่มันจะทำให้คุณบาดเจ็บ
.
การเทรนสำหรับมาราธอนที่ดีที่สุด ก็คือทำตามโปรแกรมฝึกซ้อมอย่างเคร่งครัด เพราะโปรแกรมเหล่านั้น (ลอง Search คำว่า Train for Marathon จะเจอโปรแกรมเหล่านี้เต็มเลย) เพราะโปรแกรมพวกนี้ถูกออกแบบมาแล้วเป็นอย่างดี ให้ค่อยๆเพิ่มความเข้มขึ้นประมาณ 10% ทุกๆสัปดาห์ และมันควรจะต้องเสริมด้วยการว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน หรือการเข้ายิม เล่นเวท เพราะการเล่นกีฬาหลากหลายประเภท มันดีต่อร่างกายอย่างยิ่ง"
---
ดร. รีด เฟอร์เบอร์
Cr: #ScienceInsider
https://www.facebook.com/BusinessInsiderScience/.
.
.
.
.
หมายเหตุจากแอด!
1. การทำ cross training คือการออกกำลังกายหลายๆอย่าง ดีจ้าา เพราะจะได้ใช้กล้ามเนื้อที่แตกต่างจากการวิ่งอย่างเดียว ช่วยลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บที่เดิมๆ
2. ถ้าคุณมีอาการเจ็บ อย่าฝืนนะ แนะนำว่าไปปรึกษาหมอก่อนเป็นอันดับแรก แล้วค่อยเทรนขขึ้นไป
3. คนเราไม่เหมือนกัน น้ำหนักไม่เท่ากัน สรีระไม่เหมือนกัน ไม่มีสูตรใดตายตัว เราแค่เกาะโปรแกรมไว้ แต่อาจจะปรับเล็กน้อยตามแต่ละคนนะ
4. ฟังร่างกายตัวเองเป็นสำคัญ เราไม่ต้องเอา เพซ หรือ เอาระยะทางมาเป็นตัวตั้ง ค่อยๆฝึก จากเดิน เป็นวิ่งเหยาะๆ เป็นวิ่งเร็ว เป็นวิ่งมาราธอน เราไม่รีบ แค่ให้ฟังเสียงจากร่างกายเราเองนะ
.
.
วิ่งให้สนุก
.
#ThaiRun
เพราะความสุขของนักวิ่ง คือเรื่องใหญ่ของเรา
.
จริงๆแล้ว การวิ่งมาราธอน ช่วยปกป้องเข่าคุณมากกว่า ซะอีก
.
มีการศึกษายาวนาน ซึ่งหมายถึงการเก็บข้อมูลของนักวิ่งมาราธอนต่อเนื่องหลายๆปี หลังจากเฝ้าดูเค้า 20-30 ปี นักวิทยาศาสตร์พบว่ามันช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้มาก แปลว่า ผลจากการวิ่งมาราธอนทำให้คนจะมีอายุยืนขึ้น มีโรคน้อยลง เช่น โรคที่เกียวกับหัวใจ หรือ โรคเบาหวาน อัตราของโรคพวกนี้ลดลงไป
.
ไม่แค่นั้น พวกเค้าพบว่า มันปกป้องข้อเข่าของนักวิ่ง จากอาการ Osteoarthritis ด้วย (เอิ่มมม อันนี้ แอดก็อ่านไม่ออกค่าา) ซึ่งหมายถึงว่าอาการปวดข้อ อันเนื่องจากการเสื่อมของกระดูกและเนื้อเยื่อ
.
ดังนั้นการวิ่ง มันส่งผลดีมากๆต่างหากหล่ะ มันช่วยคุณห่างไกลจากโรค มันไม่ทำร้ายข้อต่อต่างๆของคุณ มันไม่ทำรายข้อขา ข้อเข่า หรือ ข้อสะโพก
.
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณเคยมีปัญหากับข้อเหล่านั้นด้วยสาเหตุอื่นใด การวิ่งอาจจะมีผลทำให้คุณบาดเจ็บที่จุดเดิมได้
.
สำหรับคนที่มีอาการ Arthritis (หรือโรคปวดข้อ) ซึ่งเป็นอาการที่มักทำให้เจ็บข้อต่อ เช่น เจ็บเข่า อาการนี้อาจเกิดเพราะว่ากระดูกที่อยู่ใกล้ก้นเสื่อม อาจจะเป็นเพราะเอ็นหรือเยื่อที่คั่นกระดูกอยู่มันเสื่อม ซึ่งแน่นอนว่า เราไม่อยากเพิ่มแรงกดระหว่างกระดูกเพราะมันจะทำให้ยิ่งปวด แต่ไม่ได้แปลว่าคุณจะวิ่งไม่ได้ จริงๆ การทำให้กล้ามเนื้อคุณแข็งแรงขึ้น ต่างหาก ที่จะช่วยลดแรงกระแทกระหว่างกระดูก และจะส่งผลให้อาการปวดลดลง
.
การวิ่งที่สม่ำเสมอ ลดความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือดและหัวใจ
การวิ่งโดยปกติ จะทำให้สุขภาพของคุณดีขึ้นโดยรวม
.
แต่สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ อย่าวิ่งเร็วเกินไป อย่าหักโหมเกินไป และอย่าบ่อยเกินไป ซึ่งนั่นหล่ะที่มันจะทำให้คุณบาดเจ็บ
.
การเทรนสำหรับมาราธอนที่ดีที่สุด ก็คือทำตามโปรแกรมฝึกซ้อมอย่างเคร่งครัด เพราะโปรแกรมเหล่านั้น (ลอง Search คำว่า Train for Marathon จะเจอโปรแกรมเหล่านี้เต็มเลย) เพราะโปรแกรมพวกนี้ถูกออกแบบมาแล้วเป็นอย่างดี ให้ค่อยๆเพิ่มความเข้มขึ้นประมาณ 10% ทุกๆสัปดาห์ และมันควรจะต้องเสริมด้วยการว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน หรือการเข้ายิม เล่นเวท เพราะการเล่นกีฬาหลากหลายประเภท มันดีต่อร่างกายอย่างยิ่ง"
---
ดร. รีด เฟอร์เบอร์
Cr: #ScienceInsider
https://www.facebook.com/BusinessInsiderScience/.
.
.
.
.
หมายเหตุจากแอด!
1. การทำ cross training คือการออกกำลังกายหลายๆอย่าง ดีจ้าา เพราะจะได้ใช้กล้ามเนื้อที่แตกต่างจากการวิ่งอย่างเดียว ช่วยลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บที่เดิมๆ
2. ถ้าคุณมีอาการเจ็บ อย่าฝืนนะ แนะนำว่าไปปรึกษาหมอก่อนเป็นอันดับแรก แล้วค่อยเทรนขขึ้นไป
3. คนเราไม่เหมือนกัน น้ำหนักไม่เท่ากัน สรีระไม่เหมือนกัน ไม่มีสูตรใดตายตัว เราแค่เกาะโปรแกรมไว้ แต่อาจจะปรับเล็กน้อยตามแต่ละคนนะ
4. ฟังร่างกายตัวเองเป็นสำคัญ เราไม่ต้องเอา เพซ หรือ เอาระยะทางมาเป็นตัวตั้ง ค่อยๆฝึก จากเดิน เป็นวิ่งเหยาะๆ เป็นวิ่งเร็ว เป็นวิ่งมาราธอน เราไม่รีบ แค่ให้ฟังเสียงจากร่างกายเราเองนะ
.
.
วิ่งให้สนุก
.
#ThaiRun
เพราะความสุขของนักวิ่ง คือเรื่องใหญ่ของเรา