ss-เขียนเอง

วันพุธที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

วิ่งแล้วร่างกายได้อะไร

ก่อนเริ่มต้นขยับตัวและผูกเชือกรองเท้า 
หลายคนยังสงสัยว่า 🏃‍♀️👟
#วิ่งแล้วร่างกายได้อะไร

มีตำรา งานวิจัยด้านสุขภาพมากมายที่บอกถึงประโยชน์ของการวิ่ง (จากโพสต์ยอดนิยมของ #ThaiRun )🤗 ผู้เริ่มต้นแนะนำ #ข้อ4 #ข้อ7 อะคร้าบบ

♦️1) วิ่งครั้งละ 20- 30 นาทีขึ้นไป ร่างกายจะหลั่งสารเอนโดฟินน์หรือว่าสารแห่งความสุข ที่ทำให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า มีผลทำให้ไม่เป็นโรคซึมเศร้า คลายความวิตกกังวลสารพัด 
.
.
♦️2) สถาบัน Neurology (USA) ชี้ว่าคนที่วิ่งเป็นประจำจะลดความเสี่ยงเป็นโรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ได้ดีกว่าคนที่ไม่วิ่งถึง 2 เท่า
.
.
♦️3) การวิ่งช่วยลดน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพ วิ่ง 45 นาทีที่มีความเหนื่อยระดับกลาง อัตราการเต้นของหัวใจที่ 140ครั้งต่อนาที จะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานต่อไปอีก 14 ชั่วโมงหลังจากวิ่งจบ (ช่วยเจริญอาหาร)-สถาบัน Human Performance Laboratory (USA)
.
.
♦️4) หลายงานวิจัยพบว่า วิ่งสลับเดินต่อเนื่องให้ได้ 5-7 กิโลเมตรจำนวน 4 ครั้งต่อสัปดาห์ ควบคุมอาหารไปด้วยจะช่วยลดน้ำหนักได้ผลจริงใน 6 สัปดาห์ 
.
.
♦️5) วิ่งช้าๆครั้งละ 1 ชม.สัปดาห์ละ 4 ครั้ง มีผลวิจัยของมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดว่า ช่วยสร้างเสริมความแข็งแรงของกระดูกข้อต่อ (Joint) ลดปัญหาข้อกระดูกเสื่อมเมื่อย่างเข้าสู่วัยชราได้
.
.
♦️6) การวิ่งช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจวาย โดยการวิ่งมีผลให้เลือดลมภายในสูบฉีดมีค่าการไหลเวียนของอ๊อกซิเจนที่ดี 
.
.
♦️7) สถาบัน The American Journal of Physiology แนะนำให้วิ่ง 45 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 4 เดือน ชี้ว่าเป็นวิธีช่วยเพิ่มเส้นใยกล้ามเนื้อใหม่ๆ ได้ถึง 20 % เผาผลาญไขมันในร่างกายให้คุณมีรูปร่างกระชับ ลีนจนเห็นการเปลี่ยนแปลง
.
.
♦️8) คอเลสเตอรอล สามารถถูกควบคุมได้ด้วยการออกกำลังกายในลักษณะคาร์ดิโอ ด้วยการวิ่ง มีผลสรุปจากเมโยคลีนิคในมินนิโซต้าว่า การวิ่งต่อเนื่อง 2 เดือนช่วยเพิ่มระดับไขมันดี HDL ได้ถึง 5% ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายระหว่างไขมันดีกับไขมันเลวสมดุลย์กัน ลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้โดยไม่ต้องทานยา
.
.
♦️9) ในเรื่องสุขภาวะทางเพศ The Archives of Sexual Behavior เคยทดลองว่า 71% ของชายหนุ่มอเมริกันที่มีปัญหาเรื่องไม่มีความสุขบนเตียง ชีวิตของพวกเขาดีขึ้นเมื่อได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมาวิ่งสะสมสัปดาห์ละ 25-30 กิโลเมตรต่อสัปดาห์ (เฉลี่ยครั้งละ 5 กิโลเมตร)
.
.
♦️10) มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดทำการทดลองเรื่องความกระฉับกระเฉงในหมู่ผู้สูงอายุเปรียบเทียบกับหนูบนสะพาน พบความสอดคล้องกันว่า การวิ่งสะสมต่อเนื่องมากกว่า 7 ปีขึ้นไป จะให้ค่าความเสื่อมสภาพของอวัยวะภายในน้อยกว่าคนที่ไม่วิ่งเลย 
.
.
.
💟 โพสต์ครั้งแรก | September 2017 ©bui_montri
.
✍️หากชื่นชอบบทความนี้มีประโยชน์ | กดไลค์ | กดแชร์ | กดติดตาม| คอมเม้นต์และเมนชั่น ถึงคนสนิทคนรัก ให้มาเริ่มเดิน เริ่มวิ่งกันน้าคร้าบบบ 📝 
.
#สุขภาพดีเป็นต้นทุนชีวิตในทุกๆเรื่อง 
.
ด้วยความปรารถนาดีจากพวกเรา 
#ThaiRun ฮับความสุขนักวิ่ง

ที่มา : https://www.facebook.com/thaidotrun/photos/a.1694377410849702.1073741828.1658834907737286/2013029012317872/?type=3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น