ss-เขียนเอง

วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในนักวิ่ง

 วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี

24 มกราคม  · 

🩸 ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในนักวิ่ง


.

เราเคยได้ยินเรื่องราวของนักวิ่งที่แข็งแรงและมีสุขภาพดี เสียชีวิตจากอาการหัวใจวายหรือเป็นโรคหลอดเลือดอุดตันในปอด โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้ากันมาแล้ว วันนี้เลยอยากชวนเพื่อนๆมาสำรวจความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (DVT) รวมไปถึงวิธีป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน และวิธีสังเกตอาการตั้งแต่เนิ่นๆกันครับ

.

ก่อนอื่นมาทำความรู้จัก “ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (DVT)” กันก่อนเลย มันก็คือลิ่มเลือดชนิดหนึ่งที่ก่อตัวในหลอดเลือดดำส่วนลึก ซึ่งมักจะอยู่ที่ขาส่วนล่าง ต้นขา หรือกระดูกเชิงกราน โดยสาเหตุมักเกิดจากการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อหลังการบาดเจ็บ หรือความเสียหายต่อหลอดเลือดดำจากการผ่าตัด

.

⛔️ การวิ่งทำให้เลือดอุดตันหรือไม่?

การฝึกซ้อมที่เข้มข้นและยาวนานของนักวิ่งนั้น ทำให้เกิดความเครียดกับระบบต่างๆในร่างกายมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดที่ขาได้

.

ในปี พ.ศ. 2427 แพทย์ชาวเยอรมันชื่อรูดอล์ฟ เวอร์โช ได้กำหนดปัจจัยหลักสามประเภทที่ทำให้เกิดลิ่มเลือด ซึ่งเป็นที่รู้จักและเรียกกันว่า Virchow's Triad ได้แก่

1.) ประสิทธิภาพของการไหลเวียนของเลือด (ภาวะหยุดนิ่งของระบบไหลเวียนโลหิต)

2.) ความสมบูรณ์ของหลอดเลือด (ความเสียหายของหลอดเลือด)

3.) องค์ประกอบของเลือด (ภาวะการแข็งตัวของเลือดมากเกินไป)

.

ภายในสามหมวดหมู่นี้มีปัจจัยที่ทำให้นักวิ่งทางไกลมีความเสี่ยงสูง เช่น ภาวะขาดน้ำ การอักเสบ การใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิดระหว่างการฝึกหรือการแข่งขัน และการนั่งนานๆเวลาเดินทางไปแข่งขัน

.

⛔️ สัญญาณบ่งชี้และอาการ

สัญญาณที่พบบ่อยที่สุดของลิ่มเลือดที่ขา (หรือแขน) คือความเจ็บปวดที่คนส่วนใหญ่เรียกว่าเป็นตะคริว ซึ่งอาจมาพร้อมกับอาการบวมหรือแสบร้อนในบริเวณจุดเกิดเหตุ ผิวหนังอาจเปลี่ยนสี เป็นสีแดงหรือสีน้ำเงิน

.

⛔️ วิธีป้องกัน

แม้ว่าการวิ่งไม่ได้ทำให้เกิดลิ่มเลือด แต่สถานการณ์ต่างๆที่นักวิ่งต้องเผชิญ โดยเฉพาะนักวิ่งทางไกล ก็ทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้น เบื้องต้นให้ขยับร่างกายลุกขึ้นเคลื่อนไหวเรื่อยๆ อย่าอยู่นิ่งเป็นเวลานาน รักษาน้ำหนักตัว และอย่าลืมดื่มน้ำมากๆเนื่องจากภาวะขาดน้ำจะทำให้เลือดข้นขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงของการอุดตัน

.

ลองสังเกตตัวเองด้วยนะครับ ถ้ามีอาการผิดปกติเหล่านี้ อย่านิ่งนอนใจ ให้รีบไปปรึกษาคุณหมอ เพื่อประเมินอาการและรักษาได้ทัน

.

.

เรียบเรียงจาก https://bit.ly/3fRoQzn

.

อ่านบทความ วิ่ง ปั่น ไตรกีฬา และสุขภาพ

ได้ที่ https://www.vrunvride.com

.

ชมรีวิวรองเท้าวิ่ง และ Gatget น่าสนใจ

ได้ที่ bit.ly/YTVRUN

—————————————————

ไปให้ไกล ยิ่งกว่าเดิม

Break your limit

วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี

ที่มา: https://www.facebook.com/wheretorunwhentoride/posts/4724700634313256

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น