ss-เขียนเอง

วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ไขมันสะสมตรงไหน บ่งบอกได้ด้วยรูปแบบฮอร์โมนส่วนตัวของเรา

 Be fit & Eat well

13 กันยายน 2016  · 

ไขมันสะสมตรงไหน บ่งบอกได้ด้วยรูปแบบฮอร์โมนส่วนตัวของเรา

.


จะเล่าให้ฟังก่อนว่า เนื่องจากที่ยิมที่ทำงานนี้มีความสัมพันธ์กันดีกับเทรนเน่อร์ชื่อดังก้องโลก Charles Poliquin เทรนกันมาแต่นานนม ดังนั้นก็จะมีข้อมูลขุมทรัพย์ความรู้ (เรียกเอง) อยู่ เวลาไปทำงานทีก็จะเหมือนไปคลังความรู้ เพราะได้รับการสนับสนุนให้เข้าไปในขุมทรัพย์ของที่ทำงาน ไปอ่าน ไปค้นคว้า เท่าที่สมองจะรับได้ ไม่มีการหวง เวลาพักก็กลายเป็นเวลาอ่านหนังสือของเราไปด้วย เนิร์ดไปรึเปล่าเนี่ย

.

เมื่อวานก็ไปเจอไฟล์ใหญ่มากไฟล์นึง (ไม่ต้องตกใจค่ะ  จะเขียนทีละส่วนๆไป) เกี่ยวกับ Biosignature ซึ่ง Charles Poliquin เป็นคนริเริ่ม 

.

BioSignature Modulation คือทฤษฎีที่พูดถึงว่า คนเราจะมีจุดสะสมไขมันที่ต่างกันไป ที่ที่คนเราสะสมไขมันในร่างกาย สามารถบ่งชี้ว่าคนคนนั้นมีรูปแบบลักษณะของฮอร์โมน เป็นอย่างไร 

.

เคยสังเกตรึเปล่าคะว่า เราจะมีไขมันสะสมในจุดต่างๆของร่างกายที่ทำยังไงก็ไม่ลดไปซักที

.

ตามทฤษฎีนี้เชื่อว่า เมื่อเรารู้คุณสมบัติของฮอร์โมนของเราแล้ว เราก็จะได้หาวิธีจัดการกับมัน สร้างความสมดุลย์ เพื่อที่เราจะได้สลายไขมันในจุดสะสมของเราได้ด้วย อย่าพึ่งงงนะคะ ง่ายๆเลยคือ เราไปแก้ปัญหาที่ความไม่สมดุลย์ของฮอร์โมนซึ่งมีบทบาทในการสะสมไขมันในจุดต่างๆของเราได้

.

เรื่องนี้เป็นเรื่องของ supplement ล้วนๆเลยค่ะ ดังนั้น ใช้วิจารณญาณในการอ่านนะคะ

.

เราจะแบ่งจุดต่างๆที่แต่ละคนสะสมไขมันอยู่ 4 จุดใหญ่ๆ คือ

.

1.  High lower body  (ช่วงบนของท่อนล่างลำตัว)

.

นั่นคือไขมันส่วนต้นขาตอนบนและก้น (upper thigh skin fold and gluteal fold) 

.

การที่เรามีไขมันสะสมในส่วนนี้บ่งชี้ว่า เรามีระดับของ Alpha-2-receptors ซึ่งมีอยู่ในผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่สูง มีระดับฮอร์โมน estrogens สูงด้วย

.

ดังนั้น ตามทฤษฎีของ Charles ก็จะแนะนำให้ กินอาหารที่มี  Indole-3-Carbinol (I3C) คือสารอาหารที่สกัดจากพืชตระกูล กะหล่ำ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปม บร๊อคโคลี่ เมื่อร่างกายรับสารตัวนี้เข้าไปแล้ว จะไปเปลี่ยนเป็นสารอีกตัวหนึ่ง คือ DIM-Diindolylmethane ซึ่งจะทำหน้าที่ เหมือนเป็น estrogen detoxifier 

.

ในผู้หญิงเราเนี่ย จะมีฮอร์โมนชื่อ progesterone และ estrogen อยู่ในสัดส่วน 30:1 นั่นคือปกติ ซึ่งก็จะขึ้นๆลงๆตลอดขึ้นอยู่กับช่วงเวลาต่างๆในแต่ละเดือน ทีนี้ประมาณ 50% ของ ผู้หญิงที่อายุเกิน 35 ปีเนี่ย สามารถเกิดอาการฮอร์โมนไม่ปกติได้ คือ อาจจะมีระดับฮอร์โมน progesterone น้อยลง หรือมีระดับ ฮอร์โมน estrogen มากขึ้น เรียกว่าอยู่ในสภาวะ estrogen dominant 

.

และก็อาจจะเกิดได้จากความเครียดของชีวิตประจำวันในสมัยนี้ก็ได้ด้วยค่ะ ทำให้กินอาหารไม่ดี อาหารแปรรูป นอนน้อย ไม่ออกกำลังกาย กินกาแฟเยอะเกินไป ส่งผลให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนเครียดที่ชื่อ cortisol 

.

อาการก็จะมี ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาเยอะผิดปกติ หรือมาแบบไม่สม่ำเสมอ PMS ผมร่วง ผิวแห้ง ตาแห้ง และมีไขมันสะสมที่ต้นขาและสะโพกที่ดื้อไม่ยอมไปซักที แต่เราสามารถตรวจสอบได้เพื่อค้นหาว่าเรามีอาการนี้เนื่องจาก hormone imbalance หรือไม่ มากแค่ไหนด้วยการตรวจสอบน้ำลาย (saliva test) หรือเจาะเลือดที่โรงพยาบาลได้ค่ะ

.

แต่โดยรวมๆ การแก้ไขหรือ กระบวนการ estrogen detoxifier จะแก้ได้ด้วยการ

.

1. กิน B vitamins เสริมเพื่อปรับระดับความเครียดและปรับระดับฮอร์โมน

2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนให้เพียงพอ

3. กินไขมันที่ดี เพื่อที่ร่างกายเราจะได้้นำไปใช้ในการผลิตฮอร์โมน 

4. กินสารอาหารที่สกัดจากพืชตระกูล กะหล่ำ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปม บร๊อคโคลี่ อย่างที่เขียนไปข้างต้นค่ะ 

.

2. High umbilical skin fold measurements (ไขมันหน้าท้อง) 

.

น่ากลัวค่ะ มีการทำวิจัยโดยเชิญอาสาสมัคร 30,000 คน และจับตาดูในระยะเวลา 12  ปี พบว่า ผู้หญิงที่มีไขมันสะสมบริเวณนี้จะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคหัวใจมากกว่าคนที่อ้วนแบบปกติทั่วไป คนกลุ่มนี้มักจะรู้สึกเครียดมากกว่าคนปกติ ทั้งเนื่องจากนิสัยตัวเอง หรือความกดดันภายนอกค่ะ

.

เมื่อร่างกายมีความเครียด ฮอร์โมนเครียด cortisol ก็จะหลั่งมาก และก็จัดแจงสะสมไขมันเพื่อให้ร่างกายพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน

.

จากการทดลองคนกลุ่มนี้จะรับอาหารเสริมที่มี phosphatydylserine สะกัดจากอาหาร

ประเภทถั่ว (soy) ก็จะช่วยในเรื่องการลดการหลั่งของฮอร์โมน  cortisol รวมทั้งทำให้อารมณ์ดีขึ้น ความจำดีขึ้น ผ่อนคลายความเครียดได้ดีขึ้น  

.

ตามตำราของ Charles เค้าก็แนะนำการกิน fish oils ที่มีส่วนผสมของ omega-3 oils และ ชะเอมเทศ (Licorice Root)  ซึ่งจะช่วยลดและควบคุมการผลิตฮอร์โมน cortisol

.

รากชะเอมเทศมีสาระสำคัญอย่าง กลีเซอไรซิน (Glycyrrhizin) และสารเคมีอื่น ๆ  เช่น ไฟโตเอสโตรเจน และฟลาโวนอยด์ ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และควบคุมฮอร์โมนcortisol ได้ดีมากค่ะ

.

คนที่มีไขมันสะสมบริเวณหน้าท้องยังควรลดการดื่มกาแฟ คาเฟอีน และน้ำตาล เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถไปเพิ่มระดับการผลิตฮอร์โมน cortisol ได้ด้วยค่ะ 

.

3.     high, mid-auxiliary (upper outer lat region) fat measurement (ไขมันสะสมบริเวณหลังตอนบน-กลาง)

.

ส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องของต่อมไทรอยด์ หรือเริ่มี่จะมีปัญหา ดังนั้นอาหารหรือวิตามินเสริมที่ Charles แนะนำคือ  Guggulsterones (Guggul)

ตามตำราอายุรเวท ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับไขมันผิดปกติ อ้วน ไขข้ออักเสบ การศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่ามีฤทธิ์ลดระดับ cholesterol และ triglyceride ในเลือดได้ค่ะ 

.

Bladderwrack ซึ่งเป็นประเภทของสาหร่ายทะเลที่เป็นแหล่งที่ดีสำหรับไอโอดีน แร่นี้เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับต่อมไทรอยด์ ช่วยให้ต่อมผลิตปริมาณที่เหมาะสมของฮอร์โมน และยังมีส่วนประกอบของ

Iodine, Zinc และ Selenium ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูสุขภาพของต่อมไทรอยด์ รักษาอาการของโรค thyroidal เช่นหงุดหงิดง่าย และมีประโยชน์มากสำหรับเส้นประสาทในร่างกายของเราด้วยค่ะ

.

4. supra iliac (love handles) (ไขมันสะสมบริเวณเอวและสะโพกด้านข้าง)

.

Charles วิเคราะห์ว่าคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องของการหลั่งของ insulin ซึ่งแน่นอนว่า คนกลุ่มนี้จำเป็นที่จะต้องจำกัดการกินอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรต กินอาหารมื้อเล็กๆ บ่อยๆ และส่วนประกอบของอาหารควรจะเป็นประเภท ที่มีกรดไขมันจำเป็น (essential fats) พวกที่มี omega-3 จะพบมากในอาหารจำพวกปลาและน้ำมันพืช เช่น salmon ปลาซาร์ดีน พวกที่มี omega-6 จะพบมากในอาหารจำพวกปลาและน้ำมันพืช เช่นน้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน และอาหารที่มีไฟเบอร์ เป็นส่วนใหญ่

.

อาหารเสริมควรจะดูพวก flax seeds ซึ่งจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและอินซูลิน

.

ลอกมาล้วนๆเลยค่ะ เอามาแต่ส่วนสำคัญ สามารถไปหาเพิ่มเติมใน internet ได้นะคะ ถ้าสนใจเพิ่มเติม เลือกมาใช้ในสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเราและสุขภาพร่างกายของเราค่ะ

.

Ref: บางส่วนจาก http://www.poliquingroupeducation.com/biosignature...

----------------

Chada Bowra, Level 3 Personal Training (YMCA)

(QCF) Diploma in (Advanced) Level 3 Personal Training (Gym-Based Exercise) (YMCA)

ENU (QCF) Nutrition for Exercise (YMCA)

ค้นบทความเก่าได้ที่ http://befitandeatwell.co.uk/

ที่มา: https://www.facebook.com/Befiteatwell/photos/a.848337471945507/1017183365060916/?type=3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น