25 สิงหาคม ·
🏵 REVIEW 42.195K ASIAN GAMES 🏵 โดย : โค้ชม้อก
อินูเอ ทีมญี่ปุ่น คว้าแชมป์แบบสุดมันส์ตัดสินกัน 50 เมตรสุดท้าย | โทนี่ เพนย์ ลูกครึ่งไทยนิวซีแลนด์ทีมชาติไทย เข้าที่ 8 | สัญชัย นามเขต เข้าที่ 13.
จบไปแล้วสำหรับมาราธอนชายในมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ 2018 จากปาเลมบัง ประเทศอินโดนีเซียเมื่อเช้านี้ท่ามกลางอากาศร้อนชื้นจนแม้แต่นักวิ่งเจ้าถิ่นอย่าง Agus Prayogo ยังสู้สุดใจจนยกธงยอมแพ้ไปในช่วงท้ายของการแข่งขัน รวมถึง Abdo Abdi นักวิ่งบาร์เรนที่โอนสัญชาติมาจากเอธิโอเปียและรั้งอยู่ในกลุ่มผู้นำจนถึงกิโลเมตรที่35ก็โบกมือลาสนามอย่างบอบช้ำ
.
เริ่มเกมส์กันตอน 6 โมงเช้าตามเวลาในประเทศไทย มีนักมาราธอน 21 คน จาก 13 ประเทศ และแน่นอนว่ามีสองขุนพลมาราธอนไทยร่วมบดแข้งในเกมส์นี้ด้วยคือ สัญชัย นามเขต มาราธอนเบอร์หนึ่งของไทยจากจังหวัดสุรินทร์และ โทนี อาทิตย์ เพยน์ หนุ่มลูกครึ่งไทย-นิวซีแลนด์
.
🎗10 กิโลเมตรแรกทุกคนต่างขยับความเร็วกันสบายๆ และกลุ่มยังเหนียวแน่นอบอุ่นไม่มีใครทิ้งกันเนื่องจากเป็นช่วงความที่ไม่หนักมาก Ser-Od Ochir จากมองโกเลียขึ้นกระตุ้นให้กลุ่มให้เร็วบ้างช่วงสั้นๆ เกมส์โดยรวมไม่หวือหวา กลุ่มนำจบที่เวลา 33:47 นาที (เพซ 3:23 นาที)
.
🎗15 กิโลเมตร กลุ่มนำเล่นเกมส์แรงขึ้นทีละนิด Ochir ยังเป็นคนกระตุ้นเช่นเคย สลับกับ Park Cholจากเกาหลีเหนือ (สองคนนี้ได้อันดับ 4และ5 จากเอเชียนเกมส์ที่เกาหลีใต้เมื่อ 2014) กลุ่มเริ่มแตกออกชัดเจนเป็น โดยกลุ่มหลังตามอยู่ราวๆ 40 วินาที จบช่วงนี้ที่เวลา 49:52 นาที (เพซ3:20นาที)
.
กลุ่มนำผ่าน Half marathon check point เวลา 1:10:32 ชั่วโมง นำโดย Abdi Abdo กับ Ser-Od Ochir เหมือนในช่วงแรก ช่วงนี้กลุ่มใหญ่สิบกว่าคนเริ่มมีอาการร้อนจนหลุดกลุ่มบ้างประปรายจนคนทำเกมส์ต้องลดความเร็วลงและเป็นโอกาสของหนุ่มไทยบ้าง
.
🎗25 กิโลเมตรมี Big Surprise...!!! เมื่อ Tony Payne หนุ่มลูกครึ่งไทย-นิวซีแลนด์ที่เพิ่งได้รับโอกาสติดทีมชาติครั้งแรกในสนามมาราธอนควบฝีเท้าจากกลุ่มหลังเข้าติดกลุ่มหน้าได้สำเร็จในช่วงระยะแค่ 5 กิโลเมตรที่กลุ่มหน้าเผลอเบาเครื่องลง
.
แต่ดีใจได้พักเดียว กลุ่มกลับเร่งความเร็วขึ้นอีกครั้งด้วยเกมส์ของ Ser-Od Ochir คนเดิมโดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้ตามได้หายใจแม้แต่นิดเดียว Payne จึงต้องชะลอความเร็วลงและหลุดจากกลุ่มไปอย่างน่าเสียดาย แต่นับเป็นความดีใจได้มาก เนื่องจากเกมส์มาราธอนระดับเอเซียนี้น้อยครั้งที่นักกีฬาไทยจะเกาะกลุ่มได้มาถึงจุดนั้น
.
🎗30 กิโลเมตร กลุ่มเหลือเพียง 8 คน ผ่านที่เวลา 1:40:22 ชั่วโมง (เพซ3:21นาที) ประกอบด้วย ญี่ปุ่น 2 คน Hayato Sanoda กับ Hiroto Inoue
จีน 2 คน Bujie Duo กับ Guojian Dong
บาร์เรน 2 คน Elhassan Elabbassi กับ Abdi Abdo
มองโกลเลีย 1 คน Ser-Od Ochir
คนสุดท้ายเป็นเกาหลีเหนือ Ri Kang Bom
.
เป็นช่วงเวลาที่อึดอัดสำหรับผู้ชม เมื่อทั้ง 8 คนวิ่งเรียบๆรักษาจังหวะสบายๆไม่ออกอาวุธใส่กันและเหลือบดูเพื่อเช็คสภาพคู่แข่งตลอด เป็นเกมส์เงียบๆแต่สร้างความกดดันสูงมากเนื่องจากทุกคนต่างสงวนแรงเอาไว้เพื่อรอซัดกันในช่วงสุดท้าย
.
แล้วเกมส์ก็มาที่กิโลเมตร 35 เมื่อ Elabbassi จากบาร์เรน เเชมป์ระยะ 10,000 เมตรจากเอเชียนเกมส์ที่เกาหลีใต้เมื่อปี 2014 สับเท้าหนีกลุ่มแบบไม่ปราถนาให้ใครมาเกาะหรือดราฟ์ลม เขาฉีกแนววิ่งออกด้านข้างแล้วเร่งความเร็วขึ้นแบบฉับพลันแต่มีเพียงคนเดียวที่วิ่งขึ้นมาได้คือ Inoue ของญี่ปุ่น
.
แล้วความสนุกก็เริ่มขึ้น...!!!
.
🎗ตั้งแต่กิโลเมตรที่ 35เป็นต้นมา ทั้งคู่วิ่งแบบไหล่ต่อไหล่กันมาตลอด ไม่มีใครเอาเปรียบใครและไม่มีใครใช้งานใคร เป็นเกมส์ที่ดูเร้าใจ เห็นถึงจังหวะการวิ่งได้เต็มที่และความต้องการในชัยชนะของนักวิ่งทั้งคู่ Inoue ผลัดกันนำกับ Elabbassi อย่างสนุกตลอดเส้นทางในช่วงหลังโดยที่ทั้งคู่ไม่ได้ลดความเร็วลงเลยแม้แต่น้อยและทยอยทิ้งอันดับ 3 ออกไปเรื่อยๆถึงครึ่งนาที
โดยช่วง 5 กิโลเมตรนี้ใช้เวลาวิ่งเพียง 15:36 นาที (เพซ3:07นาที)...!!!😱😱😱
ทั้งคู่ต่างกัดฟันแข่งกันอย่างไม่ลดละจนเข้าสู่สนามกีฬากลาง และเป็น Inoue ที่ชิงไลน์ได้ดีกว่าด้วยการยึดเอาลู่ในและขึ้นนำได้ หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ เหรียญทองมาราธอนจะตกเป็นของประเทศญี่ปุ่น หนทางเดียวของ Elabbassi ที่จะคว้าเหรียญทองกลับมาได้คือ 'แซง' ในช่วงอึดใจข้างหน้าเท่านั้น
🥇🥇🥇แล้ว Inoue ก็หยิบเหรียญทองกลับญี่ปุ่นไปได้ด้วยการเชือด Elabbassi ไปแบบสุดมันส์ และเป็นชาวญี่ปุ่นในรอบ 32 ปีที่คว้าเหรียญทองมาราธอนชายได้นับตั้งแต่ปี 1986 ที่กรุงโซล โดยครั้งนั้น Takeyuki Nakayama คว้าแชมป์พร้อมทำสถิติเอเชียนเกมส์ด้วยเวลา 2:08:21 ชั่วโมง
ด้านนักวิ่งชาวไทย Tony Payne ทำสถิติเป็นนักวิ่งมาราธอนชายไทยที่วิ่งได้เร็วที่สุดในการแข่งขันมาราธอนเอเชียนเกมส์ด้วยเวลา 2:24:52 ชั่วโมง ตามมาด้วย สัญชัย นามเขต แม้อากาศจะร้อนแต่ก็เข้าเส้นชัยด้วยเวลา 2:37:06 ชั่วโมง
ไทยรันขอแสดงความยินดีกับสถิติใหม่ๆและขอบคุณทั้ง สัญชัย นามเขต และ Tony Payne ที่ร่วมกันสร้างความสนุกให้กับคอมาราธอนชาวไทยในวันนี้ด้วย❤️❤️❤️
ในภาพ::: Tony Payne และ สัญชัย นามเขต ในอิริยาบทสบายๆก่อนแข่ง โดยมีพี่เจน วงษ์วรโชติ มาราธอนสาวที่จะลงแข่งในวันพรุ่งนี้อยู่ด้านหลัง
Pic::: โยธิน ยาประจันทร์
จังหวะเร่ง แบบสมาร์ทของโทนี่ เพนย์ 🇹🇭 อันดับ 8 | 2 ชม.24 นาที ⏱
- พอติดทีมชาติ เขาขอลาออกจากงานทนายความในลอนดอน เพื่อซ้อมวิ่งเต็มเวลา ครับ ออกจากงานที่มั่นคง มาเป็นนักกีฬา
- โทนี่ เป็นลูกครี่งนิวซีแลนด์-ไทย คุณแม่เป็นชาวลำปาง เขาเติบโตที่นิวซีแลนด์
- ฉายแวว นักกีฬาวิ่งตั้งแต่เรียนไฮสคูล วิ่ง Cross Country ตัวแทนโรงเรียนไประดับประเทศ
- หลงรักมาราธอนจากการลงวิ่งมาราธอนแรก ก็กดไป 2 ชั่วโมงต้นๆ จากนั้นจึงเริ่มต้นเทรนจริงจัง ในขณะที่ศึกษาปริญญาตรีด้านกฏหมายใน NZ
- ปี 2017 โทนี่ ไปงานวิ่ง Berlin Marathon เขาวิ่งไป 2 ชม. 19 นาที ในหน่วย วินาที เขาช้ากว่าสถิติมาราธอนไทย ที่ 2:19:33 ไปเพียง 6 วิ. เร็ววัน สถิตินี้ต้องถูกเปลี่ยนแปลง
- ต่อมาโทนี่ ลงสนาม London Marathon เดือนเมษา เขาผ่านเส้นชัยอย่างปราดเปรียว ได้ลำดับที่ 18
ติด Top 20 ของรายการ World Majors
- การซ้อมเต็มเวลาของ โทนี่ ในเดือนที่พีคที่สุด คือ สะสมระยะทาง 800 Km. เขาเลือกบินจากอังกฤษไปซ้อมเก็บตัวช่วงสุดท้ายที่ความสูงชันเหนือระดับน้ำทะเลในโคโลราโด USA สำหรับการสู้ศึกเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ ต้องใจแค่ไหนในโอกาสที่ได้รับ ก่อนต่อเครื่องมาเก็บตัวทีกทม. แล้วไปจาการ์ต้า
- ความหวังในปี 2019 คือ มาราธอนซีเกมส์ ที่เขามีเป้าในใจบางอย่าง การซ้อมจะดำเนินต่อไป
- อยากให้พวกเราเป็นกำลังใจให้ #TonyPayne
และ #ทีมงานทางไกล ครอบครัวนักกรีฑาไทยทุกคน-ทุกระยะ - และ #ทุกความฝัน
- วันนี้แอดเห็นภาพว่า การวิ่งในไทย Running Boom แล้ว ก็หวังให้วงการวิ่งมาราธอนไทย นักกีฬาไทยในสายนี้ เป็นที่รู้จักและเป็นแบบอย่างที่ดีๆ ต่อไป ฮีโร่ที่ผ่านเวลา 10,000 ชั่วโมงของการเคี้ยวกร่ำ
- วันหนึ่งมาราธอนไทยต้องได้ไปสตาร์ทยังสนามสำคัญๆ ของโลกครับ #เชียร์ไปด้วยกัน #ไทยเชียร์ไทย 🇹🇭
#สนามใหญ่ต้องมีนักวิ่งไทยให้เชียร์
Cr | Yothin1500
เรื่อง | #RunningInsider 🚀 #เหนื่อยไปด้วยกัน
ss-เขียนเอง
▼
วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561
วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2561
แผนการฝึกซ้อมเพื่อลงแข่ง pttgc ระยองมาราธอน 2018
Week # | Date | Mon | Tue | Wed | Thu | Fri | Sat | Sun |
5 | 3 กย. - 9 กย. | พัก | 8 | 10 | พัก | 6.5 | พัก | 24 |
6 | 10 กย. - 16 กย. | พัก | 6.5 | 8 | พัก | 6.5 | พัก | 16 |
7 | 17 กย. - 23 กย. | พัก | 8 | 10 | พัก | 6.5 | พัก | 27 |
8 | 24 กย. - 30 กย. | พัก | 6.5 | 8 | พัก | 6.5 | พัก | 16 |
9 | 1 ตค. - 7 ตค. | พัก | 8 | 10 | พัก | 6.5 | พัก | 30 |
10 | 8 ตค. - 14 ตค. | พัก | 6.5 | 8 | พัก | 6.5 | พัก | 16 |
11 | 15 ตค. - 21 ตค. | พัก | 8 | 11 | พัก | 6.5 | พัก | 34 |
12 | 22 ตค. - 28 ตค. | พัก | 6.5 | 8 | พัก | 6.5 | พัก | 16 |
13 | 29 ตค. - 4 พย. | พัก | 8 | 11 | พัก | 6.5 | พัก | 35 |
14 | 5 พย. - 11 พย. | พัก | 6.5 | 13 | พัก | 6.5 | พัก | 19 |
15 | 12 พย. - 18 พย. | พัก | 8 | 16 | พัก | 6.5 | พัก | 10 |
16 | 19 พย. - 25 พย. | พัก | 6.5 | 5 | พัก | 6.5 | พัก | 42.195k |
อัพเดทล่าสุดวันนี้ 27 กย. เป็นการซ้อมระยะ 6.5K เลื่อนขึ้นมาเพราะวันอาทิตย์ไปเที่ยวน่าน คลิปปัว ภูคา ฯ ซึ่งการซ้อม week หน้า ดูอีกทีว่าต้องวิ่งบนดอย หรือ วิ่งในหมู่บ้าน หรือ วิ่งในสวนศรีเมืองในตัวเมืองน่าน
วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2561
กล้ามเนื้อหลากชนิด พรสวรรค์ที่ต่างกันตั้งแต่เกิด
มนุษย์เรามีสิ่งที่เรียกว่า “พรสวรรค์” หรือ “Gift” ที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด สำหรับนักกีฬานั้นพรสวรรค์ที่ว่านี้ หมายถึง ชนิดของกล้ามเนื้อ หรือหลายคน อาจจะเคยได้ยินคำว่า เส้นใยกล้ามเนื้อ แต่ละคนมี ขนาด และสัดส่วนแตกต่างกันไปตามพันธุกรรมของตนเองที่ได้รับมา กล้ามเนื้อเหล่านี้จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงภายหลังได้จะคงอยู่ถาวรตั้ งแต่เกิดจนถึงตาย แต่ว่าก็สามารถฝึกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของตัวนักกีฬาได้เช่นกัน แต่ถ้าหากนำมาเปรียบเทียบกันจะพบว่าการฝืนใช้กล้ามเนื้อที่ไม่เหมาะสมนั้นจะไม่สามารถรีดเอาประสิทธิภาพที่มากพอของกล้ามเนื้อออกมาใช้งานได้อย่างเต็มที่
เส้นใยกล้ามเนื้อ ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
กล้ามเนื้อแดง และกล้ามเนื้อขาว โดยกล้ามเนื้อแดงจัดเป็นกล้ามเนื้อประเภทที่ 1 มีความสามารถในการหดตัวที่ค่อนข้างช้า แต่มีข้อได้เปรียบในเรื่องของความทนทานในการใช้งานมากเป็นพิเศษ เนื่องจากกล้ามเนื้อประเภทนี้จะมีเส้นเลือดฝอยแพร่กระจายอยู่ภายในกล้ามเนื้อจำนวนมาก และยังมีเซลล์เฉพาะที่เป็นรูปแบบของ แอโรบิคเอนไซม์ ที่ช่วยส่งเสริมให้กล้ามเนื้อชนิดนี้เหมาะสำหรับนักกีฬาที่ต้องอาศัยการแข่งขันที่ระยะเวลายาวนาน เช่น การแข่งวิ่งมาราธอน
ต่อมาเป็นกล้ามเนื้อขาวซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อยด้วยกันคือ
กล้ามเนื้อขาว type 2A และกล้ามเนื้อขาว type 2B ก่อนอื่นต้องขอกล่าวถึง กล้ามเนื้อขาว type 2B ก่อน ซึ่งกล้ามชนิดนี้เป็นกล้ามเนื้อประเภทที่มีความแข็งแรง และรวดเร็วมากกว่ากล้ามเนื้อแดงมากเป็นพิเศษ เพียงแต่ว่าความแข็งแรงที่ได้มานั้นต้องแลกกับ ความทนทาน และระยะเวลาในการใช้งานที่ค่อนข้างสั้นมาก นักกีฬาที่มีเส้นใยกล้ามเนื้อประเภทนี้มากไม่เหมาะสมกับการแข่งขันที่อาศัยระยะเวลานาน
กล้ามเนื้อขาว type 2B นี้เหมาะสมสำหรับนักกีฬาประเภทใช้แรง และความเร็วสูงในเวลาที่ไม่นาน เช่น การยกน้ำหนัก และการต่อยมวย ส่วนกล้ามเนื้อขาว type 2A นั้นเป็นกล้ามเนื้อที่มีความพิเศษกว่าชนิดอื่น มีการผสมระหว่างเส้นใยกล้ามเนื้อแดงผสมกล้ามเนื้อขาว แน่นอนว่าทำให้กล้ามเนื้อชนิดนี้มีลักษณะของ แอโรบิค และแอนแอโรบิก ผสมกันอยู่ กล้ามเนื้อชนิดนี้มีข้อดีในเรื่องของความรวดเร็ว และความทนทานในการใช้งานซึ่งถือเป็นจุดเด่นของกล้ามเนื้อทั้ง 2 ชนิดก่อนที่ได้กล่าวไปแล้ว
แต่ว่าอย่างไรก็ตามกล้ามเนื้อขาว type 2A นี้ก็ไม่ได้มีความแข็งแรงหรือความทนทานในการใช้งานที่เป็นจุดเด่นมากพอสมควร แต่ก็ถือว่าเป็นจุดสมดุลของเส้นใยกล้ามเนื้อที่เหมาะสม ซึ่งผู้ที่มีกล้ามเนื้อประเภทนี้อาจจะเหมาะสำหรับกีฬาที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการเล่นปานกลางแต่มีการเร่งความเร็วในบางครั้ง เช่น การเล่นฟุตบอล
ปกติแล้วในการแบ่งแยกความเหมาะสมของนักกีฬาที่เล่นกีฬาชนิดใด ๆ นั้น จะแบ่งแยกตามเปอร์เซ็นต์ของกล้ามเนื้อที่เจ้าตัวนั้นมีอยู่ ตัวอย่าง เช่น นักวิ่งมาราธอนอาจมีกล้ามเนื้อแดงที่ร้อยละ 90 และ มีกล้ามเนื้อขาวเพียงแค่ร้อยละ 10 แต่กลับกันสำหรับ นักวิ่งระยะสั้นอาจจะมีกล้ามเนื้อขาวมากถึงร้อยละ 90 และกล้ามเนื้อแดงเพียงแค่ร้อยละ 10 เท่านั้น
แม้ว่าเราจะไม่สามารถกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงชนิดของเส้นใยกล้ามเนื้อที่ติดตัวเรามาตั้งแต่กำเนิดได้ เราก็ยังสามารถพยายามฝึกซ้อม และรีดเอาประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อที่เรามีอยู่ออกมาให้ใช้งานได้อย่างดีที่สุด แต่ก็ต้องยอมรับความจริงที่ว่าถ้าหากกล้ามเนื้อที่เรามีอยู่นั้นไม่ใช่กล้ามเนื้อที่เหมาะสมกับชนิดกีฬาที่เราเลือกเล่นก็จะถือเป็นข้อเสียเปรียบที่เราต้องยอมรับ
ที่มา : http://www.vrunvride.com/muscle-variety-talents-differ-from-birth/
เส้นใยกล้ามเนื้อ ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
กล้ามเนื้อแดง และกล้ามเนื้อขาว โดยกล้ามเนื้อแดงจัดเป็นกล้ามเนื้อประเภทที่ 1 มีความสามารถในการหดตัวที่ค่อนข้างช้า แต่มีข้อได้เปรียบในเรื่องของความทนทานในการใช้งานมากเป็นพิเศษ เนื่องจากกล้ามเนื้อประเภทนี้จะมีเส้นเลือดฝอยแพร่กระจายอยู่ภายในกล้ามเนื้อจำนวนมาก และยังมีเซลล์เฉพาะที่เป็นรูปแบบของ แอโรบิคเอนไซม์ ที่ช่วยส่งเสริมให้กล้ามเนื้อชนิดนี้เหมาะสำหรับนักกีฬาที่ต้องอาศัยการแข่งขันที่ระยะเวลายาวนาน เช่น การแข่งวิ่งมาราธอน
ต่อมาเป็นกล้ามเนื้อขาวซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อยด้วยกันคือ
กล้ามเนื้อขาว type 2A และกล้ามเนื้อขาว type 2B ก่อนอื่นต้องขอกล่าวถึง กล้ามเนื้อขาว type 2B ก่อน ซึ่งกล้ามชนิดนี้เป็นกล้ามเนื้อประเภทที่มีความแข็งแรง และรวดเร็วมากกว่ากล้ามเนื้อแดงมากเป็นพิเศษ เพียงแต่ว่าความแข็งแรงที่ได้มานั้นต้องแลกกับ ความทนทาน และระยะเวลาในการใช้งานที่ค่อนข้างสั้นมาก นักกีฬาที่มีเส้นใยกล้ามเนื้อประเภทนี้มากไม่เหมาะสมกับการแข่งขันที่อาศัยระยะเวลานาน
กล้ามเนื้อขาว type 2B นี้เหมาะสมสำหรับนักกีฬาประเภทใช้แรง และความเร็วสูงในเวลาที่ไม่นาน เช่น การยกน้ำหนัก และการต่อยมวย ส่วนกล้ามเนื้อขาว type 2A นั้นเป็นกล้ามเนื้อที่มีความพิเศษกว่าชนิดอื่น มีการผสมระหว่างเส้นใยกล้ามเนื้อแดงผสมกล้ามเนื้อขาว แน่นอนว่าทำให้กล้ามเนื้อชนิดนี้มีลักษณะของ แอโรบิค และแอนแอโรบิก ผสมกันอยู่ กล้ามเนื้อชนิดนี้มีข้อดีในเรื่องของความรวดเร็ว และความทนทานในการใช้งานซึ่งถือเป็นจุดเด่นของกล้ามเนื้อทั้ง 2 ชนิดก่อนที่ได้กล่าวไปแล้ว
แต่ว่าอย่างไรก็ตามกล้ามเนื้อขาว type 2A นี้ก็ไม่ได้มีความแข็งแรงหรือความทนทานในการใช้งานที่เป็นจุดเด่นมากพอสมควร แต่ก็ถือว่าเป็นจุดสมดุลของเส้นใยกล้ามเนื้อที่เหมาะสม ซึ่งผู้ที่มีกล้ามเนื้อประเภทนี้อาจจะเหมาะสำหรับกีฬาที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการเล่นปานกลางแต่มีการเร่งความเร็วในบางครั้ง เช่น การเล่นฟุตบอล
ปกติแล้วในการแบ่งแยกความเหมาะสมของนักกีฬาที่เล่นกีฬาชนิดใด ๆ นั้น จะแบ่งแยกตามเปอร์เซ็นต์ของกล้ามเนื้อที่เจ้าตัวนั้นมีอยู่ ตัวอย่าง เช่น นักวิ่งมาราธอนอาจมีกล้ามเนื้อแดงที่ร้อยละ 90 และ มีกล้ามเนื้อขาวเพียงแค่ร้อยละ 10 แต่กลับกันสำหรับ นักวิ่งระยะสั้นอาจจะมีกล้ามเนื้อขาวมากถึงร้อยละ 90 และกล้ามเนื้อแดงเพียงแค่ร้อยละ 10 เท่านั้น
แม้ว่าเราจะไม่สามารถกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงชนิดของเส้นใยกล้ามเนื้อที่ติดตัวเรามาตั้งแต่กำเนิดได้ เราก็ยังสามารถพยายามฝึกซ้อม และรีดเอาประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อที่เรามีอยู่ออกมาให้ใช้งานได้อย่างดีที่สุด แต่ก็ต้องยอมรับความจริงที่ว่าถ้าหากกล้ามเนื้อที่เรามีอยู่นั้นไม่ใช่กล้ามเนื้อที่เหมาะสมกับชนิดกีฬาที่เราเลือกเล่นก็จะถือเป็นข้อเสียเปรียบที่เราต้องยอมรับ
ที่มา : http://www.vrunvride.com/muscle-variety-talents-differ-from-birth/
วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2561
ลุงเนวินจัดมาราธอน ดีๆ เพื่อนักวิ่งทุกคน
3 ปี ราคาคงที่
ลุงเนวิน จัดมาราธอน ดีๆ เพื่อนักวิ่งทุกคน
...........
บุรีรัมย์ มาราธอน ฮอตจริงๆ
ถามกันมาเยอะแยะ
รับกี่คน ค่าสมัครเท่าไร
.
แอด ไปถาม ผู้จัด BURIRAM MARATHON เอาข้อมูล มาบอกกล่าว ให้เตรียมตัว กันครับ
.
• มาราธอน รับ 7,000 คน ค่าสมัคร 800 บาท
• ฮาล์ฟมาราธอน รับ 7,000 คน ค่าสมัคร 600 บาท
• มินิมาราธอน รับ 4000 คน ค่าสมัคร 400 บาท
• ฟันรัน รับ 2,000 คน ค่าสมัคร 300 บาท
.
เห็นแล้ว "อึ้ง และ ทึ่ง"
3 ปี ราคาเท่าเดิม ทุกระยะ
.
ความสนุกเพิ่มขึ้น
ความสุขเพิ่มขึ้น
ความมันเพิ่มขึ้น
อาหาร เครื่องดื่ม เพิ่มขึ้น
รางวัลเพิ่มขึ้น
แต่ "ค่าสมัคร" คงที่ ไม่มีเพิ่มแม้แต่บาทเดียว
.
60 ปีขึ้นไป ลด 50%
70 ปีขึ้นไป ฟรี!!!!
.
สุดยอดจริงๆ
ทำได้ไงครับ "ลุงเนวิน"
......
เตรียมตัว ครับ
13 กันยายน นักวิ่งบุรีรัมย์ มาราธอน 2017 และ 2018
.
14 กันยายน นักวิ่งทุกคน สมัครหลังแถลงข่าว
www.burirammarathon.com
.
ติดตามรายละเอียดการสมัคร ที่
www.burirammarathon.com
.
ชวนๆ Running Connect วิ่งไหนดี : Wingnaidee วิ่งกันนะ วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี 42.195K_Clubเราจะไปมาราธอนด้วยกัน วิ่ง กัน มั้ย วิ่งทั่วไทยไปทุกภาค
ลุงเนวิน จัดมาราธอน ดีๆ เพื่อนักวิ่งทุกคน
...........
บุรีรัมย์ มาราธอน ฮอตจริงๆ
ถามกันมาเยอะแยะ
รับกี่คน ค่าสมัครเท่าไร
.
แอด ไปถาม ผู้จัด BURIRAM MARATHON เอาข้อมูล มาบอกกล่าว ให้เตรียมตัว กันครับ
.
• มาราธอน รับ 7,000 คน ค่าสมัคร 800 บาท
• ฮาล์ฟมาราธอน รับ 7,000 คน ค่าสมัคร 600 บาท
• มินิมาราธอน รับ 4000 คน ค่าสมัคร 400 บาท
• ฟันรัน รับ 2,000 คน ค่าสมัคร 300 บาท
.
เห็นแล้ว "อึ้ง และ ทึ่ง"
3 ปี ราคาเท่าเดิม ทุกระยะ
.
ความสนุกเพิ่มขึ้น
ความสุขเพิ่มขึ้น
ความมันเพิ่มขึ้น
อาหาร เครื่องดื่ม เพิ่มขึ้น
รางวัลเพิ่มขึ้น
แต่ "ค่าสมัคร" คงที่ ไม่มีเพิ่มแม้แต่บาทเดียว
.
60 ปีขึ้นไป ลด 50%
70 ปีขึ้นไป ฟรี!!!!
.
สุดยอดจริงๆ
ทำได้ไงครับ "ลุงเนวิน"
......
เตรียมตัว ครับ
13 กันยายน นักวิ่งบุรีรัมย์ มาราธอน 2017 และ 2018
.
14 กันยายน นักวิ่งทุกคน สมัครหลังแถลงข่าว
www.burirammarathon.com
.
ติดตามรายละเอียดการสมัคร ที่
www.burirammarathon.com
.
ชวนๆ Running Connect วิ่งไหนดี : Wingnaidee วิ่งกันนะ วิ่งไหนกัน ปั่นไหนดี 42.195K_Clubเราจะไปมาราธอนด้วยกัน วิ่ง กัน มั้ย วิ่งทั่วไทยไปทุกภาค
วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561
New World Record
Berlin Marathon ทำไมเร็วกันนักนะ
เชื่อว่าวันอาทิตย์นี้….เพื่อนๆหลายคนที่ไปวิ่งมากันตอนเช้าคงมานั่งลุ้น New World Record กับรายการ Berlin Marathon 2018 เหมือนแอด ซึ่งในช่วงเดือนกันยายนของทุกๆปี จะจัดขึ้นที่ เมืองเบอร์ลิน ประเทศ เยอรมัน ถือเป็น 1 ใน 6 World Marathon Major ที่จะจัดขึ้นใน 6 เมืองใหญ่ทั่วโลก (Tokyo, Boston, London, Berlin, Chicago และ New York City)
ในส่วนของ Berlin Marathon ปีนี้คงหนีไม่พ้นการขับเคี่ยวระหว่าง 2 ยอดนักวิ่งระยะไกลแห่งยุคอย่าง Eliud Kipchoge และ Wilson Kipsang สำหรับ Kipchoge นั้นถือว่าเป็นยอดมนุษย์ เขาถูกยกให้เป็นสุดยอดนักวิ่งมาราธอนในยุคนี้ หรือ “The Greatest Marathoner of the Modern Era” จริงๆเขาไม่ได้แข่งมาราธอนมากมายหลายรายการหรอก Berlin Marathon ปีนี้เป็นมาราธอนที่ 11 เท่านั้น….แต่ที่สุดยอดก็เพราะ 10 มาราธอนที่ผ่านมาเขาชนะไปถึง 9 รายการ อีกทั้งยังได้เหรียญทองโอลิมปิกที่ Rio ในปี 2016 ที่ผ่านมา แถมเป็นแชมป์เก่าที่ Berlin ถึง 2 ครั้งในปี 2015 และ 2017 ถ้าใครคิดว่าใครกันนะที่เอาชนะ Kipchoge ได้…..ก็ Wison Kipsang นี่ล่ะ!!! เพราะรายการเดียวที่ Kipchoge ได้ที่สอง คือ Berlin Marathon 2013 ที่ Kipsang ทำ World Record ได้นั่นเอง นอกจากนั้น Kipsang ยังได้แชมป์ World Marathon Major อีกหลายรายการทั้งใน London(2012), Berlin(2013), New York(2014) และ Tokyo(2017)
แต่ในปีนี้….Kipchoge ไม่ทำให้ทุกคนผิดหวัง ทั้งทำ World Record และคว้าแชมป์ Marathon รายการที่ 11 ของตัวเองไปอย่างภาคภูมิใจ ทำเอาแอดลุ้นแทบไม่ได้นั่งตลอด 2 ชั่วโมง :)
จริงๆ...ก่อนหน้าการแข่งขันนี้หลายคนก็ลุ้นกันว่า World Record ใหม่จะเกิดขึ้นไหม (และมันก็เกิดขึ้นจริงๆ!!!) โดย World Record ก่อนนี้อยู่ที่ 2:02:57 โดย Dennis Kimetto ที่ Berlin Marathon ในปี 2014 ขณะที่แอดกำลังเขียนอยู่นี้ บอกตรงๆว่ามือสั่นเขียนไม่ค่อยถูกเพราะลุ้น Kipchoge นี่ล่ะ ก็ผ่านไปแค่ 10 km พี่ Kipchoge เล่นทำเวลาได้ 29.01 นาที (ต่ำกว่า World Record ถึง 8 วินาที!!) วิ่งมาเรื่อยๆเริ่มเห็น Pacer ของเขาค่อยๆหายไปเรื่อยๆ แอดก็เริ่มใจหาย...ไม่รู้เป็นกลยุทธ์หรือ pacer ไม่ไหวจริงๆ ต่อมา ในช่วงก่อน 20 km เห็น Kipchoge สีหน้าเริ่มเครียด พยายามบอกให้ pacer ไม่แตกไลน์ ยิ่งลุ้นไปใหญ่
จนถึง 21 km ที่เขาทำเวลาได้ 1:01:06 ซึ่งผู้บรรยายบอกว่านี่มัน pace ประมาณ 2:50 (แปลว่าพี่ Kipchoge เค้าวิ่ง 1 km เวลาแค่ 2 นาที 50 วินาที !!!!) ซึ่งถ้าสามารถรักษาความเร็วด้วย pace ระดับนี้ไปจนจบเค้าจะสามารถทำลายสถิติโลกขาดกระจุยเกือบ 40 วินาที ได้ยินแบบนี้ทำเอาแอดนั่งไม่ติดเก้าอี้แล้ว คิดในใจว่า...พี่เอาจริงดิครับ เพราะถ้าพี่ทำได้จริง..ผมจะดีใจสุดๆ เป็นบุญตาผมที่ได้เห็น ซึ่งถ้าดูจริงๆ...การวิ่งของ Kipchoge สอนอะไรเราได้หลายอย่างเลย ตั้งแต่ความเอาจริงเอาจังในการวิ่งที่สั่งให้ Pacer วิ่งให้ดี ตลอดทางวิ่ง...Kipchoge นอกจากจะรักษา Good Form Running ได้ดีมาก สมาธิยังดีสุดๆ สังเกตได้จาก กิโลเมตรที่ 40 เมื่อเขารับน้ำแล้วหลุดมือ ดูดีๆจะเห็นว่าสีหน้าเค้าไม่วอกแวกเลย กลับกันทั้งแววตาและสีหน้ากลับแสดงความมุ่งมั่นเอาชนะให้ได้ (ตอน 40 km นั้น….เค้าฉีก World Record ไปถึง 1 นาที แล้ว)
และ Kipchoge ก็จบ Berlin Marathon ไปด้วย 2:01:40 เร็วกว่า World Record เดิมนาทีกว่า!!! สุดยอดมากๆๆ
หลายคนอาจเกิดคำถามว่าทำไมมาลุ้น New World Record กันที่ Berlin Marathon กัน ??? ก็เพราะ...การทำลาย World Record ที่ผ่านมา 6 ครั้งล่าสุด (ถ้ารวมครั้งนี้ด้วยจะเป็นครั้งที่ 7) มันเกิดที่ Berlin Marathon นี่ล่ะ!!!! ที่เป็นแบบนี้….นักวิเคราะห์หลายคนบอกว่า Berlin Marathon มีเส้นทางที่เรียบและโค้งน้อย จุดออกตัวอยู่ที่ระดับ 38 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล และขึ้นไปสูงสุดที่แค่ 53 เมตร และไม่ลงไปต่ำกว่า 37 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลเลย นอกจากนั้น...ด้วยความที่ Berlin เป็นเมืองที่ไม่ได้อยู่บนเกาะหรือติดทะเลทำให้ลมไม่แรง ถ้าเทียบกับ London Marathon เพื่อนๆจะเห็นว่านอกจากโค้งเยอะแล้ว...ช่วงวิ่งเลาะแม่น้ำ Thames ลมจะแรงมาก เช่นเดียวกับที่ Chicago Marathon ใครเคยไปเมืองนี้จะรู้ดีว่า..ด้วยความที่เมืองติดทะเลสาบ Michigan ทำให้ลมแรงเช่นกัน ประกอบกับการแข่งที่ Berlin จัดในช่วงเดือนกันยายน ซึ่งอุณหภูมิอยู่ที่ 12-15 องศาเซลเซียส เรียกว่าอากาศกำลังดี ไม่ร้อนและไม่หนาวเกินไป
ถ้าวันนี้เพื่อนๆดูการวิ่งจะพบว่ามันเข้าตามสภาพนี้แทบทุกอย่าง…นอกจากนั้นบรรยากาศในการแข่งก็สุดยอด เพื่อนจะเห็นว่าสภาพทางวิ่งมีความร่มรื่น บรรยากาศการเชียร์ของผู้คนที่เรียกว่าปิดเมืองเชียร์กันเลย แต่จะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าขาดนักวิ่งชั้นยอดอย่าง Eliud Kipchoge และ เมื่อสถานการณ์ดีๆมาเจอกับยอดมนุษย์ World Record จึงทลายอย่างที่เห็นกันวันนี้แล :)
ข้อมูลอ้างอิง
Why so many marathon records are broken in Berlin, BBC
ที่มา : https://www.facebook.com/WingNaiDee/photos/a.623528221031015/1996646577052499/?type=3&__xts__%5B0%5D=68.ARAxBZou-7hFFnY2nQDDE6VNci-fksPEXjsLJ_0q0DMrGp9PepK2gCldALobN9S7Ew6PSyA38HYG7mFNoJtb2dWQNF9vK2E4ETMhqkfMcdT9OM7IAnQskR7IJZda06GKJ_7UFhuOTOueQ20Z4HxwsAfj0dIzlAkTlp1Lbo-MdhbbXZzhRo2I&__tn__=EHH-R
เชื่อว่าวันอาทิตย์นี้….เพื่อนๆหลายคนที่ไปวิ่งมากันตอนเช้าคงมานั่งลุ้น New World Record กับรายการ Berlin Marathon 2018 เหมือนแอด ซึ่งในช่วงเดือนกันยายนของทุกๆปี จะจัดขึ้นที่ เมืองเบอร์ลิน ประเทศ เยอรมัน ถือเป็น 1 ใน 6 World Marathon Major ที่จะจัดขึ้นใน 6 เมืองใหญ่ทั่วโลก (Tokyo, Boston, London, Berlin, Chicago และ New York City)
ในส่วนของ Berlin Marathon ปีนี้คงหนีไม่พ้นการขับเคี่ยวระหว่าง 2 ยอดนักวิ่งระยะไกลแห่งยุคอย่าง Eliud Kipchoge และ Wilson Kipsang สำหรับ Kipchoge นั้นถือว่าเป็นยอดมนุษย์ เขาถูกยกให้เป็นสุดยอดนักวิ่งมาราธอนในยุคนี้ หรือ “The Greatest Marathoner of the Modern Era” จริงๆเขาไม่ได้แข่งมาราธอนมากมายหลายรายการหรอก Berlin Marathon ปีนี้เป็นมาราธอนที่ 11 เท่านั้น….แต่ที่สุดยอดก็เพราะ 10 มาราธอนที่ผ่านมาเขาชนะไปถึง 9 รายการ อีกทั้งยังได้เหรียญทองโอลิมปิกที่ Rio ในปี 2016 ที่ผ่านมา แถมเป็นแชมป์เก่าที่ Berlin ถึง 2 ครั้งในปี 2015 และ 2017 ถ้าใครคิดว่าใครกันนะที่เอาชนะ Kipchoge ได้…..ก็ Wison Kipsang นี่ล่ะ!!! เพราะรายการเดียวที่ Kipchoge ได้ที่สอง คือ Berlin Marathon 2013 ที่ Kipsang ทำ World Record ได้นั่นเอง นอกจากนั้น Kipsang ยังได้แชมป์ World Marathon Major อีกหลายรายการทั้งใน London(2012), Berlin(2013), New York(2014) และ Tokyo(2017)
แต่ในปีนี้….Kipchoge ไม่ทำให้ทุกคนผิดหวัง ทั้งทำ World Record และคว้าแชมป์ Marathon รายการที่ 11 ของตัวเองไปอย่างภาคภูมิใจ ทำเอาแอดลุ้นแทบไม่ได้นั่งตลอด 2 ชั่วโมง :)
จริงๆ...ก่อนหน้าการแข่งขันนี้หลายคนก็ลุ้นกันว่า World Record ใหม่จะเกิดขึ้นไหม (และมันก็เกิดขึ้นจริงๆ!!!) โดย World Record ก่อนนี้อยู่ที่ 2:02:57 โดย Dennis Kimetto ที่ Berlin Marathon ในปี 2014 ขณะที่แอดกำลังเขียนอยู่นี้ บอกตรงๆว่ามือสั่นเขียนไม่ค่อยถูกเพราะลุ้น Kipchoge นี่ล่ะ ก็ผ่านไปแค่ 10 km พี่ Kipchoge เล่นทำเวลาได้ 29.01 นาที (ต่ำกว่า World Record ถึง 8 วินาที!!) วิ่งมาเรื่อยๆเริ่มเห็น Pacer ของเขาค่อยๆหายไปเรื่อยๆ แอดก็เริ่มใจหาย...ไม่รู้เป็นกลยุทธ์หรือ pacer ไม่ไหวจริงๆ ต่อมา ในช่วงก่อน 20 km เห็น Kipchoge สีหน้าเริ่มเครียด พยายามบอกให้ pacer ไม่แตกไลน์ ยิ่งลุ้นไปใหญ่
จนถึง 21 km ที่เขาทำเวลาได้ 1:01:06 ซึ่งผู้บรรยายบอกว่านี่มัน pace ประมาณ 2:50 (แปลว่าพี่ Kipchoge เค้าวิ่ง 1 km เวลาแค่ 2 นาที 50 วินาที !!!!) ซึ่งถ้าสามารถรักษาความเร็วด้วย pace ระดับนี้ไปจนจบเค้าจะสามารถทำลายสถิติโลกขาดกระจุยเกือบ 40 วินาที ได้ยินแบบนี้ทำเอาแอดนั่งไม่ติดเก้าอี้แล้ว คิดในใจว่า...พี่เอาจริงดิครับ เพราะถ้าพี่ทำได้จริง..ผมจะดีใจสุดๆ เป็นบุญตาผมที่ได้เห็น ซึ่งถ้าดูจริงๆ...การวิ่งของ Kipchoge สอนอะไรเราได้หลายอย่างเลย ตั้งแต่ความเอาจริงเอาจังในการวิ่งที่สั่งให้ Pacer วิ่งให้ดี ตลอดทางวิ่ง...Kipchoge นอกจากจะรักษา Good Form Running ได้ดีมาก สมาธิยังดีสุดๆ สังเกตได้จาก กิโลเมตรที่ 40 เมื่อเขารับน้ำแล้วหลุดมือ ดูดีๆจะเห็นว่าสีหน้าเค้าไม่วอกแวกเลย กลับกันทั้งแววตาและสีหน้ากลับแสดงความมุ่งมั่นเอาชนะให้ได้ (ตอน 40 km นั้น….เค้าฉีก World Record ไปถึง 1 นาที แล้ว)
และ Kipchoge ก็จบ Berlin Marathon ไปด้วย 2:01:40 เร็วกว่า World Record เดิมนาทีกว่า!!! สุดยอดมากๆๆ
หลายคนอาจเกิดคำถามว่าทำไมมาลุ้น New World Record กันที่ Berlin Marathon กัน ??? ก็เพราะ...การทำลาย World Record ที่ผ่านมา 6 ครั้งล่าสุด (ถ้ารวมครั้งนี้ด้วยจะเป็นครั้งที่ 7) มันเกิดที่ Berlin Marathon นี่ล่ะ!!!! ที่เป็นแบบนี้….นักวิเคราะห์หลายคนบอกว่า Berlin Marathon มีเส้นทางที่เรียบและโค้งน้อย จุดออกตัวอยู่ที่ระดับ 38 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล และขึ้นไปสูงสุดที่แค่ 53 เมตร และไม่ลงไปต่ำกว่า 37 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลเลย นอกจากนั้น...ด้วยความที่ Berlin เป็นเมืองที่ไม่ได้อยู่บนเกาะหรือติดทะเลทำให้ลมไม่แรง ถ้าเทียบกับ London Marathon เพื่อนๆจะเห็นว่านอกจากโค้งเยอะแล้ว...ช่วงวิ่งเลาะแม่น้ำ Thames ลมจะแรงมาก เช่นเดียวกับที่ Chicago Marathon ใครเคยไปเมืองนี้จะรู้ดีว่า..ด้วยความที่เมืองติดทะเลสาบ Michigan ทำให้ลมแรงเช่นกัน ประกอบกับการแข่งที่ Berlin จัดในช่วงเดือนกันยายน ซึ่งอุณหภูมิอยู่ที่ 12-15 องศาเซลเซียส เรียกว่าอากาศกำลังดี ไม่ร้อนและไม่หนาวเกินไป
ถ้าวันนี้เพื่อนๆดูการวิ่งจะพบว่ามันเข้าตามสภาพนี้แทบทุกอย่าง…นอกจากนั้นบรรยากาศในการแข่งก็สุดยอด เพื่อนจะเห็นว่าสภาพทางวิ่งมีความร่มรื่น บรรยากาศการเชียร์ของผู้คนที่เรียกว่าปิดเมืองเชียร์กันเลย แต่จะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าขาดนักวิ่งชั้นยอดอย่าง Eliud Kipchoge และ เมื่อสถานการณ์ดีๆมาเจอกับยอดมนุษย์ World Record จึงทลายอย่างที่เห็นกันวันนี้แล :)
ข้อมูลอ้างอิง
Why so many marathon records are broken in Berlin, BBC
ที่มา : https://www.facebook.com/WingNaiDee/photos/a.623528221031015/1996646577052499/?type=3&__xts__%5B0%5D=68.ARAxBZou-7hFFnY2nQDDE6VNci-fksPEXjsLJ_0q0DMrGp9PepK2gCldALobN9S7Ew6PSyA38HYG7mFNoJtb2dWQNF9vK2E4ETMhqkfMcdT9OM7IAnQskR7IJZda06GKJ_7UFhuOTOueQ20Z4HxwsAfj0dIzlAkTlp1Lbo-MdhbbXZzhRo2I&__tn__=EHH-R
วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2561
ทำเข้าไปด้าย 25k เพซ 6.00 สม่ำเสมอ
วิ่งยาวประจำ Week 7 ซ้อมเพื่อลงแข่งระยองมาราธอน วันที่ 25 พ.ย. 2561 ระยะทำการ 27K คือต้องวิ่ง 11 รอบสวนลุมพินี จะได้ 27.5K เวลาที่ทำได้ดังนี้
ทั้งนี้ปกติจะไปวิ่งยาวที่สวนธนฯ แต่ไปถึงเกือบตี 3 ปรากฎว่าเขาล็อคประตูสนิท ต่อเติมประตูสูงเท่ากำแพงเลย คือต้องเริ่มตี 5 ตามเวลาทำการของสวน เลยเปลี่ยนไปวิ่งสวนลุมแทน พอวิ่งเสร็จก็จะได้ไปทำงานต่อ
- 4 รอบแรก 1:01 ชม.
- 4 รอบสอง 1:00 ชม.
- 2 รอบสาม 30 นาที
- 1 รอบสุดท้าย 16 นาที
อันนี้เยี่ยมมากสามารถวิ่ง 10 รอบ ด้วย Pace เฉลี่ย 6.00 ซึ่งไม่เคยทำได้ดีแบบนี้ ปกติจะวิ่ง 10 รอบแรก กับ 10 รอบสอง ไม่เท่ากัน ต่างกัน 5-8 นาทีเลย
สภาพร่างกายปกติดี ไม่เหนื่อย วิ่งเรื่อยๆ สามารถยืดเหยียดครบตาม 5 ท่าหมอเมย์
ทั้งนี้ปกติจะไปวิ่งยาวที่สวนธนฯ แต่ไปถึงเกือบตี 3 ปรากฎว่าเขาล็อคประตูสนิท ต่อเติมประตูสูงเท่ากำแพงเลย คือต้องเริ่มตี 5 ตามเวลาทำการของสวน เลยเปลี่ยนไปวิ่งสวนลุมแทน พอวิ่งเสร็จก็จะได้ไปทำงานต่อ
ข้อสังเกตุ :
- รู้สึกว่าคนเยอะขึ้นซักตี 5 ผู้คน นักวิ่งก็ทะยอยกันมา อาจเป็นเพราะตารางซ้อมวิ่งยาวของบางคนตรงกับวันเสาร์
- วันนี้โดนครูดินแซงตอนวิ่ง รอบรองสุดท้าย ตอนแรกมองไม่ชัดเพราะไม่ได้ใส่แว่นแต่ดูทรงแล้วคิดว่าใช่ครูดิน เลยวิ่งไปแอบดูอีกทีตอนรอบสุดท้าย ซึ่งก็ใช่จริงๆ
- ทางสวนเขาทำที่ยืดเส้น ยืดเหยียดใหม่ ไว้ตรงประตูหอนาฬิกา ด้านแยกสาทร
วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2561
ข้อควรทำของนักวิ่งมาราธอน
1. วิ่งออกกำลังกายให้ร่างกายรู้สึกชิน
ก่อนจะลงวิ่งมาราธอนหรือมินิฮาล์ฟมาราธอน ต้องมั่นใจก่อนว่าร่างกายของเราพร้อมจะวิ่งระยะไกลแล้ว โดยควรต้องเป็นคนที่วิ่งออกกำลังกายอยู่เป็นประจำและต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปีก่อนลงวิ่งมาราธอน เพื่อเป็นการฝึกกล้ามเนื้อร่างกายให้รู้สึกชิน นับเป็นการป้องกันอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อไปด้วยในตัว
ก่อนจะลงวิ่งมาราธอนหรือมินิฮาล์ฟมาราธอน ต้องมั่นใจก่อนว่าร่างกายของเราพร้อมจะวิ่งระยะไกลแล้ว โดยควรต้องเป็นคนที่วิ่งออกกำลังกายอยู่เป็นประจำและต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปีก่อนลงวิ่งมาราธอน เพื่อเป็นการฝึกกล้ามเนื้อร่างกายให้รู้สึกชิน นับเป็นการป้องกันอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อไปด้วยในตัว
2. ซ้อมวิ่งระยะไกลไว้ด้วย
เพื่อเป็นการเทรนร่างกายในเบื้องต้น ก็ควรต้องซ้อมวิ่งให้ได้ระยะทางรวมกันสัปดาห์ละ 24 — 32 กิโลเมตร อย่างน้อยเป็นเวลา 4 — 6 เดือนก่อนลงวิ่งมาราธอน ทว่าในช่วงเวลาก่อนลงสนามจริง ควรลดความถี่ในการฝึกซ้อมวิ่งระยะไกลให้ไม่เกิน 6 ครั้งก่อนลงวิ่งมาราธอน ทั้งนี้ก็เพื่อพักฟื้นร่างกายไม่ให้กล้ามเนื้ออ่อนล้าเกินไปก่อนลงสนามจริงนั่นเอง
เพื่อเป็นการเทรนร่างกายในเบื้องต้น ก็ควรต้องซ้อมวิ่งให้ได้ระยะทางรวมกันสัปดาห์ละ 24 — 32 กิโลเมตร อย่างน้อยเป็นเวลา 4 — 6 เดือนก่อนลงวิ่งมาราธอน ทว่าในช่วงเวลาก่อนลงสนามจริง ควรลดความถี่ในการฝึกซ้อมวิ่งระยะไกลให้ไม่เกิน 6 ครั้งก่อนลงวิ่งมาราธอน ทั้งนี้ก็เพื่อพักฟื้นร่างกายไม่ให้กล้ามเนื้ออ่อนล้าเกินไปก่อนลงสนามจริงนั่นเอง
3. ซ้อมวิ่งเสมือนจริง
หากคิดว่าฝึกซ้อมจนร่างกายฟิตแล้ว ประมาณ 2 — 3 เดือนก่อนลงแข่งขัน ให้ลองซ้อมวิ่งในระยะทาง 24 กิโลเมตรแบบม้วนเดียวจบและควรทดสอบตัวเองด้วยการลงวิ่งระยะไกล (10 กิโลเมตร) อย่างน้อย 2 ครั้งก่อนลงวิ่งมาราธอน
หากคิดว่าฝึกซ้อมจนร่างกายฟิตแล้ว ประมาณ 2 — 3 เดือนก่อนลงแข่งขัน ให้ลองซ้อมวิ่งในระยะทาง 24 กิโลเมตรแบบม้วนเดียวจบและควรทดสอบตัวเองด้วยการลงวิ่งระยะไกล (10 กิโลเมตร) อย่างน้อย 2 ครั้งก่อนลงวิ่งมาราธอน
4. ไม่ควรฝืนร่างกาย
หากระหว่างการซ้อมวิ่งเกิดบาดเจ็บหรือป่วยขึ้นมา ห้ามซ้อมวิ่งต่อเด็ดขาดจนกว่าอาการเจ็บป่วยจะหายสนิทจริงๆ
หากระหว่างการซ้อมวิ่งเกิดบาดเจ็บหรือป่วยขึ้นมา ห้ามซ้อมวิ่งต่อเด็ดขาดจนกว่าอาการเจ็บป่วยจะหายสนิทจริงๆ
5. พักผ่อนให้เพียงพอ
ก่อนลงสนามวิ่งมาราธอนจริงๆ ต้องพักผ่อนให้เต็มอิ่ม อย่างน้อยต้องนอนหลับไม่ต่ำกว่า 7 ชั่วโมง เพื่อที่ตื่นมาจะได้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า
ก่อนลงสนามวิ่งมาราธอนจริงๆ ต้องพักผ่อนให้เต็มอิ่ม อย่างน้อยต้องนอนหลับไม่ต่ำกว่า 7 ชั่วโมง เพื่อที่ตื่นมาจะได้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า
6. เลือกกินอาหารให้ถูกหลัก
สำหรับนักวิ่งมือใหม่ควรต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในช่วงที่ซ้อมวิ่งระยะไกล แต่ในช่วงก่อนเริ่มลงสนามวิ่งประมาณ 1 ชั่วโมง ควรกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสักเล็กน้อย เช่น ขนมปังหรือกล้วย 1 ลูก เพื่อให้ร่างกายมีพลังงานไปใช้ในการวิ่ง
สำหรับนักวิ่งมือใหม่ควรต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในช่วงที่ซ้อมวิ่งระยะไกล แต่ในช่วงก่อนเริ่มลงสนามวิ่งประมาณ 1 ชั่วโมง ควรกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสักเล็กน้อย เช่น ขนมปังหรือกล้วย 1 ลูก เพื่อให้ร่างกายมีพลังงานไปใช้ในการวิ่ง
7. น้ำก็สำคัญ
ก่อนถึงเวลาลงสนามประมาณ 20 — 30 นาที นักวิ่งควรดื่มน้ำ 1 — 2 แก้ว และเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อย ส่วนในระหว่างที่เราวิ่งอยู่ ร่างกายจะสูญเสียน้ำไปเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน ดังนั้นนักวิ่งจึงควรจิบน้ำเป็นระยะๆ ในระหว่างวิ่ง โดยเฉพาะตอนที่รู้สึกกระหายน้ำจนปากคอแห้ง ซึ่งแปลว่าร่างกายกำลังอยู่ในสภาวะขาดน้ำ ควรแวะหยิบน้ำมาจิบแก้กระหายโดยเร็วที่สุด
ก่อนถึงเวลาลงสนามประมาณ 20 — 30 นาที นักวิ่งควรดื่มน้ำ 1 — 2 แก้ว และเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อย ส่วนในระหว่างที่เราวิ่งอยู่ ร่างกายจะสูญเสียน้ำไปเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน ดังนั้นนักวิ่งจึงควรจิบน้ำเป็นระยะๆ ในระหว่างวิ่ง โดยเฉพาะตอนที่รู้สึกกระหายน้ำจนปากคอแห้ง ซึ่งแปลว่าร่างกายกำลังอยู่ในสภาวะขาดน้ำ ควรแวะหยิบน้ำมาจิบแก้กระหายโดยเร็วที่สุด
8. หยุดพักบ้างก็ได้
หากคุณใช้เวลาวิ่งนานเกิน 3 ชั่วโมง ควรหยุดพักด้วยการเดินเพื่อสูดอากาศเข้าปอดให้เต็มที่ เป็นการเพิ่มความสดชื่นให้ร่างกายไม่รู้สึกอ่อนล้าจนเกินไป เมื่อพักจนรู้สึกดีขึ้นแล้วค่อยเริ่มวิ่งต่อ
หากคุณใช้เวลาวิ่งนานเกิน 3 ชั่วโมง ควรหยุดพักด้วยการเดินเพื่อสูดอากาศเข้าปอดให้เต็มที่ เป็นการเพิ่มความสดชื่นให้ร่างกายไม่รู้สึกอ่อนล้าจนเกินไป เมื่อพักจนรู้สึกดีขึ้นแล้วค่อยเริ่มวิ่งต่อ
9. ยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพิ่มความฟิต
ก่อนวิ่งมาราธอนก็ควรยืดเหยียดร่างกายเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมกล้ามเนื้อและกระตุ้นการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดไปพร้อมๆ กัน โดยควรวอร์มร่างกายประมาณ 10 — 15 นาทีเป็นอย่างต่ำ
ก่อนวิ่งมาราธอนก็ควรยืดเหยียดร่างกายเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมกล้ามเนื้อและกระตุ้นการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดไปพร้อมๆ กัน โดยควรวอร์มร่างกายประมาณ 10 — 15 นาทีเป็นอย่างต่ำ
กดติดตามเราเพิ่มเติมได้ที่
Instagram: @thenorthfacethailand
Instagram: @thenorthfacethailand
ลงทะเบียนรับอีเมล์ข่าวจาก The North Face Thailand
อัพเดทสินค้าใหม่และโปรโมชั่นพิเศษก่อนใคร
http://eepurl.com/cFzWO1
อัพเดทสินค้าใหม่และโปรโมชั่นพิเศษก่อนใคร
http://eepurl.com/cFzWO1
วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2561
วิ่งเพื่อวิ่ง | บทสนทนาสองหนุ่มนักวิ่งเรื่องจอมบึงมาราธอน
เมื่อข้าวในจานหมดลง บทสนทนาของนักวิ่งสองคนบนโต๊ะอาหารมักเป็นเรื่องวิ่ง
“เป็นไงมั่งพี่ ไปวิ่งจอมบึงมา”
“จะเป็นไงวะ ก็ไปวิ่งมา ก็ดี คำถามคือไรวะ”
“เห็นมีคนบ่นเรื่องเหรียญโอ่ง มีดราม่าเรื่องเสื้อฟินิชเชอร์”
“เฮ้ยแอด เอ็งก็วิ่งมาหลายปีนะ ถามหน่อย เราวิ่งกันทำไมวะ? ทุกวันนี้ เราวิ่งเพื่อวิ่ง วิ่งเพื่อสุขภาพเรา เราชวนคนที่เรารักไปวิ่ง เพราะเราอยากให้เค้าแข็งแรง”
พี่แกหยุดนิดนึง. คงเห็นผมอึ้ง มันใช่! #วิ่งเพื่อวิ่ง คำนี้โดนเต็มๆ ขอไฮไลท์ไว้เลย
“ถ้าแกจ่ายตังค์แล้วได้เหรียญสวยเสื้อดีแต่ไม่ต้องวิ่ง แกจะขับรถมาราชบุรีมาเอามะ?”
“ไม่ไปครับพี่ ผมไม่ได้ขับรถไปซื้อเหรียญกะซื้อเสื้อนะ”
“exactly หว่ะ แอด!” (แปลว่าอะไรวะ exactly ของแก) “เหรียญเค้าแจกให้เป็นที่ระลึก มันไม่ใช่สินค้า เราวิ่งเพราะเราอยากวิ่ง พอเราวิ่งจบ เค้าก็แจกเหรียญ เราก็ดีใจ จะเหรียญอะไรก็ตาม ก็ขอบคุณนะ. พออีก 10 ปีพอเราเห็นเหรียญนี้ เสื้อฟินิชเชอร์ตัวนี้ มันจะทำให้เราระลึกถึง race นี้. แกเข้าใจคำว่าที่ระลึกมะ? มันเอาไว้ระลึกถึงกัน เค้าจะแจกอะไรมา ความเห็นส่วนตัวนะ พี่ว่ามันไม่ต่างกัน”
พี่แกยิ้มนิดนึง
“เผลอๆนะเว้ย ไอ้เหรียญโอ่งที่ให้มา อีก 10 ปีให้หลังจากนี้ มันอาจจะทำให้พี่ยิ้มมากกว่าเหรียญโลหะเหรียญอื่นๆก็ได้นะ”
หยุดพูดนิดนึงแล้วยิ้มกว้างกว่าเดิม
“คือมันมีเรื่องราวแง มันเป็นสัญญลักษณ์ เอาไว้ให้เราจดจำเรื่องราว... นึกดูนะ อีก 10 ปีจากนี้ พอเราเหลือบไปเห็นมัน เราจะนึกได้ว่า ครั้งนึงเมื่อสิบปีที่แล้ว ไอ้เรซเก่าแก่เรซบ้านๆเรซนี้ มันคิดได้ไงอะที่แจกเหรียญโอ่ง”
“จริงๆ นี่คือเสน่ห์ของจอมบึงนะ พี่วิ่งที่นี่มา 4-5 ครั้ง ต้นปีใหม่ทีไรจะต้องมาจบจอมบึงให้ได้ เป็นสนามเบิกฤกษ์ เป็นสนามวิ่งที่มีจิตวิญญาณของการวิ่ง มีคนหลายแสนคนก่อนหน้าแกวิ่งผ่านเส้นทางนี้ไปแล้ว จิตวิญญาณของจอมบึงมันอยู่ตรงนั้นอะ”
“สมมุติบอสตันให้ตั๋วแกไปวิ่งโดยยังไม่โชว์เหรียญก่อน แกจะไปมะ?”
“ไปสิครับพี่ แน่นอนเลย”
“เห็นมะ สนามที่มีจิตวิญญาณของนักวิ่งนับล้าน มันมีพลังดึงดูดนักวิ่งให้ไปหาอยู่แล้ว แกต้องจ่ายค่าเครื่องบิน ค่าที่พัก ค่ากิน รวมเป็นแสน ต้องนั่งเครื่องบิน 24 ชั่วโมง เพื่อไปวิ่ง!. มันคืออะไร? มันคือจิตวิญญาณของการวิ่งเว้ย!”
รู้สึกว่าพี่แกจะอินมากกับคำนี้ จิตวิญญาณของสนาม
“สนามที่มีคนวิ่งนับล้านก่อนหน้าแก พลังบวกที่คอยผลักดันให้คนเหล่านั้นเอาชนะใจตัวเอง มันลอยอยู่ตรงนั้น - เรซที่เค้าวิ่งกันมาร้อยกว่าปี ผู้จัดอาจจะเปลี่ยนหรือตายกี่รอบแล้ว แต่เรซมันยังอยู่ เหรียญถูกใจบ้างไม่ถูกใจบ้าง แต่เรซมันก็ยังอยู่ - วิญญาณของสนามมันอยู่ที่สนาม ไม่ใช่เหรียญ”
แกยิ้มกว้างกว่าเดิมอีกทีนี้ คงเห็นผมพยักหน้าหงึกๆตั้งใจฟังอย่างดี
“ถ้าจะให้พี่วิจารณ์เรซนี้ ว่ามันพลาดตรงไหน? ส่วนตัวนะ พี่ว่าเรื่องเดียวที่มันพลาดคือ มันเผลอ! มันเผลอความคิดไปทำตามกระแสนิยม ว่างานวิ่งดีต้อง มีเหรียญดี เสื้อสวย อาหารอร่อย ยิ่งหลังๆก็มี เพซเซอร์อึ๋ม เพิ่มเข้ามาอีกกระแส. เรซใหม่ๆ เค้าต้องค่อยๆสะสมจิตวิญญาณของสนาม การเอาจุดขายอื่นๆมานำเสนอให้นักวิ่ง เสื้อสวย เหรียญดี อาหารเพียบ เพซเซอร์อึ๋ม ก็ทำถูกต้องแล้ว เรซหน้าตาดี ก็ดึงดูดนักวิ่งให้มาลองสนามนี้ก่อน ถ้างานเค้าจัดดี สนามนั้นก็ยิ่งค่อยๆมีจิตวิญญาณของมาราธอนมากขึ้นมาทุกๆปี
จะเล่าให้ฟังเรื่องนึง
แกรู้มั้ยว่า จอมบึงมันใช้ไม้แขวนเสื้อพลาสติกโลว์ๆ แขวนโชว์เสื้อฟินิชเชอร์บนราวตากผ้า ราวก็ทำจากเชือกกระสอบมีกระดาษสองใบ พิมพ์คำว่าเสื้อ Finisher มาแปะสก้อตเทปไว้ข้างๆ. ไม่ได้มีหุ่นมาใส่โชว์เสื้อ พี่เห็นแล้วพี่อมยิ้มนะ. ว่ามันบ้านๆได้ใจจริงๆ 5555 นี่มันเสื้อฟินิชเชอร์เลยนะเว้ย. แขวนกันแบบนี้เนี่ยอะนะ. แต่นี่แหล่ะคือเสน่ห์ของจอมบึง.
มันเหมือนแกไปเที่ยวปาย คนชงกาแฟสด นุ่งผ้าถุงอุ้มลูกมาชงกาแฟอะ. มันคือเสน่ห์ของปาย เสน่ห์ของความบ้านๆ ถ้าแกมาปาย แล้วแกเห็นสตาร์บั๊คส์ มันจะใช่ปายเหรอวะ?
จริงๆ ไอ้เหรียญโอ่ง ถ้วยรางวัลโอ่ง อันนี้ก็เกิดจากความคิดบ้านๆ พี่ว่ามันมีเสน่ห์นะ ยิ่งถ้าปีหน้า มันไม่แจกเหรียญโอ่งอีกแล้ว พี่ว่าเหรียญโอ่งปีนี้จะกลายเป็นตำนาน มันจะเป็นเหรียญมีค่า ที่ทำให้ทุกคนอิจฉาเลย 555”
“ปีนี้เห็นผลการโหวต 2017 บอกว่า จอมบึง ไม่ติด 1 ใน 10 ของมาราธอนที่ดีที่สุดในประเทศ”
“ต่างคนต่างความคิด เป็นสิทธิ์ของทุกคนที่จะชอบสนามไหน สนามดี คนชอบ เค้าก็โหวตว่าดี ก็ถูกต้องแล้วนี่หว่า - เรื่องผลการโหวตนี้เป็นเรื่องดีนะ เป็นการสะกิดจอมบึงนิดนึง ว่าการจัดงานวิ่งสมัยนี้ เค้าต้องสื่อสารให้กับนักวิ่งผ่านสื่อโซเชียลให้มากกว่านี้ ให้ชัดเจนขึ้น เพราะคนส่วนใหญ่รอรับฟังข่าวสารอยู่บนนั้น - แต่แกไม่ได้ทำเพจ แกจะรู้อะไรแอด.”
“อะ..เอิ่ม..ครับพี่”
“คำถามเดิม ถ้า London หรือโตเกียวถูกตัดจาก World Marathon Majors ไม่ติดอันดับผลโหวตชื่นชอบจากคนทั่วโลก พี่ถามว่า แกยังจะไปอยู่มะ?”
“ไปดิครับ มันเป็นความฝันของผมนะ ที่จะได้วิ่งในสนามพวกนี้”
“Exactly!” (มันมาอีกแล้วคำนี้) “เป็นสิทธิ์ของแต่คนที่จะชอบสนามไหน ไม่มีถูกไม่มีผิด แต่ #สนามที่เราวิ่งแล้วทำให้เรามีพลัง #สนามนั้นมันจะดึงดูดเราไปเอง เค้าจะแจกเหรียญเป็นโอ่ง เป็นอ่าง หรือจะเป็นใบไม้ ก็ขอบคุณนะ อะไรก็ได้เอามาเหอะ ข้าก็มาวิ่งอยู่ดี”
“ใช่ครับพี่! Exactly เลย” (มันแปลว่าอะไรไม่รู้อะ กรูพูดมั่ง)
“เอ่ออ..พี่..ที่เราคุยกันวันนี้ มันดีมากเลยนะ ผมเอาไปลงเพจนะ ผมอัดเสียงไว้แล้ว ให้คนอื่นอ่านด้วย. ขอ.”
“อ้าว @#$%# ละ ไม่บอกกรูล่วงหน้าเลยนะมรึง ดีว่ากรูไม่ด่าไปเยอะ 5555 เออ..ได้.. งั้นมื้อนี้เอ็งเลี้ยงก็แล้วกัน”
#วิ่งเพื่อวิ่ง ฮะ
เสียตังค์เลี้ยงข้าว แล้วได้คำนี้มา!
คุ้มเป็นที่สุด. สุดยอดมาก ขอเก็บไว้เลย.
#ThaiRun
The Thailand’s Running Media
เพราะความสุขของนักวิ่ง คือเรื่องใหญ่ของเรา
#CBM2018 | #จอมบึงมาราธอน
ที่มา : https://www.facebook.com/thaidotrun/photos/a.1694377410849702.1073741828.1658834907737286/2033836933570413/?type=3
“เป็นไงมั่งพี่ ไปวิ่งจอมบึงมา”
“จะเป็นไงวะ ก็ไปวิ่งมา ก็ดี คำถามคือไรวะ”
“เห็นมีคนบ่นเรื่องเหรียญโอ่ง มีดราม่าเรื่องเสื้อฟินิชเชอร์”
“เฮ้ยแอด เอ็งก็วิ่งมาหลายปีนะ ถามหน่อย เราวิ่งกันทำไมวะ? ทุกวันนี้ เราวิ่งเพื่อวิ่ง วิ่งเพื่อสุขภาพเรา เราชวนคนที่เรารักไปวิ่ง เพราะเราอยากให้เค้าแข็งแรง”
พี่แกหยุดนิดนึง. คงเห็นผมอึ้ง มันใช่! #วิ่งเพื่อวิ่ง คำนี้โดนเต็มๆ ขอไฮไลท์ไว้เลย
“ถ้าแกจ่ายตังค์แล้วได้เหรียญสวยเสื้อดีแต่ไม่ต้องวิ่ง แกจะขับรถมาราชบุรีมาเอามะ?”
“ไม่ไปครับพี่ ผมไม่ได้ขับรถไปซื้อเหรียญกะซื้อเสื้อนะ”
“exactly หว่ะ แอด!” (แปลว่าอะไรวะ exactly ของแก) “เหรียญเค้าแจกให้เป็นที่ระลึก มันไม่ใช่สินค้า เราวิ่งเพราะเราอยากวิ่ง พอเราวิ่งจบ เค้าก็แจกเหรียญ เราก็ดีใจ จะเหรียญอะไรก็ตาม ก็ขอบคุณนะ. พออีก 10 ปีพอเราเห็นเหรียญนี้ เสื้อฟินิชเชอร์ตัวนี้ มันจะทำให้เราระลึกถึง race นี้. แกเข้าใจคำว่าที่ระลึกมะ? มันเอาไว้ระลึกถึงกัน เค้าจะแจกอะไรมา ความเห็นส่วนตัวนะ พี่ว่ามันไม่ต่างกัน”
พี่แกยิ้มนิดนึง
“เผลอๆนะเว้ย ไอ้เหรียญโอ่งที่ให้มา อีก 10 ปีให้หลังจากนี้ มันอาจจะทำให้พี่ยิ้มมากกว่าเหรียญโลหะเหรียญอื่นๆก็ได้นะ”
หยุดพูดนิดนึงแล้วยิ้มกว้างกว่าเดิม
“คือมันมีเรื่องราวแง มันเป็นสัญญลักษณ์ เอาไว้ให้เราจดจำเรื่องราว... นึกดูนะ อีก 10 ปีจากนี้ พอเราเหลือบไปเห็นมัน เราจะนึกได้ว่า ครั้งนึงเมื่อสิบปีที่แล้ว ไอ้เรซเก่าแก่เรซบ้านๆเรซนี้ มันคิดได้ไงอะที่แจกเหรียญโอ่ง”
“จริงๆ นี่คือเสน่ห์ของจอมบึงนะ พี่วิ่งที่นี่มา 4-5 ครั้ง ต้นปีใหม่ทีไรจะต้องมาจบจอมบึงให้ได้ เป็นสนามเบิกฤกษ์ เป็นสนามวิ่งที่มีจิตวิญญาณของการวิ่ง มีคนหลายแสนคนก่อนหน้าแกวิ่งผ่านเส้นทางนี้ไปแล้ว จิตวิญญาณของจอมบึงมันอยู่ตรงนั้นอะ”
“สมมุติบอสตันให้ตั๋วแกไปวิ่งโดยยังไม่โชว์เหรียญก่อน แกจะไปมะ?”
“ไปสิครับพี่ แน่นอนเลย”
“เห็นมะ สนามที่มีจิตวิญญาณของนักวิ่งนับล้าน มันมีพลังดึงดูดนักวิ่งให้ไปหาอยู่แล้ว แกต้องจ่ายค่าเครื่องบิน ค่าที่พัก ค่ากิน รวมเป็นแสน ต้องนั่งเครื่องบิน 24 ชั่วโมง เพื่อไปวิ่ง!. มันคืออะไร? มันคือจิตวิญญาณของการวิ่งเว้ย!”
รู้สึกว่าพี่แกจะอินมากกับคำนี้ จิตวิญญาณของสนาม
“สนามที่มีคนวิ่งนับล้านก่อนหน้าแก พลังบวกที่คอยผลักดันให้คนเหล่านั้นเอาชนะใจตัวเอง มันลอยอยู่ตรงนั้น - เรซที่เค้าวิ่งกันมาร้อยกว่าปี ผู้จัดอาจจะเปลี่ยนหรือตายกี่รอบแล้ว แต่เรซมันยังอยู่ เหรียญถูกใจบ้างไม่ถูกใจบ้าง แต่เรซมันก็ยังอยู่ - วิญญาณของสนามมันอยู่ที่สนาม ไม่ใช่เหรียญ”
แกยิ้มกว้างกว่าเดิมอีกทีนี้ คงเห็นผมพยักหน้าหงึกๆตั้งใจฟังอย่างดี
“ถ้าจะให้พี่วิจารณ์เรซนี้ ว่ามันพลาดตรงไหน? ส่วนตัวนะ พี่ว่าเรื่องเดียวที่มันพลาดคือ มันเผลอ! มันเผลอความคิดไปทำตามกระแสนิยม ว่างานวิ่งดีต้อง มีเหรียญดี เสื้อสวย อาหารอร่อย ยิ่งหลังๆก็มี เพซเซอร์อึ๋ม เพิ่มเข้ามาอีกกระแส. เรซใหม่ๆ เค้าต้องค่อยๆสะสมจิตวิญญาณของสนาม การเอาจุดขายอื่นๆมานำเสนอให้นักวิ่ง เสื้อสวย เหรียญดี อาหารเพียบ เพซเซอร์อึ๋ม ก็ทำถูกต้องแล้ว เรซหน้าตาดี ก็ดึงดูดนักวิ่งให้มาลองสนามนี้ก่อน ถ้างานเค้าจัดดี สนามนั้นก็ยิ่งค่อยๆมีจิตวิญญาณของมาราธอนมากขึ้นมาทุกๆปี
จะเล่าให้ฟังเรื่องนึง
แกรู้มั้ยว่า จอมบึงมันใช้ไม้แขวนเสื้อพลาสติกโลว์ๆ แขวนโชว์เสื้อฟินิชเชอร์บนราวตากผ้า ราวก็ทำจากเชือกกระสอบมีกระดาษสองใบ พิมพ์คำว่าเสื้อ Finisher มาแปะสก้อตเทปไว้ข้างๆ. ไม่ได้มีหุ่นมาใส่โชว์เสื้อ พี่เห็นแล้วพี่อมยิ้มนะ. ว่ามันบ้านๆได้ใจจริงๆ 5555 นี่มันเสื้อฟินิชเชอร์เลยนะเว้ย. แขวนกันแบบนี้เนี่ยอะนะ. แต่นี่แหล่ะคือเสน่ห์ของจอมบึง.
มันเหมือนแกไปเที่ยวปาย คนชงกาแฟสด นุ่งผ้าถุงอุ้มลูกมาชงกาแฟอะ. มันคือเสน่ห์ของปาย เสน่ห์ของความบ้านๆ ถ้าแกมาปาย แล้วแกเห็นสตาร์บั๊คส์ มันจะใช่ปายเหรอวะ?
จริงๆ ไอ้เหรียญโอ่ง ถ้วยรางวัลโอ่ง อันนี้ก็เกิดจากความคิดบ้านๆ พี่ว่ามันมีเสน่ห์นะ ยิ่งถ้าปีหน้า มันไม่แจกเหรียญโอ่งอีกแล้ว พี่ว่าเหรียญโอ่งปีนี้จะกลายเป็นตำนาน มันจะเป็นเหรียญมีค่า ที่ทำให้ทุกคนอิจฉาเลย 555”
“ปีนี้เห็นผลการโหวต 2017 บอกว่า จอมบึง ไม่ติด 1 ใน 10 ของมาราธอนที่ดีที่สุดในประเทศ”
“ต่างคนต่างความคิด เป็นสิทธิ์ของทุกคนที่จะชอบสนามไหน สนามดี คนชอบ เค้าก็โหวตว่าดี ก็ถูกต้องแล้วนี่หว่า - เรื่องผลการโหวตนี้เป็นเรื่องดีนะ เป็นการสะกิดจอมบึงนิดนึง ว่าการจัดงานวิ่งสมัยนี้ เค้าต้องสื่อสารให้กับนักวิ่งผ่านสื่อโซเชียลให้มากกว่านี้ ให้ชัดเจนขึ้น เพราะคนส่วนใหญ่รอรับฟังข่าวสารอยู่บนนั้น - แต่แกไม่ได้ทำเพจ แกจะรู้อะไรแอด.”
“อะ..เอิ่ม..ครับพี่”
“คำถามเดิม ถ้า London หรือโตเกียวถูกตัดจาก World Marathon Majors ไม่ติดอันดับผลโหวตชื่นชอบจากคนทั่วโลก พี่ถามว่า แกยังจะไปอยู่มะ?”
“ไปดิครับ มันเป็นความฝันของผมนะ ที่จะได้วิ่งในสนามพวกนี้”
“Exactly!” (มันมาอีกแล้วคำนี้) “เป็นสิทธิ์ของแต่คนที่จะชอบสนามไหน ไม่มีถูกไม่มีผิด แต่ #สนามที่เราวิ่งแล้วทำให้เรามีพลัง #สนามนั้นมันจะดึงดูดเราไปเอง เค้าจะแจกเหรียญเป็นโอ่ง เป็นอ่าง หรือจะเป็นใบไม้ ก็ขอบคุณนะ อะไรก็ได้เอามาเหอะ ข้าก็มาวิ่งอยู่ดี”
“ใช่ครับพี่! Exactly เลย” (มันแปลว่าอะไรไม่รู้อะ กรูพูดมั่ง)
“เอ่ออ..พี่..ที่เราคุยกันวันนี้ มันดีมากเลยนะ ผมเอาไปลงเพจนะ ผมอัดเสียงไว้แล้ว ให้คนอื่นอ่านด้วย. ขอ.”
“อ้าว @#$%# ละ ไม่บอกกรูล่วงหน้าเลยนะมรึง ดีว่ากรูไม่ด่าไปเยอะ 5555 เออ..ได้.. งั้นมื้อนี้เอ็งเลี้ยงก็แล้วกัน”
#วิ่งเพื่อวิ่ง ฮะ
เสียตังค์เลี้ยงข้าว แล้วได้คำนี้มา!
คุ้มเป็นที่สุด. สุดยอดมาก ขอเก็บไว้เลย.
#ThaiRun
The Thailand’s Running Media
เพราะความสุขของนักวิ่ง คือเรื่องใหญ่ของเรา
#CBM2018 | #จอมบึงมาราธอน
ที่มา : https://www.facebook.com/thaidotrun/photos/a.1694377410849702.1073741828.1658834907737286/2033836933570413/?type=3
วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561
อัพเดตลิงค์สำหรับคลิปความรู้พื้นฐานในการใช้ดูแลตัวเองค่ะ
อัพเดตลิงค์สำหรับคลิปความรู้พื้นฐานในการใช้ดูแลตัวเองค่ะ อัพเดตกันทุก 4-6เดือน
6 ท่า Quick stretch สำหรับนักวิ่ง
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/820436578113664
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/820436578113664
Trigger point จุดยึดเกร็งกล้ามเนื้อ คืออะไร
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/719067854917204:0
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/719067854917204:0
ข้อดีของ ice pack
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/712586282232028:0
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/712586282232028:0
Drill ก่อนวิ่ง ในบรรยากาศ UTMB2017
https://youtu.be/ZhpsMIwP6GI
https://youtu.be/ZhpsMIwP6GI
สอนยืดกล้ามเนื้อต้นขาหนีบด้านใน
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/716187071871949/
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/716187071871949/
การดูแลตนเองเบื้องต้นอาการShinsplint
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/714562195367770/
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/714562195367770/
การดูแลตนเองเบื้องต้นอาการ เจ็บเข่าด้านนอก Iliotibial band syndrome (ITBS)
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/711453795678610/
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/711453795678610/
การดูแลตนเองเบื้องต้นอาการเจ็บเข่าด้านใน pes ancerinus tendinitis
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/706955322795124/
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/706955322795124/
วิธีกดนวดกล้ามเนื้อใต้ข้อพับเข่า
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/737105413113448/
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/737105413113448/
สร้างความแข็งแรงกล้ามเนื้อกางสะโพก
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/670509293106394
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/670509293106394
สร้างความแข็งแรง hamstring
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/730520347105288/
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/730520347105288/
สร้างความแข็งแรงกล้ามเนื้อเหยียดสะโพก
ที่สำคัญสำหรับนักวิ่ง setA
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/834734023350586/
ที่สำคัญสำหรับนักวิ่ง setA
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/834734023350586/
รักษารองช้ำด้วยตนเอง version ThaiPBS
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/655946411229349
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/655946411229349
เตรียมตัววิ่ง half marathon
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/713891182101538
Link YouTube
https://youtu.be/BJCKgEghjt0
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/713891182101538
Link YouTube
https://youtu.be/BJCKgEghjt0
เตรียมตัววันวิ่งfull marathon
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/722263671264289/
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/722263671264289/
ร้อนเย็นเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
https://youtu.be/wggNiYAP0qE
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/722421551248501/
https://youtu.be/wggNiYAP0qE
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/722421551248501/
Office syndrome จัดการได้ด้วยตัวเอง
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/796068997217089
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/795080823982573
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/797991990358123
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/796068997217089
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/795080823982573
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/797991990358123
Foam roller คลายปวดเข่า
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/826175527539769/
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/826175527539769/
วิธีใช้ลูกบอลกดนวดกล้ามเนื้อ
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/825750054248983/
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/825750054248983/
บริหารข้อเท้าให้เป็นวงกลมกัน
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/829760717181250/
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/829760717181250/
100kของแม่สตางค์
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/809751315848857/
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/809751315848857/
HIIT สำหรับทุกคน
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/843976005759721/
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/843976005759721/
Live..
จัดการความอ้วนอย่างเข้าใจ
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/771432249680764/
การกู้ชีพเบื้องต้นกับหมออัฐ
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/793290730828249/
คุยเรื่องหูอื้อกับหมอเนย
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/767203166770339/
จัดการความอ้วนอย่างเข้าใจ
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/771432249680764/
การกู้ชีพเบื้องต้นกับหมออัฐ
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/793290730828249/
คุยเรื่องหูอื้อกับหมอเนย
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/videos/767203166770339/
บทความ
Saroma100 Finisher ultraroad100
ที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น
https://www.facebook.com/samitada/posts/10155469794569717
Saroma100 Finisher ultraroad100
ที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น
https://www.facebook.com/samitada/posts/10155469794569717
เป้าหมายชีวิตหลัง60
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/721531268004196:0
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/721531268004196:0
มาราธอนแรกเปลี่ยนชีวิต
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/728017044022285:0
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/728017044022285:0
มาวิ่งมาราธอนกับฉันไหม
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/728555063968483:0
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/728555063968483:0
เริ่มวิ่งทำอย่างไร
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/747132312110758:0
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/747132312110758:0
Overtraining syndrome
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/725483080942348:0
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/725483080942348:0
3 เทคนิค downhill อย่างปลอดภัยไม่บาดเจ็บ
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/751908744966448:0
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/751908744966448:0
ท้องแล้วออกกำลังกายอย่างไร
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/770247049799284:0
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/770247049799284:0
ความเแข็งแรงกล้ามเนื้อสำคัญอย่างไร
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/793875257436463:0
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/posts/793875257436463:0
วิ่งแล้วมือบวมเกิดจากอะไร
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/photos/a.212286148928713.1073741825.210845419072786/637678846389439/?type=3
https://www.facebook.com/GoodhealthLiveSmart/photos/a.212286148928713.1073741825.210845419072786/637678846389439/?type=3
ขอให้เริ่มก้าวอย่างมุ่งมั่นทุกคนนะคะ
วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561
ชีวิตนักวิ่งหลังวัย 50+
ถึงเวลาต้องมาทบทวน การฝึกฝนการวิ่งที่ทำๆกันมาตลอดชีวิต หาไอเดียใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับวัยของนักวิ่ง มาดูสิว่าต้องปรับอะไรกันบ้าง
1. การลงแข่งวิ่ง
ตอนช่วงวัยแข็งแรง เราจะมองกันแต่เรื่องของชัยชนะจากการแข่งขัน แต่คนวัย 50+ จะเริ่มมีมุมมองที่แตกต่าง จะหันมาให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพที่ดีเป็นหลัก หาเพื่อนหาฝูง และวิ่งเป็นงานอดิเรก
การวิ่งมีความหมายมากกว่าการได้รับชัยชนะ คนวัยนี้จะหันมามองตัวเองมากขึ้น แทนที่จะคิดแต่จะเอาชนะคนอื่น การวิ่งก็เลยหวังไว้แค่ให้วิ่งมาราธอนให้สำเร็จ วิ่งมาราธอนให้ได้หลายๆงาน หรือแม้แต่ลงระดับอัลตร้ามาราธอน
เป็นการแข่งขันกับตัวเอง เป้าหมายชัยชนะเปลี่ยนไปเป็น ต้องการจบ 10 อันดับแรก 100 อันดับแรก คนภายนอกเลยมักจะมองดูคนกลุ่ม 50+ ว่ามุ่งมั่นในการแข่งขันมาก แต่คนกลุ่มนี้มีสปิริตในการวิ่ง และต้องการให้จบแบบสวยๆมากกว่าต้องการชัยชนะ จะเห็นได้จากรูปถ่ายที่โพสต์กันในเฟซบุ้คหลังจากแข่งเสร็จ ดูมีสีสันสดใสร่าเริงเต็มไปด้วยความสุข ราวกับว่าทุกคนได้รับชัยชนะ
2. วิ่งมาราธอนมากขึ้นกว่าเดิม
แนวความคิดในการวิ่งมาราธอน จะเปลี่ยนไปจากเดิม เดิมจะเลือกลงแข่งขัน ไม่กี่งานต่อปี เพื่อไม่ให้ร่างกายโทรม และฟื้นฟูร่างกายได้ทัน และหวังผลเลิศในแต่ละการแข่งขัน แต่คนวัย 50+ จะมองว่าทุกๆงานน่าไปหมดเลย ไม่อยากพลาด อยากไปร่วมงานให้ได้ ได้เจอเพื่อนฝูง หาเพื่อนๆใหม่ๆ แบ่งปันความรู้สึก ประสบการณ์ ในการแข่งขัน ให้กันและกันหลังแข่งจบ ว่าทำได้ตามเวลาที่ตัวเองวางไว้หรือไม่ คนวัยนี้จะไม่ค่อยรู้สึกผิดหวังมากนัก หากการวิ่งไม่เป็นไปตามเป้า เพราะจะมองว่าตัวเองแก้มือได้ในงานหน้า เป็นการมองในเชิงบวกเสมอ
3. มีมุมมองในการฝึกซ้อมแตกต่างไปจากเดิม
พออายุมากขึ้น ความสามารถในการฝึกหนักก็จะลดลง ร่างกายไม่เหมือนตอนวัยหนุ่มสาว ทั้งนี้เพราะโครงสร้างกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น เริ่มเสื่อม การไปโหมฝึกหนัก จะทำให้เจ็บได้ง่าย การฝึกหนัก เป็นการสร้างความกดดันให้กับร่างกาย คนวัย 50+ ควรจะพัก และควรฟื้นสภาพร่างกาย เพื่อซ่อมแซมเนื้อเยื่อเล็กๆ ที่ถูกทำลายลงในขณะที่ฝึกซ้อม ประเด็นนี้นักวิ่งต้องเรียนรู้ว่ามากแค่ไหนควรจะพอ แต่ไม่ใช่โหมฝึกหนักราวกับตัวเองเป็นวัยรุ่น
การจะซ้อมหนักด้วยการเว้นระยะห่างซ้อมหนักทุกๆ 7 วัน ย่อมไม่เหมาะสมกับวัยนี้ ต้องมีช่องว่างไว้ฟื้นตัว การซ้อมหนักควรเว้นห่างไว้ประมาณ 10-12 วัน การหยุดพักเป็นสิ่งจำเป็น และจะทำให้สร้างผลงานได้ดี การพักมีความสำคัญเท่ากับ การวิ่งยาว หรือการลงคอร์ท ช่วงที่เราพัก ร่างกายได้โอกาสซ่อมแซมตัวเอง และสร้างความแข็งแกร่งให้กับขา การซ้อมหนักเกินไป ร่างกายไม่มีโอกาสได้ซ่อมแซมกล้ามเนื้อ และนั่นเป็นสาเหตุหลักๆว่าทำไมนักวิ่งจึงมีอาการบาดเจ็บกัน
การลดการฝึกซ้อมหนักๆ วิ่งสบายๆ จะทำให้นักวิ่งวัยนี้วิ่งดีขึ้น และเราจะเห็นได้ชัดว่านักวิ่งวัยนี้ วิ่งมาราธอนกันถี่มาก และไม่มีอาการบาดเจ็บให้เห็นมากนัก เพราะซ้อมน้อย แต่แข่งมาก การซ้อมหนักสุด ใช่ว่าจะวิ่งดีสุด แต่การซ้อมอย่างฉลาด จะทำให้เราวิ่งดีต่างหาก ซ้อมแบบมีการยืดหยุ่น ไม่ใช่ซ้อมตามตาราง ต้องเรียนรู้การฟังเสียงของร่างกาย ไม่ใช่ดื้อด้านจะซ้อมตามเป้าให้ได้
4. อาหารการกินเป็นสิ่งสำคัญ
อาหารการกินเป็นสิ่งสำคัญสุดๆสำหรับวัย 50+ สำคัญกว่าวัยรุ่นเสียอีก การซ้อมหนักในขณะที่ร่างกายอยู่ในวัยที่เสื่อมพลัง จำเป็นต้องได้รับสารอาหารเพื่อรับมือกับ VO2 max ที่ลดลง ความแข็งแรงที่น้อยลง ไขมันร่างกายที่เพิ่มขึ้น กรดแล็คติกจากกล้ามเนื้อที่ลดลง รวมทั้งความหนาแน่นของมวลกระดูกที่ลดลงเช่นกัน ไม่ใช่เพียงแค่ว่าจะกินอะไร แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่าจะกินเมื่อไร ระหว่างการฝึกซ้อมและการแข่งขัน กินอย่างถูกต้องมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อร่างกายจะได้ซ่อมแซมตัวเอง
ควรงดอาหารสำเร็จรูป เลือกทานอาหารจากธรรมชาติให้มากที่สุด ทานคาร์โบไฮเดรตให้ได้ราวๆ 15-25 กรัม ก่อนการซ้อม เพื่อรักษาระดับพลังงาน ตรงนี้สำคัญมากยามเช้าๆ เพราะเป็นช่วงที่น้ำตาลในเลือดจะกลายเป็นไกลโคเจน เพราะเราต้องการไกลโคเจนสำหรับการซ้อมยาว เลือกกินให้ครบห้าหมู่ในแต่ละวัน กินหลังการซ้อม จะทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น หาเครื่องดื่มเกลือแร่ดื่มระหว่างการซ้อมก็จะดี บางคนมองกว่าวัยนี้ควรงดเกลือ แต่นั่นสำหรับคนที่ไม่ออกกำลังกาย แต่คนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เกลือแร่เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อไปทดแทนเกลือที่สูญเสียไปกับเหงื่อ
…..สุคีริน ทวีสุข ทีมเวโลเช่
ที่มา : https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10216830754910724&set=gm.994452480741610&type=3
1. การลงแข่งวิ่ง
ตอนช่วงวัยแข็งแรง เราจะมองกันแต่เรื่องของชัยชนะจากการแข่งขัน แต่คนวัย 50+ จะเริ่มมีมุมมองที่แตกต่าง จะหันมาให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพที่ดีเป็นหลัก หาเพื่อนหาฝูง และวิ่งเป็นงานอดิเรก
การวิ่งมีความหมายมากกว่าการได้รับชัยชนะ คนวัยนี้จะหันมามองตัวเองมากขึ้น แทนที่จะคิดแต่จะเอาชนะคนอื่น การวิ่งก็เลยหวังไว้แค่ให้วิ่งมาราธอนให้สำเร็จ วิ่งมาราธอนให้ได้หลายๆงาน หรือแม้แต่ลงระดับอัลตร้ามาราธอน
เป็นการแข่งขันกับตัวเอง เป้าหมายชัยชนะเปลี่ยนไปเป็น ต้องการจบ 10 อันดับแรก 100 อันดับแรก คนภายนอกเลยมักจะมองดูคนกลุ่ม 50+ ว่ามุ่งมั่นในการแข่งขันมาก แต่คนกลุ่มนี้มีสปิริตในการวิ่ง และต้องการให้จบแบบสวยๆมากกว่าต้องการชัยชนะ จะเห็นได้จากรูปถ่ายที่โพสต์กันในเฟซบุ้คหลังจากแข่งเสร็จ ดูมีสีสันสดใสร่าเริงเต็มไปด้วยความสุข ราวกับว่าทุกคนได้รับชัยชนะ
2. วิ่งมาราธอนมากขึ้นกว่าเดิม
แนวความคิดในการวิ่งมาราธอน จะเปลี่ยนไปจากเดิม เดิมจะเลือกลงแข่งขัน ไม่กี่งานต่อปี เพื่อไม่ให้ร่างกายโทรม และฟื้นฟูร่างกายได้ทัน และหวังผลเลิศในแต่ละการแข่งขัน แต่คนวัย 50+ จะมองว่าทุกๆงานน่าไปหมดเลย ไม่อยากพลาด อยากไปร่วมงานให้ได้ ได้เจอเพื่อนฝูง หาเพื่อนๆใหม่ๆ แบ่งปันความรู้สึก ประสบการณ์ ในการแข่งขัน ให้กันและกันหลังแข่งจบ ว่าทำได้ตามเวลาที่ตัวเองวางไว้หรือไม่ คนวัยนี้จะไม่ค่อยรู้สึกผิดหวังมากนัก หากการวิ่งไม่เป็นไปตามเป้า เพราะจะมองว่าตัวเองแก้มือได้ในงานหน้า เป็นการมองในเชิงบวกเสมอ
3. มีมุมมองในการฝึกซ้อมแตกต่างไปจากเดิม
พออายุมากขึ้น ความสามารถในการฝึกหนักก็จะลดลง ร่างกายไม่เหมือนตอนวัยหนุ่มสาว ทั้งนี้เพราะโครงสร้างกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น เริ่มเสื่อม การไปโหมฝึกหนัก จะทำให้เจ็บได้ง่าย การฝึกหนัก เป็นการสร้างความกดดันให้กับร่างกาย คนวัย 50+ ควรจะพัก และควรฟื้นสภาพร่างกาย เพื่อซ่อมแซมเนื้อเยื่อเล็กๆ ที่ถูกทำลายลงในขณะที่ฝึกซ้อม ประเด็นนี้นักวิ่งต้องเรียนรู้ว่ามากแค่ไหนควรจะพอ แต่ไม่ใช่โหมฝึกหนักราวกับตัวเองเป็นวัยรุ่น
การจะซ้อมหนักด้วยการเว้นระยะห่างซ้อมหนักทุกๆ 7 วัน ย่อมไม่เหมาะสมกับวัยนี้ ต้องมีช่องว่างไว้ฟื้นตัว การซ้อมหนักควรเว้นห่างไว้ประมาณ 10-12 วัน การหยุดพักเป็นสิ่งจำเป็น และจะทำให้สร้างผลงานได้ดี การพักมีความสำคัญเท่ากับ การวิ่งยาว หรือการลงคอร์ท ช่วงที่เราพัก ร่างกายได้โอกาสซ่อมแซมตัวเอง และสร้างความแข็งแกร่งให้กับขา การซ้อมหนักเกินไป ร่างกายไม่มีโอกาสได้ซ่อมแซมกล้ามเนื้อ และนั่นเป็นสาเหตุหลักๆว่าทำไมนักวิ่งจึงมีอาการบาดเจ็บกัน
การลดการฝึกซ้อมหนักๆ วิ่งสบายๆ จะทำให้นักวิ่งวัยนี้วิ่งดีขึ้น และเราจะเห็นได้ชัดว่านักวิ่งวัยนี้ วิ่งมาราธอนกันถี่มาก และไม่มีอาการบาดเจ็บให้เห็นมากนัก เพราะซ้อมน้อย แต่แข่งมาก การซ้อมหนักสุด ใช่ว่าจะวิ่งดีสุด แต่การซ้อมอย่างฉลาด จะทำให้เราวิ่งดีต่างหาก ซ้อมแบบมีการยืดหยุ่น ไม่ใช่ซ้อมตามตาราง ต้องเรียนรู้การฟังเสียงของร่างกาย ไม่ใช่ดื้อด้านจะซ้อมตามเป้าให้ได้
4. อาหารการกินเป็นสิ่งสำคัญ
อาหารการกินเป็นสิ่งสำคัญสุดๆสำหรับวัย 50+ สำคัญกว่าวัยรุ่นเสียอีก การซ้อมหนักในขณะที่ร่างกายอยู่ในวัยที่เสื่อมพลัง จำเป็นต้องได้รับสารอาหารเพื่อรับมือกับ VO2 max ที่ลดลง ความแข็งแรงที่น้อยลง ไขมันร่างกายที่เพิ่มขึ้น กรดแล็คติกจากกล้ามเนื้อที่ลดลง รวมทั้งความหนาแน่นของมวลกระดูกที่ลดลงเช่นกัน ไม่ใช่เพียงแค่ว่าจะกินอะไร แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่าจะกินเมื่อไร ระหว่างการฝึกซ้อมและการแข่งขัน กินอย่างถูกต้องมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อร่างกายจะได้ซ่อมแซมตัวเอง
ควรงดอาหารสำเร็จรูป เลือกทานอาหารจากธรรมชาติให้มากที่สุด ทานคาร์โบไฮเดรตให้ได้ราวๆ 15-25 กรัม ก่อนการซ้อม เพื่อรักษาระดับพลังงาน ตรงนี้สำคัญมากยามเช้าๆ เพราะเป็นช่วงที่น้ำตาลในเลือดจะกลายเป็นไกลโคเจน เพราะเราต้องการไกลโคเจนสำหรับการซ้อมยาว เลือกกินให้ครบห้าหมู่ในแต่ละวัน กินหลังการซ้อม จะทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น หาเครื่องดื่มเกลือแร่ดื่มระหว่างการซ้อมก็จะดี บางคนมองกว่าวัยนี้ควรงดเกลือ แต่นั่นสำหรับคนที่ไม่ออกกำลังกาย แต่คนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เกลือแร่เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อไปทดแทนเกลือที่สูญเสียไปกับเหงื่อ
…..สุคีริน ทวีสุข ทีมเวโลเช่
ที่มา : https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10216830754910724&set=gm.994452480741610&type=3
วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2561
ปรับท่าวิ่งให้ถูกต้องออกแรงน้อยและได้ความเร็วต้องทำอย่างไร
Q : ควรปรับท่าวิ่งอย่างไรให้ได้ท่าที่ถูกต้อง ใช้แรงน้อยและความเร็วเพิ่มครับ?
คำถามจากคุณ แย้มยิ้ม ยิ้มแย้ม
--------------------------------------------------
ครูดินขอตอบว่าไม่มีท่าวิ่งที่ดีที่สุดในโลก แต่มีท่าวิ่งที่ดีที่สุดกับโครงสร้างของแต่ละคน ท่าวิ่งที่ครูดินแนะนำก็ไม่ได้บอกว่าดีที่สุด เพราะยังหาจุดที่ลงตัวว่าดีที่สุดยังไม่มีใครอ้างถึง นอกจากการเคลื่อนไหวที่นำหลักการทางพลศาสตร์ กลศาสตร์และกลไกการเคลื่อนไหวทางสรีรวิทยามาอ้างอิง ครูจึงอยากให้ผู้ฝึกได้มาทดลองและพิสูจน์ด้วยตัวเองว่าดีกว่าการวิ่งเดิมหรือไม่ ใช้แรงน้อยและสามารถวิ่งได้ไกลในเวลาที่เคยวิ่งเท่ากับบนความเหนื่อยเดิม แต่วิ่งได้ไกลขึ้นหรือเร็วขึ้นในเวลาที่เท่ากันรึเปล่า
.
[ท่าวิ่งที่ครูดินแนะนำ]
ท่าทางการวิ่งที่ดีแกนกลางของร่างกายควรเป็นเส้นตรงตั้งแต่ท้ายทอยลงมาถึงข้อเท้า สายตามองพื้นข้างหน้าประมาณ 30 - 40 เมตร แขนกับขาทำงานสัมพันธ์กันเป็นจังหวะที่สอดคล้องกับการหายใจที่มีประสิทธิภาพ แกว่งแขนตัดลำตัวเล็กน้อย ร่างกายท่อนบนควรนิ่งไม่โยกหรือส่ายไปมา ปลายเท้าชี้ตรงไปข้างหน้าเสมอ จุดที่สำคัญคือทุกครั้งที่วางเท้าลงสู่พื้นเข่าหน้าควรงอเล็กน้อยเสมอ เมื่อเท้าสัมผัสพื้นไม่ควรแช่เท้านานให้ยกขึ้นทันที ปล่อยวงเท้าให้สบายไม่ฝืนเกร็ง ไม่เร่งรีบที่จะวางเท้าลงขณะที่เท้าไปข้างหลังยังไม่ครบวงรอบสมบูรณ์ ถ่ายโมเมนตัมไปข้างหน้าเล็กน้อยจนรู้สึกว่าขาจะขยับก้าว ตัวจะพุ่งไปข้างหน้าจะช่วยให้เบาแรง ลดแรงกระแทกและวิ่งลื่นไหลขึ้น หลักการของครูดินมีอยู่ว่าการเคลื่อนไหวใดๆ ก็ตามที่ใช้พลังงานและไม่ส่งผลให้การวิ่งดีขึ้นไม่ทำครับ
#UnirenSpray #พกง่ายคลายปวด #TurnPro
ที่มา : https://www.facebook.com/unirenspray/photos/a.649357498434463/1811713988865469/?type=3
คำถามจากคุณ แย้มยิ้ม ยิ้มแย้ม
--------------------------------------------------
ครูดินขอตอบว่าไม่มีท่าวิ่งที่ดีที่สุดในโลก แต่มีท่าวิ่งที่ดีที่สุดกับโครงสร้างของแต่ละคน ท่าวิ่งที่ครูดินแนะนำก็ไม่ได้บอกว่าดีที่สุด เพราะยังหาจุดที่ลงตัวว่าดีที่สุดยังไม่มีใครอ้างถึง นอกจากการเคลื่อนไหวที่นำหลักการทางพลศาสตร์ กลศาสตร์และกลไกการเคลื่อนไหวทางสรีรวิทยามาอ้างอิง ครูจึงอยากให้ผู้ฝึกได้มาทดลองและพิสูจน์ด้วยตัวเองว่าดีกว่าการวิ่งเดิมหรือไม่ ใช้แรงน้อยและสามารถวิ่งได้ไกลในเวลาที่เคยวิ่งเท่ากับบนความเหนื่อยเดิม แต่วิ่งได้ไกลขึ้นหรือเร็วขึ้นในเวลาที่เท่ากันรึเปล่า
.
[ท่าวิ่งที่ครูดินแนะนำ]
ท่าทางการวิ่งที่ดีแกนกลางของร่างกายควรเป็นเส้นตรงตั้งแต่ท้ายทอยลงมาถึงข้อเท้า สายตามองพื้นข้างหน้าประมาณ 30 - 40 เมตร แขนกับขาทำงานสัมพันธ์กันเป็นจังหวะที่สอดคล้องกับการหายใจที่มีประสิทธิภาพ แกว่งแขนตัดลำตัวเล็กน้อย ร่างกายท่อนบนควรนิ่งไม่โยกหรือส่ายไปมา ปลายเท้าชี้ตรงไปข้างหน้าเสมอ จุดที่สำคัญคือทุกครั้งที่วางเท้าลงสู่พื้นเข่าหน้าควรงอเล็กน้อยเสมอ เมื่อเท้าสัมผัสพื้นไม่ควรแช่เท้านานให้ยกขึ้นทันที ปล่อยวงเท้าให้สบายไม่ฝืนเกร็ง ไม่เร่งรีบที่จะวางเท้าลงขณะที่เท้าไปข้างหลังยังไม่ครบวงรอบสมบูรณ์ ถ่ายโมเมนตัมไปข้างหน้าเล็กน้อยจนรู้สึกว่าขาจะขยับก้าว ตัวจะพุ่งไปข้างหน้าจะช่วยให้เบาแรง ลดแรงกระแทกและวิ่งลื่นไหลขึ้น หลักการของครูดินมีอยู่ว่าการเคลื่อนไหวใดๆ ก็ตามที่ใช้พลังงานและไม่ส่งผลให้การวิ่งดีขึ้นไม่ทำครับ
#UnirenSpray #พกง่ายคลายปวด #TurnPro
ที่มา : https://www.facebook.com/unirenspray/photos/a.649357498434463/1811713988865469/?type=3