ss-เขียนเอง

วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2563

สารปรุงแต่งในอาหารส่งผลเสียต่อเป้าหมายในการออกกำลังของคุณหรือไม่

 

งานวิจัยใหม่แนะนำว่า #มันอาจส่งผลเสียต่อระบบการเผาผลาญและทำลายแรงกระตุ้นในการออกกำลังกายของคุณได้

หากคุณต้องการหาเหตุผลในการทานอาหารปริมาณมากเพื่อค่อนเผาผลาญทีหลัง #วันนี้เรามีข้อเท็จจริงที่มากฝากกัน พวกสารเติมแต่งและสารกันบูดในอาหารไม่เพียงแต่ทำให้น้ำหนักของเราเพิ่มขึ้นได้เท่านั้น แต่ยังทำให้เรากลายเป็นคนขี้เกียจอีกด้วย

#งานวิจัยระบุว่าฟอสเฟตสังเคราะห์ปริมาณมากที่พบในอาหารสำเร็จ เช่น อาหารแช่แข็ง เนื้อกล่อง ขนมปังและเบเกอรี่นั้นจะไปเพิ่มความดันเลือด โดยเฉพาะระหว่างที่ออกกำลังกาย #ทำให้ระบบเผาผลาญไขมันทำงานไม่ปกติ ลดความทนทานจน #อาจทำให้คุณไม่อยากเคลื่อนตัวไปไหน

#โดยงานศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Circulation บอกว่าเมื่อหนูได้รับฟอสเฟตปริมาณมากในอาหารต่อเนื่อง 3 เดือน มันจะทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายน้อยลง เพราะมันไม่สามารถสร้างกรดไขมันที่เพียงพอต่อกล้ามเนื้อได้ Wanpen Vongpatanasin แพทย์จาก UT Southwestern Medical Center กล่าว

#นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบอีกด้วยว่าระดับยีนส์หลายตัวในระบบเผาผลาญของกล้ามเนื้อเปลี่ยนไปหลังจากทานอาหารที่มีฟอสเฟตสูงเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ

แน่นอนว่านี่เป็นการทดลองในสัตว์และยังไม่ได้มีการทดสอบในมนุษย์ ดังนั้น นักวิจัยจึงได้ลองสำรวจในกลุ่มคน #ที่มีพฤติกรรมคล้ายๆ กันนี้ โดยมีผู้เข้าร่วม 1,600 รายจาก Dallas Heart Study แล้วทำการตรวจเลือดเช็คระดับฟอสเฟตและกิจกรรมที่ทำ โดยจะต้องมีการบันทึกกิจกรรมที่ทำตลอดช่วง 7 วัน

แม้ว่าเป็นช่วงติดตามที่ค่อนข้างสั้นแต่ก็ได้ผลออกมาว่า ในอาสาสมัครที่มีระดับฟอสเฟตสูงจะใช้เวลาในการออกกำลังกายน้อยกว่าและใช้เวลาอยู่เฉยๆ มากกว่า

การศึกษาในสัตว์ปัจจุบันเชื่อมโยงกับระดับฟอสเฟตและ #ระดับความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเวลาที่ออกกำลังกายซึ่งอาจทำให้รู้สึกเหนื่อยเป็นพิเศษเมื่อทำกิจกรรมต่างๆ Vongpatanasin กล่าว

"งานศึกษาพบว่าการเพิ่มขึ้นของความดันเลือดระหว่างออกกำลังกายนั้น #มีผลต่อความทนทานของผู้ออกกำลังอย่างมาก" Vongpatanasin กล่าว

อีกหนึ่งสาเหตุที่ส่งผลต่อความทนทานในการออกกำลังกาย #คือ ระดับฟอสเฟตที่สูงนั้นจะไปลดเอมไซม์เอลฟ่าคลอโทรล ซึ่งทำให้เส้นเลือดหดเล็กลง นักวิจัยเชื่อว่านี่ส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดและทำให้รู้สึกเหนื่อยเวลาออกกำลังกายเช่นเดียวกัน

#สิ่งเหล่านี้อาจทำให้ฟอสเฟตดูเหมือนเป็นตัวร้าย แต่จริงๆ ร่างกายก็ต้องการฟอสเฟต (ที่มาจากธรรมชาติ) อยู่บ้าง ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้าง RNA และ DNA สร้างพลังงานและทำให้เซลล์ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ
#ผลไม้และผักเป็นแหล่งฟอสเฟตจากธรรมชาติที่ดี ทั้งเนื้อ ปลาและผลิตภัณฑ์จากนม ฟอสเฟตที่มาจากธรรมชาติจะไม่ได้ถูกดูดซึมง่ายนัก แต่สำหรับฟอสเฟตสังเคราะห์ที่อยู่ในสารเติมแต่งและสารกันบูดนั้นมักจะถูกดูดซึมเข้าร่างกายง่ายกว่ามาก

ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคฟอสเฟตต่อวันคือ 700 มิลลิกรัม ซึ่งปกติแล้วคนส่วนใหญ่จะบริโภคเกินไป 3 - 4 เท่า Vongpatanasin กล่าว เธอเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อระบบเผาผลาญ ทำให้ไม่อยากทำกิจกรรมและเปลี่ยนพฤติกรรมของคนให้ขี้เกียจเกินไป

#ทีมวิจัยของ Vongpatanasin กำลังวางแผนทำงานศึกษาในมนุษย์มากขึ้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างฟอสเฟตและกิจกรรมทางกาย "เราวางแผนจะทำการสุ่มกลุ่มอาหารที่มีฟอสเฟตต่ำไปจนถึงอาหารที่มีระดับฟอสเฟตอยู่ในปริมาณแนะนำว่าเมื่อคนบริโภคแล้วจะส่งผลต่อความดันเลือดและกิจกรรมทางกายอย่างไร" เธอกล่าว

#การทานอาหารฟาสฟู้ด น้ำอัดลม อาหารสำเร็จ เชดด้าชีส ซีเรียล แพนเค้ก #ซึ่งมักจะเพิ่มระดับฟอสเฟตในร่างกายของคุณได้อย่างรวดเร็ว วิธีป้องกันง่ายๆ คือเลือกทานอาหารที่เหมาะสม อ่านฉลากและเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมที่มีชื่อ "Phos" อยู่ในนั้น อย่างแคลเซียมฟอสเฟต ไดไซเดียมฟอสเฟตหรือโมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต และแน่นอนทำอาหารทานเองได้จะดีมาก

"ยิ่งเราทำอาหารเอง เราจะสามารถกำหนดและมั่นใจว่าเราใช้ผักและผลไม้สด ซึ่งจะมีฟอสเฟตตามธรรมชาติและป้องกันการบริโภคฟอสเฟตจากสารเติมแต่งต่างๆ ได้" Vongpatanasin กล่าว เธอหวังว่างานวิจัยของเธอจะ #ทำให้ผู้คนสนใจอย่างน้อยก็สังเกตฉลากบนอาหารก่อนซื้อได้มากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น