ss-เขียนเอง

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

Muscle memory : ความทรงจำของกล้ามเนื้อ

Be fit & Eat well
12 ธันวาคม 2016

สนใจเรื่องนี้มานานแล้ว และก็คิดว่าหลายๆคนก็คงจะสนใจเหมือนกัน เพราะไม่มีใครที่จะออกกำลังกายโดยไม่มีเวลาหยุดพักได้เลย เทศกาล การงาน ป่วย วันหยุด สัพเพเหระไปหมด ลึกๆก็จะมีความกังวลอยู่ในใจว่า เราจะกล้ามหายหรือไม่ จะฟิตพอที่จะเข้าตารางหรือไม่ ความแข็งแรงจะมีเหลืออยู่แค่ไหน
.
ยิ่งพักนานเท่าไหร่ เราก็จะใช้เวลานานพอกัน ที่จะกลับมาฟิตใหม่ คนที่เทรนมานานหรือนักกีฬาก็จะสามารถสร้างกล้ามและความแข็งแรงกลับมาใหม่ง่ายกว่าคนทั่วไป แม้ว่าจะพักไปนานก็ตาม เพราะว่ามีสิ่งที่เรียกว่า ‘muscle memory’
.
สมัยก่อนเราจะเชื่อกันว่า muscle memory จะเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลางของเรา แต่ปัจจุบันนี้มีการวิจัยมากขึ้นพบว่า muscle memory จะเกี่ยวกับ ระดับเซลล์กล้ามเนื้อ (muscle cell level) มากกว่า
.
เซลล์กล้ามเนื้อ ที่เรียกว่า Muscle cells (หรือ ใยกล้ามเนื้อ-muscle fibers) มีขนาดยาว ทรงกระบอก และภายในมี นิวเคลียส อยู่เป็นร้อยๆพันๆ ร่างกายเราจะมี myonuclei เป็นศูนย์ควบคุมการเจริญเติบโตและการสร้างกล้ามให้ใหญ่ขึ้น ยิ่งใยกล้ามเนื้อใหญ่แค่ไหน เราก็จะมี นิวเคลียสมากแค่นั้น เพราะว่า 1 นิวเคลียร์ จะสามารถควบคุมส่วนเล็กๆของเซลล์กล้ามเนื้อแค่นั้นเอง บริเวณนั้นๆจะเรียกว่าเป็น ‘myonuclear domain.’
.
โดเมน (domain) นี้จะมีขนาดเดิมๆตลอดไปในสภาวะปกติ ไม่ใหญ่ขึ้นไม่เล็กลง แต่สามารถเพิ่มจำนวนขึ้น หรือลดลงตามขนาดของใยกล้ามเนื้อ สมมติว่า ใยกล้ามเนื้อโตขึ้น ก็จะมีจำนวน myonuclei มากขึ้น ยิ่ง myonuclei มีมากแค่ไหน การเจริญเติบโตและการซ่อมแซมก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
.
ตามความกลัวและความเชื่อเก่าๆ myonuclei จะเสียไปในช่วงที่เราพัก หรือ กล้ามเนื้อลีบลง (Atrophy) ไม่ว่าจะคาร์ดิโอมากไป หรือ ขาดสารอาหาร กินไม่พอ หรืออะไรก็ตาม แต่จากงานวิจัยใหม่พบว่า นิวเคลียร์สามารถคงอยู่ต่อไป ไม่ได้หายตายจากไปไหน อย่างที่เรากลัวกันค่ะ เค้าเรียกว่า เป็น (preservation) เพื่อที่ว่าอนาคตเราจะกลับมาสร้างกล้ามใหม่ และจะอยู่ไปเป็นระยะเวลานาน แต่นานแค่ไหน ณ. ตอนนี้ยังไม่มีใครตอบได้ค่ะ
.
ก็ถือว่าเป็นการลงทุนที่ไม่เสียเปล่านะคะ ตราบใดที่เราไม่ได้หยุดไปเป็นปีๆอ่ะนะคะ สร้างนิวเคลียร์มาแล้วคุ้มมากค่ะ เพราะตัวนิวเคลียร์นี่จะเป็นหน่วยความจำของกล้ามเนื้อ แทนกล้ามเนื้อ (ตัวกล้ามเนื้อจริงๆแล้วจำอะไรไม่ได้เลย) ทำให้เราสามารถกลับมาสร้างกล้ามได้เร็วขึ้น ถ้าเราเคยผ่านการสร้างกล้ามมาแล้วในอดีต
.
สรุป คือ ช่วงที่เราพักซ้อม เซลล์กล้ามเนื้อจะฟีบลง แต่จำนวนนิวเคลียร์เท่าเดิม รอให้เรากลับมาเข้าตารางใหม่ได้ง่ายเกินกว่าที่เรากลัวค่ะ
.
References
1. Bruusgaard JC, Egner IM, Larsen TK, Dupre-Aucouturier S, Desplanches D, and Gundersen K. No change in myonuclear number during muscle unloading and reloading. J Appl Physiol 113: 290-296, 2012.
2. Bruusgaard JC, Johansen IB, Egner IM, Rana ZA, and Gundersen K. Myonuclei acquired by overload exercise precede hypertrophy and are not lost on detraining. Proc Natl Acad Sci U S A 107: 15111-15116, 2010.
3. Egner IM, Bruusgaard JC, Eftestol E, and Gundersen K. A cellular memory mechanism aids overload hypertrophy in muscle long after an episodic exposure to anabolic steroids.J Physiol 591: 6221-6230, 2013.
----------------

Chada Bowra, Level 3 Personal Training (YMCA)
(QCF) Diploma in (Advanced) Level 3 Personal Training (Gym-Based Exercise) (YMCA)
ENU (QCF) Nutrition for Exercise (YMCA)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น