ss-เขียนเอง

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ร่างกายของนักวิ่ง Marathon vs ร่างกายของนักวิ่ง 10K แตกต่างกันอย่างไร?

ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่ากระแสของ London Marathon 2019 ยังคงเป็นที่จดจำของใครหลายๆคน และทางผู้เขียนเชื่อเหลือเกินว่า มีหลายคนแอบให้กำลังใจ Sir Mo Farah อยู่ ด้วยความที่เขาเป็นเจ้าถิ่นบวกกับฟอร์มการวิ่งระยะมาราธอนที่ร้อนแรง จึงไม่แปลกที่เขาถูกยกย่องให้เป็น Top 5 ของโลก. 

ผมเคยเขียนไว้ในบทความที่แล้วว่า ในเมื่อการซ้อมด้วยระยะและจุดโฟกัสในเปอร์เซ็นต์ของ VO2MAX ที่ต่างกัน เป็นเหตุผลให้นักกีฬาในแต่ละประเภทไม่สามารถก้าวข้ามระยะของตัวเองได้ภายในสองถึงสามเดือน. 
จะเห็นได้ว่า Eliud Kipchoge เทิร์นโปรมา Road event ตั้งแต่ปี 2012 ส่วน Sir Mo Farah เองก็พึ่งลาออกจาก Track หลังจากจบ Rio Olympics ในปี 2016. ช่องว่างของการผลัดเปลี่ยนระยะของสองคนนี้จึงเป็นเหตุผลที่สามารถอธิบายได้พอสังเขปว่า ทำไม Eliud Kipchoge ยังเป็นเบอร์ 1 ในการวิ่งมาราธอนเรื่อยมา. 
ในวงการไตรกีฬาก็เช่นกัน Jan Frodeno คว้าเหรียญทองใน Beijing Olympics 2008 (ว่ายน้ำ 1.5 กิโลเมตร, จักรยาน 40 กิโลเมตร, วิ่ง 10 กิโลเมตร) หลังจากนั้น Jan Frodeno เริ่มผันตัวเองมาเป็นสายไตรกีฬาระยะ Endurance ที่ไกลขึ้น (ว่ายน้ำ 1.9 กิโลเมตร, จักรยาน 90 กิโลเมตร, วิ่ง 21 กิโลเมตร) แต่เมื่อต้องกลับมารับใช้ชาติอินทรีเหล็กปี 2012 ที่ London Olympics 2012 เขากลับได้ที่ 6 และ โดน Alistair Brownlee คว้าเหรียญทองไปแบบทิ้งห่างถึง 1 นาที. เมื่อ Jan Frodeno ขยับมาสู่วงการ Ironman อย่างเป็นทางการ เขาก็โชว์เหนือด้วยการชนะ Alistair Brownlee ไปแบบสามารถวิ่งซ้ายวิ่งขวา หยอกล้อกับผู้ชมหน้าเส้นชัยที่ Ironman 70.3 World Championship 2018, South Africa และตอนนี้ Jan Frodeno คือ เทพเจ้าแห่งระยะ Ironman ไปเรียบร้อยแล้ว. 
จากตัวอย่างทั้งสองกีฬาที่กล่าวมาข้างต้น เราจะเห็นได้ว่านักกีฬาระดับโลก มักจะไม่ค่อยกระโดดข้ามระยะไปสักเท่าไหร่ เพราะต้องการ สร้างความมั่นใจให้ตัวเองและโค้ชได้ทราบว่า เขาอยู่ในระดับที่อิ่มตัว หรือ Best Performance ในการแข่งขันระยะนี้หรือยัง
บทความนี้ผมเลยตั้งใจจะยกตัวอย่างนักกีฬามืออาชีพที่เข้ามาทดสอบสมรรถภาพทั้งสองคน ต่างคนต่างมีโปรไฟล์การซ้อมที่แตกต่างกันในระยะที่ตัวเองถนัดและโฟกัสอยู่ 
นักกีฬา A อายุ 20 ปี น้ำหนัก 61.2 กิโลกรัม
VO2MAX: 68 ml/min/kg
ระยะทำการ: Half to Marathon. 
น้ำหนักการซ้อม: Long Run 40%, Running below anaerobic threshold 30%, Running at or very near anaerobic threshold (Tempo) 20%, Interval 10%.
นักกีฬา B อายุ 21 ปี น้ำหนัก 61.4 กิโลกรัม
VO2MAX: 74 ml/min/kg
ระยะทำการ: 5,000m to 10,000m 
น้ำหนักการซ้อม: Long Run 20%, Running below anaerobic threshold 10%, Running at or very near anaerobic threshold (Tempo) 40%, Interval 20%, MAOD (Maximal Accumulated Oxygen Deficit) 10%.
จากกราฟ การให้น้ำหนักการซ้อม Long Run และ Running below Anaerobic Threshold ของนักกีฬา A ส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพการใช้ไขมันมาเป็นพลังงานระหว่างแข่งขันอยู่ในเกณฑ์ “ดีมาก”. สังเกตได้ว่าจังหวะที่ Heart Rate เต้นอยู่ที่ 173 ครั้งต่อนาที ร่างกายยังนำไขมันมาเป็นพลังงานที่ 37-44 กรัมต่อชั่วโมง เรียกได้ว่านักกีฬา A เป็น Fat Burning Machine เลยทีเดียว. เมื่อทราบสัดส่วนการใช้พลังงานแล้ว นักกีฬา A สามารถวิ่งได้อย่างมีคุณภาพ ด้วยการคุม pace ในช่วง Heart Rate ที่ยังมีไขมันเป็นพลังงานหลักอยู่ และ ตัดสินใจ Sprint ทำความเร็วได้ในจุดที่เหมาะสมเพื่อป้องกันปัญหาชนกำแพงและรักษาระดับไกลโคเจน จากการเรียนรู้อัตราการใช้ Carbohydrate. 
ส่วนในนักกีฬา B การให้น้ำหนักการซ้อม Zone สูงมากกว่า Long Run สังเกตได้ว่าระดับการใช้ไขมันของเขาต่ำกว่านักกีฬา A อย่างเห็นได้ชัดในทุกความหนักของงานที่ใกล้เคียงกัน. 
ถ้าจับนักกีฬาทั้งสองมาดวลกันในระยะ 21 กิโลเมตรเป็นต้นไป ด้วยการวิ่งภายใต้ความเร็วเฉลี่ยที่ 12.5 กิโลเมตรต่อช่วงโมงทั้งคู่. ร่างกายของ นักกีฬา B ไม่สามารถเป็นมิตรกับไขมันได้ดีเท่ากับนักกีฬา A จึงทำให้ร่างกายต้องเฉลี่ย Carbohydrate มาใช้เป็นสัดส่วนของพลังงานอยู่เรื่อยๆ. เมื่อระยะทางและเวลาที่ไกลขึ้น ระดับ Glycogen ของนักกีฬา B ก็ยิ่งต่ำลงจากการใช้ Carbohydrate ในสัดส่วนที่สูง ส่งผลให้ Performance ไม่สามารถยืนยาวได้เท่ากับนักกีฬา A. 
ตัวเลขจากกราฟบ่งบอกสัดส่วนการใช้ไขมันและอัตราการใช้พลังงานอย่างเห็นได้ชัดว่า นักกีฬา A วิ่งในความเร็ว 12.5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ด้วยไขมัน เฉลี่ยที่ 37-44 กรัมต่อชั่วโมง ในขณะที่นักกีฬา B ใช้ไขมันเฉลี่ยที่ 11-15 กรัมต่อชั่วโมง. เมื่อนักกีฬา A ใช้ไขมันได้มากกว่า ในขณะวิ่งด้วยความเร็วที่เท่ากัน ก็หมายความว่าร่างกายยังอยู่สภาวะการใช้กล้ามเนื้อสัดส่วน Type 1 หรือ Aerobic system ที่มีความสามารถในการสู้กับความล้าได้สูง (Resistance of fatigue) จึงทำให้นักกีฬา A ประหยัดพลังงานได้เกือบ 100 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง .
สุดท้ายแล้ว การยกตัวอย่างในวันนี้ เป็นแค่เศษเสี้ยวหนึ่งของความแตกต่างในนักกีฬา ที่ไม่ได้รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น เรื่องของพันธุ์กรรม รองเท้า และผู้ฝึกสอน เป็นต้น. แต่ผู้เขียนเชื่อเหลือเกินว่าบทความนี้ สามารถเป็นข้อสันนิฐานในหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถเชื่อถือได้ เพื่อเป็นบัญญัติไตรยางค์ในการหาความแตกต่างระหว่างนักกีฬามาราธอนระดับโลก อย่าง Eliud Kipchoge และ Mo Farah. ที่ทั้งสองคนต่างมี Background เรื่อง Timing ในการเริ่มวิ่ง Road Event ต่างกันถึง 4 ปี. เป็นไปได้สูงว่าระบบพลังงานในระหว่างการแข่งขัน นั้นต้องมีความแตกต่างกันอยู่ในระดับหนึ่ง.
น้องฮอท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น